ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องของนักวิจัย นักวิทยาศาตร์

    ลำดับตอนที่ #1 : จากนักเรียนท้ายแถวสู่นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล

    • อัปเดตล่าสุด 26 เม.ย. 48


    ศาสตราจารย์ มาซาโตชิ โคชิบะ ปัจจุบันอายุ 76 ปี และได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับรางวัล โนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2545  เนื่องจากเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกสาขาวิชา \"นิวตริโนฟิสิกส์\" (Neutrino Physics) ศ. โคชิบะ นับเป็นนักฟิสิกส์รางวัลโนเบลคนที่สี่ของประเทศญี่ปุ่นต่อจาก ฮิเดกิ ยูกาว่า, ชินอิติโร โทโมนากะ และ ลีโอ อีซากิ



    ในวันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเนื่องในโอกาสที่เขาได้รับรางวัลโนเบล ศ. โคชิบะ ได้นำเอา ใบแจ้งคะแนนหรือ Transcript จากมหาวิทยาลัยโตเกียวซึ่งเขาจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1951 มาแสดงต่อสาธารณะชน (เป็นนัยว่าอัดอั้นตันใจมานาน)



    Transcript ของเขานั้นแสดงให้เห็นว่า ในจำนวนวิชาฟิสิกส์ทั้งหมด 16 วิชาที่เขาเรียน ซึ่ง 11 วิชาเป็นวิชาบังคับ และที่เหลืออีก 5 วิชาเป็นวิชาเลือกนั้น มีเพียงแค่ 2 วิชา ซึ่งเกี่ยวกับการทดลองฟิสิกส์เท่านั้นที่ โคชิบะ ได้เกรด A (เขาได้รางวัลจากด้านการทดลอง) โดยที่ตัวเขาเองยอมรับว่า \"สองวิชานี้ใครๆก็สามารถได้ A ถ้าเข้าเรียนครบทุกครั้ง\"



    ส่วนวิชาสำคัญอย่าง ฟิสิกส์อะตอม และวิชาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โคชิบะทำได้แค่ผ่าน แบบคาบเส้นเท่านั้น ส่วนวิชาที่เหลือได้รับการประเมิณเพียงแค่เกรด B



    ศ. โคชิบะกล่าวว่าบรรดาเพื่อนร่วมชั้นของเขานั้นได้เกรด A กันอย่างน้อยๆก็ครึ่งหนึ่งของวิชาที่ลงเรียนทั้งหมด เขามักจะกล่าวว่า \"ผมน่าจะสอบได้ที่สุดท้ายของรุ่นนั้น\"



    แม้แต่อาจารย์ของเขายังเคยแนะนำให้ โคชิบะ ไปทำงานด้านอื่นเสีย เหตุเพราะว่า คะแนนสอบของเขานั้นทำได้ \"ไม่ดีเอาเสียเลย\" นอกจากนั้นคะแนนที่ย่ำแย่ของเขา ยังตามมาหลอกหลอนเขาอยู่เสมอๆ แม้แต่ในวันแต่งงาน เมื่อมีแขกคนหนึ่งพูดเปรยๆว่า \"อนาคตของเจ้าบ่าวคงจะไม่ค่อยรุ่งเรืองเท่าไหร่นัก เพราะว่าเขาจบการศึกษาด้วยคะแนนต่ำสุดในชั้นจากมหาวิทยาลัยโตเกียว\"



    ภรรยาของเขาคือ เคโกะ ปัจจุบันอายุ 71ปี ให้เหตุผลเกี่ยวกับผลการเรียนของสามีว่า

    \"เนื่องจากในสมัยนั้นเป็นช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 พึ่งจะสงบลงไม่นาน สามีของฉันไม่สามารถที่จะเรียนหนังสือเพียงอย่างเดียว เขาต้องทำงานหารายได้พิเศษเลี้ยงตัวด้วย\"

    เธอยังกล่าวอีกว่าสามีของเธอนั้นไปโรงเรียนเพียงอาทิตย์ละครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น



    อย่างไรก็ตามโคชิบะก็ไม่ละความพยายามและมุมานะตั้งใจทำงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์ที่เขารัก โดยไม่ท้อแท้ต่อคำสบประมาทของคนอื่น และได้พิสูจน์ให้ทุกๆคนเห็นด้วยผลงานวิจัยของเขา ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการฟิสิกส์ และในวันนี้เขาก็ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล



    ศ. โคชิบะ กล่าวว่าการที่เขาออกมาพูดเรื่องเกรดของตัวเองก็เพื่อต้องการที่จะกระตุ้น ให้นักเรียนรุ่นใหม่ๆ ให้สนใจที่จะศึกษาความรู้อย่างลึกซึ้งมากกว่าจะทำเพื่อการสอบ



    \"ใบคะแนนนั้นไม่ได้การันตีความสำเร็จของนักเรียน (ไม่ว่าจะเกรดดีหรือไม่ดี)\"

    \"คนที่อยู่รอบๆตัวผมไม่กี่คนที่จะเชื่อว่าเด็กนักเรียนที่จบการศึกษาเป็นลำดับสุดท้ายของชั้น จะสามารถเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยได้\" ศ. โคชิบะกล่าวต่อสื่อมวลชน



    \"ยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่คนเราสามารถที่จะทำให้สำเร็จได้แม้ว่าจะมีผมสอบที่ย่ำแย่ แต่ผมก็ไม่ได้หมายความว่า การสอบได้คะแนนดีนั้นไม่สำคัญนะ\" ศ. โคชิบะกล่าวต่อไปว่า \"สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความตั้งใจจริงและมีความรักในสิ่งที่กำลังศึกษาต่างหาก\"



    อย่างไรก็ตามเพื่อนๆของ ศ. โคชิบะ กล่าวว่า โคชิบะนั้นไม่ได้มีความสามารถน้อยนิด เหมืองดั่งเกรดของเขาที่ปรากฎในใบทรานสคริปแต่อย่างใด หลายคนบอกว่าเข้ามีความสนใจที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ จนรวมไปถึงด้านวรรณกรรมอีกด้วย



    อดีตเพื่อนร่วมชั้นเรียนสมัยมัธยมที่เคยเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญีปุ่น คือ นายโยชิโร ฮายาชิ ปัจจุบันอายุ 75 ปี ย้อนรำลึกความหลังเมื่อครั้งที่โคชิบะ เข้ามาเสนอให้เขาอนุมัติเงินให้ เพื่อที่จะนำไปสร้างเครื่องตรวจวัดอนุภาคนิวตริโน Kamiokande ว่า

    \"เขา (โคชิบะ) เข้ามาพบผมเพื่อขอให้สนับสนุนและบอกกับผมว่า \"ถ้าโครงการนี้สำเร็จ ฉันจะได้รางวัลโนเบล\"\"

    นาย ฮายาชิ กล่าวต่อ \"ตอนนี้เขาได้รับรางวัลจริงๆ\"



    อ่านข่าวนี้แล้วนึกถึงการเรียนการสอนในบ้านเราที่ในปัจจุบันมุ่งเน้นการทำข้อสอบเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการสอบในโรงเรียนหรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัย ที่นักเรียนส่วนมากมักจะคิดแต่ว่า ทำอย่างไรจะทำข้อสอบได้ มากกว่าที่จะสนใจทำความเข้าใจในวิชาความรู้ให้ลึกซึ้ง ถ้ารู้ว่าอันไหนไม่ออกสอบแล้วล่ะก็ไม่ค่อยจะอยากเรียนกัน ทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำกล่าวของ ท่านอาจารย์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่กล่าวว่า



    .. ถ้าไม่เรียนจงอย่าสอบ ไม่ใช่ว่า ถ้าไม่สอบแล้วอย่าเรียน ..



    ฝากเป็นข้อคิดให้นักเรียนและนักศึกษารุ่นใหม่ๆได้คิดกัน



    แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิงจาก



    สำนักข่าวยูมิอูริประเทศญี่ปุ่น

    http://www.yomiuri.co.jp/main/main-e.htm

    ข้อมูลผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2545 (ค.ศ. 2002)

    http://www.nobel.se/physics/laureates/2002/index.html

    แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับนิวตริโนฟิสิกส์

    http://www.nu.to.infn.it/lin/  

    จ้อ  วันที่ 23 ต.ค. 2545 17:07:53







    เอามาจาก web วิชาการดอทคอม ค่ะ web นี้น่าสนใจนะคะ ถ้ว่างๆลองเข้าไปดูสิคะ



    www.vcharkarn.com
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×