ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักปรัชญาคนสำคัญของโลก

    ลำดับตอนที่ #4 : เนื้อหาวิชาปรัชญา(บางส่วน)

    • อัปเดตล่าสุด 15 ก.พ. 49


    คำทางปรัชญาที่ควรทราบก่อน
          
    1. การมีอยู่อย่างอัตนัย (subjective) หมายถึง การที่สิ่งๆ หนึ่งมีอยู่ และมีความหมายได้ เพราะมนุษย์รับรองการมีอยู่ของสิ่งนั้น
    เช่น ความเห็นว่า “พระเจ้า เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากลักษณะต่างๆ ของตนเอง” เป็นต้น


          2.การมีอยู่อย่างปรนัย(objective)หมายถึงการมีอยู่ของสิ่งที่เป็นอิสระจากความคิดมนุษย์เช่นความเห็นว่า“พระเจ้าหรือสภาวะนิพพานเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงแม้ว่าจะไม่มีมนุษย์สักคนรับรู้ถึงการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้น” เป็นต้น


          3.สสารนิยมยุคกรีกโบราณคือกลุ่มที่เห็นว่าความเป็นจริงมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือ สสารที่ครองที่ และไม่อยูู่่ในเวลา


          4. สสารนิยมยุคใหม่ คือกลุ่มที่เห็นว่า ความเป็นจริงคือ สสารและปรากฏการณ์ของสสาร ที่ครองที่ และอยู่ในเวลา


         5.จิตนิยม(Idealism)คือทัศนะที่เชื่อว่านอกเหนือจากสสารแล้วก็ยังมีความจริงอีกอย่างหนึ่ง คือ จิต หรือ อสสาร ที่ไม่ครอบครองที่ ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา

    วิวัฒนาการความคิดปรัชญา
    มีทั้งหมด 5 ยุค ดังนี้
    1. ยุคดึกดำบรรพ์ 2. ยุคกรีกโบราณ 3. ยุคยุโรปกลาง 4. ยุคยุโรปใหม่ 5. ยุคปัจจุบัน

    1. ยุคดึกดำบรรพ์
    มีความเชื่อใน สิ่งเหนือธรรมชาติ (Supernaturalism)โดยมองว่า ปรากฏการณ์ในโลก และจักรวาลนี้เกิดขึ้นอย่างไร้ระเบียบ (Chaos)

    2. ยุคกรีกโบราณ
    แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
             2.1 ยุคปรัชญากรีกสมัยเริ่มต้น: ค้นหาปฐมธาตุ
    ทาเลส ผู้เริ่มวางรากฐานแนวคิดธรรมชาตินิยมหรือ แนวคิดสภาวนิยม (Naturalism) และเป็นผู้เริ่มค้นหาปฐมธาตุ (First Element)
            ยุคนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 ระยะ คือ
            ก. ระยะที่เห็นว่าปฐมธาตุ ต้องมีเพียงสิ่งเดียว
                ทาเลส : น้ำ
                อแนกซิมีนีส : อากาศ
                อแนกซิแมนเดอร์ : สารไร้รูป
                เฮราคลิตุส :ไฟ

    ข. ระยะที่เห็นว่าปฐมธาตุต้องมีมากกว่าหนึ่งสิ่ง
    เอมพิโดคลีส : ดิน น้ำ ลม ไฟ
    อนักซากอรัส : จิต สสาร

    ค. ระยะสุดท้าย กลับมาเห็นว่า ปฐมธาตุต้องมีเพียงสิ่งเดียว
    เดโมคริตุส

    2.2 สมัยกรีกรุ่งเรือง: พยายามหาว่า อะไรควรเป็นมาตรการตัดสินความจริง
    ความคิดทางปรัชญาสมัยกรีกยุครุ่งเรือง มีลำดับดังนี้

    โซฟิสต์ (Sophist)
    วิธีตัดสินว่าอะไรถูกผิด ให้ใช้เหตุผลของตัวเองตัดสิน
    “โปรทากอรัส” เห็นว่า มนุษย์เป็นมาตรการวัดทุกสิ่ง

    โซคราตีส (Socrates)
    เห็นต่างจากโซฟิสต์ โดยเห็นว่า จะต้องมีมาตรการความจริง ที่ทุกคนใช้ได้ตรงกัน
    “วิธีการของโซคราตีส” จะแตกต่างจากวิธีการสอนของพวกโซฟิสต์

    เปลโต (Plato)
    นำความคิดของโซคราตีส มาเป็นพื้นฐานทางปรัชญาของเขาเอง
    เสนอ “ทฤษฎีแบบ” อธิบายความเป็นจริงว่าต้องมีลักษณะอย่างไร และจะรู้จัก “แบบ” ได้ต้องใช้เหตุผล

    อริสโตเติล (Aristotle)
    นำแนวคิดเรื่อง “แบบ” ของเปลโต มาอธิบายใหม่ว่า โลกของแบบ และ โลกแห่งผัสสะ ไม่ได้อยู่แยกจากกัน

