ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักปรัชญาคนสำคัญของโลก

    ลำดับตอนที่ #10 : อภิปรัชญา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.57K
      6
      16 ก.พ. 49

    อภิปรัชญา

    ความหมาย
    "อภิปรัชญา" มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "Metaphysics"
    "Metaphysics" แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยความเป็นอยู่และจิตใจของมนุษย์ เวทมนต์คาถา เป็นสาขาที่ว่าด้วยความจริง ความจริงของจักรวาล โลกและธรรมชาติของมนุษย์
    ความจริงสูงสุด อันติมะ Ultimate Reality อันเป็นพื้นฐานที่มาของความจริงอื่นๆ
    1. สสารนิยม Materialism
    - นักปรัชญาสมัยเก่า
    - เชื่อว่าความจริงสูงสุดคือวัตถุ
    - เป็นเอกนิยม Monism ปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้นที่เป็นจริง
    - วิวัฒนาการมาจากปรัชญากรีกโบราณ เป็นจุดเริ่มต้นของปรัชญาตะวันตก
    - นักปรัชญารุ่นแรกมีทัศนะแบบสสารนิยม
    - เกิดปัญหาเรื่องปฐมธาตุ ธาเลสเป็นผู้แรกที่ตอบคำถามดังกล่าว (การแยกออกจากแนวคิดทางศาสนาครั้งแรก)
    - ศาสนาและปรัชญาแยกออกจากกัน
    - มนุษย์สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้โดยไม่ต้องอ้างถึงเทพเจ้า
    - การอธิบายธรรมชาติได้ต้องรู้ถึงกฎของธรรมชาติ จะรู้กฎของธรรมชาติได้ต้องรู้จักปฐมธาตุเสียก่อน
    - นักปรัชญาสมัยใหม่
    - โธมัส ฮ๊อบส์ (นักจักรกลนิยม) นำเอาทฤษฎีอะตอมของเดโมคริตุส มาพัฒนามนุษย์คิด ทำ ตามการสั่งงานของสมอง ไม่ใช่จิต เพราะสมองเป็นวัตถุ
    - คาล มาร์กซ์ (นักปรัชญาเยอรมัน) เป็นต้นกำเนิดลัทธิคอมมิวนิสต์ ในปัจจุบัน วางตัวให้ขัดแย้งเพื่อจะได้หาทางประนีประนอมเพื่อส่วนรวมจะได้ก้าวหน้า
    - ให้กำเนิดลัทธิ Marxism ภายหลังเกิดเป็น Communism
    - แนวคิดนี้ปรากฏในตะวันออกที่ลัทธิจารวาก

    แนวความคิดด้านการศึกษา ของสสารนิยม/วัตถุนิยม
    เมื่อนำมาใช้กับการศึกษา ว่า การศึกษาคือการค้นให้พบธรรมชาติของเอกัตบุคคล และนำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนตัวและส่วนรวม
         โรงเรียน เป็นสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นหุ่นจำลองของสังคมปัจจุบัน เน้นความใกล้เคียงธรรมชาติ เน้นประสบการณ์ตรง การเรียนรู้เกิดจากของจริงให้ผู้เรียนเข้าใจกฎธรรมชาติให้มากที่สุด
         วิธีสอน เน้นการตัดสินใจได้ของนักเรียนมากกว่าการจดจำ ผู้สอนอธิบายตามหลักข้อเท็จจริง ไม่แสดงความเห็นของตนเองเพิ่มเติม (ไม่ครอบงำทางความคิด) วิธีที่ดีที่สุดคือวิธีสอนที่ไม่ได้ยึดถือรูปแบบตายตัว ครูต้องเชื่อมั่นในกระบวนวิชาที่ตนเองสอน เนื้อหาต้องมีภาพแจ่มแจ้ง ชัดเจนและมีประโยชน์กับผู้เรียนโดยสาธิตให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่นการสังเกตจากของจริง จากสภาวะตามธรรมชาติ (ทัศนศึกษา,วีดีทัศน์ฯลฯ)
         ผู้เรียน คือสิ่งมีชีวิต ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ที่มีความสามารถในการรับรู้ได้ด้วยตนเอง เสรีภาพของนักเรียนย่อมมีอยู่ภายในขอบเขตแห่งกฎธรรมชาติ สนับสนุนให้เด็กมีวินัยในตนเอง ซึ่งการสร้างวินัยจะต้องสอดคล้องกับกฎของธรรมชาติ
    ไม่สนับสนุนการทำโทษให้เจ็บกาย ควรปล่อยให้ถูกลงโทษตามธรรมชาติ (ผลการเรียนตกต่ำ, ส่งงานไม่ทันฯลฯ) มากกว่าการทรมานทางจิตใจและร่างกาย (การตี,การดุด่าให้เกิดความอับอาย) แต่การลงโทษนั้นต้องให้ผู้เรียนได้คิดเองว่าเกิดผลเสียกับตนอย่างไร
         ทฤษฎีการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่แท้จริงจะต้องอาศัยของจริง (ประสบการณ์ตรง) และจะต้องเป็นการเรียนรู้ที่มีลักษณะเป็นความจริงที่สามารถสังเกตเห็นได้ (Observable Knowledge) โดยการเรียนรู้นั้นต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยประสาทสัมผัส อาศัยสถานการณ์จริงและอาศัยอุปกรณ์การสอน และมีการนำเอาทฤษฎีจิตวิทยามาเป็นหลักในการดำเนินการเรียนการสอน
    โดยมีการกำหนดเป้าหมายทางการศึกษาเพื่อให้เด็กมีความสามารถทางวิทยาศาตร์ พร้อมทั้งส่งเสริมเทคนิคต่างๆในการสอน มีการฝึกอบรมทำงานและสร้างการใช้ชีวิตให้มีความสุข เน้นให้เด็กสามารถเข้าใจสังคมของมนุษย์ ธรรมชาติของมนุษย์และความเป็นไปของสถาบันต่างๆ (สถาบันครอบครัว การศึกษา ฯลฯ)
    - ฝึกให้เด็กมีทักษะ ศิลปะและหัตถกรรม เพื่อพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคมทางกายให้มีพัฒนาการรอบด้าน
    - พวกวัตถุนิยมไม่ต้องการบุคคลที่เรียนเก่งเท่านั้น แต่ต้องการส่งเสริมให้คนเป็นคนที่เหมาะกับทุกอาชีพ คือเด็กสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
    - พวกวัตถุนิยมไม่ยอมรับในสิ่งใดๆที่มิได้ผ่านการทดสอบ การสังเกตและการทดลอง

