คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : มารุจักระบบการเล่นและอีกหลายๆอย่าง
ระบบการเล่น
[แก้] ชาวซิมส์
ชาวซิมส์สามารถทำงาน แต่งงาน เข้าโรงเรียน เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และอื่น ๆ อีกมากมายได้
ชาวซิมส์ยังมีโอกาสได้พบประสบการณ์จากเหตุการณ์เหนือความจริงต่าง ๆ เช่นการเห็นผี การถูกมนุษย์ต่างดาวจับตัวไปซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ชายตั้งครรภ์ได้ หรือมียมทูตที่ชื่อ กริม รีพเพอร์ มารับชาวซิมส์ที่เสียชีวิต
[แก้] ช่วงอายุ
ชาวซิมส์มีวิวัฒนาการ 6 ช่วงอายุ คือ ทารก วัยเด็กหัดเดิน วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา (ในภาคเสริม มหาลัยวัยฝัน มีช่วงอายุวัยมหาลัยเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเฉพาะชาวซิมส์ที่เข้ามหาวิทยาลัย) ชาวซิมส์จะเสียชีวิตเองเมื่ออายุขัยในวัยชรา ซึ่งช่วงอายุขัยในวัยชรากำหนดโดยค่าคะแนนปณิธานตอนเริ่มแรกที่ย่างเข้าสู่วัยชรา ชาวซิมส์ยังเสียชีวิตได้ด้วยสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก ส่วนวัยเด็กอาจถูกนักสังคมสงเคราะห์จับตัวไปถ้าความต้องการลดลงต่ำ ช่วงอายุที่แตกต่างจะมีสิ่งที่ท้าทายที่แตกต่างเช่นกัน เช่นการลดลงของความต้องการด้านความสะดวกสบายของวัยชรา วัยเด็กไม่สามารถทำอาหารได้ การกระทำที่คาดเดาไม่ได้ของวัยเด็กหัดเดิน และการคอยดูแลเด็กทารกตลอดเวลา เมื่อชาวซิมส์คลอดเด็ก เด็กที่เกิดจะเป็นวัยทารก ซึ่งเราจะไม่สามารถเลือกวัยนี้ได้ในโหมดสร้างครอบครัว เราจะต้องมีเด็กชาวซิมส์เกิดขึ้นเองในระหว่างการเล่นเกม
[แก้] ตัวละคร
เกม เดอะซิมส์ 2 มีละแวกเพื่อนบ้านกำหนดมาให้ นั่นคือ เพลสเซินท์วิว สเตรนจ์ทาวน์ และเวโรนาวิลล์ และยังมีละแวกเพื่อนบ้านอื่น ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในภาคต่อมา ชาวซิมส์ที่เกมสร้างไว้แล้วในละแวกเพื่อนบ้านต่างก็มีเรื่องราวและประวัติความเป็นมา เพลสเซินท์วิวเป็นละแวกเพื่อนบ้านหลักที่มีมาตั้งแต่เดอะซิมส์ภาคแรก มาจนเดอะซิมส์ 2 และจะเห็นในเดอะซิมส์ 3 แต่ละละแวกเพื่อนบ้านจะมีเรื่องราวที่โดดเด่น ตัวอย่างตัวละครชาวซิมส์มากมายที่เกมกำหนดมาให้ เช่น คาสซานดร้า กอธ แดเนียล เพลสเซินท์ และเจนนิเฟอร์ เบิร์บ เป็นต้น
[แก้] ความต้องการ
ชาวซิมส์ดำเนินชีวิตได้โดยค่าความต้องการต่าง ๆ มากที่สุดถึง 8 ด้าน ขึ้นอยู่กับช่วงวัย ความต้องการที่มีแน่ชัดทุกช่วงวัย ได้แก่ การขับถ่าย คือจะแสดงเป็นแถบมิเตอร์ซึ่งจะเปลี่ยนจากสีเขียว (เต็มเปี่ยม) ไปถึงสีแดง (สิ้นหวัง) ชาวซิมส์ที่มีแถบมิเตอร์ความต้องการลดลงจะแสดงจะหาทางกระทำบางอย่างเพื่อให้ แถบความต้องการเติมเต็ม (ตัวอย่างเช่น ถ้ามิเตอร์ความหิวลดลงต่ำ ชาวซิมส์จะเปิดตู้เย็นและหาของกินเอง หรือผู้เล่นอาจบังคับให้ชาวซิมส์ทำอาหารก็ได้) เมื่อแถบมิเตอร์ความต้องการด้านใดหมดหรือกลายเป็นสีแดงอาจเป็นเหตุให้เกิด การกระทำต่าง ๆ ชาวซิมส์ที่ความต้องการด้านพลังงานหมดก็จะเป็นลม ชาวซิมส์วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ หรือวัยชราที่มีค่าความหิวหมดก็จการด้านใดหมดหรือกลายเป็นสีแดงอาจเป็นเหตุให้เกิด การกระทำต่าง ๆ ชาวซิมส์ที่ความต้องการด้านพลังงานหมดก็จะเป็นลม ชาวซิมส์วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ หรือวัยชราที่มีค่าความหิวหมดก็จะเสียชีวิต ความต้องการเหล่านี้จะส่งผลโดยรวมกับระดับอารมณ์ของชาวซิมส์ ที่จะสังเกตเห็นได้จากเพชรที่ประดับบนหัวของชาวซิมส์ (เรียกว่า พลัมบ็อบ) แถบมิเตอร์ความต้องการของวัยทารก (มีเพียง สังคม ความหิว ขับถ่าย สุขอนามัย และพลังงาน) จะไม่ปรากฏให้เห็นเหมือนวัยอื่น แต่สีที่ฉากหลังของรูปภาพชาวซิมส์ที่ด้านซ้ายจะบอกว่าเป็นสีแดง (สิ้นหวัง) เหลือง (ต่ำ) หรือเขียว (เต็มเปี่ยม)
[แก้] นักสังคมสงเคราะห์
เมื่อชาวซิมส์เลี้ยงดูเด็ก ๆ ได้ไม่ดีพอ ปล่อยให้พวกเขามีค่าความต้องการตกต่ำนานเกินไป นักสังคมสงเคราะห์จะแวะมาหาและนำตัวเด็ก ๆ ทุกคนไปจากที่อยู่อาศัย เด็ก ๆ อาจถูกนำตัวไปถ้าผู้เล่นปล่อยเขาให้อยู่ในที่อยู่อาศัยตามลำพัง และนักสังคมสงเคราะห์จะแวะมาหาอีกถ้าเด็ก ๆ ไม่สนใจการเรียนเท่าที่ควร หรือพวกเขาอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนหรือหนาวเย็นมากเกินไป (เกิดขึ้นในภาคเสริม สี่ฤดูแสบ) ในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง จะอนุญาตให้ชาวซิมส์ขอร้องไม่ให้นักสังคมสงเคราะห์นำตัวเด็กไป และเด็ก ๆ ก็จะไม่ถูกนำตัวไป ถ้าเด็ก ๆ ถูกนำตัวไป ผู้เล่นจะถูกห้ามไม่ให้รับบุตรบุญธรรมอย่างถาวร ชาวซิมส์สามารถฆ่านักสังคมสงเคราะห์หรือเปลี่ยนให้เป็นวัยทารกหรือเด็กหัด เดินได้โดยใช้สูตรโกงหรือ โปรแกรมเสริม Third-Party ถ้าเด็ก ๆ เหล่านั้นอยู่ไกลจากตัวนักสงคมสงเคราะห์ เช่น ถูกขังไว้ในห้อง นักสังคมสงเคราะห์จะมีพลังลึกลับที่สามารถทำให้เด็กหายตัวไปอยู่ที่รถได้ ชาวซิมส์วัยเด็ก วัยเด็กหัดเดิน และวัยทารก จะปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้ และจะไม่อดตายถ้าไม่ใช้สูตรโกง ถ้าผู้เล่นพยายามจะนำตัวเด็ก ๆ เหล่านั้นไปอยู่ใกล้ ๆ เปลวไฟที่ลุกไหม้ ความต้องการจะลดลงอย่างมากแต่จะไม่ถึงตาย
