คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : [เรียงความ] "เรารักพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี" (3 หน้า A4) ของเราเอง
ถึงจะบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี แต่เหมือนว่าผู้น้อยจะเขียนถึงแต่พระเจ้าอยู่หัว และบางส่วนนี่แบบ.....อย่างกับก๊อปในเน็ตมาเด๊ะๆ(ก็ก๊อปมานี่หว่า~) แล้วยังแต่งได้เห่ยมาก ขึ้นเรื่องไว้ แล้วตัดจบ บางปมปล่อยทิ้ง~
ก็ใช้วิจารณญาณละกันนะ
KiT Ta
เรารักพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี
เรารักพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี หรือ เรารักพระเจ้าอยู่หัว และเรารักพระราชินี
เป็นคำที่ข้าพเจ้าเคยได้ยิน เคยรู้จัก และเคยพูดเมื่อสมัยเด็กๆ ตั้งแต่สมัยที่ข้าพเจ้ายังไร้เดียงสา
ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับในหลวง ไม่รู้ถึงพระจริยวัตร พระราชกรณียกิจ ไม่รู้ว่าในหลวงต้องทำและทรงทำอะไรบ้าง เมื่อตอนอนุบาล คุณครูของข้าพเจ้าเคยสอนว่า ในหลวงเป็นประมุขของประเทศไทย และ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่มากๆ และพรราชินี คือคนที่เป็นพระชายาของในหลวงนอกจากนั้น ข้าพเจ้าก็รู้เพียงว่า ทุกๆวันที่ 5 ธันวาคม และ 12 สิงหาคมของทุกๆปี ก็จะมีการจัดเฉลิมฉลองให้ในหลวง เนื่องในวันพระราชสมภพ ไม่ว่าจะเป็นงานแสดงที่โรงเรียน การประดับธงตามถนน งานจุดพลุหรือการจุดเทียนชัย ที่สนามหลวง เพื่อเป็นการแสดงความรักและเทิดทูนจากชาวไทย
ข้าพเจ้าเคยเข้าใจว่าในหลวงและพระราชินี เป็นคนเก่งมากๆ เป็นคนดีมากๆ คนไทยทุกคนรักพระองค์ คนไทยทุกคนเคารพพระองค์ เราก็ต้องรักและเคารพในหลวงและพระราชินีด้วย รวมถึงตัวข้าเจ้าเอง ที่รัก เคารพและเทิดทูนในหลวงและพระราชินีตั้งแต่ตอนนั้น โดยไม่มีเหตุผลใดๆ แต่หลังจากวันนั้น ข้าพเจ้าก็เติบโตขึ้น ยิ่งนานวัน ข้าพเจ้าก็ยิ่งเข้าใจ ว่าเป็นเพราะเหตุใดคนไทยและคนต่างชาติอีกมากมาย จึงรักและเคารพในหลวงยิ่งนัก เข้าใจว่าอะไร ที่ทำให้ในหลวงแตกต่างจากผู้อื่น แม้กระทั่งกษัตริย์ชาติอื่น ได้เข้าใจถึงความรักที่พระองค์ทรงมอบให้กับประเทศไทย ประเทศของพระองค์ และพสกนิกรไทย ประชาชนของพระองค์ ซึ่งทุกคนจะได้รับความรักโดยไม่มีการแบ่งแยก คือ ไม่ว่าใคร จะเป็นเชื้อชาติหรือศาสนาใดๆ หากได้มาเกิดบนแผ่นดินทองที่ถูกเรียกว่า ราชอาณาจักรไทย แล้ว จะถือว่าเป็นลูกของพ่อหลวงและแม่ฟ้าหลวงด้วยกันทั้งสิ้น
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าข้าพเจ้าเคยเข้าใจแบบผิวเผินในเรื่องพระปรีชาสามารถ
พระจริยวัตร และพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ
สมเด็จพระราชินีนาถ ในความเป็นจริงแล้ว หากเราต้องการทราบ จะสามารถหาแหล่งข้อมูลได้ง่ายดายมาก ไม่ว่าจะเป็นข่าวในพระราชสำนัก หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต กระทั่งหนังสือต่างๆที่ทำออกมามากมาย แต่ข้าพเจ้ากลับได้เข้าใจถึงพระปรีชาสามารถนี้จากการทำเรียงความชิ้นหนึ่งเมื่อสมัยมัธยมต้น เรียงความนั้นต้องทำหลายหน้ามาก แต่ข้าพเจ้าไม่แน่ใจนักว่า หัวข้อของเรียงความที่ต้องทำในครั้งนั้นคืออะไร เรียงความชิ้นนี้ เป็นการจัดประกวดแบบทั่วประเทศ ผู้ชนะก็จะได้รับรางวัลทุนการศึกษา โรงเรียนที่ข้าพเจ้าศึกษาอยู่ขณะนั้น ได้กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเขียน แล้วอาจารย์จะเป็นผู้พิจารณาส่งไปชิงอีกรอบหนึ่ง รวมถึงนับเป็นหนึ่งในชิ้นงานที่มีคะแนนด้วย ซึ่งในตอนนั้น ข้าพเจ้าไม่อยากทำงานชิ้นนี้เลย ถึงกับมีความคิดที่ว่า ใครอยากจะเขียนอยากจะได้ทุน ก็ให้เขาส่งไป ทำไมเราจะต้องไปชิงกับเขาด้วยนะ แต่ข้าพเจ้าก็ต้องกลับมานั่งทำ โดยเริ่มจากข้อมูล ข้าพเจ้าเริ่มหาในเรื่องของทศพิธราชธรรมก่อน เพราะข้าพเจ้าเคยได้ยินคำกล่าวหนึ่งที่ในหลวงทรงได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งเป็นหนึ่งในพระราชดำรัสของในหลวงที่ข้าพเจ้าประทับใจมาก จึงไปค้นหาว่า “ธรรม” ซึ่งก็คือ ทศพิธราชธรรม ได้ดังนี้
“ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 นั้นคือ จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้
1. ทาน (ทานํ) การให้ หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย : ด้วยการเป็นผู้ให้แก่ราษฎรมาโดยตลอด เพื่อให้ราษฎรพบแต่ความสุข
2. ศีล (ศีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
3. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม : เสียสละ พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการโดยทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อให้ความสุขแก่ราษฎรทั้งมวล
4. ความซื่อตรง (อาชชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต : พระองค์จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยซื่อตรง จริงใจมาโดยตลอด โดยมิทรงหวังผลประโยชน์ใดๆ เพื่อพระองค์เอง
5. ความอ่อนโยน (มัททวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า : เมื่อพระองค์เสด็จไปเยี่ยมเยียนราษฎร ไม่ว่าที่ใด ราษฎรที่เข้าเฝ้าก็มีทั้งที่เป็นชาวบ้านธรรมดา หรือข้าราชการที่มีตำแหน่งใหญ่โต แต่พระองค์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าอย่างเสมอภาค ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรทุกหมู่เหล่าอย่างไม่ทรงถือพระองค์
6. ความเพียร (ตปํ) หรือความเพียร มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน : พระองค์ทรงมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ไม่ฟุ้งเฟ้อ โดยทรงมุ่งที่จะแก้ไขปัญหาให้ราษฎรอย่างเดียว
7. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล : พระองค์ทรงมีเมตตาอยู่เป็นนิจ ทรงกระทำการสิ่งใดก็ด้วยพระราชหฤทัยอันสุขุมเสมอ
8. ความไม่เบียดเบียน (อวีหึงสา) การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น : บำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้วยพระราชหฤทัยอันกอปรด้วย กรุณา ไม่ได้ทรงเบียดเบียนราษฎรเลยแม้แต่น้อย
9. ความอดทน (ขันติ) การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย : พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้วยความอดทนเสมอ ทรงอดทนต่อความยากลำบาก โดยทรงไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง
10. ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ : ด้วยทรงหนักแน่นในคุณธรรม ไม่หวั่นไหวต่อกิเลส ” พอข้าพเจ้าได้ลองอ่าน และนำมาวิเคราะห์เพื่อนำมาใส่ในเรียงความของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า มันเยอะเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นความไม่โกรธ ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็ต้องมีด้วยกันทั้งนั้น หรือความซื่อตรง อ่อนโยน และยุติธรรม ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า คนที่ขึ้นไปอยู่เหนือคนอื่น มันคงต้องมีบ้างที่จะระงับใจไม่ได้ หรือรักษาธรรมไว้ไม่อยู่ คงมีเพียงเทวดาเท่านั้นกระมัง ที่ สามารถรักษาธรรมได้ครบ แต่ในหลวงเป็นยิ่งกว่าเทวดาเสียอีกนอกจากท่านจะรักษาธรรมที่ท่านได้ให้สัญญากับประชาชนของท่านไว้ได้แล้ว ท่านยังทำงานหนักเพื่อประชาชน ด้วยพระปรีชาสามารถอันยิ่งใหญ่ของพระองค์เอง ทำให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นมาอย่างมากมาย โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไม่เคยบ่น ไม่เคยท้อ กล่าวคือ พระปรีชาสามารถของพระองค์นั้น พระองค์ได้ทรงอุทิศเพื่อพสกนิกรชาวไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพระปรีชาสามารถ
