ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    PHYSICS:สมดุลกล

    ลำดับตอนที่ #5 : โมเมนต์,,คาน

    • อัปเดตล่าสุด 12 ก.พ. 56


    โมเมนต์ 
                โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือโมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น โมเมนต์ของแรงก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตร
    โมเมนต์ (M) = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแนวแรง หน่วยเป็นนิวตัน - เมตร (N-m)
     
     
    โมเมนต์ของแรงคู่ควบ - เมื่อมีแรงคู่ควบกระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเกิดการหมุน ดังนั้นโมเมนต์แรงคู่ควบ หาจาก แรง 1 แรง  ระยะทางตั้งฉากระหว่างแนวแรง

    การได้เปรียบเชิงกล (MA) คือ อัตราส่วนของแรงที่ได้จากเครื่องกล กับแรงที่ให้กับเครื่องกล 
    F0 = แรงที่ได้จากเครื่องกล
    F1 = แรงที่ให้กับเครื่องกล
     
     
    ทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ
                1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
                2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
     

    รูปแสดงทิศทางของโมเมนต์

    จากรูป โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร)
    โมเมต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร)
    ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้ว่า
    ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
     
     
    คาน
                หลักการของโมเมนต์ เรานำมาใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า คาน (lever) หรือคานดีดคานงัด คานเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีดงัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum) มีลักษณะเป็นแท่งยาว หลักการทำงานของคานใช้หลักของโมเมนต์


    รูปแสดงลักษณะของคาน
     
    ส่วนประกอบของคาน ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของคานมี 3 ส่วน คือ
                1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม (Fulcrum) F
                2. แรงความต้านทาน (W) หรือน้ำหนักของวัตถุ
                3. แรงความพยายาม (E) หรือแรงที่กระทำต่อคาน
    การจำแนกคาน คานจำแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3 อันดับดังนี้
    1. คานอันดับที่ 1 เป็นคานที่มีจุด (F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และแรงความต้านทาน (W) เช่น กรรไกรตัดผ้า กรรไกรตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้น

     
    2. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน (W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F) เช่น ที่เปิดขวดน้ำอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้น

     
    3. คานอันดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน (W) และจุดหมุน (F) เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้น

     
    หลักการคำนวณเรื่องโมเมนต์ เช่น
    คานอันหนึ่งเบามากมีน้ำหนัก 30 นิวตันแขวนที่ปลายคานข้างหนึ่ง และอยู่ห่างจุดหมุน 2 เมตร จงหาว่าจะต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ทางด้านตรงกันข้ามที่ใดคานจึงจะสมดุล




     
     
     


    :) Shalunla
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×