    2.3 สมัยกรีกเสื่อม
    สนใจปัญหาชีวิตของมนุษย์ ว่าควรประพฤติปฏิบัติอย่างไร จึงจะมีความสุขอย่างแท้จริงได้
    จะมีความคิดแตกต่างกัน 2 กลุ่ม ได้แก่

           1. กลุ่มหาความสุขในโลกหน้า
    เชื่อว่าชีวิตปัจจุบัน ยังไม่ใช่ชีวิตที่แท้จริง ยังมีชีวิตในโลกหน้าอีกที่รอมนุษย์อยู่ และหากชีวิตในปัจจุบันเป็นทุกข์ ก็ยังอาจมีความสุขในโลกหน้า

            2. กลุ่มหาความสุขในโลกนี้
    ลัทธิเอปิคิวเรียน
    เอปิคิวรุส เสนอว่า ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่มีความสุขระยะยาว
    ลัทธิสโตอิก
    เซโน เสนอว่า ชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่ระงับความต้องการ
    ลัทธิซีนิค
    ไดโอจินิส เสนอว่า ชีวิตที่ดี คือ การตัดขาดจากสังคม
    . ยุคกลาง:ปรัชญาถูกนำมาอธิบายคริสต์ศาสนา
    โดยพยายามตีความแนวคิดของเปลโต หรือ อริสโตเติล ให้สนับสนุนแนวคิดทางศาสนามากขึ้น
    นักปรัชญาของยุคกลางที่เด่นๆ มี 2 คน
              1. เซนต์ ออกัสติน
              นำปรัชญาของเปลโตมาอธิบายศาสนาคริสต์พร้อมกับเพิ่มเติมเรื่อง“แบบอยู่ในจิตของพระเจ้า” และ วิธีการรับรู้แบบ “การส่องสว่าง”
              2. เซนต์ โทมัส อาควินัส
    นำคำสอนของอริสโตเติลมาอธิบายศาสนาคริสต์ ทำให้ศาสนาเป็นที่ยอมรับด้วยเหตุผลได้มากขึ้น

    4. ยุคใหม่ : มนุษย์ควรมีวิธีคิดอย่างไรจึงจะได้ความรู้ที่แท้จริง
    ยุคนี้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แ ละคณิตศาสตร์ เจริญก้าวหน้ามากจนกระทั่งนักปรัชญาสงสัยว่า ความรู้แบบใดในสองอย่างนั้นที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงความจริงได้
            4.1 เหตุผลนิยม
    เห็นว่าวิธีการรู้ความจริง ต้องทำอย่างคณิตศาสตร์ คือใช้ระบบเหตุผล นักปรัชญาคนสำคัญ คือ เดส์การ์ตส์

    4.2 ประสบการณ์นิยม
    เห็นว่าวิธีการที่จะได้ความรู้ที่แท้จริง ต้องทำอย่างนักวิทยาศาสตร์ คือ ใช้ประสาทสัมผัส หรือ ประสบการณ์เป็นพื้นฐาน นักปรัชญาคนสำคัญ คือ จอห์น ลอก ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง “ลัทธิประสบการณ์นิยม”

    4.3 ผู้เสนอทางออกให้ 2 วิธีนั้น
    ได้แก่ อิมมานูเอล คานท์ เป็นผู้เสนอเรื่อง “โครงสร้างสมอง” ซึ่งทำให้เรามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ ส่วนความรู้เรื่องศีลธรรม มนุษย์รู้โดยไม่ต้อง ผ่านโครงสร้างสมอง

    5. ยุคปัจจุบัน : การแสวงหาปรัชญาใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนิน ชีวิต
           5.1 ลัทธิปฏิบัตินิยม
           นักปรัชญาคนสำคัญคือ วิลเลียมเจมส์เห็นว่าเราควรยึดความคิดทางปรัชญาที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ได้ผลจริง
           5.2 ลัทธิภาษาวิเคราะห์
           นักปรัชญาคนสำคัญ คือ ลุดวิก วิตเกนสไตน์ เสนอว่า คนเรามีความคิดที่ต่างกัน เพราะใช้
    ภาษาต่างกัน วิธีแก้ปัญหาคือ สร้างภาษาสัญลักษณ์ที่มีลักษณะที่ชัดเจนตายตัว ซึ่งทุกคนที่ใช้ภาษานี้ ก็จะมีความคิดที่ถูกต้องตรงกันทั้งหมด

           5.3 ลัทธิอัตถิภาวนิยม
          นักปรัชญาคนสำคัญ คือ ชอง พอล ซาร์ทร์ เห็นว่า ปัญหาของมนุษย์ยุคปัจจุบัน คือ สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง วิธีแก้ปัญหา คือ หวนกลับมาหา ธาตุแท้ของมนุษย์ คือ “เสรีภาพ” หรือ การตัดสินใจที่จะทำอะไรก็ตามอย่างอิสระ และรับผิดชอบกับผลที่ตามมาเสมอ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×