คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : สJคsามโลกครั้งที่ 2 (ตouที่ 2)
ในวันที่ 12 ธันวาคม ถูกฝูงบินญี่ปุ่นโจมตี เรือรบพาเนย์จมลูกเรือตาย 2 คน บาดเจ็บ 30 คน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯคือ คอร์เดล ฮัล ( Cordell Hull ) ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลญี่ปุ่นเรียกร้องให้ญี่ปุ่นขอโทษต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ จ่ายค่าทดแทนความเสียหายและให้ญี่ปุ่นสัญญาว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ญี่ปุ่นได้ปฏิบัติ ตามคำร้องขอของสหรัฐฯ ทุกประการ
แต่ต่อมา ในปี ค.ศ. 1941 สหรัฐอเมริกาถูกกองกำลังทางอากาศของญี่ปุ่นโจมตีท่าเรือเพิร์ลในเช้าวันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เวลา 7.55 น. ฝูงบินญี่ปุ่นบุกโจมตีทิ้งระเบิดท่าเรือเพิร์ลในหมู่เกาะฮาวาย มีผลให้เรือรบ 8 ลำ เรือพิฆาต 3 ลำ และเรือลาดตระเวน 8 ลำ จมและเสียหายเครื่องบิน 140 ลำถูกทำลาย ทหารอเมริกันเสียชีวิต 2300 บาดเจ็บ 1200 เครื่องบินญี่ปุ่นตก 29 ลำ และเรือดำน้ำญี่ปุ่นถูกทำลาย 5 ลำ ช่วงวันที่ 8 - 25 ธันวาคม กองกำลังญี่ปุ่นเข้ารุกรานไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาะมิดเวย์และเข้ายึดครองเกาะเวค เกาะกวม และฮ่องกง ด้วยสาเหตุจากการถูกโจมตีอ่าวเพิร์ล สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 อังกฤษประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในวันที่ 8 ธันวาคมเช่นกัน และในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เยอรมนีและอิตาลีพันธมิตรญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐฯทันที สหรัฐฯตอบโต้โดยการประกาศสงครามกับเยอรมนีและอิตาลีทันทีรวมทั้งประกาศสงครามกับชาติบริวารของเยอรมนี คือ บัลกาเรีย ฮังการี และรูมาเนีย จากการประกาศสงครามกับญี่ปุ่นเท่ากับเป็นการเปิดฉากการทำสงครามกับญี่ปุ่นทางเอเชียและแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ
ในยุโรปมีเพียง 5 ประเทศเท่านั้นที่สามารถวางตนเป็นกลางได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ สวีเดน ไอซแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ สเปน และโปรตุเกส
สัมพันธมิตรเริ่มมีชัยชนะในยุโรปเริ่มด้วยกองกำลังสัมพันธมิตรทางอากาศเริ่มบุกโจมตีเยอรมนีช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 1942 สร้างความเสียหายอย่างมากแก่เยอรมนี สัมพันธมิตรมีชัยในแอฟริกาเริ่มด้วยในเดือน ตุลาคม ค.ศ. 1942 มีชัยในการปะทะที่เอล อะลาเมน (The Battle of El Alamein of 1942) เอล อะลาเมน เป็นชื่อหมู่บ้านอยู่ ทางตอนเหนือของอียิปต์บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นเขตยึดครองของฝ่ายอักษะ การปะทะมีขึ้นระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองกำลังอังกฤษภายใต้การนำของ นายพล เบอร์นาร์ด ลอ มอนท์โกเมอรี (Bernard Law Montgomery) มีชัยเหนือกองกำลังอักษะ (เยอรมนีและอิตาลี) ภายใต้การนำของนายพลเออวิน รอมเมล กองกำลังอักษะต้องถอยไปตั้งมั่นที่ตูนีเซียและแอลจีเรียเป็นผลให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองกำลังรวมอังกฤษ แคนาดาและสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของนายพล ดิไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower )ยกพลขึ้นบกได้ที่ชายฝั่งโมรอคโคในแอฟริกาเหนือ สัมพันธมิตรเริ่มมีชัยในรัสเซียเพราะรัสเซียยึดอำนาจของเยอรมนีในยุโรปตะวันออกเป็นผลให้เยอรมนีประกาศเป็นศัตรูกับรัสเซีย |
เริ่มในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 โดยเคลื่อนทหารเยอรมนีเข้ารุกรานดินแดนเขตอำนาจทางตะวันตกของรัสเซียและมุ่งปราบปรามรัสเซียให้พ่ายแพ้ จากการที่กองกำลังเยอรมนีรุกไล่กองกำลังรัสเซียเข้าไปในดินแดนรัสเซียกองกำลังรัสเซียเริ่มตอบโต้รุกกลับช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 - มีนาคม ค.ศ. 1943 ผลคือ กองกำลังเยอรมนีพ่ายแพ้ที่สตาลินกราด การปะทะที่สตาลินกราดกองกำลังเยอรมนีต้องเผชิญหน้ากับอากาศที่หนาวเย็นและขาดแคลนเสบียงอาหาร การยอมจำนนต่อกองกำลังรัสเซียเริ่มในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 การรบระหว่างรัสเซียกับเยอรมนีจากการที่เยอรมนียอมแพ้ที่สตาลินกราดอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1943 ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 1943 - มกราคม 1944 กองกำลังรัสเซียรุกไล่ผลักดันกองกำลังเยอรมนีออกจากรัสเซียและติดตามรุกไล่กองกำลังเยอรมนีเข้าไปในโปแลนด์
