ตำนานเทพเจ้ากรีก ซุส - ตำนานเทพเจ้ากรีก ซุส นิยาย ตำนานเทพเจ้ากรีก ซุส : Dek-D.com - Writer

    ตำนานเทพเจ้ากรีก ซุส

    เทพซุส (Zeus) เป็นราชาแห่งทวยเทพ ผู้ปกครองเขาโอลิมปัส (Olympus) และ เทพแห่งท้องฟ้า ฟ้าร้อง ของตำนานเทพปกรณัมกรีก มี อสนีบาต (Thunder bolt) เป็นอาวุธประจำกาย

    ผู้เข้าชมรวม

    2,211

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    15

    ผู้เข้าชมรวม


    2.21K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    3
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  16 พ.ย. 54 / 13:53 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

           เทพซุส (Zeus) เป็นราชาแห่งทวยเทพ ผู้ปกครองเขาโอลิมปัส (Olympus) และ เทพแห่งท้องฟ้า ฟ้าร้อง ของตำนานเทพปกรณัมกรีก มี อสนีบาต (Thunder bolt) เป็นอาวุธประจำกาย

             ทรงเกราะทองประกายวาววับ ซึ่งเกราะทองนี้มนุษย์ทั่วไปจะไม่สามารถทนมองดูได้ แม้แต่ทวยเทพด้วยกันเอง หากไปเพ่งมองแสงเจิดจ้า ของเกราะทองเข้า ก็ย่ำแย่เช่นกัน เทพซุสมีพญานกอินทรีเป็นบริวาร ต้นโอ๊คเป็นต้นไม้ประจำองค์ มีมหาวิหาร และศูนย์กลางศรัทธา อยู่ที่เมืองโอลิมเปีย สัญลักษณ์ประจำพระองค์คือ โคเพศผู้ นกอินทรี และต้นโอ๊ก

           

      พระองค์เป็นพระโอรสองค์สุดท้องของ ไททันโครนัส (Cronus) และ ไททันรีอา (Rhea) ในหลายๆ ตำนานกล่าว ว่า พระองค์ได้สมรสกับเทพีเฮร่า (Hera) แต่ก็มีสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองดอโดน่า (Dodona) ที่อ้างว่า คู่สมรส ของเทพซุสแท้จริงแล้วคือ เทพีไดโอเน่ (Dione) นอกจากนี้มหากาพย์อีเลียด (Illiad) ยังกล่าวไว้ว่า เทพซุส เป็นพระบิดา ของเทพีอโฟรไดต์ (Aphrodite) ที่กำเนิดจากเทพีไดโอเน่อีกด้วย เทพซุส มักมีชื่อเสียง ในพฤติกรรมนอกลู่นอกทางเรื่องชู้สาวของพระองค์ ซึ่งยังรวมไปถึง ความสัมพันธ์ กับเด็กหนุ่มนามกานีเมดี้ (Ganymede) ด้วยเช่นกัน พฤติกรรมของพระองค์ทำให้เกิดผู้สืบเชื้อสายอยู่หลายองค์ และหลายคนด้วยกัน อาทิเช่น เทพีอาธีน่า (Athena) เทพอพอลโล (Apollo) และเทพีอาร์ทีมิส (Artemis) เทพเฮอร์มีส (Hermes) เทพีเพอร์ซิโฟเน่ (Persephone) เทพไดโอนีซุส (Dionysus) วีรบุรุษเพอร์ซีอุส (Perseus) วีรบุรุษเฮอร์คิวลีส (Hercules) เฮเลนแห่งทรอย (Hellen) กษัตริย์ไมนอส (Minos) และเหล่าเทพีมิวเซส (Muses) ส่วนผู้สืบเชื้อสาย ที่เกิดจากเทพีเฮร่าโดยตรง ได้แก่เทพเอรีส (Ares) เทพีเฮบี (Hebe) และเทพเฮฟาเอสตัส (Hephaestus)

      นามของพระองค์ในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือ เทพจูปิเตอร์ (Jupiter) และนามในตำนานอีทรูสแคนคือเทพไทเนีย (Tinia)

