ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : 2-1
// end of main function
return 0; }
   
รหัสโปรแกรมบรรทัดสุดท้ายถูกเขียนเสร็จลง แม็กซ์ยืดแขนทั้งสองข้างขึ้น แล้วบิดตัวไปมาเพื่อไล่ความเมื่อยขบ เขาเหลือบมองดูนาฬิกาที่มุมด้านล่างของจอภาพ มันบอกว่าขณะนี้เป็นเวลา 05.23 น. แล้ว
   
“ใช้เวลานานเหมือนกันแฮะ!!... คราวหน้าต้องให้เร็วกว่านี้”
   
แม็กซ์พึมพำกับตัวเอง พลางเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่คำสั่งคอมไพล์ เพื่อให้เครื่องทำการแปลรหัสที่เขาเขียนไปเป็นไฟล์โปรแกรมที่พร้อมใช้งาน...
   
เมื่อวาน...หลังจากที่แม็กซ์คิดแผนการที่จะจัดการกับนายป๊อบได้แล้ว เขาก็เข้าไปในอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาโปรแกรมจำพวกสนิฟเฟอร์ (Sniffer) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับดักจับข้อมูลต่างๆ ที่ไหลเวียนอยู่ในเครือข่าย ...แผนการที่แม็กซ์วางไว้ก็คือ เขาจะเจาะเข้าไปในระบบเครือข่ายห้องเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นที่ที่ admin ฝ่ายนักเรียนดูแลอยู่ โดยสวมรอยเป็นนายป๊อบหนึ่งใน admin ที่ดูแลระบบอยู่ด้วย จากนั้นเขาก็จะเข้าไปทำการแก้ไขข้อมูลอะไรบางอย่างในเครือข่าย เช่น เปลี่ยนหน้าจอของเครื่องทุกเครื่องในห้องให้เป็นรูปตลกๆ หรือ อาจจะทำการเปลี่ยนรูปแบบหน้าจอให้เป็นแบบอื่นก็ได้ ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้วเขาก็จะออกมาประกาศให้ทุกคนได้รู้ว่าระบบเครือข่ายของห้องคอมฯ นั้นเจาะเข้ามาได้ง่ายแค่ไหน โดยเฉพาะบัญชี admin ของนายป๊อบที่ไม่สามารถรักษารหัสผ่านของตัวเองไว้ได้ ...จึงไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่นายป๊อบจะเป็น admin ฝ่ายนักเรียนของโรงเรียนนี้อีกต่อไป...
   
เหตุที่แม็กซ์เลือกที่จะใช้โปรแกรมสนิฟเฟอร์ในการได้มาซึ่งรหัสผ่านของป๊อบนั้น เพราะเขารู้โครงสร้างระบบเครือข่ายของโรงเรียนพอสมควร เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนคอมฯ เป็นเวิร์คกรุ๊ป*(1)หนึ่ง ในเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์*(2)ของโรงเรียน ซึ่งถูกเชื่อมต่อกันด้วยฮับ*(3)ซึ่งเป็นการง่ายที่จะใช้สนิฟเฟอร์ดักจับเฟรมข้อมูล เพราะฮับจะส่งออกเฟรมข้อมูลในทุกพอร์ต*(4) ทำให้เขาสามารถจะดักจับเฟรมข้อมูลที่อาจจะมียูสเซอร์เนม (Username) และรหัสผ่านที่พอร์ตไหนของฮับก็ได้
   
แต่เพื่อเพิ่มความง่ายในการเจาะระบบครั้งนี้ให้มากยิ่งขึ้น แม็กซ์เลือกที่จะดาวน์โหลดซอร์สโค้ด*(5)ของโปรแกรมสนิฟเฟอร์ที่เปิดเผยไว้ แล้วทำการดัดแปลงโปรแกรมเสียใหม่ โดยเขาเปลี่ยนให้โปรแกรมดักจับข้อมูลเฉพาะเครื่องที่เขาระบุไอพีแอดเดรสเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถส่งข้อมูล ซึ่งกรองแล้วว่าน่าจะเป็นข้อมูลของรหัสผ่านเข้าสู่เครื่องในห้องเรียนคอมฯ ของเขาโดยตรง นอกจากนี้เขายังเพิ่มพารามิเตอร์อีกตัวต่อท้ายคำสั่ง เพื่อทำการกลบเกลื่อนร่องรอยในล็อกไฟล์ โดยใส่ไอพีแอดเดรสของเครื่องอื่นที่ไม่ใช่เครื่องของเขาอีกด้วย เท่านี้ถึงแม้ว่าจะมีคนสงสัยว่ามีการเคลื่อนย้ายไฟล์แบบผิดปกติ ก็ไม่สามารถจับได้ว่าเขาเป็นคนทำ เพราะในล็อกไฟล์จะแสดงไอพีแอดเดรสที่รับโอนไฟล์เป็นเครื่องอื่น ไม่ใช่เครื่องของเขานั่นเอง...
   
