คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : ฝาแฝด
ฝาแฝดเกิดได้อย่างไร
ทารกที่คลอดออกมาประมาณ 1 ใน 100 จะเป็นฝาแฝด แฝดมีสองประเภท คือ แฝดแท้ และแฝดเทียม
แฝดแท้ เป็นฝาแฝดที่เหมือนกันทุกประการ เพศของเด็กก็จะเหมือนกันด้วย เพราะเกิดจากไข่ใบเดียวกันผสมกับอสุจิเซลล์เดียว ขณะที่เริ่มแบ่งตัวตามปกติเซลล์กลับแบ่งตัวแยกเป็น 2 กลุ่มแทน ซึ่งแต่ละกลุ่มเจริญเติบโต โดยฝังตัวอยู่ในมดลูก และพัฒนาเป็นทารกน้อย 2 คน เมื่อเวลาผ่านไป 9 เดือน ทารกที่มีโครโมโซม และยีนเหมือนกันทุกประการก็จะถือกำเนิดมา
แฝดเทียม เกิดขึ้นจากไข่ 2 ใบ ผสมกับเซลล์อสุจิคนละตัว ฝาแฝดประเภทนี้สามารถเป็นเพศเดียวกันก็ได้ หรือคนละเพศก็ได้ ทารกน้อย 2 คนอาจดูคล้ายกัน แต่ต่างจะมียีน และโครโมโซมของตัวเองที่ไม่เหมือนกัน
ภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูละม้ายคล้ายคลึงกันมากของฝาแฝด “หนูนิด “ และ”หนูหน่อย” ทำให้ผู้พบเห็นมักเข้าใจผิดอยู่เสมอๆว่า หนูนิดคือหนูหน่อย หรือ หนูหน่อย คือ หนูนิด มีเพียงคุณพ่อคุณแม่ของหนูน้อยทั้งสอง กับญาติผู้ใกล้ชิดเท่านั้นที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของเจ้าจอมยุ่งนี้ได้ และด้วยความเลือกสรรสิ่งของ หรือเครื่องแต่งกายแก่ลูกน้อยให้เหมือนกันราวกับตุ๊กตาแสนสวยของตัวที่เคลื่อนไหวไปมาได้
บ่อยครั้ง ที่หนูน้อยทั้งสองจะได้รับของขวัญที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตาหมีขนปุยชุดกระโปรงฟูฟ่อง กล่องดินสอรูปหมีพูห์ หรือโบว์ผูกผมสีชมพูด ด้วยความที่คุณแม่และคุณพ่อเชื่อว่า การเลี้ยงดูลูกแฝดที่ดีด้วยวิธีง่ายๆ ก็เพียงทำทุกอย่างไม่ให้เด็กน้อยรู้สึกแปลกแยกต่อกันและกันเท่านั้นเองเพราะดูจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้วเด็กทั้งสองก็เปรียบเสมือนคนๆ เดียวกันอยู่แล้วในสายตาของคนทั้งคู่
แม้การเลี้ยงดูให้เหมือนกันทุกอย่างดูจะเป็นสิ่งดีสำหรับคนเป็นพ่อแม่ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทั้งสองต้องปวดหัวอยู่เป็นประจำก็คือ หนูนิดมักจะมีอาการอิจฉาริษยาหนูหน่อยอยู่เสมอ ด้วยความที่หนูหน่อยมีเพื่อนเล่นมากกว่าหนูหน่อยได้รับความสนใจที่มากกว่า เพราะหนูหน่อยมีนิสัยขี้อ้อนที่ทำให้ผู้ใกล้ชิดอดเอ็นดูไม่ได้ หนูหน่อยจึงเป็นเสมือนทั้งเพื่อนที่ใกล้ชิด และศัตรูร้อนในคราวเดียวกัน
พฤติกรรมเช่นนี้ตามความคิดเห็นของ แพทย์หญิงวินัดดา ปิยะศิลป์ กุมารแพทย์จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จากสถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี (เคยกล่าวไว้ในงานสัมมนา “สื่อสัมผัสรักจากแม่” หัวข้อ “ กลไกสร้างความฉลาดให้ลูกน้อย” เดือนพฤษภาคม 2543) เป็นว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกอันใดที่ฝาแฝดจะอิจฉาริษยากันได้ เพราะแม้แต่พี่น้องที่คืบคลานกันมาเองลึกๆ แล้วก็มีจิตใจที่อิจฉาริษยากันอยู่แล้วโดยธรรมชาติ เพียงแต่ความอิจฉาริษยานั้นจะลดน้อยถอยลงไป หากคุณพ่อหรือคุณแม่ไม่มีความลำเอียงในการเลี้ยงดู ไม่แบ่งแยกว่าลูกคนนั้นคนนี้เป็นคนโตหรือคนเล็ก เป็นลูกโทน หรือลูกแฝด ของเพียงทำใจเป็นกลางเลี้ยงดูด้วยหัวใจที่เป็นธรรม ถ้าลูกคนใดทำผิดก็ควรถูกลงโทษตามความผิดนั้นๆ โดยไม่ต้องนำกรอบของความเป็น “พี่” หรือ เป็น “น้อง” เข้ามาเกี่ยวข้อง