ต้นปี ค.ศ. 1944 ด้วยการบุกโจมตีทิ้งระเบิดเยอรมนีเพื่อให้เยอรมนีเสียหายก่อนเข้าช่วยฝรั่งเศส โดยกองกำลังทางอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรจากอังกฤษนับจากวันที่ 11 มกราคม 1944 เริ่มบินทิ้งระเบิดทำลายย่านอุตสาหกรรมผลิตอาวุธปัจจัยในเยอรมนี ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1944 เบอร์ลินถูกเครื่องบินอเมริกันทิ้งระเบิดเป็นครั้งแรก ช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม ค.ศ. 1944 เยอรมนีถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ปฏิบัติการยกพลขึ้นบกของกองกำลัางสัมพันธมิตรเพื่อช่วยฝรั่งเศส มีขึ้นในเวลาเช้าตรู่ ของวันที่ 6 มิถุนายน 1944 บริเวณชายฝั่งมีความยาว 60 ไมล์ของคาบสมุทรโคเทนทิน (Citentin Peninsula) ที่นอร์มังดีเป็นพื้นที่ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสในช่องแคบอังกฤษ การยกพลขึ้นบกของกองกำลังของสัมพันธมิตร 175000 นาย ใช้เรือปฏิบัติการขนส่ง 4000 ลำ เรือรบคุ้มกัน 600 ลำ และเครื่องบิน คุ้มกัน 11000 ลำ เยอรมนีตอบโต้ทันทีในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1944 เป้าหมายคือกรุงลอนดอน ด้วยฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดสร้างความเสียหายอย่างมากแก่อังกฤษ จากการปฏิบัติการรบของกองกำลังเยอรมนียึดครองกรุงปารีส นับจากเดือนกันยายน ค.ศ. 1944 กองกำลังสัมพันธมิตรพยายามผลักดันกองกำลังเยอรมนีออกจากฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และมุ่งติดตามรุกไล่เข้าไปในดินแดนเยอรมนีได้ไกลถึงแม่น้ำไรน์ นับตั้งแต่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1944 กรุงปารีสเป็นอิสระพ้นจากการยึดครองของ เยอรมนี เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์กได้รับการปลดปล่อย กองกำลังสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายรุกกองกำลังเยอรมนีเป็นฝ่ายถอย
การรบในยุโรป
กองกำลังสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายบุกเข้าโจมตีเยอรมนี เริ่มจากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1945 เป็นต้นไป และข้ามแม่น้ำไรน์เข้าสู่เยอรมนีได้ในวันที่ 7 มีนาคม 1945 มุ่งเดินทัพ เข้ากรุงเบอร์ลินทางตะวันตก ในช่วงเวลาเดียวกันนี้รัสเซียมีชัยชนะสามารถผลักดันกองกำลังเยอรมนีออกจากยูเครน รูมาเนีย บัลกาเรีย ฮังการี และโปแลนด์ มุ่งเดอนทัพเข้ากรุงเบอร์ลินตะวันออกที่กรุงเบอร์ลิน ฮิตเลอร์มั่นใจว่าเยอรมนีต้องพ่ายแพ้เป็นแน่ กองกำลังสัมพันธมิตรกำลังเคลื่อนเข้าสู่กรุงเบอร์ลินและเกรงต้องรับโทษขั้นรุนแรงในฐานะอาชญากรสงครามจึงฆ่าตัวตายในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 กองกำลังสัมพันธมิตรยึดกรุงเบอร์ลินได้ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เป็นผลให้กองกำลังเยอรมนีในออสเตรีย เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์และอิตาลี ยอมจำนนฝ่ายมุสโสลินีถูกพรรคพวกจับได้และถูกฆ่าตาย ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 รัฐบาลใหม่ของ เยอรมนียอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขต่อผู้บังคับบัญชากองกำลังสัมพันธมิตร คือ นายพล ดีไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดการรบในยุโรป
การยุติการรบในเอเชียและแปซิกฟิก
การรบในเอเชียยุติในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข ต้นปี ค.ศ. 1945 เป็นไปอย่างดุเดือดเมื่อกองกำลังสัมพันธมิตรคลื่อนเข้าใกล้หมู่เกาะญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ทำการต่อต้านอย่างแข็งกร้าวดุดันด้วยหน่วยพลีชีพ ปรากฎเด่นชัดในเดือน มีนาคม ค.ศ. 1945 เมื่อกองกำลังสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่เกาะโอกินาวา ทหารอเมริกันบาดเจ็บและเสียชีวิตแปดหมื่นคน
