ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องของนักวิจัย นักวิทยาศาตร์

    ลำดับตอนที่ #4 : บัคคี้บอล 2

    • อัปเดตล่าสุด 26 เม.ย. 48




      ผู้เขียน : ดร. ณัฐพันธุ์ ศุภกา

    เนื้อหาย่อ : สรรพคุณทางเภสัชกรรมอันน่าทึ่งของบัคกี้บอล ก็คือ..โมเลกุลมหัศจรรย์ชนิดนี้สามารถเป็นได้ทั้ง ยารักษาโรคเอดส์ ยารักษาโรคมะเร็ง ยาปฏิชีวนะ ยายับยั้งการตายของเซลล์ สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ...

    อยู่ในส่วน : วิชาการ.คอม > V เทคโนโลยี > นาโนเทค

    วันที่ : 08/02/2005

    เข้าชมแล้ว : 8705 ครั้ง (รวมทุกหน้า)







    บัคกี้บอล…ยามหัศจรรย์แห่งยุคนาโน





    หน้าที่ 2 - การค้นพบบัคกี้บอล



    เรื่องราวของการค้นพบบัคกี้บอลนั้นน่าอัศจรรย์ใจมาก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้



    ย้อนกลับไปเมื่อ ค.ศ. 1985 ศ.ดร. ฮาร์โรลด์ โครโต้ (Harold Kroto) นักฟิสิกส์ด้านอวกาศแห่งมหาวิทยาลัยซัสเซ็ก (University of Sussex) สหราชอาณาจักร กำลังวางแผนงานวิจัยเพื่อทำการศึกษาโครงสร้างของกลุ่มสารประกอบคาร์บอนที่น่าจะพบในบริเวณบรรยากาศรอบๆ ดาวยักษ์แดง (Giant red star) ดวงหนึ่งที่อยู่ห่างจากโลกไปเป็นระยะทางประมาณ 1 พันล้านปีแสง..! แต่เนื่องจากที่ห้องทดลองของโครโต้ นั้นไม่มีอุปกรณ์ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะทำงานวิจัยนี้ได้เพียงลำพัง เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปทำงานวิจัยร่วมกับ ศ.ดร. ริชาร์ด สมอลลีย์ (Richard Smalley) และ ศ.ดร. โรเบิร์ต เคิร์ล (Robert Curl) ณ มหาวิทยาลัยไรซ์ (Rice university) สหรัฐอเมริกา ระหว่างการทดลองโดยการจำลองสภาพบรรยากาศของดาวยักษ์แดงขึ้นมาโดยการใช้แสงเลเซอร์ความร้อนสูงยิงไปยังกราไฟต์ เพื่อให้สารประกอบคาร์บอนรูปแบบต่างๆ กลายเป็นไอระเหยขึ้นมาในบรรยากาศที่เป็นก๊าซฮีเลียม หลังจากปล่อยให้ไอระเหยของโมเลกุลคาร์บอนรูปแบบต่างๆ เย็นลงและจับตัวกันเป็นโครงสร้างโมเลกุลรูปแบบต่างๆ











    นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านต่างก็ประหลาดใจมากที่พบว่าโครงสร้างโมเลกุลคาร์บอนที่พบเกือบทั้งหมดมีรูปร่างเป็นทรงกลมเหมือนลูกฟุตบอลที่ประกอบด้วยคาร์บอน 60 อะตอม นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านได้ตั้งชื่อรูปทรงกลมนี้ว่า “บัคมินสเตอร์ฟูลเลอรีน” เพื่อให้เกียรติแด่ มร. บักมินสเตอร์ ฟูลเลอร์ (Buckminster Fuller) สถาปนิกและวิศวกรชื่อดังแห่งยุค ค.ศ. 1960 ซึ่งเป็นผู้ออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างรูปโดมทรงกลมที่มีลักษณะคล้ายกับลูกฟุตบอลขนาดใหญ่อันเลื่องชื่อหลายแห่ง







    ตัวอย่างอาคารรูปโดมที่ออกแบบโดย มร. บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์





    ภาพหน้าปกนิตยสารไทม์เป็นรูปการ์ตูนล้อเลียนใบหน้าของ มร. บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์





    และเมื่อทำการศึกษาเพิ่มเติม พบว่าบัคกี้บอลมีความเสถียรสูงมากและมีคุณสมบัติที่แปลกประหลาดทั้งทางกายภาพและทางเคมีหลายประการ นอกจากนี้ยังสามารถพบบัคกี้บอลได้ในธรรมชาติอีกด้วย เช่น ในเขม่าของเทียนไขและไส้ตะเกียงน้ำมันก๊าซ ผลจากการค้นพบครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1996







    ส่วนประกอบและขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ที่ริชาร์ด สมอลลีย์ ใช้ในการสังเคราะห์และตรวจสอบบัคกี้บอล





    แมสสเปกตรัมของบัคกี้บอลที่ริชาร์ด สมอลลีย์ และทีมงาน ค้นพบโดยบังเอิญจากการระเหยกราไฟต์ด้วยแสงเลเซอร์พลังงานต่ำ ซึ่งทำให้ทีมนักวิจัยทราบว่าโมเลกุลบัคกี้บอลประกอบด้วยคาร์บอน 60 อะตอมเชื่อมต่อกัน





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×