คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : การบ้านที่โรงเรียน
แบบฟอร์มการส่งการบ้าน
ชื่อ มากิโตะ ซาโต้ รหัส D.D.02
ส่งการบ้านวิชา แบบทดสอบ เรื่อง หาประวัติและรูปของเทพเจ้า (มั้ง)
เนื้อหา
1.โพไซดอน (Poseidon)
โพไซดอน หรือ โพเซดอน (Poseidon) หรือ โปเซดอน เป็นชื่อเรียกเทพเจ้าตามชาวกรีก แต่สำหรับชาวโรมัน ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมของกรีกมาอีกทอดหนึ่งจะเรียกว่า เนปจูน ตามภาษาละติน
โพไซดอน เป็นผู้คุ้มครอง ท้องทะเลและห้วงน้ำ (The ruler of the sea) เป็นพระอนุชาของเทพซุส หรือ จูปิเตอร์ตามภาษาละติน เทพที่มีอำนาจสูงสุดในบรรดาเทพเจ้ากรีก-โรมันทั้งหมด ส่วนพระชายาของพระองค์ คือ เทพีอัมฟิไทรต์ ซึ่งก็เป็นเทพี แห่งท้องทะเล เช่นกัน
โพไซดอน เป็น เทพเจ้าแห่งท้องทะเล และมหาสมุทร เป็น ผู้ปกครองดินแดน แห่งท้องน้ำ ตั้งแต่แหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จนถึงใต้บาดาล มีอาวุธคือสามง่าม บางตำนานกล่าวว่า มีท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าอีกด้วย
ตามตำนานเล่าว่า โพเซดอนเป็นบุตรของโครโนสกับเร มีพี่น้องอีก 4 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพ แห่งโอลิมปัสทั้งสิ้น ได้แก่
- ซุส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส
- ฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก
- เฮรา ชายาแห่งเทพซุส
- เฮสเตีย เทพีแห่งเตาผิง
โพเซดอนมีมเหสีองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นหญิงรับใช้ของเทพีอะธีนา คือ เมดูซ่า ซึ่งในตอนแรกนั้นยังไม่ถูกสาบให้มีผมเป็นงู เพิ่งจะเป็นเช่นนั้นเมื่อเทพีอะธีนาทราบเรื่องว่าหญิงรับใช้ของตน ไปเป็นมเหสีของโพเซดอน จึงสาบเมดูซ่าให้เป็นปีศาจที่มีผมเป็นงู และเมื่อมองใครก็จะกลายเป็นหินไปหมด ในคราวที่เปอร์ซิอุสปราบเมดูซ่านั้น เปอร์ซิอุสได้ตัดศีรษะของเมดูซ่าแล้วเลือดของเมดูซ่า ที่กระเซ็นออกมา กลายเป็นม้าบินสองตัว คือ เพกาซัส (Pegasus) และ คริสซาออร์ (Chrysaor) ดังนั้นจึงถือว่า ทั้ง เพกาซัส และ คริสซาออร์ เป็นลูกของโพเซดอนด้วย
ในสมัยที่โครนัส และเทพไททัน เป็นใหญ่อยู่นั้น เนรูส เป็นผู้ครอบครองทะเล เนรูสเป็นโอรสของ แม่พระธรณี กับ พอนทัส หรือทะเล ซึ่งเป็นสวามีองค์ที่สอง เนรูสเป็นเทพเจ้าผู้ชราแห่งทะเล มีหนวดสีเทายาว มีหางเป็นปลา และ มีธิดาเป็นนางพรายน้ำห้าสิบนาง คือ เนรีด ผู้น่ารัก เมื่อโพไซดอน ได้รับมอบหมายให้มาเป็นเจ้าแห่งทะเลแทน เนรูส ผู้ชราที่มีน้ำพระทัยดี ก็ทรงยกธิดานามว่า อัมฟิไทรต์ ให้เป็นมเหสีของโพไซดอน แล้วเธอเองก็ปลีกตัวไปประทับอย่างสงบในถ้ำใต้บาดาล เนรูสทรงยกปราสาทใต้ทะเลให้แก่พระราชา และพระราชินีองค์ใหม่ด้วยปราสาททองคำ ซึ่งตั้งอยู่ในสวนหินปะการังและไข่มุก อัมฟิไทรต์ประทับที่ปราสาทแห่งนี้อย่างมีความสุข พร้อมกันนั้นยังห้อมล้อมด้วยนางพรายน้ำพี่น้องอีกสี่สิบเก้านาง นางมีโอรสองค์เดียว นามว่า ไทรทัน ซึ่งมีหางเป็นหางปลา เหมือนเนรูสผู้เป็นพ่อ ทรงขี่หลังสัตว์ทะเล และทรงเป่าสังข์ท่องเที่ยวไปในทะเล
2. เฮรา
เทพีฮีร่า หรือ เฮร่า (Hera)
ฮีร่า (Hera) หรือภาษาโรมันว่า จูโน (Juno) เป็นราชินีของเทพธิดาทั้งหลาย เพราะเป็นชายาของซูส
ฮี ร่าเป็นธิดาองค์ใหญ่ของเทพไทแทนโครนัสกับเทพมารดารีอา ต่อมาในตอนหลังได้อภิเษกสมรสกับ ซูสเทพบดีอนุชาของนาง ทำให้นางกลายเป็นราชินีสูงทัสุดในสวรรค์ชั้นโอลิมปัสที่ไม่ว่าผู้ใดก็คร้าม เกรง เทวีฮีร่าไม่ ชอบนิสัยเจ้าชู้ของซูส ด้วยเหตุที่ซูสเป็นคนเจ้าชู้ ทำให้ฮีร่ากลายเป็นคนขี้หึงและคอยลงโทษหรือพยาบาทคนที่มา เป็นภรรยาน้อยของซูสอยู่เสมอ
เมื่อแรกที่ซูสขอแต่งงานด้วยฮีร่า ปฏิเสธ และปฏิเสธเรื่อยมาจนถึง 300 ปี วันหนึ่งซูสคิดทำอุบายปลอมตัว เป็นนกกาเหว่าเปียกพายุฝนไปเกาะที่หน้าต่าง ฮีร่าสงสารก็เลยจับนกมาลูบขนพร้อมกับพูดว่า "ฉันรักเธอ" ทันใด นั้นซูสก็กลายร่างกลับคืนและบอกว่า ฮีร่าต้องแต่งงานกับพระองค์
แต่ ทว่าชีวิตการครองคู่ของเทวีฮีร่ากับเทพปริณายกซูสไม่ค่อยราบรื่นเท่าใดนัก มักจะทะเละเบาะแว้งเป็น ปากเสียงกันตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่า ในเวลาที่เกิดฟ้าคะนองดุเดือดขึ้นเมื่อไร นั่นคือ สัญญาณว่าซูสกับฮีร่าต้องทะเลาะกันเป็นแน่ เพราะ 2 เทพนี้เป็นสัญลักษณ์ของสรวงสวรรค์ เมื่อท้องฟ้าเกิดอาเพศก็ เหมาเอาว่า เป็นเพราะการขัดแย้งรุนแรงของ 2 เทพคู่นี้
แม้ว่าเทวีฮีร่ามี ศักดิ์ศรีเป็นถึงราชินีแห่งสวรรค์หรือเทพมารดาแทนรีอา แต่ความประพฤติและอุปนิสัยของเจ้าแม่ไม่อ่อนหวานมี เมตตาสมกับเป็นเทพมารดาเลย โดยประวัติของเจ้าแม่นั้นมีทั้งโหดร้าย ไร้เหตุผล เจ้าคิดเจ้าแค้นและอาฆาตพยาบาทจนถึงที่สุด ผู้ใดก็ตามที่ ถูกเทวีฮีร่าอาฆาตไว้มักมีจุดจบที่ไม่สวยงามนัก ว่ากันว่าชาวกรุงทรอยทั้งเมืองล่มจมลงไปเพราะเพลิงอาฆาตแค้นของเจ้าแม่ฮีร่า นี้เอง สาเหตุ เกิดจาก เจ้าชายปารีสแห่งทรอยไม่เลือกให้เจ้าแม่ชนะเลิศในการตัดสินความงาม ระหว่าง 3 เทวีแห่งสวรรค์ คือเทวีฮีร่า เทวีเอเธน่า และเทวี อโฟรไดที่