สหรัฐฯยุติการทำสงครามในภาคพื้นทวีปเอเชียโดยการใช้ระเบิดปรมาณูกับญี่ปุ่นเนื่องมาจากสงครามในเอเชียและแปซิฟิกยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน นับแต่วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 - 6 สิงหาคม 1945 ทั้งญี่ปุ่นเองยังคงยืนยันอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ว่าจะคงทำสงครามต่อไปจนกว่าจะชนะ และต้องการรักษาชีวิตของทหารอเมริกันซึ่งเป็นกองกำลังหลักต้านทานการรบด้วยหน่วยพลีชีพของญี่ปุ่นสร้างความเสียหายอย่างมากต่อกองกำลังอเมริกันการใช้ระเบิดปรมาณูจะช่วยรักษาชีวิตทหารอเมริกันได้ถึง 250000 คน และคณะนายทหารอเมริกันนำโดยรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม คือ เฮนรี เอล.สตีมสัน ให้การสนับสนุนเห็นสมควรใช้ระเบิดปรมาณูเพื่อปราบปรามญี่ปุ่นขั้นทำลายล้างเด็ดขาดเพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข เช้าวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เวลา 8.15 น. ระเบิดปรมาณู ลูกแรกถูกทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมาบนเกาะฮอนชูแรงระเบิดสร้างความเสียหายครอบคลุมพื้นที่สี่ตารางไมล์ คนบาดเจ็บและ ตายกว่า 135000 คน ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 รัสเซียประกาศสงครามกับญี่ปุ่นและเคลื่อนกองกำลังรัสเซียเข้าแมนจูเรียภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ทำลายขวัญและกำลังใจของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก |
|
เพื่อบีบบังคับให้ญี่ปุ่นยอมจำนนยุติสงครามประธานาธิบดี ทรูแมน (ประธานาธิบดี รูสเวลท์เสียชีวิตในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1945 มีผลให้รองประธานาธิบดี คือ ฮาร์รี เอส. ทรูแมน Harry S. Truman เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีลำดับที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา) ตัดสินใจสั่งทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ที่เมืองนางาซากิบนเกาะคิวชูสร้างความเสียหายอย่างมากเป็นครั้งที่สองแก่ องค์จักรพรรดิฮิโรฮิโตเรียกร้องให้คณะรัฐบาลญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อรักษาชาติพันธุ์ญี่ปุ่น เป็นผลให้ในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เป็นวันยุติการรบในเอเชียแปซิฟิก การลงนามอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 บนดาดฟ้าเรือรบ มิสซูรี ในอ่าวโตเกียว เป็นการเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้สมรภูมิรบสามทวีปสองมหาสมุทรคือ ในทวีปยุโรปและมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มการรบในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ยุติในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ในทวีปแอฟริกาเริ่มการรบในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1940 ยุติในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1943 ในทวีปเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก เริ่มการรบในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ยุติในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 โดยฝ่ายสัมพันธมิตร 57 ชาติเป็นผู้มีชัยชนะ ฝ่ายอักษะ นำโดย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ผลของสงครามประชากรโลกเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก กล่าวคือทหารอเมริกันเสียชีวิต 4 แสนนาย ทหารรัสเซียเสียชีวิต 20 ล้านนาย ทหารโปแลนด์เสียชีวิต 5.8 ล้านนาย ทหารเยอรมนีเสียชีวิต 4.5 ล้านนาย ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิต 2 ล้านนาย ทหารในกลุ่มประเทศยุโรปรวมเสียชีวิต 35 ล้านนาย
สงครามก่อให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากสงครามประเทศต่างๆต้องหันกลับมาพัฒนาประเทศของตนให้กลับสู่สภาพเดิม และสร้างความมั่นคงให้กับ ประเทศถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศต่างๆ พยายามที่จะหลีกเลี่ยงสงครามแต่ก็จะหันมาแข่งขันพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ให้มีความทันสมัยเหนือนานาประเทศ
อ้างอิง : ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา 2 : รศ. อรพินท์ ปานนาค
เรียบเรียงโดย : สาระเน่
ความคิดเห็น