เพียงรูปลักษณ์ภายนอกที่คล้ายคลึงกันจนแทบจะแยกแยะไม่ออกมิได้หมายความว่าหนูนิด และหนูหน่อยจะเป็นตัวแทนของเด็กน้อยที่มีหัวใจเดียวกัน เพราะใน “ความเหมือน” ย่อมมี “ความแตกต่าง” อยู่ Dr.Miriam Stoppard ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Complete Baby and Child Care (1995) ให้ข้อคิดเห็นไว้อย่างน่าฟังว่า การเลี้ยงดูลูกแฝดที่ดีนั้นควรจะเลี้ยงให้เขาเป็นตัวของตัวเองให้ได้มากที่สุด
เริ่มแรกเห็นจะเป็นการตั้งชื่อที่ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันจนผู้เรียกขานเองก็สับสน ตัวเด็กแฝดเองก็งุนงงว่าผู้เรียกกำลังเรียกชื่อใครอยู่กันแน่ แม้การแต่งกายเองก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่า เด็กแฝดควรจะแต่งกายให้เหมือนกันเข้าไว้ เพื่อเสริมภาพลักษณ์ของความเป็นเด็กแฝดให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
ในความคิดของเขาแม้เด็กแฝดจะมีความเหมือนกันในภายนอก แต่พ่อแม่ควรสังเกตเอาเองว่า จริงๆ แล้ว แฝดผู้ที่มีความสนใจอะไรพิเศษ และแฝดผู้น้องมีความสนใจอะไรที่แตกต่างไปจากนั้นแล้วพ่อแม่ควรปูทางให้ความสนใจนั้นๆ ได้งอกเงยขึ้นมา เพื่ออนาคตของแฝดน้อยภาพลักษณ์เหมือนแต่หัวใจต่างกันนี้
บางครั้งการที่หนูนิดและหนูหน่อยอาจเป็นเสมือนเพื่อนสนิทของกันและกันตั้งแต่เกิด เมื่อได้เห็นเด็กลูกโทนคนอื่นๆ อาจดูเป็นของแปลกสำหรับเขาที่มีกันอยู่สองคน และด้วยความที่เป็นแฝดน้อย เขาจะดูเป็นเด็กที่มีความเชื่อมั่นกว่าเด็กลูกโทนยามที่ต้องเข้าสังคม บ่อยครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจพบหนูนิดและหนูหน่อยไม่อยากจะเข้ากลุ่มเล่นหัวกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เพราะในสายตาของเจ้าจอมยุ่งเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องจำเป็น พ่อแม่เอง หรือคุณครูควรพยายามให้เขาได้เล่นกับเพื่อนต่างกลุ่มกัน หรือขอให้ทางโรงเรียนแยกห้องเรียนของแฝดน้อย เพื่อพัฒนาการและการเติบโตที่เอื้อให้เขาได้เป็นตัวของตัวเองให้ได้มากที่สุด
ที่สำคัญเด็กแฝดจะมีพัฒนาการที่ดีได้ หากคุณพ่อหรือคุณแม่จัดสรรเวลาอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมงที่คับแน่นไปด้วยคุณภาพแด่แฝดน้อยอย่างเท่าๆ กัน เพื่อให้เขารับรู้ว่า แม้จะมีเพื่อนสนิทที่เหมือนกันอยู่มิรู้ห่าง เช่น หนูหน่อย แต่ความรัก และความสนใจของหนูนิดก็ได้รับการเหลียวแลจากทั้งคุณและสามีสุดที่รักด้วยเช่นกัน
ความคิดเห็น