[แก้] บุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ จะเป็นตัววัดลักษณะนิสัยของชาวซิมส์ โดยมีด้วยกัน 5 ด้านที่ผู้เล่นจะเลือกได้โดยการจัดแบ่ง ตัวอย่างเช่น ชาวซิมส์จะกระตือรือร้น หรือขี้เกียจ หรือจะเป็นกึ่งกลางระหว่างความกระตือรือร้นกับขี้เกียจ ค่าเหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่าชาวซิมส์จะเรียนรู้ทักษะได้เร็วแค่ไหน อัตราการลดลงของค่าความต้องการ รูปแบบของปฏิกิริยาที่ชาวซิมส์เกี่ยวข้อง ความเป็นไปได้ในปฏิกิริยาและการพาเพื่อนมาจากที่ทำงาหรือที่โรงเรียน ชาวซิมส์ทุกคนจะพูดคุยกันในภาษาที่เรียกว่า ซิมลิช ซึ่งเป็นภาษาที่สร้างขึ้นจากคำที่ไม่มีความหมาย แต่มีความหมายที่แสดงเป็นนัยได้ผ่านจากโทนเสียงและท่าทาง[7]
[แก้] สายอาชีพ
ชาวซิมส์วัยเด็กและวัยรุ่นจะไปโรงเรียนในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ การทำการบ้านเสร็จและระดับอารมณ์จะส่งผลต่อเกรด (เกรดที่สูงจะทำให้เขาได้รับเงินรางวัลหรือทักษะ) พ่อแม่ของเขาอาจสมัครให้เด็กเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนได้เมื่อมีจากความสำเร็จ ในการเลี้ยงอาหารมื้อเย็นให้กับอาจารย์ใหญ่ การขาดเรียนทำให้เกรดตกต่ำลง ถ้าเกรดของชาวซิมส์วัยเด็กต่ำมากเกินไป นักสังคมสงเคราะห์ก็จะปรากฏตัวและนำตัวเด็กไป แต่ถ้าเป็นวัยรุ่น พวกเขาจะไม่ถูกนำตัวไปแต่จะถูกไล่ออกจากงานนอกเวลาเรียน ชาวซิมส์จะหางานได้จากคอมพิวเตอร์หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นก็เช่นกัน ชาวซิมส์ที่ไปทำงานด้วยระดับอารมณ์ที่ดีและมีจำนวนเพื่อนที่ต้องการและระดับ ทักษะสำหรับสายอาชีพครบจะได้เลื่อนตำแหน่ง แต่ละสายอาชีพจะมีตำแหน่งงาน 10 ตำแหน่งและมีเงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่ละตำแหน่งจะมีการเปลี่ยนเครื่องแบบแต่งกาย ชั่วโมงทำงานและวันทำงานต่อสัปดาห์ รวมถึงรถประจำตำแหน่งด้วย นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกสำหรับการลาป่วย ที่ชาวซิมส์สามารถหยุดงานได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าชาวซิมส์โกหก พวกเขาจะพบกับผลร้ายที่ตามมา เช่นการไล่ออกจากงาน หรือถูกลดตำแหน่ง
มีสายอาชีพมากมายเช่น นักกีฬา นักธุรกิจ นักการเมือง ทหาร นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และในภาคเสริมมหาลัยวัยฝัน สี่ฤดูแสบ และสนุกจังยามว่าง ยังมีสายอาชีพใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอีก เมื่อได้เลื่อนขั้นมาถึงตำแหน่งสูงจะสามารถปลดล็อกของรางวัลแห่งอาชีพได้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการฝึกทักษะที่จำเป็นต่อสายอาชีพนั้น ๆ เมื่อถึงวัยชรา ชาวซิมส์อาจปลดเกษียณ และได้รำเงินบำนาญ จำนวนเงินบำนาญจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายอาชีพและตำแหน่งงานขณะที่ปลดเกษียณ วัยรุ่นและวัยชราอาจหางานรับจ้างทำ แต่จะมีเพียง 3 ตำแหน่งงานเท่านั้นในแต่ละสายอาชีพ และจะได้รับเงินเป็นหนึ่งในสามหรือครึ่งหนึ่งของเงินที่ผู้ใหญ่ได้รับ นอกจากนี้ ในภาคเสริมเปิดโลกธุรกิจ เนรมิตฝัน ชาวซิมส์ยังสามารถเปิดธุรกิจที่บ้านและสามารถเปิดร้านในพื้นที่ส่วนกลางที่ซื้อไว้ได้ด้วย
[แก้] ความปรารถนาและความกลัว
สิ่ง ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในเดอะซิมส์ 2 อย่างหนึ่งคือแถบมิเตอร์ปณิธาน ซึ่งดูคล้ายกับความพอใจในตนเองหรือความพอใจในชีวิต ขณะที่เป็นวัยเด็กหัดเดินและวัยทารก จะมีปณิธานแห่งการเติบโต แต่เมื่อโตขึ้นเป็นวัยรุ่น ผู้เล่นจะต้องเลือกให้ชาวซิมส์เป็นปณิธานใดปณิธานหนึ่งจาก 5 ปณิธานหลัก เช่น ปณิธานแห่งครอบครัว (เป็นมิตรกับคนในครอบครัว แต่งงาน และมีลูก) ปณิธานแห่งความร่ำรวย (ความมั่งคั่งและชื่อเสียงเกียรติยศ) ปณิธานแห่งความรู้ (การพัฒนาทักษะและประสบการณ์ชีวิต) ปณิธานแห่งชื่อเสียง (สร้างเพื่อนและเข้าสังคม) และปณิธานแห่งรักโรแมนติค (มีความสัมพันธ์และทำปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติคหลายครั้ง) ในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา มีปณิธานใหม่เพิ่มเข้ามาคือ ปณิธานแห่งความพึงพอใจ (ต้องการใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน) และมีปณิธานลับที่เรียกว่าปณิธานแห่งเนยแข็งย่าง (ต้องการกินเนยแข็งย่างมากเท่าที่จะกินได้) ซึ่งจะมีได้เมื่อใช้ของรางวัลปณิธานที่ชื่อ เรนูยู เซนโซ (เมื่อใช้ในความปรารถนาตกต่ำ) หรือเป็นปณิธานรองในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง
ชาว ซิมส์แต่ละคนมีความปรารถนาและความกลัวที่สอดคล้องกับปณิธาน ช่วงวัยของเขาและเหตุการณ์ปัจจุบัน เมื่อความปรารถนาบรรลุผล เช่น ได้เพื่อนใหม่ ระดับคะแนนปณิธานจะเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าสิ่งที่กลัวเป็นจริง เช่น คนรักตาย ระดับคะแนนปณิธานจะลดลง โดยระดับคะแนนปณิธานจะมีทั้งหมด 6 ระดับ คือระดับทองคำขาว (สูงที่สุด) ทองคำ สีเขียว 2 ระดับ และสีแดงอีก 2 ระดับตามลำดับ และระดับคะแนนนี้จะลดลงเล็กน้อยทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงในเกม
ชาวซิมส์ที่ ระดับคะแนนปณิธานอยู่ที่ทองคำขาว จะควบคุมง่าย และจะทำตามคำสั่งแม้เป็นสิ่งที่เขาไม่ชอบ ชาวซิมส์ที่ระดับคะแนนปณิธานอยู่ที่สีแดงจะเสียสติ และต้องการการบำบัดจากนักจิตวิทยาที่ ชาวซิมส์คนอื่นจะมองไม่เห็น ระดับคะแนนปณิธานจะเป็นตัวกำหนดอายุขัยของชาวซิมส์วัยชราก่อนตาย ถ้าชาวซิมส์คนนั้นพัฒนาวัยขึ้นด้วยดี มีระดับคะแนนปณิธานสูง ที่หลุมฝังศพหรือโกศเถ้ากระดูกจะดูดีกว่าระดับอื่น ๆ
คะแนนปณิธานทั้งชีวิตของชาวซิมส์จะถูกเกมบันทึกไว้ และนำคะแนนนี้ไปแลกซื้อสิ่งของพิเศษที่ให้ผลที่โดดเด่น เรียกว่า ของรางวัลปณิธาน เช่น สิ่งของที่จัดหาเงินมาให้ฟรี ๆ หรือขยายช่วงอายุขัยได้ แต่จะใช้ได้ผลเมื่อระดับปณิธานอยู่ที่ทองคำขาวหรือทองคำเท่านั้น ถ้าไม่ โอกาสความสำเร็จในการใช้สิ่งของเหล่านี้จะลดลง และผลข้างเคียงที่ไม่ดีอาจเกิดขึ้นได้[8]
ในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง จะมีแถบมิเตอร์ปณิธานใหม่คือ ปณิธานตลอดชีวิต เพิ่มเข้ามา เมื่อชาวซิมส์ผ่านเหตุการณ์สำคัญในชีวิตเช่น แต่งงาน หรือมีเด็กเกิดในบ้าน พวกเขาจะได้เพิ่มระดับปณิธานตลอดชีวิตนี้และในทุก ๆ ส่วนที่บรรลุถึงจะทำให้ผู้เล่นได้รางวัล เช่น การเลือกปณิธานรอง การที่ระดับมิเตอร์นี้ขึ้นสูงสุดจะทำให้ชาวซิมส์มีระดับคะแนนปณิธานทองคำ ขาวอย่างถาวร ที่ทำได้โดยเติมเต็มระดับปณิธานตลอดชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปรารถนาอันยาวนาน เช่น ได้ทำงานถึงตำแหน่งสูงสุด หรือมีลูกตามจำนวนที่ตั้งไว้
[แก้] ความสัมพันธ์
ความ สัมพันธ์เชิงโรแมนติคนั้นเกิดขึ้นได้หลายวิธี การเกี้ยวชาวซิมส์คนอื่นโดยไม่คำนึงถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ จะทำให้เขาแอบปิ๊งและตกหลุมรักในที่สุด ซึ่งยอมให้ชาวซิมส์ที่สนิทสนมกันแสดงปฏิกิริยาเช่นความรัก ชาวซิมส์ยังสามารถรักษาความสัมพันธ์นี้ไปเรื่อย ๆ หรือแต่งงานกัน (เรียกว่า "ร่วมเพศ" สำหรับคู่รักเพศเดียวกัน) ชาวซิมส์ที่เป็นฝ่ายขอแต่งงานหรือเข้ามาอยู่ด้วยจะไม่เปลี่ยนนามสกุล ขณะที่ชาวซิมส์ที่ไม่ได้เป็นฝ่ายขอจะเปลี่ยนนามสกุลเป็นของคู่สมรส ในส่วนที่เพิ่มเข้ามาในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา ชาวซิมส์สามารถออกเดทกันได้ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติคด้วยกัน ชาวซิมส์ยังมีความสัมพันธ์กับคนอื่น ที่ทำได้โดยวิธีดึงดูดชาวซิมส์อีกฝ่าย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ ปณิธาน และรูปร่างหน้าตา มีการหึงหวงเมื่ออีกฝ่ายไปเกี้ยวกับคนอื่น ชาวซิมส์อาจมีการหึงหวงซึ่งเป็นเหตุให้โกรธกับอีกฝ่ายและซิมส์อีกคนนั้น มีความเป็นไปได้ว่าชาวซิมส์จะต่อสู้ พูดแดกดัน หรือทำให้รำคาญ พวกเขายังสามารถเลิกกันได้ด้วยถ้าค่าความสัมพันธ์ของพวกเขาตกดิ่งลงมาใน ระดับหนึ่ง
[แก้] ความตาย
ชาว ซิมส์สามารถตายได้หลายวิธี เมื่อชาวซิมส์มีอายุถึงช่วงปลายของวัยชรา เขาจะตายเพราะโรคชรา ขึ้นอยู่กับชาวซิมส์ขณะที่ตายมีระดับบคะแนนปณิธานถึงทองคำขาวหรือทองคำหรือ ไม่ ยมทูต หรือ กริม รีพเพอร์ จะมาพร้อมกับสาวฮูล่า 2 คนและนำตัวชาวซิมส์ชราคนนั้นไป และมีหลุมศพที่ขอบประดับด้วยหินอ่อนขึ้นมาเป็นที่อยู่ของชาวซิมส์ที่ตาย ชาวซิมส์อาจพบจุดจบที่ไม่คาดฝันได้หลายวิธีเช่น การถูกไฟฟ้าดูด, การถูกฟ้าผ่า, ถูกลูกเห็บตกใส่หัว, ถูกจานบินชน, ไฟคลอก, อดอาหาร, ป่วย, จมน้ำ หรือถูกฝูงแมลงวันตอม ฯลฯ ในภาคเสริมต่อ ๆ มาได้มีการเพิ่มสาเหตุการตายเข้ามาอีกด้วย ชาวซิมส์ที่ตายจะเหลือไว้เพียงหลุมศพเมื่ออยู่นอกอาคาร หรือโกศ เมื่ออยู่ในอาคาร ถ้าในที่อยู่อาศัยนั้นมีความทรงจำเกี่ยวกับคนตายนั้นอยู่ วิญญาณจะตามมาหลอกหลอนคนในที่อยู่อาศัย วิญญาณอาจทำให้ชาวซิมส์ตกใจกลัว และอาจตายได้ สีของวิญญาณจะขึ้นอยู่กับสาเหตุการตายของวิญญาณตนนั้น ชาวซิมส์วัยทารกและวัยเด็กหัดเดินจะไม่มีสาเหตุการตาย
เมื่อมีชาวซิมส์ตาย ครอบครัวและเพื่อนของชาวซิมส์ที่ตายจะได้รับเงินประกัน ซึ่งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าความสัมพันธ์กับชาวซิมส์ที่ตาย ถ้าไม่มีชาวซิมส์เหลืออยู่ในที่อยู่อาศัย เงินที่ได้จากคนตายจะไม่มีเกิดขึ้น และที่อยู่อาศัยนั้นก็จะถูกนำไปดำเนินการขาย และนำเฟอร์นิเจอร์เก่า คนในครอบครัวที่ผ่านความทรงจำเกี่ยวกับความตายของคนรักจะโศกเศร้าเสียใจมาก จนล้มตัวลงพื้นและเกิดอาการเสียสติจนต้องมีนักจิตบำบัดมาบำบัดอาการนี้ ถ้าชาวซิมส์คนนั้นถูกเลือก จะมองเห็นนักจิตบำบัดได้ แต่ถ้าเป็นคนอื่น จะเห็นว่าชาวซิมส์คนนั้นกำลังพูดคุยอยู่กับตัวเอง