    2. จิตนิยม (Idealism)
    เป็นลัทธิที่ถือว่าความจริงแท้หรือความจริงสูงสุด จิตนิยมถือเป็นอสสารซึ่งมีอยู่ นิรันดร์ไม่เปลี่ยนแปลง มีวิวัฒนาการมาจากปรัชญาสมัยกรีกโบราณเช่นเดียวกัน แต่เกิดภายหลังสสารนิยม จิตนิยมเพียวๆไม่เด็นชัดเท่าตะวันออก
    พาร์มีนิดีส Parmenides ได้คิดเรื่อง สัตและอสัตขึ้น (สิ่งที่เป็นจริงสูงสุด) โลกแห่งวัตถุเป็นผัสสะเป็นภาพมายา ไม่จริงเป็นอสัต สัตเท่านั้นที่เป็นจริง
    ความแตกต่างระหว่างผัสสะและเหตุผล ความแตกต่างระหว่างการหาความจริงทางประสาทสัมผัสและด้านความคิด
    พาร์มีดินีสเน้นว่าความจริงมีอยู่ในเหตุผลเท่านั้น เป็นการเริ่มต้นขั้นพื้นฐานของจิตนิยม แต่ความความคิดของพาร์มีดินีสเป็นทั้งจิต (สัต) มากกว่า สสารนิยม (อสัต)
    ต่อมาเพลโตรับเอาจิตนิยมไปพัฒนา เอ็มพีโคดลีสและเดโมคริตุสรับเอาแนวคิดเรื่องสสารนิยมไปพัฒนา
    เพลโตเป็นบิดาแห่งจิตนิยม เพราะสร้างทฤษฎีแบบ Form เป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง และได้แบ่งจักรวาลออกเป็น 2 ส่วนคือ
         1. สิ่งที่จับต้องไม่ได้เรียกว่า อสสาร หรือแบบ หมายถึงลักษณะกลางของสิ่งหลายสิ่งที่มีร่วมกัน เช่น นายดำ นางแดง ยายมา ทั้งสามสิ่งล้วนมีร่างกายเป็นวัตถุ มีลักษณะเหมือนกันคือ เป็นมนุษย์
    นักปรัชญาสมัยใหม่ (จิตนิยม)
    เฮเกล Hegel นักปรัชญาชาวเยอรมัน แนวคิดที่เรียกว่า สัมบูรณ์นิยม Absolutism อันมีธรรมชาติเป็นจิต เพราะเชื่อว่ามนุษย์สามารถรู้ความจริงได้โดยอาศัยเหตุผล หรือวิธีทางตรรกวิทยา (Logic)
    คาร์มาร์ก (Karl Marx) นำทฤษฎีของเฮเกลไปสร้างเป็นทฤษฎีใหม่ขึ้นอีกมากมายที่เน้นเป็นทฤษฎีทางวัตถุ ซึ่งเป็นทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม (ทฤษฎีวิภาษทางวัตถุ)
    จิตนิยมกับการศึกษา
    แนวคิดทางจิตนิยมได้ถูกนำมาใช้ในด้านการจัดหลักสูตร โดย
    - จัดเนื้อหาวิชาที่มีลักษณะเป็นจินตนาการและสัญลักษณ์ ซึ่งได้แก่คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาวรรณคดี ปรัชญาสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง
    - เนื้อหาวิชาที่เรียนรู้โดยผัสสะ เป็นวิชาที่สำคัญรองลงมา (วิทยาศาสตร์)
    - เนื้อหาที่อยู่ในระดับต่ำที่สุด วิชาที่อาศัยเทคนิคการเรียนรู้โดยการปฏิบัติด้วยมือ เช่น งานฝีมือ คหกรรมศาสตร์ ช่าง เพราะอาศัยความรู้น้อย
    - ในทางกลับกันหากเป็นพวกสสารนิยมจะเน้นที่วิทยาศาสตร์เป็นหลัก และในระดับต่ำคือด้านจินตนาการ

    3. ธรรมชาตินิยม Naturalism
    บางครั้งเรียกว่าปรัชญาสัจจนิยม โลกประกอบไปด้วย "สิ่งธรรมชาติ" ธรรมชาติมีการเกิดและดับ ธรรมชาติทุกสิ่งดำรงอยู่ในระบบ อวกาศ-เวลา และในระบบที่ทุกสิ่งเป็นไปตามสาเหตุ
    พระเจ้าไม่ใช่สิ่งธรรมชาติ พระเจ้าจึงไม่มีจริงตามทัศนะของธรรมชาตินิยม
    โลกแห่งความเป็นจริงของธรรมชาตินิยมและสสารนิยมคล้ายกันคือ "สสาร" ทุกชนิดต้องอยู่ในระบบของกาลเวลา

    อ้างอิงจาก http://www.hrd.ru.ac.th/TotalSubject/EF603_4.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×