ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Pet Home

    ลำดับตอนที่ #4 : ใบหูบวมในสุนัข...Aural Hematoma

    • อัปเดตล่าสุด 28 มี.ค. 55


    ใบหูบวมในสุนัข...Aural Hematoma
    เรื่องโดย : โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4

               เคยบ้างไหมที่คุณเจ้าของมักมีคำถามว่า อยู่ดีทำไมหูน้องหมาของฉันปลายหูบวมเป็นถุงน้ำ จับแล้วก็สะบัด คลำดูเป็นถุงอุ่นๆ และชอบสะบัดหัวอยู่เรื่อยไป ทีนี้เรามาคลายสงสัยกันดีกว่าว่าสาเหตุนั้นคืออะไร


      สาเหตุของกลุ่มอาการใบหูบวม Aural Hematoma

               หากทำการเจาะที่ใบหูจะพบน้ำเลือดสีแดงในถุงดังกล่าว การที่สุนัขหรือแมวมีเลือดออกที่ใบหูด้านในนั้น เกิดได้จากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

               1. โรคผิวหนัง (dermatitis) โดยมากสัตว์มักมีอาการคัน จึงใช้เท้าเกาหูอย่างแรงจนกระทั่งเส้นเลือดฝอยด้านในหูแตก

               2. ค้นหู ช่องหูอักเสบ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ หรือมีไรในหูมากแล้วไม่ได้ทำการรักษาหรือรักษาไม่หายขาด ซึ่งสัตว์นั้นเกิดอาการคันมาก จึงเกา และมักมีอาการสะบัดศีรษะ ทำให้เส้นเลือดฝอยด้านในหูแตกและเกิดเป็นถุงเลือด

               3. กระทะเลาะ กัดกัน เล่นกัดหูกัน ทำให้เส้นเลือดฝอยที่บริเวณใบหูแตก


     สายพันธุ์สุนัขที่ชอบมีอาการใบหูบวม

               สุนัขพันธุ์ใหญ่ ที่ชอบเล่นแรงๆ เช่น รอดต์ไวเลอร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ และลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ เป็นต้น


     วิธีการรักษาและแก้ไข

               ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสัตวแพทย์ที่ทำการตรวจรักษา หมายความว่า กรณีเป็นถุงเล็กๆ ไม่ใหญ่ ขนาดเส้น ผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 นิ้ว สามารถทำการรักษาแบบกรีดหรือเจาะระบายออก และทำการพันแผลใบหูให้แนบสนิทไม่ให้กลับมาเป็นถุงเลือดได้อีก แต่วิธีนี้พบว่ามีข้อด้อยที่บางตัวก็กลับมาเป็นได้อีกในเวลาอันรวดเร็ว และการเจาะกรีดอาจเป็นสาเหตุให้มีการติดเชื้อแทรกซ้อนเพิ่มได้

               ส่วนในกรณีที่เป็นถุงใหญ่ แผ่กระจายเต็มหรือเกือบเต็มใบหู การเจาะออกอาจไม่ได้ผลดี เพราะภายในใบหูนั้นร่างกายได้มีการสร้างเส้นใยเป็นถุงแบบหนาไว้แล้ว เจาะกรีดอย่างไร เลือดก็จะออกและกลับมาสะสมอีก จึงแนะนำการผ่าตัดเปิดกรีดที่ใบหู เพื่อเลาะและขูดเอาเส้นใยที่เกิดขึ้นออกจะดีกว่า ให้ผลในการรักษาที่ดีกว่า เพียงแต่ลักษณะใบหูอาจจะหงิกงอ ไม่สวยในสายตาของเจ้าของเท่านั้น


     อาการนี้เป็นโรคติดต่อหรือเปล่า เป็นพร้อมกันสองข้างได้หรือไม่

               อาการนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ เพราะเกิดจากพฤติกรรมของสัตว์ที่ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกด้วยตัวเอง ซึ่งมักพบว่าจะเป็นทีละข้าง และพบน้อยตัวมากที่จะเป็นสองข้างพร้อมกัน แต่หากไม่ทำการรักษาที่ต้นเหตุให้หาย ก็สามารถเป็นอีกข้างได้เช่นกัน


     รู้แล้วอย่างนี้ เราจะป้องกันได้อย่างไร

               การป้องกันเริ่มจากการกำจัดสาเหตุ เช่น รักษาความสะอาดของช่องหูและใบหู ด้วยการเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาเช็ดหูสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งตามความเหมาะสม ควรมีการป้องกันเห็บ หมัด หากสุนัขมีอาการโรคทางผิวหนังบริเวณใบหน้า แนะนำให้ทำการรักษาและใส่ collar เพื่อป้องกันการเกา

    เครดิต/เรียบเรียงจาก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×