รูป เขียนรูปสลักของชาวกรีกโบราณมักทำรูปของเจ้าแม่ฮีร่า เป็นเทวีวัยสาวที่สวยสง่า ซึ่งความจริงก็เป็นเช่นนั้น ว่ากันว่ามีคน หลงใหลความงามของเจ้าแม่จนคลั่งไคล้หลายคน โดยเฉพาะ อิกซิออน (Ixion) ราชาแห่ง ลาปิธี (Lapithae) ต่อมาถูกซูสเทพบดี ลงโทษอย่างรุนแรง และบางทีอาจเป็นเพราะทรนงตนว่ามีสิริโฉมงดงามก็ได้ที่มำให้เทวีฮีร่าเป็น เดือดเป็นแค้นนักที่สวามีปันใจให้สตรีอื่น จึง ต้องราวีอย่างถึงที่สุดเสมอ ความร้ายกาจของเจ้าแม่เคยถึงขนาดคิดปฏิวัติโค่นอำนาจของสวามีจนเกือบ สัมฤทธิ์ผล
เรื่องมีอยู่ว่า เจ้าแม่โกรธแค้นความไม่ซื่อสัตย์ของสวามีขึ้นมาอย่างเต็มกลืน จึงร่วมมือกับเทพ โปเซดอน จ้าวสมุทร เชษฐาของซูสเอง และเทพอพอลโลกับเทวี เอเธน่า ด้วย ช่วยกันกลุ้มรุมจับองค์เทพซูสมัดพันธการไว้แน่นหนา จนเป็นเหตุให้เทพปริณายกซูสจวนเจียนจะ สูญเสียอำนาจอยู่รำไร ก็พอดีชายาอีกองค์ของซูสนามว่า มีทิส (แปลว่าภูมิปัญญา) ได้นำผู้ช่วยเหลือมากู้สถานการณ์ทันเวลา โดยไปพา อาอีกีออน (Aegaeon) ซึ่งเป็นอสูรร้อยแขนที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงมาช่วยเหลือเทพบดีซูส อสูรตนนี้มีฤทธิ์อำนาจมากเสียจนเทพเทวา น้อยใหญ่ต้องยอมศิโรราบไปตาม ๆ กัน เมื่ออาอีกีออนมาแก้ไขให้ซูส และนั่งเฝ้าอยู่ข้างบัลลังก์ของไท้เธอ บรรดาผู้คิดกบฎปฎิวัติก็หน้าม่อย ชวนกันหนีหน้าไปหมด แผนการณ์จึงล้มครืนด้วยประการฉะนี้
องค์เทพซูสเองก็เคยร้ายกาจกับ ราชินีเทวีฮีร่าเหมือนกัน ทรงลงโทษลงทัณฑ์แก่เจ้าแม่อย่างไม่ไว้หน้าอยู่บ่อย ๆ นอก จากทุบตีอย่างรุนแรงแล้ว ไท้เธอยังใส่โซ่ตรวนที่บาทของเจ้าแม่ กับผูกข้อหัตถ์และพาหาติดกันมัดโยงโตงเตงอยู่บนท้องฟ้า จนเป็น เหตุให้เกิดตำนานเกี่ยวกับเทพ ฮีฟีสทัส ขึ้นมาว่า จากการวิวาทครั้งนี้ เทพฮีฟีสทัสผู้เป็นโอรสเข้าขัดขวางมิให้พระบิดากระทำ รุนแรงแก่พระมารดา จึงซูสเทพบดีที่กำลังโกรธกริ้ว จับตัวฮีฟีสทัสขว้างลงมาจากสวรรค์ กลายเป็นเทพพิการไปเลย
เทวีฮีร่านอกจากขี้หึงแล้ว ยังช่างริษยามากอีกด้วย ครั้งหนึ่งเมื่อซูสทรงมีราชธิดานามว่า เอเธน่า ออกมาได้โดยไม่ต้องพึ่ง ใคร ซึ่งกระโดดออกจากเศียรของไท้เธอเอง เจ้าแม่ฮีร่าก็ริษยายิ่งนัก ตรัสว่าเมื่อสวามีทรงมีกุมารีด้วยองค์เองได้ นางเองก็มีได้ เช่นกัน ทว่าบุตรที่เกิดจากตัวเจ้าแม่เองนั้นกลับมิได้สะสวย เรืองฤทธิ์เช่นเอเธน่า แต่เป็นอสูรร้ายน่าเกลียดน่ากลัวยิ่ง (แต่บาง ตำนานกล่าวว่าบุตรที่จากเทวีฮีร่าก็คือ ฮีฟีทัสนั่นเอง) คืออสูร้าย ไทฟีอัส (Typheus) ซึ่งผู้ใดเห็นก็หวาดกลัว เลยทำให้เทพ ปริณายกซูสกริ้วใหญ่ และการวิวาทบาดหมางก็เกิดขึ้นอีก
