ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : วิตามิน?? ตอนที่ 2
สำหรับปริมาณวิตามินที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน Committee on Nutritional National Research Council ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอเป็นแนวทางไว้ เรียกว่า Recommended Dietary Allowances เรียกย่อๆว่า " RDA" RDA เป็นค่าที่แสดงถึงความต้องการสารอาหารของคนสุขภาพปกติ แบ่งตามความเหมาะสมของอายุและเพศ ค่า RDA สำหรับวิตามินและแร่ธาตุมีประโยชน์มาก โดยใช้เป็นเกณท์พิจารณาได้ว่าปริมาณวิตามินและแร่ธาตุในอาหารที่ได้รับนั้นพอเพียงหรือไม่ และในกรณีที่จำเป็นต้องเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุในรูปของยา ควรพิจารณาให้อีกเท่าใด ในปัจจุบันนี้ความเชื่อเรื่องการใช้วิตามินและแร่ธาตุในขนาดสูงๆ เพื่อรักษาโรคต่างๆ มีอยู่แพร่หลาย หากใช้ค่า RDA เป็นค่าเปรียบเทียบ จะเห็นได้ว่า ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่ใช้กันตามความเชื่อนั้นสูงเกินค่า RDA ไปหลายสิบเท่า จึงใคร่เน้นในที่นี้ว่า บุคคลที่มีสุขภาพปกติ บริโภคอาหารทั้ง 5 หมู่ ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับวิตามินและแร่ธาตุเสริมอีก
มนุษย์ได้ทราบมานานกว่าร้อยปีแล้วว่าโรคบางอย่างมีส่วนสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทาน เช่นโรคเลือดออกตามไรฟัน มักพบในกลาสีเรือที่ต้องแล่นเรือไปในทะเลเป็นเวลานาน และไม่ได้รับประทานอาหารพวกส้ม หรือมะนาว ซึ่งต่อมาพบว่าเกิดจากการขาดวิตามินซี ในปี ค.ศ.1912 Funk นักเคมีชาวอังกฤษได้สกัดสารอย่างหนึ่งได้จากรำข้าว ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคเหน็บชาในนกพิราบได้ และตั้งชื่อสารนี้ว่า vitamine หมายถึงสารอินทรีย์พวก amine ที่จำเป็นต่อชีวิต ต่อมาพบว่า วิตามินไม่จำเป็นต้องเป็น amine เสมอไป จึงได้ตัด e ออก คงเหลือแต่ vitamin
เนื่องจากในระยะแรกของการค้นพบ วิตามินแต่ละตัว นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบถึงสูตรโครงสร้างเคมีของวิตามิน จึงได้เรียกชื่อ วิตามินเป็นตัวอักษรตามลำดับของการพบก่อนหลัง เช่น วิตามิน A, B, C, D เป็นต้น หรือเรียกชื่อ วิตามินตามตัวอักษรซึ่งเป็นตัวอักษร ซึ่งเป็นตัวย่อมาจากหน้าที่ของวิตามิน เช่น วิตามิน K ย่อมาจาก koagulation เป็นต้น
สภาวะและโอกาสที่จะเกิดการขาดวิตามิน พอจำแนกได้ 6 กรณี ที่ควรพิจารณาให้วิตามินเสริมการขาดวิตามิน อาจเกิดจากกรณีใดกรณีหนึ่ง แต่โดยทั่วไป มักเกิดจากสาเหตุร่วมหลายประการ
1.ได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ อาจเนื่องมาจากความยากจน ความเจ็บป่วย การดื่มสุรา การจำกัดอาหารตามลัทธินิยม เช่น มังสวิรัติ การจำกัดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุและผู้ที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดแบบสมบูรณ์ [ Total parenteral nutrition] การขาดวิตามิน เอ, บี 1 และ บี 2 มักเกี่ยวข้องกับความยากจน และขาดแคลนอาหารที่มีคุณค่า อาหารที่ผู้สูงอายุรับประทานมักขาดวิตามิน เอ, ซี, โฟเลท และวิตามิน บี 1
