คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #8 : ::ความเค้น ::Stress
ความเค้น (Stress)
เมื่อออกแรงดึงเส้นวัสดุโดยไม่ให้ขนาดของแรงดึงเกินขีดจำกัดที่วัสดุชนิดนั้นๆ วัสดุจะไม่ขาดออกจากกัน แต่วัสดุอาจมีการเปลี่ยนรูปร่าง เช่น ยืดออกจากเดิม หรือบิดเบี้ยวไป
ความเค้น หมายถึง แรงต้านทานภายในเนื้อวัสดุที่มีต่อแรงภายนอกที่มากระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ แต่เนื่องจากความไม่เหมาะสมทางปฏิบัติ และความยากในการวัดหาค่านี้ เราจึงมักจะพูดถึงความเค้นในรูปของแรงภายนอกที่มากระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
ความเค้น (Stress) คือ อัตราส่วนระหว่างแรงทั้งหมดที่กระทำต่อผิววัตถุกับพื้นที่ผิววัตถุ
ใช้สัญลักษณ์ว่า σ (sigma)
<<<<สูตร
σ คือ เป็นแรงภายนอกต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ซึ่งเรียกว่า ความเค้น (นิวตันต่อตารางเมตร())
A คือ พื้นที่หน้าตัดของท่อนวัตถุ (ตารางเมตร ())
F คือ แรงภายนอกที่กระทำกับวัตถุ (นิวตัน(N))
เนื่องจากในที่นี้เราจะใช้หน่วยระบบเอสไอ (SI metric units) ดังนั้นแรง (F) จึงมีหน่วยเป็นนิวตัน (N) พื้นที่ (A) มีหน่วยเป็นตารางเมตร () และความเค้น (σ) มีหน่วยเป็นนิวตันต่อตารางเมตร () หรือเรียกว่า ปาสคาล (Pa)
ชนิดของความเค้นที่เกิดขึ้นกับวัสดุสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. ความเค้นดึง (tensile stress)
สัญลักษณ์ จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุอยู่ภายใต้แรงดึง โดยแรงดึงจะต้องตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัดที่กระทำนั้น ความเค้นดึงจะให้เครื่องหมายแสดงเป็นบวก
2. ความเค้นอัด (compressive stress)
สัญลักษณ์ จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุอยู่ภายใต้แรงอัดโดยแรงอัดจะต้องกระทำตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัดของท่อนวัตถุที่กระทำนั้น ความเค้นอัดจะให้เครื่องหมายแสดงเป็นลบ
3. ความเค้นเฉือน (shear stress)
สัญลักษณ์ (tau) เป็นแรงภายนอกที่มากระทำต่อวัตถุนั้นโดยพยายามทำให้วัตถุเกิดการขาดจากกันตามแนวระนาบที่ขนานกับทิศทางของแรงนั้น
(Tคือความเค้นเฉือนที่เกิดขึ้นมีหน่วยเป็น )
ความคิดเห็น