เจ้าแม่ฮีร่า มีโอรสธิดากับเทพบดีซูส 4 องค์ นามว่า ฮีบี้ (Hebe) อิลลิธธียา (Ilithyia) เอเรส (Ares) และฮีฟีสทัส (Hephaestus) เทพ 2องค์หลัง นี้เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเทพเอเรส คือ เทพแห่งสงคราม ส่วนเทพฮีฟีสทัสคือเทพถลุงเหล็กหหรือเทพแห่งงานช่าง
แม้ว่าชีวิต สมรสของเจ้าแม่ฮีร่าจะไม่ราบรื่นนัก แต่ในฐานะที่เป็นราชินีหรือเป็นมารดาแห่งสวรรค์ ฮีร่าเป็นเทพที่ คุ้มครองการแต่งงาน มีหลายครั้งที่เธอคอยดลใจให้วีรบุรุษได้แสดงความกล้าหาญ จึงทำให้เป็นที่เคารพนับถือในเขตโอลิมปัส เทวาลัยที่เป็นที่บูชาขนาดใหญ่ที่สุดของเทวีฮีร่าอยู่ที่เมืองอาร์กอสเรียก ว่า เดอะ ฮีร่าอีอุม (Heraeum)
สัญลักษณ์ของฮีร่าคือ วัว นกยูง และสิงโต พฤกษาประจำตัวของเจ้าแม่คือ ผลทับทิม และนกแขกเต้า
3.อพอลโล
เทพอพอลโล Apollo
...อพอลโล (Apollo) เทพคู่แฝดผู้น้องของเทวีอาร์เทมิส คือเทพครองดวงอาทิตย์ ซึ่งภายหลังชาวกรีกและโรมันถือว่า เป็นดวงอาทิตย์ทีเดียว เหมือนอย่างที่ถืออาร์เทมิสเป็นดวงจันทร์ฉันนั้น
ในชั้นดั้งเดิมสุริยเทพของกรีกคือ ฮีลิออส(Helios) ซึ่งเป็นบุตรของโอเพอร์เรียน (Hyperion) ในคณะเทพไทแทน แต่เมื่อคณะเทพไทแทนสิ้นอำนาจ ชาวกรีกจึงนับถือเทพ อพอลโลแทนสืบต่อมา เมื่อนาง แลโตนา มารดาของอพอลโล ถูกกระทำด้วยความหึงของเจ้า แม่ฮีรา เพราะเหตุเป็นที่ปฏิพัทธ์เสน่หาของ ซูส ต้องอุ้มครรภ์ หนีงู ไพธอน (Python) ของเจ้าแม่ ซอกซอนไปไม่มีที่จะให้ประสูติบุตรในครรภ์ได้จน
ถึงเกาะดีลอส (Delos) เทพโปเซดอน มี ความสงสารบันดาลให้เกาะน้อยผุดขึ้นในทะเล นางจึงให้ประสูติอพอลโลกับอาร์เตมิส บนเกาะ นั้น ในทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา อพอลโลก็จับงูไพธอนฆ่าเสีย ด้วยเหตุนี้ บางทีอพอลโลก็เป็นที่เรียก ขานว่า ไพธูส (Pytheus) แปลว่า "ผู้ประหารไพธอน" นอกจากนี้อพอลโลยังมีชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อ มีชื่อตาม สถานที่เกิดว่า ดีเลียน (Felian) ฟีบัส (Phoebus) แปลว่า "โอภาส" หรือ "ส่องแสง" เป็นอาทิ ชื่อหลังนี้มัก ใช้บวกกับชื่อประจำว่า ฟีบัส อพอลโล เนือง ๆ
เมื่อให้ประสูติบุตรแล้ว นางแลโตนาก็ยังไม่พ้นการรังควานของเจ้าแม่ฮีรา ต้องดั้นด้นเซซังต่อไปจนถึงแคว้น เคเรีย (Caria) ซึ่งอยู่ ในเอเซียไมเนอร์ปัจจุบันนี้ นางจำเป็นต้องหยุดพัก ณ ริมหนองน้ำแห่งหนึ่งด้วยโรยกำลัง และขอดื่มน้ำจาก พวกชาวบ้าน ที่ออกมาถอนหญ้า คาอยู่ในบริเวณนั้น พวกชาวบ้านแทนที่จะสมเพชสงสารกลับ ไล่ตะเพิดและด่าทอนางด้วยคำ หยาบช้า ทำให้ซูสเทพบดีกริ้วจัดนัก ถึงแก่ สาปชาวบ้านเหล่านั้นให้กลายเป็นกบไปทั้งหมด