หลังจากชาวซิมส์ตาย จะไม่มีตัวเลือกของชาวซิมส์คนนั้น วิญญาณคนตายจะถูกนำออกไปโดย NPC ยมทูตที่ ชื่อ กริม รีพเพอร์ ชาวซิมส์ที่ตายอาจถูกช่วยชีวิตไว้ได้จากการตายทุกประเภท ยกเว้นแก่ตาย ถ้ามีเพื่อนมาขอร้องให้ช่วยชีวิตคนตายไว้ ซึ่งโอกาสสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับค่าความสัมพันธ์ที่มีกับชาวซิมส์ที่ตาย ยมทูตในเกมเดอะซิมส์ 2 จะดูเหมือนผีมากขึ้น เนื่องจากไม่มีขาและลอยได้ เขาจะมีเสื้อคลุมยาวที่ตัดไม่เสร็จสมบูรณ์ ไม่มีอะไรอยู่ในผ้าคลุมและมีโครงกระดูกที่มองเห็นได้
ยมทูต จะมาเมื่อมีชาวซิมส์ตายและมีหลุมศพหรือโกศเกิดขึ้นมา ที่ตรงจุดนี้ชาวซิมส์ที่ควบคุมได้คนอื่นสามารถขอร้องยมทูตให้ช่วยชีวิตคนตายได้ การขอร้องส่งผลให้มีการท้าทายกันระหว่างยมทูตกับคนที่ขอร้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสในเกม ถ้าชาวซิมส์คนที่ขอร้องมีค่าความสัมพันธ์กับคนตายสูง พวกเขาจะชนะและชาวซิมส์ที่ตายจะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง เมื่อไม่มีคนตายในที่อยู่อาศัยแล้ว กริม รีพเพอร์ จะนำโทรศัพท์มือถือสีม่วงออกมากดเบอร์โทรศัพท์ และพูดคุยโต้เถียงกับอีกฝ่ายก่อนจะหายตัวไปกับลำแสงสีขาว
ในภาคเสริม ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง เราสามารถทำให้ชาวซิมส์ที่ตายฟื้นคืนชีพได้เป็นชาวซิมส์ปกติ ถ้าเราเป็นแม่มดฝ่ายดี แต่ถ้าเราเป็นแม่มดฝ่ายไม่ดี ชาวซิมส์ที่ฟื้นจะกลายเป็นซอมบี้แทน
สามารถใช้ตะเกียงจินี หรือ The Resurrect-O-Nomitron เพื่อฟื้นคืนชีพคนตายได้ และการตายมีทั้งหมด 18 แบบ
[แก้] การจบเกม
ถ้าชาวซิมส์ในที่อยู่อาศัยทุกคนเสียชีวิตไปจนหมด หรือไม่มีชาวซิมส์คนใดอาศัยอยู่อีก ในเกมเดอะซิมส์ 2 นี้จะถือว่าเป็น เกมโอเวอร์ หรือการจบเกมนั้น ๆ เวลาในเกมจะหยุด โหมดตัวเลือกตัวละครจะถูกปิด และจะเกิดข้อความขึ้นมา โดยให้คำแนะนำว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับที่อยู่อาศัยนั้น[9]
[แก้] ตัวละครอื่น ๆ
ในเกมเดอะซิมส์ 2 นั้นมีชาวซิมส์หลายประเภท ดังนี้
- ชาวเมือง (ผู้มาเยือน) : พวกเขาเป็นตัวละครที่ผู้เล่นไม่สามารถควบคุมได้หรือ NPC แต่จะควบคุมได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาเข้ามาอยู่ร่วมกับครอบครัวชาวซิมส์หรือเมื่อพวกเขาเป็นวัยรุ่นที่จะไปเรียนมหาวิทยาลัย ชาวซิมส์เหล่านี้จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับชาวซิมส์ที่ควบคุมได้ ตั้งแต่ในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา เป็นต้นมา พวกเขาจะมีอาชีพและบุคลิกภาพเหมือนกับชาวซิมส์ที่ควบคุมได้ เว้นแต่เพียงว่าพวกเขาจะไม่ได้อาศัยอยู่เป็นหลักแหล่งเท่านั้น พวกเขาจะแวะเยี่ยมที่ชุมชนหรือที่อยู่อาศัยและมีปฏิสัมพันธ์ได้เหมือนชาวซิมส์อื่น ๆ ชาวเมืองในภาคเสริม ตัวโปรดจอมป่วน นี้จะรวมถึงสุนัขและแมวด้วย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวเมืองที่มีรูปลักษณ์เป็นเอกลักษณ์ เช่น บิ๊ก ดีว่า สลอบ แกรนด์แวมไพร์ เชียร์ลีดเดอร์ และมาสคอต
- ยังมีชาวเมืองอีกประเภทหนึ่งที่เป็นลูกจ้าง หรือพนักงานที่ผู้เล่นสามารถเลือกใช้บริการได้เช่น การจ้างงานบริการ (เช่น แม่บ้าน นักจัดสวน ช่างซ่อม เป็นต้น) บริการรับ-ส่งสิ่งของ (เช่น หนังสือพิมพ์ จดหมาย เสบียงอาหาร พิซซ่า และอาหารจีนในภาคเสริม มหาลัยวัยฝัน) หรือบริการพลเมือง (เช่น ตำรวจ ตำรวจดับเพลิง นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานยึดทรัพย์ อาจารย์ใหญ่ และบริการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม
- ตัวละครอัตโนมัติ : ตัวละครพวกนี้จะเป็นตัวละครที่ปรากฏขึ้นอัตโนมัติ ไม่สามารถควบคุมได้ ในเดอะซิมส์ 2 ภาคหลัก ตัวละครเหล่านี้คือ กริม รีพเพอร์ (ยมทูต) นักจิตบำบัด" "กระต่ายสังคม และหุ่นยนต์พอลลิเนชัน เทคนิเชียน หมายเลข 7 ในภาคเสริมหลาย ๆ ภาคต่อมาได้มีตัวละครใหม่เช่นในชุดเสริม Holiday Party Pack เพิ่มซานตาคลอส "ฟาเธอร์ไทม์" และ "เบบี้นิวเยียร์" ในภาคไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา เพิ่ม มิสซิสครัมเปิลบอทท่อม เธอเป็นที่รู้จักดีในหมู่ชาวซิมส์หัวรุนแรงด้วยกระเป๋าถือของเธอ เธอยังกลับมาในภาคเสริม สี่ฤดูแสบ ซึ่งถ้าชาวซิมส์ได้รับพรไม่ดีจากบ่อน้ำให้พร เธอจะโผล่ขึ้นมาจากบ่อน้ำเพื่อเยี่ยมเยียนในที่อยู่อาศัยของชาวซิมส์คนนั้น และในภาคเสริม ทริปซ่าส์ ได้มี นักต้มตุ๋นน่ารังเกียจ ที่จะล้วงกระเป๋าชาวซิมส์ ถ้าชาวซิมส์จับได้ ชาวซิมส์สามารถแจ้งตำรวจและตำรวจจะต่อสู้กับเขา
- สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ : ตัวละครเหล่านี้สามารถควบคุมได้และชาวซิมส์ยังเปลี่ยนร่างเป็นสิ่งมีชีวิตนี้ได้ด้วย พวกนี้จะเป็นชาวซิมส์ที่เป็นร่างเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานและมีความสามารถ พิเศษและพฤติกรรมประหลาด นอกจากวิญญาณที่ไม่สามารถควบคุมได้ และมนุษย์ต่างดาวที่เป็นชาวซิมส์ปกติที่มีลักษณะแปลก (ตัวสีเขียว และตาสีดำ) ในภาคเสริมหลายภาคได้มีการเพิ่มสิ่งมีชีวิตใหม่ เช่น ซอมบี้ แวมไพร์ หุ่นยนต์เซอร์โว มนุษย์หมาป่า มนุษย์ต้นไม้ซิมส์ ไอ้ตีนโต และพ่อมด แม่มด เป็นต้น
[แก้] ละแวกเพื่อนบ้าน
