ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักปรัชญาคนสำคัญของโลก

    ลำดับตอนที่ #13 : คุณวิทยา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.98K
      4
      16 ก.พ. 49


    จริยศาสตร์

    ศาสตร์แห่งพฤติกรรมของมนุษย์ที่ว่าด้วย ความดี ความถูกต้อง เพื่อให้มนุษย์ดำเนินชีวิตของตนอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างปกติสุข จริยศาสตร์มีหน้าที่คือ การประเมินคุณค่าความประพฤติของมนุษย์ว่าดีชั่ว ถูกหรือผิด ฯลฯ
    โคท์ลเบิร์ก Kohlberg ค้นคว้าวิจัยจริยธรรมตามทัศนะของเพียเจต์และรายงานทางจริยะของมนุษย์ว่ามี 3 ระดับ 6 ขั้นตอน ดังนี้
    ก่อนกฎเกณฑ์ เพราะมนุษย์ยังไม่มีกฎเกณฑ์ สิ่งใดที่มีประโยชน์แก่ตนเองจึงจะกระทำ เพราะ
         - กลัวที่จะได้รับการลงโทษจากผู้มีอำนาจ (ธรรมชาติ) เช่นการถูกลงโทษจากเทพเจ้าแห่งฟ้า น้ำ ฯลฯ (เช่นน้ำท่วม โรคภัยฯลฯ)
         - อยากได้สิ่งตอบแทนเช่นรางวัล หรือการกระทำความดี
    ตามกฎเกณฑ์ เพราะมนุษย์มีความเจริญ มีสังคม มีหลักการแน่นอน คนส่วนใหญ่จึงยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เป็นกฎของสังคมที่ฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อ
         - เอาใจผู้อื่น คือ (ทำดีเพื่อหวังผล) ทำให้ดูเหมือนมีจริยธรรม
         - กฎเกณฑ์บังคับ บางคนจริงใจบางคนไม่จริงใจ เป็นพฤติกรรมจริยธรรมอย่างหนึ่ง
    ระดับเหนือกฎเกณฑ์
         - รู้จักเหตุผล เชื่อว่ากระทำอย่างไรได้อย่างนั้น เป็นยุคความถูกต้องไปใช้เรียกว่า "ยุคธรรมาธิปไตย"
    - ขั้นอุดมการณ์ เป็นขั้นสูงสุดกฎเกณฑ์ ไม่มีความหมายสำหรับผู้มีอุดมการณ์ หรือมโนธรรมในจิตใจ ระดับจิตที่สูงสุด เรียกพวกนี้ว่า "เทวดาเดินดิน" เป็นพวกที่มีหิริโอตตัปปะ (ความละอายต่อบาป)
    อุดมคติ Ideals
    เป็นเป้าหมายสูงสุดของจริยศาสตร์ อุดมคติแห่งชีวิตหมายถึง สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับชีวิต ความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เมื่ออุดมคติของคนส่วนใหญ่สอดคล้องกัน อุดมคตินั้นก็จะเป็นคุณค่าร่วมไปด้วย
    เพลโต กล่าวว่าอุดมคติมีข้อบกพร่องเสมอ คือ น้อยคนนักที่จะสามารถ สมปราถนาตามอุดมคติที่วางไว้ "No man is perfect, nothing is complete except God"

    เกณฑ์ในการตัดสินการกระทำ
    เพื่อประเมินคุณค่าการตัดสินการกระทำให้บรรลุอุดมคติจริยศาสตร์มีเกณฑ์ตัดสิน 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
    Subjectivism ลัทธิอัตนัยนิยม
    - ความดีเป็นสิ่งสมมุติไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและผู้ตัดสิน
    - ความดีมีลักษณะ สัมพัทธ์ คือ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมเช่นตัวบุคคล สถานที่ จารีตประเพณีและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
    Objectivism ลัทธิปรนัยนิยม
    - ความดีเป็นสิ่งแน่นอน ตายตัวไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่ติดอยู่ที่ตัวกระทำ
    - ความดีเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute = ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด)

    ลัทธิต่างๆ ที่มีอุดมคติของชีวิต
    - สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์แสวงหาคือ ลัทธิอัตนิยม Egoism นักปรัชญานี้เชื่อว่า ความดีไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน
    - ลัทธิโซฟิสต์ เน้นตัวบุคคลแต่ละคนเป็นมาตรวัด สิ่งที่เป็นประโยชน์ถือว่า ดี และคุณค่าไม่ตายตัว เปลี่ยนแปลงตามบุคคล
    - ลัทธิสุนิยม (จารวาก) ชาติหน้าไม่มี หาความสุขอย่างเดียว

    - ลัทธิมุตตินิยม กระทำตนเองให้หลุดพ้นจากตัณหา เป็นสิ่งที่ดีที่สุดส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนาแบ่งเป็น
    � ลัทธิสโตอิด (Stoicism) เป็นลัทธิที่มี เซโน Zeno เป็นเจ้าลัทธิ
    - ความสุขที่แท้จริงต้องพยายามชนะกิเลส
    - ดำรงชีพอย่างสันโดษ
    � ลัทธิซินนิค (Cynicism) เป็นลัทธิที่มี แอนติสเธเนส เป็นเจ้าลัทธิ
    - มีชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่บ้าอำนาจแล้วจะมีชีวิตอยู่อย่างนิรันดร
    - ดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ
    ความหมายของสุนทรียศาสตร์
    ศาสตร์แห่งความงาม มาจากคำ 2 คำคือ สุนทรีย แปลว่าเกี่ยวกับความงาม และ ศาสาตร์ แปลว่าวิชา (วิชาแห่งความงาม) Aesthetics หรือ ปรัชญาความงาม Philosophy of beauty
    ความงามคืออะไร เป็นอย่างหนึ่งของสุนทรียภาพ ความงาม ความแปลกหูแปลกตา ความน่าทึ่ง ซึ่งเกณฑ์ในการวัดความงามมีดังนี้
    ความงามมีอยู่จริงหรือไม่ (เกณฑ์ในการวัดสุนทรียศาสตร์)
    1. ลัทธิอัตตวิสัย มีทัศนะว่า ความงามมิได้มีอยู่จริงในวัตถุ หรือสิ่งใดในโลก แต่อยู่ที่การตัดสินของบุคคล อยู่ที่จิตใจทำให้เราคิดว่ามีความงามอยู่ในวัตถุ
    2. ลัทธิวัตถุวิสัย มีทัศนะว่า ความงามมีอยู่จริงในวัตถุ หรือโลกภายนอกโดยไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของมนุษย์และเกณฑ์ตัดสินความงามก็ตายตัว

    อ้างอิงจาก http://www.hrd.ru.ac.th/TotalSubject/EF603_4.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×