เต้านม
เต้านม (breast) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง เต้านมของเด็กหญิงจะแบนราบ และจะพัฒนาขยายขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงเริ่มเป็นวัยรุ่น เต้านมใช้สำหรับป้อนนมเด็ก โดยเมื่อผู้หญิงมีลูกเต้านมจะผลิตน้ำนม การแสดงเต้านมในที่สาธารณะจะถูกห้ามตามกฎหมายในขณะที่บางสถานที่จะสามารถแสดงได้
|
นมมารดา
ก่อนเด็กแรกเกิด มารดาควรจะตัดสินใจให้ได้ก่อนว่าจะให้บุตรรับประทานนมตนเอง หรือนมผสมและควรจะได้ปรึกษาหารือกับแพทย์และพยาบาล เกี่ยวกับการให้นมบุตร เมื่อมาตรวจครรภ์ในระยะก่อนคลอด ควรจะซักถามถึงผลดีผลเสียของการให้นมมารดา และการดูแลเต้านมด้วย
คุณลักษณะของนมมารดา
น้ำนมมารดาเมื่อออกมาจากต่อมน้ำนมจะเป็นของเหลวที่ปราศจากเชื้อโรค มีสภาพเป็นกรดหรือเป็นกลาง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เกลือแร่และวิตะมินต่าง ๆ น้ำนมมารดาจะให้พลังงานเท่ากับน้ำนมวัวคือ ประมาณ 20 แคลอรี่ ต่อนม 1 ออนซ์ มารดาที่มีสุขภาพและภาวะโภชนาการดี น้ำนมจะมีปริมาณและคุณภาพ เพียงพอกับความต้องการของทารก โดยเฉพาะ 6 เดือนแรก หลังจากนั้นปริมาณจะลดลงเรื่อย ๆ
น้ำนมมารดาเป็นอาหารธรรมชาติสำหรับเด็ก มีวิตามินเอ ไนอาซิน วิตะมินซีมากกว่าในนมวัว และมีอัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสสูง จึงสามารถป้องกันการเกิดอาการชัก [TETANY] ในเด็กเกิดใหม่ได้ นอกจากนั้นโปรตีนในน้ำนมแม่ช่วยให้นมตกตะกอนเป็นก้อนเล็ก ๆ ทำให้ย่อยง่าย ในระยะ 2-4 วัน แรกหลังคลอด ร่างกายจะสร้างน้ำนมเหลือง [colostrum] ลักษณะมีสีเหลืองมัว ๆ ปริมาณน้อย ย่อยง่าย มีโปรตีนและเกลือแร่สูง มีคุณประโยชน์แก่เด็กมาก คือ เป็นยาระบายอ่อน ๆ [laxative] และช่วยเสริมความต้านทานโรคบางอย่าง ได้แก่ อาการปวดท้อง [colic] โรคผิวหนังและโรคทางเดินหายใจ
ข้อห้ามในการให้นมมารดา
ข้อยกเว้นที่จะไม่ให้นมมารดามีทั้งระยะชั่วคราว [temporary] และระยะถาวร [permanent]
1. ระยะถาวร ได้แก่ กรณีมารดาเป็นโรคต่อไปนี้ คือ โลหิตเป็นพิษ ไตอักเสบ โรคชักแห่งครรภ์ ตกเลือดเป็นจำนวนมาก วัณโรคระยะติดต่อ ไทฟอยด์ และมาเลเรีย รวมทั้งภาวะมารดาขาดสารอาหารเรื้อรัง โรคจิต และมะเร็ง
2. ระยะชั่วคราว ได้แก่ มารดาหัวนมแตกหรือเป็นแผล และเต้านมอักเสบ [mastitis] ประหยัด สะดวก สะอาดและปลอดภัย
การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา เป็นการประหยัดอย่างยิ่งต่อครอบครัวและต่อประเทศ น้ำนมมารดามีพร้อมเสมอเมื่อทารกต้องการ ไม่ต้องเสียเวลาตระเตรียมเพียงแต่เช็ดหัวนมให้สะอาดด้วยสำลีชุบน้ำสุกก็พอ เมื่อทารกดูดจะกระตุ้นให้มีการหลังน้ำนมออกมา และอุณหภูมิของน้ำนมจะมีความพอดีสำหรับทารก
ภูมิต้านทานโรคติดเชื้อ
ทารกที่ได้รับการเลี้ยงด้วยนมทารก จะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจ็บป่วยเป็นโรคติดเชื้อน้อย โดยเฉพาะโรคที่เป็นปัญหาในทารก คือ โรคท้องเสีย โรคของระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งอุจจาระของทารกที่กินนมมารดาจะมีภาวะเป็นกรด ซึ่งยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางอย่าง เช่น E.coli yeast และ Shigella species
ผลดีต่อจิตใจ
การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาจะมีผลดีทั้งต่อแม่และลูกในด้านจิตใจ ทำให้เกิดสื่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างแม่กับลูกและเกิดความภาคภูมิใจทั้งแม่และลูก ประสบการณ์ของแม่ที่ได้จากการเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองจะมีผลต่อแม่เอง แม่ให้ความสนใจและความใกล้ชิด ตลอดจนการตัดสินใจของแม่ดีด้วย
สำหรับผลดีต่อทารกคือ ความอบอุ่นทั้งร่างกายและจิตใจ ร่าเริง แจ่มใส มีความสุขจากการดูดนมแม่มากกว่านมขวด และมีการขับถ่ายอุจจาระที่อ่อนตัวกว่านมผสม นอกจากนี้ยังมีผลดีต่อการพัฒนาอุปนิสัยการเรียนรู้และการปรับตัวของทารกด้วย
ผลดีต่อแม่
การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา นอกจากจะมีผลดีต่อแม่ในด้านความสุขทางจิตใจแล้วยังมีผลต่อร่างกายด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประจำเดือน แม่ที่ให้นมลูกเต็มที่จะไม่มีประจำเดือน [lactation amenorrhea ] ประมาร 8-12 เดือน ซึ่งเปรียบเทียบกับแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองจะมีประจำเดือน 2-4 เดือนหลังคลอด มีประโยชน์ในด้านการวางแผนครอบครัว โดยที่แม่ที่ให้น้ำนมลูกเต็มที่จะป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์ประมาณ 7 เดือน อย่างไรก็ตามแม่ที่ต้องการให้มีลูกห่าง ก็ควรจะหาวิธีคุมกำเนิดโดยวิธีอื่นซึ่งให้ผลแน่นอนกว่าการที่ทารกดูดนมมารดาจะกระตุ้นให้มีการหลั่ง Oxytocin ซึ่งจะช่วยให้มดลูกหดตัวเข้าช่องเชิงกรานได้ดีอีกด้วย และแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองจะมีปัญหามะเร็งเต้านมน้อยกว่าหญิงที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา นอกจากนี้ยังทำให้มารดาไม่เกิดปัญหาโรคอ้วน เพราะไขมันที่สะสมขณะตั้งครรภ์จะถูกนำมาใช้ในการสร้างน้ำนมสำหรับทารก |
|
ความคิดเห็น