ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ฟิสิกส์ `

    ลำดับตอนที่ #2 : สมดุลต่อการเคลื่อนที่

    • อัปเดตล่าสุด 9 ก.พ. 56


    ดุต่ลื่ที่  

    การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งแกร่งอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
    1. การเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่ คือทุกส่วนเลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น การผลักไม้บรรทัดแล้วไม้บรรทัดเลื่อนไปข้างหน้าทิศเดียวกัน
    2. การเคลื่อนที่แบบหมุน คือมีส่วนเป็นแกนหมุนและส่วนอื่นๆเคลื่อนที่หมุนรอบแกน เช่น การเคลื่อนที่ของพัดลม แต่วัตถุบ้างที่ก็เคลื่อนที่แบบหมุนและเลื่อนที่ไปพร้อมๆกัน เช่น การเคลื่อนที่ของลูกบอล 


    เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่เป็นหลักอาจแบ่งสมดุลของวัตถุได้ 3 ชนิด คือ

    1. สมดุลต่อการเลื่อนที่ (Translational  Equilibrium ) คือ วัตถุอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว  โดยไม่เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตัน จะมีค่าแรงลัพธ์หรือผลรวมของแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุทั้งหมดเป็นศูนย์ หรือเขียนได้ว่า  SF = 0
    2. สมดุลต่อการหมุน  ( Rotational  Equilibrium )  คือสมดุลที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุมีอัตราการหมุนคงตัว และไม่เปลี่ยนสภาพการหมุน
    3. สมดุลสัมบูรณ์ของวัตถุ  คือสภาพที่วัตถุนั้นเกิดสมดุลต่อการเลื่อนที่ (อยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่)และ สมดุลต่อการหมุน(ไม่หมุน) ไปพร้อมๆกัน แรงต่างๆ ที่กระทำต่อวัตถุเป็นไปตามเงื่อนไข 2 ประการ คือ                                  
    1. แรงลัพธ์เป็นศูนย์ หรือผลรวมของแรงทุกแรงที่กระทำต่อวัตถุเป็นศูนย์  (
    å F = 0 )                                              2. ผลรวมของโมเมนต์ของแรงทุกแรงที่กระทำต่อวัตถุเป็นศูนย์  ( å M = 0 )

    ___________________________________________


    •  สมดุลที่เกิดจากแรง 2 แรง  •
    เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุ 2 แรงแล้ววัตถุสมดุลต่อการเคลื่อนที่( อยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว)ดังรูป

      


     

    จากรูป ได้ว่าแรงทั้งสองต้องมีความสัมพันธ์กันดังนี้
    1. แรงทั้งสองต้องมีขนาดเท่ากัน จากรูป    (.) F1 = F2  (.) T = mg และ  (.) F = mgsinq
    2. แรงทั้งสองต้องมีทิศทางตรงกันข้าม และอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
    3. แรงลัพธ์   (
    SF = 0) ของแรงทั้งสองเท่ากับศูนย์

    ___________________________________________

    •  สมดุลของแรง 3 แรง  •

    เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุ 3 แรง แล้ววัตถุสมดุลต่อการเคลื่อนที่( อยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว


             

    จากรูป ได้ว่าแรงทั้งสามต้องมีความสัมพันธ์กันดังนี้
    1. แรงทั้งสามต้องพบกันที่จุดๆหนึ่งเท่านั้น หรือแรงทั้งสามขนานกันหมด
    2. แรงทั้งสามต้องอยู่ในระนาบเดียวกันเท่านั้น
    3. ผลรวมของแรงคู่ใดคู่หนึ่งต้องมีขนาดเท่ากับแรงที่สาม  แต่มีทิศทางตรงกันข้าม
    4. ถ้าเขียนผลรวมแรงทั้งสามจะได้ว่า
                    F1+F2+F3 =  0
           หรือ  F1+F2 =  -F3

    ___________________________________________

    •  สมดุลของแรงหลายแรง  •
    เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุหลายแรง แล้ววัตถุสมดุลต่อการเคลื่อนที่(อยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว

    1. แรงเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องพบกันที่จุดๆเดียวกัน เช่นดังรูป
     

    2.  แรงเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในระนาบเดียวกันเท่านั้น  เช่น

     




                 
                                                

    3.  เมื่อเขียนสมการผลรวมของแรง จะได้ว่า

     F1+F2+F3+…+Fn = 0

    เมื่อวัตถุอยู่ในสภาพสมดุลต่อการเคลื่อนที่พบว่า SF = 0 และยังพบอีกว่าไม่ว่าจะหาผลรวมของแรงย่อยในทิศทางใดๆ ก็จะมีแรงลัพธ์ในแนวนั้นๆ เท่ากับศูนย์ด้วย

     

    ดังนั้นอาจเขียนได้ว่าเมื่อวัตถุสมดุลต่อการเคลื่อนที่
    1.   SF= 0   จะได้ว่า ผลรวมของแรงทางขวา = ผลรวมของแรงทางซ้าย
    2.  SF= 0   จะได้ว่า ผลรวมของแรงพุ่งขึ้น = ผลรวมของแรงพุ่งลง

    # หมายเหตุ   ในการแก้ปัญหาสมดุลต่อการเคลื่อนที่ อาจใช้แกนตั้งฉาก 2 แกนในแนวอื่นๆก็ได้ผลเหมือนกันไม่จำเป็นต้องเป็นแกน x , y เสมอไป

    จากรูปข้างต้น จะได้ความสัมพันธ์ของแรงเมื่อวัตถอยู่ในสภาพสมดุลต่อการเคลื่อนที่ว่า

    1. SF= 0     ได้ว่า F1cosq + F4 sing  = F2sinb  + F3cosa

     2. SF= 0     ได้ว่า F1sinq + F2cosb   =  F3sina + F4 cosg

    ซึ่งจากความรู้เรื่องสมดุลต่อการเคลื่อนที่  เราอาจนำไปใช้แก้ปัญหาโจทย์หาแรงที่ไม่ทราบค่าได้



     

     

     

     




    ___________________________________________
    ก่อนจากกัน *



     
    © Tenpoints!
    Cute Black Flying Butterfly
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×