ตำนานเรื่องนี้เห็นจะแสดงว่าใน ละแวกนั้นมีกบ ชุม และกบปัจจุบันอาจสืบเชื้อสายจากชาว บ้านที่ถูกสาปเหล่านั้นก็เป็นได้
อพอ ลโลเป็นเทพที่ชาวกรีกถือว่ามีรูปงามยิ่ง และเป็นนักดนตรีผู้ขับกล่อมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ด้วยพิณถือของเธอ นอกจากนี้เธอยังมีคันธนูซึ่งยิงได้ไกล จึงได้สมญานามว่า เทพขมังธนู ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไร เธอยังเป็นเทพผู้ถ่ายวิชาโรคศิลป์ ให้แก่มนุษย์เป็นปฐม เป็นเทพแห่งแสงสว่างผู้ขจัดความมืดและเป็นเทพแห่ง สัจธรรมผู้ไม่เคยเอ่ยวาจาเท็จอีกด้วย
วิหารของเทพอพอลโลนั้น มีอยู่ดาษดื่นทั่วไปในประเทศแต่ที่สำคัญที่สุดได้แก่วิหาร ณ เมืองเดลฟี ใกล้ทิวเขาพาร์นาซัส รูปอนุสาวรีย์ โคลอสซัส (Colosus) ที่เขาสร้างอุทิศแด่เธอ ณ เกาะ โรดส์ (Rhodes) นั้นเป็นสิ่งหนึ่งในสิ่งอัศจรรย์ทั้ง 7 ของโลกสมัยโบราณทีเดียว
เท พอพอลโลได้สำแดงวีรกรรมสังหารผลาญชีวิตคนพาลมากมาย นอกจากเคยฆ่างู ยักษ์ไพธอนจนมีชื่อ เสียงมหาศาลแล้ว ยังสามารถสังหารยักษ์ อโลอาดี (Aloadae) และ อีฟิอัลทิส(Ephialtes) ซึ่งเป็นเชื้อสายของ วงศ์ไทแทนคิดล้มซูสเทพบดีเพื่อฟื้นวงศ์ไทแทนคืนมา เป็นต้น
แต่มีครั้ง หนึ่งที่อพอลโลยังไม่อาจเอาชนะมนุษย์ คนหนึ่งได้จนร้อนถึงไท้เทพซูสต้องออกมาประนีประนอม บุรุษเดินดินคนนั้นนามว่า เฮอร์คิวลิส หรือ เฮลาคลิสนั่นเอง เหตุเกิดเพราะเฮอร์คิวลิสไปขอคำพยากรณ์ที่วิหารเดลฟีแล้ว ได้รับคำทำนายไม่ถูกใจ จึงล้มโต๊ะ พิธีใน วิหารแล้วฉวยเอากระถางธูปไป เทพอพอลโลรีบรุดตามไปท้าเล่นมวยปล้ำเพื่อชิงเอากระถางคืน ปล้ำกันอยู่ นานไม่อาจรู้แพ้ชนะ ชะรอยซูสเห็น
ท่าว่าขืนปล่อยไว้นานอพอลโลอาจจะ เสียเปรียบพ่ายแพ้แก่มนุษย์เข้าได้ และ อาจเสียหน้าวงศ์เทพแน่ จึงเสด็จลงไปห้ามปรามให้เลิกราต่อกัน ขอให้เฮอร์คิวลิสคืนกระถางธูปแก่อพอลโล แล้วให้ เลิกราเรื่องบาดหมางต่อกัน เรื่องราวก็เลยจบลงด้วยดี
....เทพอพอลโลมีอุปนิสัยไม่ยอมแพ้ใคร อยู่ไม่น้อย เห็นได้จากที่ไปแข่งเป่าขลุ่ยกับมาไซยาส์ซึ่งเป็นเทพชั้นรอง แล้วตั้งกรรมการตัดสินว่าผู้ใดเป่าเก่งกว่ากัน พระเจ้าไมดาส (Midas องค์ที่จับอะไรก็กลายเป็นทอง) เกิดตัดสินเข้าข้างมาไซยาส์ เพียงเท่านี้ อพอลโลก็ไม่ฟังอะไรอีก จึงสาปให้ไมดาสมีหูเป็นลาไปทันที
ตาม เรื่องต่าง ๆ ที่เธอมีบทบาทอยู่ อพอลโลดูจะเป็นเทพใจสูงกว่าองค์อื่น ๆ แต่ถึงกระนั้นก็มีอยู่ 2-3 เรื่อง ที่แสดงให้เห็นความโหดเหี้ยมดุร้ายของเธอดังเราจะเห็น จากเรื่องต่อไปนี้
การลงโทษนางไนโอบี