ที่ หน้าจอเริ่มต้นเกม ผู้เล่นจะเลือกเข้าละแวกเพื่อนบ้านที่มีไว้ให้เลือกมากมาย ในภาคหลักจะมีให้เลือก 3 ละแวก และตัวเลือกสร้างละแวกเพื่อนบ้าน ละแวกเพื่อนบ้านแต่ละละแวกจะประกอบด้วยละแวกเพื่อนบ้านย่อย ซึ่งแยกออกจากกัน ชาวซิมส์ไม่สามารถย้ายหรือติดต่อกับชาวซิมส์ในละแวกเพื่อนบ้านอื่นได้
ภาคเสริมบางตัวได้เพิ่มละแวกเพื่อนบ้านย่อย ที่ชาวซิมส์สามารถแวะไปเที่ยวได้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ เดอะซิมส์ 2 มหาลัยวัยฝัน เพิ่มพื้นที่ที่เป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งมีให้เฉพาะชาวซิมส์ที่เป็นวัยมหาลัยเท่านั้น ชาวซิมส์สามารถอาศัยอยู่ในบ้านพัก หอพัก หรือสมาคมกรีกในพื้นที่นั้นได้ เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์ เพิ่มพื้นที่ที่เป็นสถานที่พักร้อน ซึ่งชาวซิมส์สามารถพักอาศัยอยู่ในโรงแรมหรือบ้านพักตากอากาศได้ เราอาจสร้างมันขึ้นมาเองหรือเล่นจากที่มากับเกมก็ได้
แต่ละละแวกเพื่อนบ้านจะมีที่ว่างสำหรับที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ส่วนกลาง และสิ่งที่เพิ่มมาใหม่ในเดอะซิมส์ 2 ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง คืออพาร์ตเมนต์ ที่อาศัยหลังเดียวกับเพื่อนบ้านที่อาจก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนและเจ้าของอพาร์เมนต์
[แก้] พื้นที่อาคาร โหมดซื้อ และโหมดสร้าง
จากหน้ามุมมองละแวกเพื่อนบ้าน ผู้เล่นจะเลือกเล่นสถานที่หนึ่งแห่งเช่นเดียวกับในเดอะซิมส์ภาคแรก ซึ่งจะมีที่อยู่อาศัยและพื้นที่ส่วนกลาง ชาวซิมส์จะอาศัยในที่อยู่อาศัย และสามารถออกมาเที่ยวในพื้นที่ส่วนกลางเพื่อซื้อเสบียงอาหาร เสื้อผ้า และนิตยสาร รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับชาวเมือง
ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นในที่อยู่อาศัยที่สร้างไว้แล้ว เคลื่อนย้ายครอบครัวไปไว้ในที่อยู่อาศัย หรือก่อสร้างอาคารบ้านเรือนขึ้นมาในพื้นที่ว่าง ซึ่งเป็นคุณสมบัติเดิมที่มีมาตั้งแต่เดอะซิมส์ภาคแรกแล้ว
ผู้เล่นจะเลือก สลับโหมดได้ระหว่างโหมดชีวิต เพื่อควบคุมชาวซิมส์ โหมดซื้อ เพื่อเพิ่ม เคลื่อนย้าย หรือลบสิ่งของ หรือโหมดสร้างเพื่อปรับปรุงแต่งเติมที่อยู่อาศัย สำหรับโหมดซื้อและโหมดสร้างในพื้นที่อยู่อาศัยจะถูกล็อกไว้เมื่อชาวซิมส์แวะ ไปที่นั้น ๆ แต่จะสามารถใช้งานได้เมื่อเข้าจากมุมมองละแวกเพื่อนบ้านโดยตรง
[แก้] มินิเกม
ตัวเกมยังมีสิ่งที่ท้าทายเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะได้รางวัล ชาวซิมส์สามารถจัดงานปาร์ตี้เพื่อได้รับคะแนนปณิธาน หรือการเชิญอาจารย์ใหญ่มาเลี้ยงอาหารมื้อเย็นเพื่อนำเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน นอกจากนี้ ในภาคเสริมต่อ ๆ มายังมีมินิเกมใหม่เพิ่มเข้ามา เช่น การสมัครเข้าสมาคมกรีกในภาคมหาลัยวัยฝัน หรือการออกเดทในภาคไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา ซึ่งในภาคไนท์ไลฟ์ คืนหรรษานี้ การออกเดทแต่ละครั้งจำเป็นต้องทำให้ชาวซิมส์ทั้งสองฝ่ายมีความสุขทั้งคู่มาก เท่าที่เป็นไปได้ โดยการตอบสนองความปรารถนาของแต่ละฝ่ายเพื่อสะสมคะแนนปณิธาน
[แก้] ละแวกเพื่อนบ้านที่มีมาให้
ในเกมเดอะซิมส์ 2 แมกซิสได้สร้างละแวกเพื่อนบ้านไว้ 3 ละแวก คือ เพลสเซินท์วิว สเตรนจ์ทาวน์ และเวโรนาวิลล์ ในภาคเสริมต่อมาได้มีละแวกเพื่อนบ้านใหม่เพิ่มเข้ามาด้วย เช่น ริเวอร์บลอสซั่มฮิลล์ ในภาคเสริม สี่ฤดูแสบ เดซิเดอเรต้า วาลเลย์ ในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง และ เบลลาดอนน่า โคฟ ในภาคเสริม ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง รวมถึงละแวกเพื่อนบ้านย่อย บลูวอเทอร์วิลเลจ ที่มากับภาคเสริม เปิดโลกธุรกิจ เนรมิตฝัน และ ดาวน์ทาวน์ ในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา ในภาคเสริมบางภาคได้มีการเพิ่มส่วนเสริมพิเศษหรือเพื่อนบ้านใหม่พร้อมข้าวของเครื่องใช้ แต่ละละแวกเพื่อนบ้านจะมีพื้นที่สำหรับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ชาวซิมส์อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยและอาจต่อเติมตกแต่งที่อยู่อาศัย และไปเยี่ยมพื้นที่ส่วนกลาง ที่มีสิ่งสันทนาการต่าง ๆ เช่น สระว่ายน้ำ และร้านขายของ
เพลสเซินท์วิว เป็นละแวกเพื่อนบ้านที่มีตัวละครมากมายจากเดอะซิมส์ภาคแรก สเตรนจ์ทาวน์มีชาวซิมส์ที่เป็นมนุษย์ต่างดาวรวมถึงชาวซิมส์ปกติ และเวโรนาวิลล์จะมีชาวซิมส์ที่อ้างอิงจากผลงานของเชกสเปียร์ โดยเฉพาะ A Midsummer Night's Dream (นามสกุลของครอบครัวนั้นคือ ซัมเมอร์ดรีม) และ โรมิโอกับจูเลียต เวโรนาวิลล์เป็นเมืองที่มีฉากเป็นละคร และตัวละครก็มีนามสกุลตามบทละคร ตัวอย่างเช่น ครอบครัวที่ไม่ถูกกันระหว่าง แคปป์ และมอนตี้ ละแวกเพื่อนบ้านนี้ยังมีตัวละครที่มาจากละครเรื่อง The Tempest King Lear และ Much Ado About Nothing อีกด้วย