2.ภาวะการดูดซึมสารอาหารบกพร่อง โรคต่างๆที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพในระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินด้วย ความผิดปกติในการหลั่งหรือผลิตน้ำดีทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันบกพร่อง โรคของตับอ่อนมีผลต่อการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันและวิตามินบี12 เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักแรกคลอดต่ำมีการดูดซับวิตามิน อีได้น้อย การอักเสบเรื้อรังของลำไส้ทำให้มีการขาดวิตามิน บี 12 กรดโฟลิก และวิตามินที่ละลายในไขมัน การใช้ยาบางชนิดมีผลต่อการดูดซึมวิตามินได้
3.ความบกพร่องในการนำวิตามินไปใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจเกิดจากพยาธิสภาพของโรคที่เป็น หรือสูงอายุ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความบกพร่องในการใช้วิตามินซี และการเปลี่ยน carotenoid เป็น retinol ผู้สูงอายุไม่สามารถใช้วิตามิน บี1 ได้เท่าที่ควร โรคมะเร็งทำให้เกิดการขาดวิตามินได้ เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งเต้านม ทำให้เมตาบอลิสมของวิตามิน บี 6 ผิดปกติ โรคตับทำให้เมตาบอลิสมของกรดโฟลิก และวิตามิน เอ เปลี่ยนแปลง ภาวะไตเรื้อรังมีผลต่อการเปลี่ยนวิตามิน เอไปเป็น active form นอกจากนั้นยังมีโรคทางพันธุกรรมซึ่งทำให้เมตาบอลิสมของวิตามินบกพร่อง เช่น วิตามิน บี1, ไนอาซีน,บี6 ,กรดโฟลิก, วิตามินเอ,และวิตามินซี แต่โรคดังกล่าวพบน้อยมาก
4.การขับวิตามินออกจากร่างกายเพิ่มขึ้น การเป็นไข้เรื้อรัง และสภาวะที่ทำให้เกิดการสลายของเนื้อเยื่อ [Catabolic state] เช่น วัณโรค ทำให้ร่างกายขับวิตามิน บี 2 และวิตามิน เอ มากขึ้น การล้างไต [Dialysis]เพิ่มการสูญเสียวิตามินซีและบี 1 โรคไตเรื้อรังทำให้มีการสูญเสียวิตามินเอ และ ดี
5.การทำลายวิตามินเพิ่มขึ้น ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงในการทำลายหรือลดปริมาณวิตามิน ( ดูตารางที่ 3) ผู้ป่วยโรคไตมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามิน บี 6 เนื่องจากสารที่คั่งค้างอยู่ในเลือดทำลายวิตามิน บี 6 ได้
6.ความต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น ได้แก่ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นไข้ burns, trauma, การผ่าตัด การติดเชื้อ ,hyperthyriodism เป็นต้น ภาวะเหล่านี้ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้สารอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อและรักษาสภาวะสมดุลในเลือด การออกกำลังกายเพิ่มความต้องการวิตามิน บี 2และ บี1 ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่นร้อนเกินไปจะเพิ่มความต้องการวิตามิน ซี สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร จำเป็นต้องได้รับสารอาหารทุกชนิดเพิ่มขึ้น
หมายถึงการใช้วิตามินในขนาดตั้งแต่ 10 เท่าของRDA ขึ้นไป การใช้วิตามินขนาดสูงๆ [Mega-dose] มาจากแนวความคิดที่ว่า ถ้าปริมาณน้อยยังให้ประโยชน์มาก ยิ่งเพิ่มปริมาณก็ยิ่งเพิ่มประโยชน์เป็นทวีคูณ ผู้ใช้มักมีความหวังว่าวิตามินและแร่ธาตุจะช่วยรักษาความเจ็บป่วยที่แพทย์แผนปัจจุบันยังไม่สามารถเยียวยาได้เท่าที่ควร เช่นโรคของสมอง [ Minimal brain dysfunction] โรคมะเร็ง หอบหืด ปวดข้อ นอนไม่หลับสิว ชะลอความแก่ ฯลฯ สรรพคุณดังกล่าว ได้รับการโฆษณาเผยแพร่อาศัยพื้นฐานจากการextrapolation ผลการทดลองในสัตว์ การศึกษาในกลุ่มคนจำนวนไม่มาก การออกแบบการทดลอง [Experimental design]ไม่ถูกต้องและไม่มีการควบคุมที่ดีพอ ทำให้การแปรผลมีความเอนเอียงได้ นอกจากนั้นยังมีการเชิญชวน โดยเล่าประสบการณ์ส่วนตัวที่ผู้ป่วยหายจากโรคต่างๆอย่างปลิดทิ้ง