เท พอพอลโลกับเทวีอาร์เตมิสเป็นที่สวาสดิ์ภาคภูมิใจของมารดายิ่งนัก นางถึงแก่โอ้อวดคุยฟุ้งเฟื่องไปไกลว่าจะหาบุตรใครเสมอบุตรของนางเห็นจะไม่มี อีกแล้ว ไม่ว่าจะเปรียบกันในเชิงสิริรูป สติปัญญา หรือพลังอำนาจ ก็ต้องแพ้บุตรของนางหลุดลุ่ย ความนี้เลื่องลือไปถึงนาง ไนโอบี (Niobe) ซึ่งเป็นธิดาของท้าว แทนทะลัส (Tantalus) และมเหสีเจ้ากรุง ธีบส์ (Thebes) นางไนโอบีกลับหัวเราะเยาะและค่อนว่า นางแลโตยามีลูกจะอวดกับเขาแต่เพียง 2 เท่านี้หรือ ส่วนนางเองสิมีถึง 14 เป็นชาย 7 ล้วนแต่มีรูปกำยำงามสง่า และเป็นหญิงล้วนแต่ทรงโฉมวิลาสวิไลถึง 7
นางไนโอบีลั่นวาจาก้าวร้าวสบ ประมาทนางแลโตนาอีกเป็นอันมาก ซ้ำยังกำเริบเสิบสานถึงแก่ห้ามชาวเมือง ของนางกระทำบูชาเทพอพอลโลและเทวีอาร์เตมิส แถมบังอาจสั่งให้ทำลายรูปเคารพเทพและเทวีคู่นี้จากแท่นที่บูชา ในอาณาจักรของนางอีกด้วย นางแลโตนาโกรธแค้นหนักหนาในการที่ถูกหยามหยาบถึงเพียงนี้ จึงเรียกบุตรและ ธิดาเคียงข้าง และสั่งให้ออกตามฆ่าบุตรและธิดาของนางไนโอบีเสียให้สิ้น
เทพบุตร เทพธิดาคู่แฝดอยู่ในอารมณ์ขึ้งเคียดเต็มที่ จึงขมีขมันออกไปตามคำสั่งทันที อพอลโลพบมานพทั้ง 7 ออกล่าสัตว์ จึงประหารเสียด้วยลูกธนูตายหมดทั้ง 7 คน เมื่อข่าวการตายของบุตรรู้ไปถึงนางไนโอบี นางก็โศกเศร้า โทมนัสนัก ฝ่ายเจ้ากรุงธีบส์สวามีก็ทำลายตัวเองสิ้นไปด้วยอีกคนหนึ่ง ยังเหลือธิดาทั้ง 7 ยังไม่ทันที่มารดาจะวายโศก ก็ถูกเทวีอาร์เทมิสจองประหารอีก
มิใยสาวผู้ถึงฆาตทั้ง 7 จะพยายามหนีให้พ้นลูกธนูของเจ้าแม่แห่งนายพรานอย่างไร ๆ ก็ไม่สำเร็จ แม้นาง ไนโอบีจะพยายามปกป้องลูก และอ้อนวอนขอความอารักขาคุ้มครองจากทวยเทพบนเขาโอลิมปัสสักเท่าใดก็ไม่เป็น ผล ธิดาของนางต้องศรล้มกลิ้งตายกันระเนระนาด ที่สุดจนนางที่ซุกอยู่ระหว่างอุระของมารดา เทวีอาร์เตมิสผู้อาฆาตก็ไม่ละเว้น ลูกธนูของเจ้าแม่แล่นเข้าเป้าเสียบนางนั้น ให้วายชีวิตไปแทบอุระของมารดาจนได้
นางไนโอบีสูญสิ้นทั้งสามีและ บุตรธิดาที่มาดหมายเหลือแต่นางเดียวดายถึงไม่ตายก็เหมือนตาย ความเศร้ารันทดหนุนเนื่องประดังขึ้นมาแน่นอุระ นางก็แข็งชาไปทั้ง ร่างกาย มิอาจจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ อนิจจา! ร่างของนางกลายเป็นหินตื้อตันไปหมด คงอยู่แต่หยาดน้ำตารินไม่สิ้นสุด แต่วันนั้นมาจนวันนี้ น้ำตานางจะหยุดไหลก็หา ไม่ ส่วนรูปหินของนางไนโอบีก็ยังปรากฏอยู่บนเขา ไซปิลัส (Sipylus)
จนตราบเท่าทุกวันนี้
... นักเทพปกรณัมวิทยาเขาว่ากันว่า เรื่องนี้ก็คือ ตำนานเปรียบเทียบถึงอำนาจของแสงอาทิตย์เมื่อสิ้นฤดูหนาว ซึ่งนางไนโอบีนั้นหมายถึงฤดูหนาว บุตรทั้ง 7 คือระยะ กาลแห่งความหนาว และลูกธนูของอพอลโลก็คือแสงอาทิตย์
