คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ปsะวัติการ์ตูuไทE
ประวัติการ์ตูนไทย
ในสมัยรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คนเขียนการ์ตูนคนแรกของประเทศไทยคือ ขรัวอินโข่ง
ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดการวาดล้อเหล่าเสนาอำมาตย์อยู่เสมอๆ มีการตีพิมพ์ภาพฝีพระหัตถ์ของพระองค์ลงหนังสือดุสิตสมัยด้วย ในยุคนี้ภาพล้อหรือการ์ตูนในเมืองไทยเป้าที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น และในช่วงนี้นี่เองนักวาดการ์ตูนการเมืองคนแรกขึ้นมา คือ นายเปล่ง ไตรปิ่น เนื้อหาเสียดสีล้อเลียนการเมือง ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต"
ในสมัยรัชกาลที่ 7 นักเขียนการ์ตูนมีเสรีภาพในการเสนอความคิดเห็นมากขึ้น จึงทำให้มีนักเขียนการ์ตูนดังๆ เกิดขึ้น อย่างเช่น สวัสดิ์ จุฑะรพ ผู้นำวรรณคดีเรื่องสังข์ทองมาวาดเป็นการ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกของประเทศไทยลงในหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ หลังจากนั้นก็ได้สร้างตัวการ์ตูน "ขุนหมื่น" โดยดัดแปลงมาจากป๊อปอายและมิกกี้ เมาส์ ส่วนผู้บุกเบิกการ์ตูนสำหรับเด็กเป็นคนแรกของประเทศไทย คือ ฉันท์ สุวรรณบุณย์ หลังสงความโลก ประเทศไทยมีนักเขียนการ์ตูนเจ้าของฉายา "ราชาการ์ตูนไทย" คือ ประยูร จรรยาวงษ์ ซึ่งวาดทั้งการ์ตูนตลกและการ์ตูนการเมือง
ซึ่งหนังสือการ์ตูนส่วนใหญ่จะเล่มเดียวจบและราคาของหนังสือการ์ตูนในสมัยก่อน ราคาเล่มละหนึ่งบาทเท่านั้น หนังสือการ์ตูนจะไม่ค่อยมีความพิถีพิถันในการผลิตสักเท่าไร พวกการ์ตูนก็เลยค่อยๆ หมดความนิยมไป จนกระทั่งถูกการ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาครองตลาดแทน
ถึงตรงนี้ เรายังคงไม่มีข้อสรุปให้ได้ว่า อนาคตบนเส้นทางสายน้ำหมึกของการ์ตูนลายเส้นไทยๆ ที่ ณ เวลานี้ จะกลายเป็นงานที่ถูกกลืนกินไปกับกระแสโลกที่หลั่งไหลเข้ามาบดบังผลงานของคนไทยไปจนหมดสิ้น ก็คงไม่มีทางไหนจะช่วยส่งเสริมผลงานของนักเขียนได้ดีเท่ากับช่วยกันสนับสนุนผลงานไทยๆ ให้พวกเขามีกำลังใจสร้างสรรค์ผลงานให้คู่กับกลิ่นอายสไตล์ท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป..............
ความคิดเห็น