“เสร็จล่ะ!!...ที่เหลือก็แค่เอาไปใส่ในเครื่องของเรา เอ...เราต้องรู้ไอพีของเครื่องไอ้ป๊อบด้วยนี่หว่า!! ...ทำไงดีวะ?”
   
แม็กซ์พูดเมื่อข้อมูลบนหน้าจอบ่งบอกว่าการคอมไพล์ได้เสร็จสิ้นลง แต่ขั้นตอนการเจาะระบบของเขายังไม่เสร็จเพียงเท่านี้ เพราะเขาจะต้องรู้ด้วยว่าไอพีแอดเดรส*(6)ของเครื่องเป้าหมายคืออะไร ?
   
ปกติแล้วห้องเรียนคอมฯ ของโรงเรียน จะใช้สอนนักเรียนตั้งแต่ ม. 1 ถึง ม. 6 จะให้เด็กนักเรียนนั่งเรียงกันไปตามเลขที่ของตนในห้องนั้นๆ ด้วยเหตุนี้เองที่นั่งที่ทุกคนนั่ง จึงเป็นที่นั่งประจำของแต่ละคนที่เข้าเรียนในชั่วโมงนั้นด้วย เพราะฉะนั้นขั้นตอนที่เขาต้องทำต่อไปก็คือ ...หาให้ได้ว่านายป๊อบนั่งที่ตรงไหนเป็นประจำนั่นเอง...!!
   
แม็กซ์ยังคงนึกแผนการต่อไปอยู่บนเก้าอี้หน้าคอมฯ ซึ่งนั่งมาเป็นเวลาถึงสิบกว่าชั่วโมงแล้ว ตอนนี้เขาทั้งเหนื่อยทั้งง่วง แต่รู้ดีว่าหลับไม่ได้เป็นอันขาด เพราะรู้ว่าหากหลับเขาต้องหลับยาวเป็นแน่
   
...เดี๋ยวค่อยไปสืบที่นั่งไอ้ป๊อบที่โรงเรียนเอา ตอนนี้เตรียมข้าวเตรียมของก่อนดีกว่า... เขาคิดในใจ พลางเซฟโปรแกรมลงแผ่นดิสก์ที่เตรียมไว้ แล้วลุกขึ้นไปอาบน้ำเพื่อเตรียมตัวไปโรงเรียน
// อ้างอิงท้ายเรื่อง //-------------------------------------------------
*(1) หนึ่งในประเภทของระบบเครือข่าย แปลตรงตัวว่ากลุ่มคนทำงานเป็นทีม ซึ่งจะใช้สำหรับส่วนงานที่มีเครื่องคอมฯ จำนวนน้อย และผู้ใช้ที่ไม่มาก บ้างก็เรียกว่า เครือข่ายแบบเพียร์ ทู เพียร์ (Peer-to-Peer Network) ก็ได้
*(2) อีกประเภทหนึ่งของระบบเครือข่าย จะใช้สำหรับองค์การขนาดใหญ่ และจำเป็นที่จะต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ
*(3) ฮับ(Hub) บางคนก็เรียกว่า รีพีทเตอร์(Repeater) เป็นตัวเชื่อมสัญญาณของกลุ่มคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเครือข่าย ให้สามารถสื่อสารกันได้
*(4) อันนี้แปลตรงตัวว่า ท่า ในที่นี้จะหมายถึง ท่าที่รับส่งข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์
*(5) Source Code ไฟล์ต้นแบบของโปรแกรมที่ยังไม่ถูกแปลเป็นภาษาเครื่อง เป็นรหัสที่มนุษย์สามารถอ่านและแก้ไขดัดแปลงได้
*(6) IP Address ที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่าย หากเป็นเครือข่ายแบบภายในอย่างในท้องเรื่อง จะมีไอพีแอดเดรสที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะในเครือข่ายนั้นๆ
ปล. การอ้างอิงอาจไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก เพื่อความแจ่มชัดหากยังมีข้อคาใจ แนะนำให้ค้นคว้าเองจากตำราคอมพิวเตอร์ที่มีเกลื่อนเมืองครับ
return 0; }
   