4. อโฟรไดท์
เทพีอโฟรไดท์ (Aphrodite) หรือ วีนัส (Venus)
เทวีองค์ สำคัญที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากที่สุดได้แก่เทพี อโฟรไดท์ (Aphrodite) หรือ วีนัส (Venus) ซึ่งเป็นเจ้าแม่แห่งความรักและความงาม สามารถสะกดเทพและมนุษย์ทั้งปวงให้ลุ่มหลง ทั้งอาจจะลบสติปัญญาของผู้ฉลาดให้ตกอยู่ในความโฉดเขลาไปได้
เทพี อโฟรไดท์มี ต้นกำเนิดมาจากดินแดนซีกโลกตะวันออก ว่ากันว่าเป็นเทวีองค์แรกเริ่มของชน ชาติฟีนีเซีย ที่มาตั้งอาณานิคม มากมาย ในดินแดนตะวันออกแถบตะวันออกกลาง
ตามมหากาพย์อิเลียดของโฮ เมอร์ เทวีอโฟรไดท์เป็นเทพธิดาของซูส เกิดกับนางอัปสร ไดโอนี (Dione) แต่บทกวีนิพนธ์หลัง ๆ กล่าวว่า เทพีอโฟรไดท์ผุดขึ้นจากฟอง ทะเล เนื่องจากคำว่า Aphros อันเป็นที่มาของชื่อใน ภาษากรีกแปลว่า "ฟอง" แหล่งกำเนิดของเทพีอโฟรไดท์อยู่ในทะเลแถว ๆ เกาะ ไซเธอรา (Cythera) จากนั้นถูกคลื่นซัดไปจนถึงเกาะ ไซพรัส (Cyprus) เกาะทั้งสองจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับเทพีอโฟรไดท์และบางทีเท พีอโฟรไดท์ก็มีชื่อเรียกตามชื่อเกาะทั้งสอง นี้ว่า ไซเธอเรีย (Cytherea) และ ไซเพรียน (Cyprian)
เมื่อเทวีอโฟรไดทีถูกคลื่นซัดไปติด ณ เกาะไซพรัสนั้น ฤดูเทวีผู้รักษาทวาร แห่งเขาโอลิมปัสลงมารับพาเทพีอโฟรไดท์ขึ้นไปยังเทพสภา เทพทุกคนในที่นั้นต่างตะลึงใน ความงามของเทพีอโฟรไดท์และต่างก็อยากได้เจ้าแม่เป็นคู่ครอง แม้แต่ซูสเองก็อยากจะได้ แต่เทพีอโฟรไดท์ไม่ยินดีด้วย ไท้เธอจึงโปรดประทานเจ้าแม่ให้แก่ ฮีฟีสทัส (Hephaestus) เทพรูปทรามผู้มีบาทอัน แปเป๋เป็นบำเหน็จรางวัลทดแทนความชอบ ในการที่ฮีฟีสทัส ประกอบอสนียบาตถวายและเป็นการลงโทษ เทพีอโฟรไดท์ในเหตุที่ไม่ไยดีซูสไปในตัวด้วย
และเรื่องราวความรักของ เทวีแห่งความงามและความรักอโฟร์ไดนั้นเทพีอโฟรไดท์เที่ยวหว่าน เสน่ห์ไปทั่วไม่ว่าเทพหรือมนุษย์ และที่อื้อฉาวฮือฮามากที่สุดได้แก่ การไปแอบรัก สุดหล่อแห่งยุคคือ อโดนิส
ในกาลวันหนึ่ง เทพีอโฟรไดท์เล่นหัวหยอกเอินอยู่กับอีรอส บังเอิญถูกศรซึ่งอีรอสถืออยู่สะกิดเอาที่อุระ ถึงแม้ว่า จะเป็นแผลเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้เจ้าแม่ตกอยู่ในอำนาจพิษศรของบุตรได้ ยังมิทันที่แผลจะ เหือดหาย เจ้าแม่ได้พบกับ อโดนิส (Adonis) มานพหนุ่มพเนจรอยู่ในราวป่า ให้บังเกิดความพิสมัยจนไม่อาจระงับ ยับยั้งอยู่ใน สวรรค์ได้ เทพีอโฟรไดท์จึงลงมาจากสวรรค์มาพเนจรตามอโดนิส หมายที่จะได้ใกล้ชิดซึ่งกันและกันไม่ว่าจะไป ทางไหนเทพีอโฟรไดท์ก็จะ ตามไปด้วย