ละแวกเพื่อนบ้านที่เพิ่มมากับภาคเสริมจะจำลองส่วนเพิ่มเติมจากภาคเสริมต่าง ๆ กล่าวคือ ริเวอร์บลอสซั่มฮิลล์จะมีสวน และสภาพอากาศ ภูมิประเทศมีลักษณะเหมือนฟาร์ม และบ้านส่วนใหญ่จะดูเหมือนบ้านไร่นา (ฟาร์มเฮ้าส์) เดซิเดอเรต้า วาลเล่ย์ จะมีพื้นที่ส่วนกลางใหม่ เช่น สมาคมลับซึ่งเจาะจงเฉพาะสำหรับงานอดิเรกต่าง ๆ ของชาวซิมส์ เบลลาดอนน่า โคฟ เพิ่มบ้านที่เป็นบ้านพักหรืออพาร์ตเม้นท์ รวมถึงโลกเวทมนตร์ ส่วนบลูวอเทอร์ วิลเลจ ซึ่งเป็นละแวกเพื่อนบ้านย่อยนั้นจะมีในทุกละแวกเพื่อนบ้านหลัก เช่นเดียวกับดาวน์ทาวน์ บลูวอเทอร์ วิลเลจจะมีกลุ่มธุรกิจเล็ก ๆ ที่ชาวซิมส์ซึ่งทำขึ้นโดยชาวซิมส์ในละแวกเพื่อนบ้านนั้น
[แก้] เนื้อเรื่อง
[แก้] โหมดซื้อ
โหมด ซื้อเป็นวิธีในการได้มาซึ่งสิ่งของเกือบทั้งหมด ผู้เล่นสามารถเลือกซื้อสิ่งของในหมวดต่างๆที่มีอยู่ในโหมดซื้อได้ตามความ เหมาะสม นอกจากนี้สิ่งของบางอย่างอาจมีหลากหลายสี หลากหลายลวดลายให้เลือก ซึ่งแตกต่างจากเดอะซิมส์ภาคแรก
สิ่งของจากโหมดซื้อแต่ละอย่างจะมี ราคาที่ต่างกันออกไปตามความสามารถในการตอบสนองความต้องการของชาวซิมส์ เช่นเตาแก๊สจะตอบสนองความหิว โถส้วมจะตอบสนองด้านขับถ่าย รูปภาพจะตอบสนองด้านสภาพแวดล้อม และสิ่งของบางอย่างอาจจะช่วยเสริมทักษะให้กับชาวซิมส์ได้ด้วย เช่น เครื่องออกกำลังกาย เมื่อชาวซิมส์ใช้มันก็จะได้ทักษะด้านร่างกายเพิ่มขึ้น เป็นต้น
สิ่งของจากโหมดซื้อจะมีให้เลือกมากมายในเดอะซิมส์ 2 ภาคหลัก และเมื่อทำการติดตั้งภาคเสริมต่อมา ก็จะมีสิ่งของเพิ่มขึ้นอีกมากมายทุกภาค และนอกจากภาคเสริมแล้วยังมีชุดไอเท็มเสริมที่เมื่อทำการติดตั้งแล้ว จะเป็นการเพิ่มสิ่งของในโหมดซื้อและโหมดสร้างมากมาย
[แก้] โหมดสร้าง
โหมด สร้างในเกมเดอะซิมส์ 2 มีไว้เพื่อให้ผู้เล่นสามารถสร้างหรือตกแต่งตัวบ้าน สวน สระว่ายน้ำ หรือพื้นที่ส่วนกลาง เป็นต้น โดยในโหมดสร้างจะมีวิธีใช้คล้ายในโหมดซื้อ แต่ในโหมดนี้จะเป็นโหมดสำคัญ ใช้สำหรับการตกแต่งบ้านให้ดูน่าอยู่ขึ้น โดยในโหมดนี้จะมีโครงสร้างของบ้าน หรือสิ่งต่าง ๆ บริเวณรอบบ้านในความเป็นจริงให้ตกแต่งกันตามใจชอบ เช่น ผนัง ประตู หน้าต่าง บันได สระว่ายน้ำ ต้นไม้ พุ่มไม้ แปลงดอกไม้ วอลเปเปอร์ เป็นต้น
[แก้] ประวัติที่มาของเกม
[แก้] การพัฒนา
บริษัทอิเล็กทรอนิกส์อาร์ต (EA Games) ประกาศในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ว่าทางแมกซิสสตูดิโอได้เริ่มพัฒนาตัวเกมเดอะซิมส์ 2[10] โดยตัวเกมนี้ถูกเปิดตัวครั้งแรกที่ E³ (E3 Media and Business Summit) ในลอสแอนเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2547[10] วิล ไรท์ยอมรับว่าเมื่อความพึงพอใจส่วนใหญ่ของเกมเดอะซิมส์ 2 เป็นความคิดที่แปลกใหม่ ความบันดาลใจสำหรับภาคเสริมและองค์ประกอบของมันเกิดจากความสำเร็จของเกมตัว แรก ผู้คนในสังคมสนใจในเกมเดอะซิมส์ภาคเสริม สัตว์เลี้ยงแสนรู้ ที่มาก่อนแล้ว ตัวอย่าง ทำให้เขาแน่ใจในการที่จะสร้างภาคเสริมเดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วนขึ้น และภาคเสริมเดอะซิมส์ วัยวุ่นลุ้นรัก ทำให้เขาคิดจะสร้างภาคเสริมเดอะซิมส์ 2 คืนหรรษาขึ้นเช่นกัน[11]
หลัง จากการพัฒนาจบลง ผู้ออกแบบจากแมกซิสพิจารณาเดอะซิมส์ 2 เหมือนว่าเขาจะมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนใจอย่างกะทันหันในระหว่างการสร้าง ข้อผิดพลาดในเกมหรือบั๊กส์ (Bugs) จะปรากฏอย่างชัดเจน และชาวซิมส์อาจจะถูกทำให้บิดเบี้ยว หรือมีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้นอย่างในภาคก่อน[12]
[แก้] การถกเถียง
เกมเดอะซิมส์ 2 ถูกนำไปสู่การถกเถียงในเรื่องวัตถุสิ่งของจากเว็บไซต์ดาวน์โหลดที่ต้องเสียเงิน และตัวปรับแต่งเกมที่ส่อไปในทางเพศ ตัวปรับแต่งถูกแพร่กระจายผ่านเว็บไซต์ที่เป็นอิสระที่มีการคิดค่าใช้จ่าย สำหรับวัสดุสิ่งของ ซึ่งตัวปรับแต่งบางตัวตั้งใจที่จะเปิดเผยร่างกายชาวซิมส์ที่ส่อทางเพศ
ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แจ็ค ทอมป์สัน ทนายความแห่งฟลอริดา กล่าวหาว่า บริษัทอิเล็กทรอนิกส์อาร์ต และเกมเดอะซิมส์ 2 โปรโมตการเปลือยกายผ่านการใช้ตัวปรับแต่งหรือสูตรโกง การเรียกร้องถูกสร้างขึ้นว่าหัวบริเวณหัวเหน่า ริมฝีปาก และรายละเอียดเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ สามารถมองเห็นได้ทันทีที่การเซ็นเซอร์ถูกลบออก[13] บริษัทอิเล็กทรอนิกส์อาร์ตออกประกาศแถลงการณ์ กล่าวว่า เมื่อเซ็นเซอร์ถูกลบออก ตัวชาวซิมส์จะยังคงขาดโครงสร้างที่ชัดเจน คล้ายกับตุ๊กตาบาร์บี้และตุ๊กตาเคน เจฟฟ์ บราวน์ ผู้บริหารบริษัทอิเล็กทรอนิกส์อาร์ตกล่าวในงานสัมภาษณ์ทางเว็บไซต์เกมสปอต (GameSpot) ว่า:[14]
“ | มันเป็นเรื่องไร้สาระ เราได้ตรวจสอบทบทวนดูหมด 100% แล้ว ไม่มีส่วนไหนไม่เหมาะสมกับวัยรุ่น ผู้เล่นจะไม่เห็นชาวซิมส์ที่เปลือยกาย ถ้ามีใครบางคนที่มีทักษะความรู้และเวลาจำนวนมากเพื่อจะลบการเซ็นเซอร์ พวกเขาจะเห็นว่าตัวชาวซิมส์ไม่มีอวัยวะสืบพันธุ์ มันจะออกมาเห็นเหมือนตุ๊กตาเคนและตุ๊กตาบาร์บี้ | ” |
[แก้] การตอบรับ
[แก้] รางวัล
[แก้] ความแตกต่างกับเดอะซิมส์ภาคแรก
[แก้] กราฟิก
[แก้] ระบบการเล่น
