คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #15 : [โครงการพระราชดำริ]-ด้านการศึกษา
http://mandymcfadden.bizhat.com/longlivetheking/ourking_projects.htm
KiT Ta
โครงการเพื่อการศึกษา
ทุนภูมิพล
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ เพื่อสนับสนุนการศึกษาของชาติเริ่มดำเนินงานเป็นกองทุนจากรายได้ในการจัด ฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ แห่งละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท เก็บดอกผลเป็นทุนการศึกษาของนิสิตนักศึกษา ต่อมาได้ขยาย ไปยังมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตราบถึง พ.ศ.๒๕๒๙ มีผู้ได้รับ ทุนและรางวัลประมาณ ๑,๑๓๗ คน เป็นเงิน ๓,๗๘๙,๓๘๐ บาท
ทุนเล่าเรียนหลวง
เริ่มวางระเบียบเป็นหลักฐานเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ ในสมัยรัชการที่ ๕ เพื่อให้คนไทยนำความรู้สมัยใหม่จาก ต่างประเทศมาพัฒนาประเทศ ทุนนี้ได้ยุติลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นขึ้นใหม่ในพ.ศ.๒๕๐๘ มีผู้รับทุนถึง พ.ศ.๒๕๒๙ จำนวน ๙๗ คน เป็นเงิน ๕๒,๔๐๒,๙๓๕.๔๓ บาท
โรงเรียนร่มเกล้า
โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ ณ บ้านหนองแคน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เป็น โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชนบทห่างไกล บริเวณชายแดน และในเขตพื้นที่อันตราย เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชนบทได้มีที่เรียนและสามารถ เรียนต่อระดับมัธยมศึกษาในท้องถิ่นของตน เป็นการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส ในชนบทห่างไกล
โรงเรียนจิตรลดา
เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ เพื่อใช้เป็นที่ทรงศึกษาของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาและพระ สหาย ดำเนินงานสร้างเป็นโรงเรียนเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ และจดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑ เปิดรับนักเรียนทั่วไป จำนวนที่ศึกษาสำเร็จไปแล้วถึง พ.ศ.๒๕๒๘ จำนวน ๖๔๐ คน
มูลนิธิอานันทมหิดล
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ เพื่อให้โอกาสนักศึกษาที่มีความสามารถยอดเยี่ยมไปศึกษาวิชาชั้นสูงในต่าง ประเทศ แต่เดิมให้ทุนเฉพาะนักศึกษาแผนกวิชาแพทยศาสตร์ต่อมาขยายให้แก่นักศึกษาแผนก วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสาสตร์ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตรและอักษรศาสตร์ มูลนิธิได้จ่ายเงินเพื่อ การนี้ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๒๙ เป็นเงิน ๘๔,๕๔๙,๗๓๙.๐๑บาท มีผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๒๙ รวม ๑๐๕ คน
โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์
เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ เพื่อสอนหนังสือให้แก่เด็กชาวเขาและประชาชนที่ห่างไกลคมนาคม เพื่อขจัดความ ไม่รู้หนังสือ และเป็นการผูกมิตรเข้าถึงประชาชน ภายหลังมอบใหกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่ รับผิดชอบในด้านการจัดดำเนินการ
มูลนิธิช่วยครูอาวุโสในพระบรมราชูปถัมภ์
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ เพื่อช่วยครูที่เกษียณอายุราชการมีประวัติการทำงานและความประพฤติเป็นแบบ อย่างที่ดี มูลนิธิจะมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรต และให้เงินช่วยเหลือในรายที่จำเป็น ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๐- ๒๕๒๘ มีครูที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ๙๘๕ รายเป็นเงิน ๖,๐๖๐,๐๐๐ บาท
โรงเรียนราชประชาสมาสัย
เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ เพื่อให้บุตรผู้ป่วยโรคเรื้อนที่แยกเลี้ยงจากพ่อแม่แต่แรกเกิดที่มีศึกษาระดับอนุบาล และประถมศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิราชประชาสมาสัย ของกระทรวงสาธารณสุข ต่อมา แยกมาตั้งเป็นมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ จัดการเป็นโรง เรียนราษฎร์ซึ่งมีทั้งฝ่ายประถมและมัธยม นับถึง พ.ศ.๒๕๒๘ โรงเรียนได้เงินช่วยเหลือในด้านต่างๆรวม ๔๑,๐๑๓,๒๓๖.๖๐ บาทมีบุตรผู้ป่วยที่ได้รับความช่วยเหลือและพ่อแม่รับกลับไปแล้ว ๒๐๒ คน
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบวาตะภัยภาคใต้ ต่อมาขยายให้ความช่วยเหลือด้านการ ศึกษาแก่เด็กกำพร้า จากครอบครัวประสบวาตภัยภาคใต้ และประชาชนที่ประสบสาธารณภัยต่างๆ ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๒๙ มีผู้ได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆรวม ๔,๕๖๓,๒๔๐ คน เป็นเงิน ๕๑,๖๗๖,๒๐๒.๗๖ บาท และมีผู้ได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาถึงเดือนกรกฎาคม ๒๕๒๙ จำนวน ๙๙ ทุน เป็นเงินทั้งสิ้น ๘๕๔,๐๘๐ บาท
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ เพื่อจัดทำหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ให้ประชาชนได้ค้นคว้าหา ความรู้ด้วยตนเองในยามที่มีปัญหาขาดแคลนครูและที่เล่าเรียน นับถึง พ.ศ.๒๕๓๑ ได้จัดทำทั้งฉบับ ราชประทานและฉบับจำหน่ายเสร็จแล้วจำนวน ๑๒ เล่ม และได้มอบหนังสือฉบับพระราชทานให้โรง เรียนทั่วประเทศไปแล้ว ๕๐,๐๐๐ เล่ม
ความคิดเห็น