ด้านการเกษตร ก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ครอบคลุมทั้งด้านดิน น้ำ ลม ไฟ ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่การที่พระองค์ทรงมีพระบรมราโชวาทในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อันมีแนวคิดที่แบ่งที่ดินออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำกิจการต่างๆ คือ สระน้ำ 30% นาข้าว 30% พืชสวน พืชไร่ 30% และที่อยู่อาศัยอีก 10% แนวคิดนี้มุ่งหวังให้ราษฎรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อสุรุ่ยสุร่าย เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งกัน ราษฎรที่ปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทของพระองค์ล้วนประสบแต่ความสุข ไม่มีหนี้สิน อีกทั้งยังมีผลผลิตมากมายหลายชนิดพอเลี้ยงตัวเองได้อย่างมีความสุข
ด้านดนตรี ก็ได้แก่การที่พระองค์ทรงสามารถใช้เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ บรรเลงเพลงทั้งที่มีโน้ตและไม่มีโน้ตร่วมกับนักดนตรีระดับโลกได้อย่างสง่างามไพเราะ และพระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงต่างๆ ไว้มากมาย เช่นที่เพลงที่ข้าพเจ้าประทับใจมากคือเพลง ใกล้รุ่ง ชะตาชีวิต ยามเย็น แสงเทียน สายฝน
นอกจากนี้ยังมีพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ถ่ายภาพ กีฬา ฯ
อีกประการหนึ่ง พระองค์ยังทรงไว้ซึ่งพรหมวิหาร 4 ประการ อันได้แก่
1. เมตตา หรือ ความปราถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระองค์ทรงมีพระเมตตาต่อราษฎรทุกหมู่เหล่าอย่างเท่าเทียมกัน สิ่งใดที่ราษฎรขาดแคลน พระองค์ก็ทรงอนุเคราะห์จัดหาให้
2. กรุณา หรือความปรารถนาให้ผู้อื่นพันทุกข์ เมื่อพระองค์เสด็จไปพบราษฎรที่ประสบทุกข์ ณ ที่ใด พระองค์ก็ทรงพระราชทานความช่วยเหลือจนความทุกข์มลายหายไป
3. มุทิตา หรือความยินดีต่อผู้อื่น เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าราษฎรของพระองค์มีความสุข พระองค์ก็จะทรงพระเกษมสำราญและมีกำลังพระทัยที่จะทรงช่วยเหลือราษฎรต่อไป
4. อุเบกขา หรือความวางเฉย เมื่อพระองค์ช่วยเหลือราษฎรจนพ้นทุกข์ และมีชีวิตที่ดี พระองค์ก็จะให้ราษฎรเหล่านั้นสามารถดำเนินชีวิตด้วยตัวเองได้
ตลอดเวลา 63 ปีนับตั้งแต่ในหลวงของฉันเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติบรมราชาภิเษกเป็นพะรมหากษัตริย์ อาจกล่าวได้ว่า "ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก" ทรงตรากตรำพระวรกายเพื่อประกอบพระราชกรณียกิจทั้งหลายทั้งปวง เพื่อพสกนิกรของพระองค์
พระราชจริยวัตรทุกประการของในหลวงที่กอปรไปด้วยทศพิธราชธรรม อีกทั้งพระบรมราโชวาทที่ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแต่ละครั้ง ก็เปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์ ล้วนซาบซึ้งตราตรึงในใจของข้าพเจ้าอย่างหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าจะนำเอาพระบรมราโชวาทของในหลวงน้อมใส่เกล้าใส่กระหม่อมยึดถือพระราชจริยวัตรของพระองค์เป็นแบบอย่าง ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ เจริญพระชนมายุยิ่งยืนนานและสถิตเป็นร่มโพธิ์ทองของปวงพสกนิกรชาวไทยทั่วกาลนาน
ความคิดเห็น