      ในวัยเยาว์ของพระองค์ โดนพ่อบังเกิดเกล้าเรียกเอาไปกิน หวังไม่ให้เยาวเทพเติบโตขึ้นมาวัดรอยเท้า เคราะห์ดีที่แม่ของท่านไหวตัวทันเอาไปฝากแพะเลี้ยงเอาไว้ จนกระทั่งเติบโตจึงได้มาทวงบัลลังก์กับพ่อ ต้องรบราฆ่าฟันพี่น้อง รวมทั้งพ่อของตัวเองด้วย หลังจากยึดอำนาจได้เบ็ดเสร็จแล้ว ซุสก็ขึ้นครองบัลลังก์ รั้งอำนาจเต็มตลอด 3 ภพ คือ สวรรค์ พิภพ และ บาดาล แต่ซุสก็ตระหนักดีว่า การที่จะปกครองทั้ง 3 ภพ และ ทะเลให้ทั่วถึงมิใช่เรื่องง่าย หาใช่ภาระเล็กน้อยไม่ เพื่อป้องกันการแก่งแย่ง และกระด้างกระเดื่อง จึงจัดสรรอำนาจ ยอมยกให้เทพต่างๆ มีเอกสิทธิในการปกครองอาณาเขตดังนี้

      • เนปจูน หรือ โปเซดอน ได้ครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแม่น้ำทั้งปวง
      • พลูโต หรือ ฮาเดส เป็นเจ้าแห่งตรุทาร์ทะรัส และ แดนบาดาลทั้งหมด อันรัศมีของแสงอาทิตย์ ไม่เคยส่องลอดไปถึงเลย
      • ยูปิเตอร์ หรือ ซุสเองปกครองทั้งสวรรค์ และพิภพ แต่ก็มีอำนาจที่จะสอดส่องดูแล กิจการทั่วไปในเขตแดน ของเทพภราดรทั้งสองได้บ้าง

      เมื่อทุกสิ่ง ทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ความสงบก็บังเกิดขึ้น

      หากกล่าว ถึงบทบาทของเทพซุสแล้ว ต้องยอมรับว่า มีบทบาทขัดแย้งในองค์เองมากที่สุดในบรรดาเทพด้วยกัน เนื่องจากทรงเป็นมหาเทพผู้ทรงอำนาจสูงสุด และมีผู้เคารพนับถือโดยทั่วไปเป็นที่ยำเกรงของสามโลก ทรงไว้ซึ่งฤทธิ์อำนาจ ล้นฟ้าล้นแผ่นดิน แต่กลับทรงมีอุปนิสัยเหมือนบุรุษหนุ่มธรรมดา ๆ นั่นคือ ความเกรงใจ ที่มอบให้แก่มหาเทวี ฮีร่า ชายาของเทพซุสเอง เป็นอย่างมาก ซึ่งก็คืออาการ “กลัวเมีย” และสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ความเจ้าชู้ที่มีอยู่ในตัวมหาเทพซุสนั่นเอง

      ความขัดแย้งอีกประการ หนึ่งที่มีอยู่ในตัวมหาเทพองค์นี้ คือ แม้ว่าเทพซุสจะมีอำนาจสูงสุดทั่วสามภพ แต่ไม่อาจใช้อำนาจของตน ไปแตะต้องเทพองค์หนึ่งได้ ทั้ง ๆ ที่เทพองค์นั้นก็เป็นเพียงเทวะชั้นรอง และไม่สามารถมาประชันขันแข่งกับซุสได้ เทพองค์นั้นมีนามว่า ชะตาเทพ (Fate) ซึ่งบ่งบอกให้เราทราบว่าไม่มีผู้ใดเลย หรือ แม้แต่เหล่าทวยเทพ จะหาญสู้หลีกเลี่ยง หรือก้าวก่ายกับชะตาชีวิตได้

