ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรียนหมอ ยา ยาก กว่าที่คิด

    ลำดับตอนที่ #4 : [นอกเรื่อง] ประวัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

    • อัปเดตล่าสุด 29 มิ.ย. 53


    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

    ข้อมูลทั่วไป

    ชื่อภาษาอังกฤษ Faculty of Pharmacy Rangsit University

    วันจัดตั้ง 3 มิถุนายน พ.ศ. 2530

    คณบดี ภญ.รศ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ

    สีประจำคณะ สีเขียวมะกอก

    สถานปฏิบัติการ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน

    เว็บไซต์ www.rsu.ac.th/pharmacy/

     ที่อยู่  52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนพหลโยธิน หลักหก ปทุมธานี 12000

    ประวัติ

    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย นอกเหนือจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐ 6 สถาบันในขณะนั้น โดยมี ศ.(พิเศษ)ภญ.ฉวี บุนนาค เป็นคณบดีคนแรกของคณะ (พ.ศ. 2530-2541) คณบดีท่านต่อมาคือ ศ.ภญ.ดร.สสี ปันยารชุน (พ.ศ. 2541-2545) และ รศ.ภญ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ (พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน)

    โดยนักศึกษาจะศึกษาเพื่อการเป็นเภสัชกรในช่วง 4 ปีแรกของหลักสูตร และศึกษากระบวนวิชาทางเลือก ให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในทางเลือกในชั้นปีที่ 5 ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีก 3 ครั้ง คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ปีการศึกษา 2542 ประกอบด้วย 232 หน่วยกิต (ไตรภาค) หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2544 ประกอบด้วย 186 หน่วยกิต (ทวิภาค) และหลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2546 ในปีการศึกษา 2545 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ขึ้นอีก 1 หลักสูตร

    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ผลิตเภสัชกรรุ่นแรกออกไปในปี 2535 จำนวน 41 คน จนถึงปัจจุบันได้ผลิตเภสัชกรไปแล้วรวม 19 รุ่น


    กลุ่มวิชาที่เปิดสอนภายในคณะ
    กลุ่มวิชาบริหารเภสัชกิจ
    กลุ่มวิชาเภสัชอุตสาหกรรม
    กลุ่มวิชาเภสัชเคมีวิเคราะห์
    กลุ่มวิชาเภสัชเวทและตัวยา
    กลุ่มวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี
    กลุ่มวิชาเภสัชกรรมคลินิกและชีวเภสัชศาสตร์

    หลักสูตร
    เปิดสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
    1. หลักสูตรปริญญาตรี
    ในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรจากเดิมที่ใช้เวลาศึกษา 5 ปี (เภสัชศาสตรบัณฑิต) เปลี่ยนเป็น 6 ปี (หลักสูตรบริบาลเภสัชกรรม) ดังนั้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป จะมีนักศึกษา 2 หลักสูตร เมื่อผลิตนักศึกษารหัส 51 จบหลักสูตร(5ปี)แล้ว หลักสูตรการศึกษาก็จะเหลือเพียงหลักสูตรเดียวคือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม

    1.1 หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Bachelor of Pharmacy Program)
    นักศึกษารหัส 51 (เข้าเรียนปี 2551) จะเป็นรุ่นสุดท้ายของหลักสูตรนี้

    ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Pharmacy
    อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ.
    อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.Pharm.

    1.2 หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy Program)
    จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป

    ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต (การบริบาลทางเภสัชกรรม)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Pharmacy (Pharmaceutical Care)
    อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ.(การบริบาลทางเภสัชกรรม)
    อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Pharm.D. (Pharm.Care)

    2. หลักสูตรปริญญาโท
    เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเภสัชกรรม : M.Sc.(Biopharmacy)
    โดยมุ่งเน้นผลิตบุคลากรทางด้านชีวเภสัชกรรม เพื่อการสอน การวิจัยและการบริการทางวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่องานสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

    เคดิต : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×