รหัสโปรแกรมบรรทัดสุดท้ายถูกเขียนเสร็จลง แม็กซ์ยืดแขนทั้งสองข้างขึ้น แล้วบิดตัวไปมาเพื่อไล่ความเมื่อยขบ เขาเหลือบมองดูนาฬิกาที่มุมด้านล่างของจอภาพ มันบอกว่าขณะนี้เป็นเวลา 05.23 น. แล้ว
   
“ใช้เวลานานเหมือนกันแฮะ!!... คราวหน้าต้องให้เร็วกว่านี้”
   
แม็กซ์พึมพำกับตัวเอง พลางเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่คำสั่งคอมไพล์ เพื่อให้เครื่องทำการแปลรหัสที่เขาเขียนไปเป็นไฟล์โปรแกรมที่พร้อมใช้งาน...
   
เมื่อวาน...หลังจากที่แม็กซ์คิดแผนการที่จะจัดการกับนายป๊อบได้แล้ว เขาก็เข้าไปในอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาโปรแกรมจำพวกสนิฟเฟอร์ (Sniffer) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับดักจับข้อมูลต่างๆ ที่ไหลเวียนอยู่ในเครือข่าย ...แผนการที่แม็กซ์วางไว้ก็คือ เขาจะเจาะเข้าไปในระบบเครือข่ายห้องเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นที่ที่ admin ฝ่ายนักเรียนดูแลอยู่ โดยสวมรอยเป็นนายป๊อบหนึ่งใน admin ที่ดูแลระบบอยู่ด้วย จากนั้นเขาก็จะเข้าไปทำการแก้ไขข้อมูลอะไรบางอย่างในเครือข่าย เช่น เปลี่ยนหน้าจอของเครื่องทุกเครื่องในห้องให้เป็นรูปตลกๆ หรือ อาจจะทำการเปลี่ยนรูปแบบหน้าจอให้เป็นแบบอื่นก็ได้ ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้วเขาก็จะออกมาประกาศให้ทุกคนได้รู้ว่าระบบเครือข่ายของห้องคอมฯ นั้นเจาะเข้ามาได้ง่ายแค่ไหน โดยเฉพาะบัญชี admin ของนายป๊อบที่ไม่สามารถรักษารหัสผ่านของตัวเองไว้ได้ ...จึงไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่นายป๊อบจะเป็น admin ฝ่ายนักเรียนของโรงเรียนนี้อีกต่อไป...
   
เหตุที่แม็กซ์เลือกที่จะใช้โปรแกรมสนิฟเฟอร์ในการได้มาซึ่งรหัสผ่านของป๊อบนั้น เพราะเขารู้โครงสร้างระบบเครือข่ายของโรงเรียนพอสมควร เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนคอมฯ เป็นเวิร์คกรุ๊ป*(1)หนึ่ง ในเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์*(2)ของโรงเรียน ซึ่งถูกเชื่อมต่อกันด้วยฮับ*(3)ซึ่งเป็นการง่ายที่จะใช้สนิฟเฟอร์ดักจับเฟรมข้อมูล เพราะฮับจะส่งออกเฟรมข้อมูลในทุกพอร์ต*(4) ทำให้เขาสามารถจะดักจับเฟรมข้อมูลที่อาจจะมียูสเซอร์เนม (Username) และรหัสผ่านที่พอร์ตไหนของฮับก็ได้
   
แต่เพื่อเพิ่มความง่ายในการเจาะระบบครั้งนี้ให้มากยิ่งขึ้น แม็กซ์เลือกที่จะดาวน์โหลดซอร์สโค้ด*(5)ของโปรแกรมสนิฟเฟอร์ที่เปิดเผยไว้ แล้วทำการดัดแปลงโปรแกรมเสียใหม่ โดยเขาเปลี่ยนให้โปรแกรมดักจับข้อมูลเฉพาะเครื่องที่เขาระบุไอพีแอดเดรสเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถส่งข้อมูล ซึ่งกรองแล้วว่าน่าจะเป็นข้อมูลของรหัสผ่านเข้าสู่เครื่องในห้องเรียนคอมฯ ของเขาโดยตรง นอกจากนี้เขายังเพิ่มพารามิเตอร์อีกตัวต่อท้ายคำสั่ง เพื่อทำการกลบเกลื่อนร่องรอยในล็อกไฟล์ โดยใส่ไอพีแอดเดรสของเครื่องอื่นที่ไม่ใช่เครื่องของเขาอีกด้วย เท่านี้ถึงแม้ว่าจะมีคนสงสัยว่ามีการเคลื่อนย้ายไฟล์แบบผิดปกติ ก็ไม่สามารถจับได้ว่าเขาเป็นคนทำ เพราะในล็อกไฟล์จะแสดงไอพีแอดเดรสที่รับโอนไฟล์เป็นเครื่องอื่น ไม่ใช่เครื่องของเขานั่นเอง...
   