      ด้วยเหตุนี้ การที่มหาเทพซุสมีอะไรแย้ง ๆ กันในองค์เอง อาจเป็นเพราะชาวกรีกโบราณที่สร้าง เหล่าทวยเทพ ขึ้นนับถือมีความเป็นนักปรัชญาอยู่เต็มตัว เขาจึงสร้างทวยเทพของเขาให้ละม้ายคล้ายกับมนุษย์ปุถุชน มีทั้งข้อดี และจุดบกพร่อง คุณงามความดีอันสำคัญของมหาเทพซุสเป็นอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้ที่เคารพนับถือเป็นนักปราชญ์มากกว่านักสงคราม ก็คือ ซุสทรงรักสัจจะ และความเป็นธรรมอย่างที่สุด ทรงเกลียดชังคนโกง และคนโกหกอย่างที่สุด การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเพื่อถวายแด่พระองค์ นักกีฬาจึงต้องแข่งกันอย่างตรงไปตรงมา แต่ในยามโกรธเกรี้ยว และต้องลงทัณฑ์ต่อความผิด เทพซุสก็โหดเช่นกัน เช่น ตอนโพรเมธุสขโมยไฟจากสวรรค์มาให้มนุษย์ พระองค์ตามล่าจนได้ตัวแล้วนำโพรเมธุสฝังเข้าไปในหิน 30,000 ปี และยังได้ส่งนกอินทรีย์ มากินตับโพรเมธุสทุกวันอีกด้วย

      ความเจ้าชู้ ดูเหมือนจะกลายเป็นภารกิจหลักของมหาเทพ แต่ก็ใช่ว่าซุส จะประสบความสำเร็จทุกครั้ง คนที่พ้นมือไปได้ก็ยังพอมีอยู่ เช่นนางอัปสร (Nymph) ที่มีนามว่าแอสทีเรีย เธอแปลงเป็นนกกระทาบินหนีไป หรือ เทย์กีต ลูกสาวของแอตลาสก็เกือบไป เพราะ เทพีอาร์เทมีส มาพบเข้าพอดี แล้วช่วยแปลงนางเป็นกวาง จนนางวิ่งเร็วกว่าซุสหายไปในป่า

      ในที่สุด เทพซุสเอง ก็ถูกบีบให้เข้าสู่การแต่งงานครั้งสุดท้าย นั่นคือตอนไปพบกับเฮรา ราชินีแห่งท้องฟ้า เฮราปฏิเสธที่จะมีสัมพันธ์กับพระองค์ ซุสแปลงตัวเป็นนกดุเหว่าร่วงลงมาต่อหน้าเฮรา แกล้งทำเป็นโดนความหนาว จนตัวแข็ง เฮราหลงกลพานกดุเหว่าเข้าไปกอดในห้องนอนของนาง แต่พอนางรู้สึกตัวว่าอยู่ในอ้อมแขนของผู้ชายเข้าแล้ว นางกลับไม่ยอม จนในที่สุดซุสต้องยอมเอ่ยคำปฏิญาณจะแต่งงานด้วย ไม่ช้าไม่นาน ซุสก็พบว่าความงามของเฮรา กลับตรงกันข้ามกับนิสัยของนาง เพราะเฮราขึ้นขื่อดังทั่วสวรรค์ว่าเป็น “มเหสีขี้หึง”

      อย่าเพิ่งนึก ว่าซุสได้มเหสีที่แสนจะขี้หึง และไล่ตามราวีพระองค์อย่างนั้นแล้ว พระองค์จะยอมหยุดความเจ้าชู้ลงได้ วิถีความรักของพระองค์ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ซุสโปรดเหล่านางพรายป่าเป็นพิเศษ เพราะปราบปลื้มในการที่ได้ลบเอาความโกรธเกรี้ยว ที่จะมีสัมพันธ์กับผู้ชายของ นางอัปสรเหล่านี้ให้หมดไป ประวัติของซุสตอนที่มาเกี่ยวกับผู้หญิง ที่เป็นมนุษย์กล่าวไว้มากพอควร แต่ล้วนเป็นเล่ห์อุบายของซุสที่จะเข้าอภิรมย์กับมนุษย์ผู้หญิง พระองค์นี่จัดว่าเป็นนักรักที่มีความพยายามสูงสุด ไม่ว่าจะมีการปกป้องหญิงงามนางนั้น อย่างแข็งขันเพียงไรก็ไม่มีทางพ้นมือไปได้เลย เช่น ตอนที่ไปชอบ ดานาอี ลูกสาวของกษัตริย์อครีซีอุส กษัตริย์อครีซีอุสอุตส่าห์จับลูกสาวขังไว้ในหอคอยบรอนซ์ ซุสก็ยังอุตส่าห์แปลงร่างเป็นฝนทอง แทรกตัวลงไปตามรอยแตกของหลังคาลงไปได้