ระบบการเล่นมีหลายแบบ แล้วแต่เราจะเลือกเล่น การเล่นเน้นที่จำลองชีวิต โดยคุณอาจสร้างตัวซิมตัวหนึ่งขึ้นมาแล้วสร้างครอบครัวให้อยู่อย่างเรียบง่าย ระบบการเล่นคุณต้องเรียนรู้โดยคลิกที่เรียนรู้เบื้องต้น จะมีหลายระดับ ทั้งขั้นพื้นฐานและการเล่นขั้นสูง ถ้าบางคนจะหางานให้คลิกที่หนังสือพิมพ์แล้วคลิกหางาน จะมีรางวัลอาชีพของแต่ละอาชีพ คุณไม่สามารถได้รางวัลอาชีพได้เลยเมื่อไปถึงขั้นสูงสุดต้องเริ่มแต่ระดับต้นๆ รางวัลปธิธาน คุณต้องทำตามที่วิมต้องการจะมีประติธานต้องการและไม่ต้องการ ปธิธานที่ไม่ต้องการอยู่ด้านล่างถ้าซิมของคุณประติทานต่ำจะมีนักบำบัด ทางผู้เล่นเขาเรียกกันว่า นักบำบัดเป็นแค่ npc ตัวnpcเราไม่สามารถเล่นได้ ถ้าคนเล่นไม่เป็นหรือยากมาก เขาจะใช่สูตรโกง สูตรโกงหาได้ตามเว็บทั่วไป ความรัก คุรจะต้องเริ่มที่ไม่รู้จัก จากนั้นจึงเป็นเพื่อนแล้วก็เป็นคู่รัก คุรไม่สามารถแต่งงานได้ทันที คุณต้องหมั่นก่อนแล้วค่อยแต่งงาน คุรสามารถไปฮานีมูนได้กับคู่รักซิมของคุณ ในขณะเดียวกัน ซิมของคุณไม่สามารถมีลูกได้กับเพศเดียวกัน นี้คือข้อมูลระบบการเล่นเบื้องต้น
[แก้] การตกแต่งภายในเกม
บอดี้ช็อบคือโปรแกรมสร้างซิม,สัตว์เลี้ยง สุนัข และ แมว,และปรับแต่งสิ่งของ คุณสามารถใช้บอดี้ช็อบได้คือสร้างสายซิมพันธุ์ใหม่ได้ หรือ สร้างโครงการในบอดี้ช็อบจะเชื้อมกับเกมthe sim2ของคุณ
[แก้] ภาคเสริมของเกมเดอะซิมส์ 2
เดอะซิมส์ 2 ภาคเสริม มีการเพิ่มคุณสมบัติและสิ่งของต่างๆมากมาย โดยทั่วไปแล้วภาคเสริมแต่ละภาคจะเพิ่มเติมองค์ประกอบต่างๆ ที่หลากหลายตามคอนเซปต์ของภาคเสริมนั้นๆ มีสิ่งมีชีวิตประหลาดเพิ่มขึ้นเกือบทุกภาค เช่นซอมบี้ ในภาคมหาลัยวัยฝัน แวมไพร์ ในภาคคืนหรรษา เป็นต้น และสิ่งของมากมายกว่า 100 อย่าง และดูเหมือนว่าคุณสมบัติใหม่ๆจากภาคเหล่านี้จะมีอยู่ในเกมเดอะซิมส์ 3 ด้วย
เดอะซิมส์ 2 มีการออกภาคเสริม หรือ Expansion Packs มาจนถึงปัจจุบัน 8 ภาค ดังต่อไปนี้
ชื่อภาคเสริม | วันวางจำหน่ายในไทย | องค์ประกอบหลักที่เพิ่มเข้ามา | ละแวกเพื่อนบ้านหรือย่านใหม่ | NPC ใหม่ | สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | สายอาชีพใหม่ |
---|---|---|---|---|---|---|
เดอะซิมส์ 2 มหาลัยวัยฝัน (The Sims 2: University) | 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | ช่วงวัยมหาลัย (เฉพาะในเขตมหาวิทยาลัย) อำนาจชักชวน สมาคมลับ ความปรารถนาตลอดชีวิต สาขาวิชาเอกและผลศึกษา | ลาฟีเอสต้า เทค มหาวิทยาลัยซิมสเตต อะคาเดมี เลอตูร์ | บาริสต้า บาร์เทนเดอร์ พนักงานทำอาหาร เชียร์ลีดเดอร์ โค้ช มาสคอต อีวิลมาสคอต ศาสตราจารย์ พวกเปลือยกาย | ซอมบี้ | ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ผู้อยู่เหนือธรรมชาติ ธุรกิจการแสดง |
เดอะซิมส์ 2 คืนหรรษา (The Sims 2: Nightlife) | 19 กันยายน พ.ศ. 2548 | การออกเดท/ออกไปเที่ยวนอกบ้าน ลักษณะที่ฉันชอบ/เกลียด องศาความปิ๊ง ปณิธานแห่งความพึงพอใจและเนยแข็งย่าง พื้นละแวกเพื่อนบ้านแบบพื้นดิน และคอนกรีต รถยนต์ | ดาวน์ทาวน์ | ยิปซีจอมจับคู่ บริกร ผู้ดูแลร้าน ดีเจ พ่อครัวในร้านอาหาร มิสซิส ครัมเปิลบ็อตท่อม แกรน แวมไพร์ ดิวา/มิสเตอร์บิ๊ก The Slob | แวมไพร์ | ไม่มี |
เดอะซิมส์ 2 เปิดโลกธุรกิจ เนรมิตฝัน (The Sims 2: Open for Business) | 2 มีนาคม พ.ศ. 2549 | การทำธุรกิจ ย่านการค้า อสังหาริมทรัพย์ เหรียญรางวัลต่างๆ ลิฟท์ หุ่นยนต์ | บลูวอเทอร์ วิลเลจ | ผู้สื่อข่าว ช่างตัดผม | หุ่นยนต์ | พนักงานที่จ้าง สามารถเลื่อนขั้นเป็นผู้จัดการ |
เดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วน (The Sims 2: Pets) | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก หนู สารานุกรมในเกม พื้นที่ส่วนกลางใหม่ๆที่มีสัตว์เลี้ยงขาย | ไม่มี | เจ้าหน้าที่ควบคุมสัตว์ ครูฝึกสัตว์เลี้ยง หมาป่า ตัวสกั๊งค์ | มนุษย์หมาป่า | สายอาชีพสำหรับสัตว์เลี้ยง: รักษาความปลอดภัย ธุรกิจการแสดง การบริการ |
เดอะซิมส์ 2 สี่ฤดูแสบ (The Sims 2: Seasons) | 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 | ฤดูกาล สภาพอากาศ เสื้อผ้าชุดกันหนาว การตกปลา การตกแต่งสวน | ริเวอร์บลอสซั่ม ฮิลล์ | เพนกวิน ผีเสื้อและหิ่งห้อย ตัวแทนจากชมรมสวนสวย | มนุษย์ต้นไม้ | นักผจญภัย เกมเมอร์ ดนตรี กฎหมาย วารสารและสิ่งพิมพ์ การศึกษา |
เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์ (The Sims 2: Bon Voyage) | 4 กันยายน พ.ศ. 2550 | โรงแรม สถานที่พักร้อน 3 แห่ง 3 สไตล์ การทักทาย 3 แบบ 3 สไตล์ การขุดหาขุมทรัพย์/หาเปลือกหอย | เกาะทวิกกี้ สามทะเลสาบ หมู่บ้านทาเคมิซึ | นินจา ไกด์ทัวร์ นักตุ๋นน่ารังเกียจ นักพรต แม่มดฮาร์ท เจ้าตีนโต พนักงานบริการในโรงแรม เชฟประจำซุ้มอาหาร ผีกัปตันโจรสลัด นักระบำเพลิง หนักงานดูแลห้องพัก พนักงานนวดตัว | เจ้าตีนโต | ไม่มี |
เดอะซิมส์ 2 สนุกจังยามว่าง (The Sims 2: Freetime) | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | งานอดิเรก กีฬา บัลเล่ต์ กิจกรรมต่างๆ การปั้นหม้อ งานฝีมือ | เดซิเดอเรต้า วาลเล่ย์ | สมาชิกชมรมต่างๆ มิสเตอร์ฮัมเบิล หัวหน้างานอดิเรก ผู้ตัดสินรสชาติอาหาร | จินนี่ | สมุทรศาสตร์ เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง ความบันเทิง การเต้นรำ สถาปัตยกรรม |