“เสร็จล่ะ!!...ที่เหลือก็แค่เอาไปใส่ในเครื่องของเรา เอ...เราต้องรู้ไอพีของเครื่องไอ้ป๊อบด้วยนี่หว่า!! ...ทำไงดีวะ?”
   
แม็กซ์พูดเมื่อข้อมูลบนหน้าจอบ่งบอกว่าการคอมไพล์ได้เสร็จสิ้นลง แต่ขั้นตอนการเจาะระบบของเขายังไม่เสร็จเพียงเท่านี้ เพราะเขาจะต้องรู้ด้วยว่าไอพีแอดเดรส*(6)ของเครื่องเป้าหมายคืออะไร ?
   
ปกติแล้วห้องเรียนคอมฯ ของโรงเรียน จะใช้สอนนักเรียนตั้งแต่ ม. 1 ถึง ม. 6 จะให้เด็กนักเรียนนั่งเรียงกันไปตามเลขที่ของตนในห้องนั้นๆ ด้วยเหตุนี้เองที่นั่งที่ทุกคนนั่ง จึงเป็นที่นั่งประจำของแต่ละคนที่เข้าเรียนในชั่วโมงนั้นด้วย เพราะฉะนั้นขั้นตอนที่เขาต้องทำต่อไปก็คือ ...หาให้ได้ว่านายป๊อบนั่งที่ตรงไหนเป็นประจำนั่นเอง...!!
   
แม็กซ์ยังคงนึกแผนการต่อไปอยู่บนเก้าอี้หน้าคอมฯ ซึ่งนั่งมาเป็นเวลาถึงสิบกว่าชั่วโมงแล้ว ตอนนี้เขาทั้งเหนื่อยทั้งง่วง แต่รู้ดีว่าหลับไม่ได้เป็นอันขาด เพราะรู้ว่าหากหลับเขาต้องหลับยาวเป็นแน่
   
...เดี๋ยวค่อยไปสืบที่นั่งไอ้ป๊อบที่โรงเรียนเอา ตอนนี้เตรียมข้าวเตรียมของก่อนดีกว่า... เขาคิดในใจ พลางเซฟโปรแกรมลงแผ่นดิสก์ที่เตรียมไว้ แล้วลุกขึ้นไปอาบน้ำเพื่อเตรียมตัวไปโรงเรียน
// อ้างอิงท้ายเรื่อง //-------------------------------------------------
*(1) หนึ่งในประเภทของระบบเครือข่าย แปลตรงตัวว่ากลุ่มคนทำงานเป็นทีม ซึ่งจะใช้สำหรับส่วนงานที่มีเครื่องคอมฯ จำนวนน้อย และผู้ใช้ที่ไม่มาก บ้างก็เรียกว่า เครือข่ายแบบเพียร์ ทู เพียร์ (Peer-to-Peer Network) ก็ได้
*(2) อีกประเภทหนึ่งของระบบเครือข่าย จะใช้สำหรับองค์การขนาดใหญ่ และจำเป็นที่จะต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ
*(3) ฮับ(Hub) บางคนก็เรียกว่า รีพีทเตอร์(Repeater) เป็นตัวเชื่อมสัญญาณของกลุ่มคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเครือข่าย ให้สามารถสื่อสารกันได้
*(4) อันนี้แปลตรงตัวว่า ท่า ในที่นี้จะหมายถึง ท่าที่รับส่งข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์
*(5) Source Code ไฟล์ต้นแบบของโปรแกรมที่ยังไม่ถูกแปลเป็นภาษาเครื่อง เป็นรหัสที่มนุษย์สามารถอ่านและแก้ไขดัดแปลงได้
*(6) IP Address ที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่าย หากเป็นเครือข่ายแบบภายในอย่างในท้องเรื่อง จะมีไอพีแอดเดรสที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะในเครือข่ายนั้นๆ
ปล. การอ้างอิงอาจไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก เพื่อความแจ่มชัดหากยังมีข้อคาใจ แนะนำให้ค้นคว้าเองจากตำราคอมพิวเตอร์ที่มีเกลื่อนเมืองครับ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น