          

      หรืออย่างตอนที่เข้าหานางลีดา (Leda) มเหสีของ ทินเดริอุส ซึ่งกำลังเปลือยกายอาบน้ำอยู่ในสระ ก็แปลงตัวเป็นหงส์ขาวแสนสวย ค่อยๆ ลอยเข้าหาจนนางอดเรียก มากอดไม่ได้ กว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ทุกอย่างก็สายไป จนนางตั้งครรภ์ และคลอดออกมาเป็นไข่ ครั้นไข่แตกออก แทนที่จะเป็นตัวประหลาดครึ่งคนครึ่งหงส์โผล่ออกมา อย่างตำนานทั่วไป กลับกลายเป็นฝาแฝดชายคู่หนึ่ง ได้แก่ คัสเตอร์ (Castor) กับ โพลิดียูซิส (Polydeuses) หรือ พอลลักซ์ (Pallux) ในภาษา โรมัน สิ่งที่ทำให้ทารกคู่นี้เป็นพยานความสัมพันธ์ระหว่างเทพกับมนุษย์ คือ คนหนึ่งมีกายเป็นอมตะดั่งเทพ แต่อีกคนหนึ่งตายได้ อย่างมนุษย์สามัญธรรมดา นอกจาก ฝาแฝดชายคู่นี้แล้ว ลีดายังมีแฝดหญิงอีกคู่หนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักที่สุด ในตำนานกรีกโบราณ หนึ่งนั้นนามว่า เฮเลน หญิงงาม ต้นเหตุของ มหาสงครามกรุงทรอย อีกหนึ่งคือ ไคลเตมเนสตร้า (Clytemnestra) ซึ่งต่อมาได้เป็นมเหสีของ อกาเมมนอน แห่งไมซีนี่ (ความสัมพันธ์สวาท ของนางลีดากับพญาหงส์ปลอม ที่มหาเทพซุสทรงจำแลงมานั้น เป็นไปอย่างซ่อนเร้น เพราะลีดา เป็นมเหสีของท้าว ทินดาริอุส (Tindarius) แห่งสปาร์ต้า เมื่อลีดาให้กำเนิดเฮเลน และ ไคลเตมเนสตร้า ทินดาริอุสก็นึก ว่าเป็นธิดาของพระองค์)

      อีกครั้งสำคัญ ก็ตอนที่ลักพา นางยูโรปา ตอนนั้นพระองค์แปลงเป็นวัวขาว ที่งดงาม และดูนุ่มนวล จนนางยูโรปาอดจับต้องไม่ได้ เมื่อเห็นว่า มันเชื่องกับมือนาง นางก็ทำช่อดอกไม้ คล้องเขาของมัน แล้วขึ้นขี่หลัง มหาเทพก็พานางเหาะข้ามทะเลพายูโรปา ไปถึงครีต แสดงร่างที่แท้จริง และได้นางยูโรปาที่ใต้ต้นไม้ตรงนั้นเอง ยังมีเรื่องพิศวาสระหว่างซุสกับเหล่าสตรีอื่น ๆ อีกมาก อาทิสัมพันธ์รัก กับนางไอโอ ที่เป็นยายของ วีรบุรุษ เฮอร์คิวลิส รักกับไดโอนี และมีธิดา นามว่า อโฟรไดท์ พิสมัยกับ ไมอา และมีโอรสนามว่า เฮอร์มิส ฯลฯ

         

      รูปของเทพซุส
      .
      .
      .
      .

      เทพซุส (Zeus) ราชาแห่งทวยเทพ

      เทพซุส (Zeus) ราชาแห่งทวยเทพ

      เทพซุส (Zeus)

      เทพซุส (Zeus)

      เทพซุส (Zeus)

      เทพซุส (Zeus)


      รูปของนางลีดา
      .
      .
      .
      .
      นางลีดา

      นางลีดา

      นางลีดาและลูก

      นางลีดาและลูก

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×