เดอะซิมส์ 2 ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง (The Sims 2: Apartment Life) | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | อพาร์ทเมนท์ เวทมนตร์คาถา เพดาน บันไดหมุน รูมเมท | เบลาดอนน่า โคฟ | พ่อบ้าน นักแสดงละครใบ้ เจ้าของอพาร์ทเมนต์ เพื่อนร่วมห้อง รูปปั้นมีชีวิต นักเต้น | พ่อมด แม่มด | ไม่มี |
[แก้] ชุดไอเท็มเสริมของเกมเดอะซิมส์ 2
ดูบทความเพิ่มเติมสำหรับชุดไอเท็มเสริมได้ที่ เดอะซิมส์ 2 ชุดไอเท็มเสริม
ชุดไอเท็มเสริมของเกมเดอะซิมส์ 2 (The Sims 2 Stuff packs) ไม่ใช่ภาคเสริม แต่เป็นภาคพิเศษที่มีไอเทมใหม่ๆเพิ่มขึ้น ผู้เล่นสามารถติดตั้งภาคพิเศษเหล่านี้ได้แต่จำเป็นต้องมีเดอะซิมส์ 2 ภาคหลักอยู่ในเครื่องด้วย ซึ่งชุดไอเท็มเสริมนั้นมีทั้งหมด 10 ชุดได้แก่
- เดอะซิมส์ 2 สีสันวันหยุด (The Sims 2: Holiday Edition)
- เดอะซิมส์ 2 บ้านแฟนตาซี (The Sims 2: Family Fun Stuff)
- เดอะซิมส์ 2 ฮัลโหลไฮโซ (The Sims 2: Glamour Life Stuff)
- เดอะซิมส์ 2 แฮปปี้ฮอลิเดย์ (The Sims 2: Festive Holiday Stuff)
- เดอะซิมส์ 2 ฟู่ฟ่าปาร์ตี้ (The Sims 2: Celebration! Stuff )
- เดอะซิมส์ 2 H&M แฟชันนิสต้า (The Sims 2: H&M Fashion Stuff)
- เดอะซิมส์ 2 เก๋ เท่ เซอร์ (The Sims 2: Teen Style Stuff)
- เดอะซิมส์ 2 ดีไซน์ห้องครัวแต่งตัวห้องน้ำ (The Sims 2: Kitchen & Bath Interior Design Stuff)
- เดอะซิมส์ 2 บ้านนี้มี IKEA (The Sims 2: IKEA Home Stuff)
- เดอะซิมส์ 2 แมนชันเคียงสวน (The Sims 2: Mansion & Garden Stuff)
[แก้] เดอะซิมส์ สตอรี่ส์
เกมชุดเดอะซิมส์ สตอรี่ส์ นั้นเป็นเกมเดอะซิมส์ภาคพิเศษ โดยในภาคนี้ชาวซิมส์ในเกมจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยชาวซิมส์จะมีชื่อและบทบาทในแต่ละตัวละครในโหมดการเล่นใหม่ที่มีชื่อว่า Story Mode หรือโหมดเนื้อเรื่องนั่นเอง ผู้เล่นจะต้องเล่นเป็นชาวซิมส์คนหนึ่ง เล่นตามเนื้อเรื่องที่กำหนด ซึ่งจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคชีวิตต่างๆทั้งเรื่องงาน เรื่องเงิน เรื่องความรัก และเรื่องมิตรภาพ[15]
นอก จาก Story Mode แล้ว ยังมีโหมด Classic Mode ให้เล่นได้ แต่จะมีเพิ่มเข้ามาคือเมื่อสร้างตัวละครตามที่ต้องการแล้ว เราจะมีจุดมุ่งหมายว่าตัวละครตัวนั้นมีความใฝ่ฝันอะไรอยู่ ซึ่งหน้าที่เราจะต้องทำให้สำเร็จตามฝันให้ได้[15]
ซึ่งการที่จะติดตั้งเดอะซิมส์ภาคนี้ ผู้เล่นสามารถติดตั้งได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งเดอะซิมส์ 2 ภาคหลักก่อน
เดอะซิมส์ สตอรี่ส์ มีให้เลือกเล่นถึง 3 ภาคคือ[15]
- เดอะซิมส์ ไลฟ์สตอรี่ (The Sims Life Stories)
- เดอะซิมส์ หมาเหมียวสตอรี่ (The Sims Pet Stories)
- เดอะซิมส์ โดดเดี่ยวสตอรี่ (The Sims Castaway Stories)
[แก้] อ้างอิง
- ^ http://www.gamespot.com/pc/strategy/simslivinlarge/news_2857556.html The Sims overtakes Myst
- ^ http://play.tm/wire/click/38373 The Sims 2 sells a million, smashes EA records
- ^ http://www.gamerankings.com/htmlpages2/914811.asp The Sims 2 Reviews
- ^ http://planetthesims.gamespy.com/View.php?view=PressReleases.Detail&game=8&id=77 Bon Voyage Press Release
- ^ "The Sims 2.com - 100 Million Sold". EA. 2008-04-15. http://thesims2.ea.com/100million/index.php.
- ^ New Ship Date for The Sims 3
- ^ The Sims Bustin' Out Designer Diary #3
- ^ Adams, Dan (2004-09-10). "The Sims 2 Review". IGN. http://pc.ign.com/articles/546/546893p3.html. Retrieved 2007-04-07.
- ^ "The Finale on Simpedia". http://simpedia.co.uk/wiki/Game_Over. Retrieved 2008-04-23.
- ^ 10.0 10.1 "EA Announces Plans For The Sims 2". The Sims 2 Press Release. 2003-05-05. http://thesims.ea.com/us/sims2/sims2_pressrelease.html. Retrieved 2007-04-04.
- ^ "Will Wright Speaks Simlish". GameSpy. 2005-02-27. http://pc.gamespy.com/pc/the-sims-2/591767p6.html. Retrieved 2007-04-07.
- ^ Bradshaw, Lucy (2004-08-31). "Zany Outtakes from the Cutting Room Floor". Maxis, mirrored at GameSpot. http://www.gamespot.com/pc/strategy/thesims2/preview_6106141.html. Retrieved 2007-04-04.
- ^ CNN (2005-07-28). "'Sims' content criticized". money.cnn.com. http://money.cnn.com/2005/07/28/technology/personaltech/sims_rating/. Retrieved 2007-03-01.
- ^ Surette, Tim (2005-07-02). "Sims 2 content "worse than Hot Coffee"". GameSpot. http://www.gamespot.com/news/2005/07/22/news_6129609.html. Retrieved 2007-03-01.
- ^ 15.0 15.1 15.2 Sims Stories (News)
|
ความคิดเห็น