แต่ความรักของเจ้าแม่ที่มีต่ออโดนิสเป้นความรักข้าง เดียว เจ้าหนุ่มหาได้รักตอบเทพีอโฟรไดท์ไม่ ด้วยเหตุนี้อโดนิสจึงไม่แยแสต่อคำกำชับตักเตือนของเทพีอโฟรไดท์คงเที่ยวล่า สัตว์ใหญ่น้อยเรื่อยไปตามใจชอบ วันหนึ่งเจ้าแม่อโฟรไดท์มีธุระต้องจากไป จึงทรงเทพยานเทียมหงส์เหิน เหาะไปในนภากาศ ฝ่ายอโดนิสพบหมูป่าแสนดุร้ายเข้าตัวหนึ่ง และตามล่ามันไปจนหมูป่าจนมุมแล้ว อโดนิสก็ ซัดหอกไปถูกหมูป่า แต่หอกพลาดที่สำคัญ หมูป่าได้รับความเจ็บปวดจึงเพิ่มความดุร้ายยิ่งขึ้น จึงรี่เข้าขวิดอโดนิสล้มลง ถึงแก่ความตาย
เจ้าแม่อโฟรไดท์ได้สดับเสียงร้องโอดโอยของอโดนิสใน กลางหาวผินพักตร์มาเห็นดังนั้น จึงชักรถเทียม หงส์กลับลงมายังพื้นปฐพี และลงจากรถเข้าจุมพิตอโดนิสซึ่งกำลังจะสิ้นใจ ครั้นแล้วเจ้าแม่ก็ครวญคร่ำรำพันพิลาปพิไร ด้วยสุดแสนอาลับรัก แถมทึ้งเกศาข้อนทรวงทำอาการต่าง ๆ ตามวิสัยผู้ที่คลุ้มคลั่ง เจ้าแม่รำพันตัดพ้อเทวีครองชะตา กรรมที่ด่วนเด็ดชีวิตผู้เป็นที่รักของเจ้าแม่ให้พรากจากไป ประดุจควักดวงเนตรออกจากเจ้าแม่ก็ไม่ปาน พอค่อยหาย โศกแล้วเจ้าแม่จึงเอื้อนโอษฐ์ออกปณิธานว่า "ถึงมาตรว่าดังนั้นก็อย่าหมายเลยว่า ผู้เป็นที่รักแห่งข้าจะต้องอยู่ ในยมโลกตลอดกาล หยาดโลหิตของอโดนิสแก้วตาข้าจงกลายเป็นบุปผชาติชนิดหนึ่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์ความ โศกของข้าให้ข้าได้ระลึกถึงวาระเศร้าสลดครั้งนี้เป็นประจำปีเถิด" เมื่ออกปณิธานดังนั้นแล้ว เจ้าแม่ก็พรมน้ำ ด้วยเกสรอันศักดิ์สิทธิ์ลงบนหยาดโลหิตของอโดนิส บัดดลก็มีพันธุ์ไม้ดอกสีแดงเลือดดังสีทับทิมผุดขึ้น ดังมีชื่อเรียกกัน สืบๆ มาว่าดอกอโดนิส หรือ ดอกเออะเนมโมนิ (Anemone) ก็เรียก แปลว่า ดอกตามลม (บางตำนานว่าก็คือ ดอกกุหลาบนั่นเอง) เนื่องจากธรรมชาติซึ่งกล่าวกันว่า ลมทำให้ดอกไม้นี้แย้มบานและภายหลังก็พัดกลีบให้ร่วงหล่นไป มีฤดูกาลอยู้ได้เพียงชั่ว 3-4 เดือนเท่านั้น
อโฟรไดท์เป็นเทวีที่ ชาวกรีกและโรมันโบราณถือว่าเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์มาก ที่สุด เนื่องจากเจ้าแม่เป็นเทวีครองความรักและความงาม และความงามกับความรักก็เป็นสิ่งที่จับใจคนมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้เจ้าแม่จึงมักเป็นที่เทิดทูนและกล่าวขวัญในวิจิตรศิลป์และ วรรณคดีต่าง ๆ เทวีอโฟร์ไดที่มีต้นเมอร์เทิลเป็นพฤกษาประจำองค์ สัตว์เลี้ยงของเจ้าแม่เป็นนก บ้างว่าเป็นนกเขา นกกระจอกบ้าง หงส์บ้าง ตามแต่กวีคนไหนจะชอบใจยกให้เป็น สัญลักษณ์ของเทวีแห่งความงามและความรัก
ความคิดเห็น