การใช้วิตามินขนาดสูงกว่า RDA มากถือว่าเป็น pharmacological dose ควรใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น เช่น Vitamin dependency ( ภาวะที่ร่างกายมีความต้องการวิตามินนั้นๆ มากกว่าระดับปกติหลายเท่า) ทั้งยังต้องคำนึงถึงผลข้างเคียง และพิษของวิตามินที่อาจเกิดขึ้นได้
1.วิตามินที่ละลายในไขมัน [ Fat-soluble vitamins] ได้แก่วิตามิน เอ,ดี,อีและเค
2.วิตามินที่ละลายในน้ำ [ Water- soluble vitamins] ได้แก่ วิตามิน บี1, บี2, ไนอาซีน, บี6, กรดโฟลิก,บี12, pantothenic acid, ไบโอติน, choline, inositol, และวิตามินซี
1.เป็นโคเอนไซม์ คือช่วยในการทำงานของน้ำย่อยในกระบวนการเมตาบอลิซึม ของอาหารในร่างกาย และการเมทาบอลิซึมของเซลล์ เซลล์หลายชนิดไม่สามารถทำงานได้หากวิตามินบี ไม่เพียงพอ
2.ส่งเสริมการเจริญเติบโต
3.ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ4.ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค
วิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายจะดูดซึมโดยรวมกับไขมันเข้าทางท่อน้ำเหลือง เส้นเลือด ผ่านไปที่ตับ และเข้าหัวใจ ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายจะดูดซึมโดยตรงที่กระเพาะและลำไส้เล็ก โดยเข้าเส้นเลือด ผ่านตับเข้าสู่หัวใจ ยกเว้น วิตามินบี 12 ที่โมเลกุลขนาดใหญ่ ต้องอาศัยอินทรินสิกแฟกเตอร์ที่กระเพาะอาหารผลิตขึ้นเป็นตัวช่วยในการดูดซึม
สารแรกเริ่ม (Provitamins, precursors) หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับวิตามินตัวนั้นโดยตรง แต่ยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนรูปให้ อยู่ในรูปที่ทำงานได้
สารต้านวิตามิน (antivitamins, vitamin antagonists, pseudovitamins) หมายถึงสารที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับวิตามิน เมื่อเข้าไปในร่างกาย ร่างกายไม่สามารถจำแนกได้ เมื่อร่างกายนำไปใช้ สารนี้จะไปขัดขวางการทำงานของระบบน้ำย่อย ทำให้วิตามินที่แท้จริงไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ
ได้แก่วิตามินบีรวมและวิตามินซี วิตามินบีรวม เป็นกลุ่มของสารที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านสูตรโครงสร้างทางเคมีและหน้าที่ การจัดวิตามินกลุ่มนี้เข้าด้วยกัน เนื่องจากสามารถสกัดได้จากอาหารชนิดเดียวกันคือ ตับและยีสต์ การขาดวิตามินบี มักเกิดพร้อมๆกันหลายชนิด ดังนั้น ในการรักษาจึงนิยมให้วิตามินบีรวมมากกว่าให้วิตามินเดี่ยว วิตามินละลายน้ำถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้โดยตรงผ่านกระบวนการ active transport วิตามินบีที่เข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น active form [Co-enzyme] ก่อนจึงจะทำงานได้
วิตามินบีรวม ได้แก่ สารต่อไปนี้คือ บี1 [thiamin], บี2 [riboflavin], niacin (หรือวิตามิน บี3), pantothenic acid (หรือ บี 5), บี6 [pyridoxin] , กรดโฟลิก, บี12[ cyanocobalamin], biotin,cholin และ inositol
เอกสารอ้างอิง :สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เอกสารอ้างอิง :สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น