ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Science for Life

    ลำดับตอนที่ #2 : ทุกข์บำบัดด้วยสัตว์เลี้ยง

    • อัปเดตล่าสุด 24 ก.ย. 54


      

    มนุษยรู้จักนำสุนัขมาเป็นสัตว์เลี้ยงในครอบครัวเมื่อประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว ส่วนแมวได้เริ่มเข้ามามีชีวิตในบ้าน เมื่อ 5,000 ปีมานี้เอง นักจิตวิทยามักจะถามว่า เหตุใดคนเราจึงนิยมมีสัตว์เลี้ยง

    คำตอบหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับคือว่า การมีสัตว์เลี้ยงเป็นการตอกย้ำความรู้สึกตามธรรมชาติของคนว่ามีความรัก และหวังดีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในรัชสมัยของพระนางวิกตอเรีย รัฐบาลอังกฤษ ได้เคยออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ให้รอดพ้นจากการถูกเฆี่ยนตี ก่อนที่จะมีกฎหมายคุ้มครองเด็กเสียอีก 

    สถิติการสำรวจในอเมริกาพบว่า คนอเมริกันเลี้ยงสุนัข 60 ล้านตัว แมว 55 ล้านตัว ประธานาธิบดี Obama เลี้ยงสุนัข Clinton เลี้ยงแมว และถึงแม้สัตว์เหล่านี้จะสร้างความรำคาญ และนำโทษมาให้เป็นครั้งคราว เช่น พยาธิ psittacosis ซึ่งทำให้เกิดอาการไข้หวัดก็มักจะมาจากนก พยาธิตัวกลมมักจะมาจากอจุจาระแมว แต่คนที่มีเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ก็ต้องยอมทน เพราะเขาได้รับมิตรภาพอันอบอุ่นจากสัตว์เป็นสิ่งตอบแทน 


    ปัจจุบันนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นที่กำลังแสดงให้เห็นว่า สัตว์เลี้ยงนอกจากให้ความเป็นเพื่อนแก่คนเลี้ยงแล้ว มันยังอำนวยประโยชน์ด้านอื่นๆอีก เช่น E. Fried mann แห่ง City University of New York พบว่า คนไข้โรคหัวใจที่มีสัตว์เลี้ยงมีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่าคนที่ไม่เลี้ยงอะไรเลยถึ3% เขาพบว่า สัตว์เลี้ยงช่วยลดความดันโลหิตให้กับเจ้าของเมื่อประมาณ 2 ปีมานี้เอง นักจิตวิทยาชาวอังกฤษผู้หนึ่งพบว่า คนที่เลี้ยงแมวหรือสุนัขมักจะไม่เป็นโรคปวดหัวหรือปวดหลัง และคนที่มีสัตว์เลี้ยงจะมีโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่าคนที่ไม่มี นั่นก็หมายความว่าหมาและแมวทำให้เจ้าของมีโอกาสเป็นโรคหัวใจน้อย เหตุที่เป็นเช่นนี้ นักจิตวิทยา J.Serpell อธิบายว่า คงเป็น เพราะคนที่เลี้ยงสัตว์จะต้องพามันออกกำลังกาย เขาจึงต้องเดินออกกำลังกายไปด้วย สุขภาพร่างกายโดยทั่วไปของเจ้าของจึงดี

     


    ปัจจุบันนี้นักจิตวิทยาเชื่อว่า สัตว์เลี้ยงมีบทบาทช่วยในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับผู้เลี้ยง เพราะถึงแม้มันจะพูดไม่ได้ มันก็ไม่เคยโกหก ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์เจ้าของ มันนั่งฟัง มัน เข้าใจมันไม่ถาม ไม่สงสัย มันซื่อสัตย์ มันจึงเป็นเพื่อน” ที่จำเป็นมากสำหรับคนบางคน นักจิตวิทยาหลายคนกำลังใช้วิธีหาหมาหรือแมวให้กับคนไข้ที่ป่วยทางจิตใจ เพราะหมาหรือแมวเหล่านี้แสดงความเป็นเพื่อนกับคนได้มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น มันรู้จักเคล้าแข้ง เคล้าขา มันนั่งเฝ้าระวังขโมยและมันเชื่อฟังมากเสียจนทำให้คนเลี้ยงรู้สึกว่า ตัวเองเป็นที่น่ายกย่อง เป็นที่ชื่นชม และเป็นที่ต้องการ ในแง่นี้สัตว์เลี้ยงจึงทำหน้าที่เติมความมั่นใจในตนเองให้กับผู้เลี้ยง ทำให้เขามีความรู้สึกที่ดี รู้สึกสู้กับความกดดันภายนอก 

    ก็ในเมื่อสัตว์เลี้ยงดีถึงปานนี้แล้ว เหตุไฉนบ้านทุกบ้านจึงไม่มีสัตว์เลี้ยงด้วยเล่า สำหรับเรื่องนี้นักจิตวิทยาพบว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กมักจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของชีวิตในวัยผู้ใหญ่ เด็กใดที่ได้รับการเลี้ยงดูมากับสัตว์เลี้ยง เวลาโตขึ้นเขาก็มักจะนิยมนำสัตว์มาเลี้ยง เด็กใดที่พ่อแม่ไม่เคยเลี้ยงอะไรเลย เวลาเติบใหญ่ก็มักจะไม่เลี้ยงอะไรเลยเหมือนกัน นักจิตวิทยายังตั้งข้อสังเกตอีกว่า คนใดที่มีสัตว์เลี้ยงตามปกติแล้วก็มักจะมีจิตใจที่สงสารและเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อมต่อสัตว์ และเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากกว่าคนที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง 

    สรุปนะครับว่า สัตว์เลี้ยงช่วยทำนุบำรุงจิตใจคนเลี้ยง และช่วยอำนวยความสะดวกทางกายของคนเลี้ยงได้บ้าง เช่น คนตาบอดเลี้ยงสุนัขเพื่อช่วยในการนำทาง คนพิการใช้ลิงช่วยทำงานบ้าน สัตว์เหล่านี้ช่วยคนและดีต่อคนเหลือเกิน แล้วคนเราดีต่อสัตว์ที่นำมาเลี้ยงหรือไม่ 

    สำหรับเรื่องนี้ ชาวอินเดียเผ่า Barasana ในประเทศโคลัมเบีย เขาเลี้ยงแมว เลี้ยงหมา ดีถึงขนาดป้อนนํ้าป้อนนมให้ แถมยังเคี้ยวอาหารให้ก่อนจะคายให้สัตว์เหล่านั้นกินเอง

    Credit : Dek-D

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×