ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้soบตัวไม่น่าเบื่๐๐ย่าJที่คิด

    ลำดับตอนที่ #1 : "จิuตuากาsสำคัญกว่าความรู้"

    • อัปเดตล่าสุด 6 ธ.ค. 49


            ผศ.ดร.นภเนตร กล่าวว่า เด็กไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการส่งเสริมด้านจินตนาการเท่าที่ควร มีเด็กจำนวนหนึ่งที่เก่งในตำราและหลักสูตรของโรงเรียน แต่เรื่องการใช้ชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการคิดวิเคราะห์หรือคิดระดับสูง ก็เป็นเรื่องสำคัญในลักษณะของกระบวนการคิด เราต้องมองทั้งสองด้าน อย่าเน้นแต่ให้เก่งจากตำรา เพราะการได้ที่หนึ่งในโรงเรียนไม่ได้หมายความว่าจะเก่งในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

    ปีพ.ศ. 2548 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก้ ประกาศให้เป็น "ปีฟิสิกส์สากล" เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีมหัศจรรย์ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่สามารถคิดค้นทฤษฎีทางวิชาการให้แก่ชาวโลกถึง 5 ผลงาน โดยเฉพาะผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ไอน์สไตน์มากที่สุด คือ "ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ" Special Theory of Relativity ที่คนทั่วโลกรู้จักกันดีในรูปของสมการ E=mc2 และต่อมากลายเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตระเบิดปรมาณู

    คนทั่วไปเข้าใจว่าไอน์สไตน์รู้เรื่องวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงนั้น ไอน์สไตน์มีความรู้เรื่องต่างๆมากมาย อาจจะพูดได้ว่าทุกเรื่อง เพียงแต่ว่า เรื่องวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องใหญ่ การค้นพบระเบิดปรมาณู อานุภาพของการทำลายล้างระเบิด ทำให้ทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่หากจะมองมุมมองอื่นของไอน์สไตน์บ้าง ก็จะพบว่าเขาวิเศษเพียงใดไอน์สไตน์ให้ความสำคัญของโลกอนาคตมากกว่าโลกปัจจุบันและโลกอดีต เขาพูดไว้ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" เพราะว่าความรู้มีอยู่แล้ว พบแล้ว หาได้แล้ว ความรู้นั้นอยู่กับที่ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง มีผู้รู้และมีผู้ไม่รู้ และทุกคนสามารถเรียนรู้ทันกันหมด ในขณะที่จินตนาการนั้นอยู่ในโลกอนาคต สามารถเปลี่ยนแปลงได้และเกิดขึ้นได้กับทุกคน อีกความคิดหนึ่งของไอน์สไตน์ที่แสดงว่าเขาสนใจโลกอนาคตก็คือ "ฉันไม่รู้ว่าอาวุธชนิดใดที่จะใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 3 แต่ในสงครามโลกครั้งที่ 4 นั้น มนุษย์จะสู้รบกันด้วยท่อนไม้และก้อนหิน"

    ไอน์สไตน์ให้ความสนใจเรื่องศาสนา ศิลปะ สังคม ดนตรี อย่างมากด้วย เขาพูดว่า "โลกนี้เป็นสถานที่อันตราย ที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่เพราะมีพวกคนเลว แต่เป็นเพราะพวกเราได้แต่ดูและปล่อยให้มันเกิดขึ้น" และยังบันทึกไว้ว่า "ศาสนาทุกศาสนา ศิลปะทุกแขนง และวิทยาศาสตร์ เป็นกิ่งก้านของต้นไม้ต้นเดียวกัน"

    ส่วนในเรื่องด้านการศึกษานั้น ไอน์สไตน์กล่าวว่า "การศึกษาทุกด้านนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์ความรู้ที่ได้มาจากคนในอดีตรุ่นแล้วรุ่นเล่า เราสามารถไปถึงความเป็นอมตะด้วยการร่วมมือกันและให้ความรู้แก่กัน....ความสำคัญที่จะให้คุณค่าทางการศึกษาขึ้นอยู่กับพัฒนาทางความคิดของมนุษยชาติที่ยังเยาว์วัย" และเขายังกล่าวเกี่ยวกับเรื่องดนตรีว่า "คนเราจะต้องการอะไรอีก นอกจากอาหารอร่อย มีไวโอลินให้เล่น มีที่นอน มีโต๊ะเก้าอี้นั่งสำหรับเขียนหนังสือ" ไม่น่าเชื่อเลยว่า นอกจากไอน์สไตน์ยังมีความรู้ต่างๆมากมายแล้ว เขายังมีความรู้ในเรื่องของดนตรีและยังสามารถเล่นไวโอลินได้เหมือนกับนักดนตรีชั้นนำของโลกเลยทีเดียว

    ถ้าคนเราขาดจินตนาการแล้ว ชีวิตทั้งชีวิตก็คงจะขาดสีสันของกระบวนการในทางด้านความคิด ที่จะรังสรรค์ให้ออกมาพร้อมๆกับจินตนาการ มีความรู้ไม่ใช่ว่าจะเก็บไว้ ควรที่ถ่ายทอดเพื่อให้เกิดจินตนาการอันเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่สนใจต่อไป.....

    เอกสารอ้างอิงหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 7 มี.ค.2548 ปีที่ 14 ฉบับที่ 5212
    www.music.mahidol.ac.th/musicjournal/sept_oct2005/sep2005_1.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×