ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เคล็ดลัับ - เตรียมตััวให้พร้อมก่อนสมัครงาน

    ลำดับตอนที่ #3 : ★เรียนต่อหรือทำงาน?

    • อัปเดตล่าสุด 20 ม.ค. 53


    ★เรียนต่อหรือทำงาน?


             ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่อุตส่าห์หลังขดหลังแข็งอดหลับอดนอนตั้งใจอ่านหนังสือ หนำซ้ำ(บางคน)หาทางเสาะแสวงหาเอกสารสารพัดรวมถึงบรรดาข้อสอบเก่าต่างๆ ด้วยกลวิธีพิสดารแทบทุกแบบเพื่อให้ได้ครอบครองไว้ในมือ เพียงเพื่อให้คะแนนไม่ต่ำเตี้ยเลี่ยมีน(หรือน่าจะเป็นไม่น้อยหน้าใครเสียมากกว่า) หลายปีที่ต้องดำเนินชีวิตในรูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนอาจเริ่มเบื่อกับวิถีแบบเดิมๆ แต่เมื่อพอย่างเข้าสู่บรรยากาศของการเรียนในเทอมสุดท้ายก่อนจะจบการศึกษาหลายคนก็เริ่มตัดสินใจแล้วว่าจะ 

    “เรียนต่อ” หรือ “ทำงาน” 

    ซึ่งโดยมากมักจะเลือกประการหลังมากกว่า ด้วยเพราะคงเบื่อกับชีวิตที่แข่งกันอยู่ตลอดเวลา แข่งแล้วไม่เห็นได้เงินสู้ออกไปข้างนอก อย่างไรก็ต้องแข่งขันแต่มันก็ได้ค่าเหนื่อย แต่ก็มีบางคนที่ยังคงมีความลังเลกับการตัดสินใจในการเลือกเส้นทางให้กับชีวิตของตนเอง จะให้เรียนต่อเลยก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียนทางด้านไหน หรือถ้าพอจะรู้ว่าชอบอะไร แต่เห็นเพื่อนๆเขาจะไปทำงานในใจก็อยากลองทำงานดูก่อนบ้าง ทำให้เกิดความลังเลใจ…จะทำอย่างไรดี 


            ถ้าเผอิญเราเป็นคนหนึ่งที่มีความรู้สึกแบบนี้ ลองทำแบบนี้ดูอาจจะพอช่วยอะไรได้บ้าง.... 

    1.ก่อนอื่นอันดับแรกคงต้องทำจิตใจให้สงบเสียก่อน คนเราถ้าสับสนและฟุ้งซ่านเรื่องที่อยากจะขบคิดคงจะยิ่งสับสนมากกว่าที่จะหาทางแก้ได้ 


    2.ลองคิดอย่างคร่าวๆว่าในอนาคตข้างหน้าเราอยากที่จะมีอนาคตอย่างไร เป้าหมายในชีวิตคืออะไร 


    3.ให้ลองคิดจำลองสถานการณ์ขึ้นมาว่า “ถ้าจะเรียนต่อ เราจะเรียนทางด้านไหน อย่างไรและเพราะอะไร” เขียนออกมาเป็นข้อๆให้ละเอียด และ”หากเราจะไม่เรียนต่อจะไปทำงานอะไรเพราะอะไร” รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของแต่ละทางเลือก 


    4.นำข้อมูลจากทั้ง 2 ข้อมาวิเคราะห์เปรียบเทียบว่า “หนทางไหนน่าจะพาเราไปยังเป้าหมายของชีวิตที่เราต้องการได้ดีกว่ากัน” 


    ตรงนี้บางคนพอทำแล้วอาจจะคิดต่อไปอีกว่า “เลือกไม่ถูกอยู่ดี” 


    อันนี้เราสามารถลองขอคำแนะนำจากบุคคลอื่นๆก็ได้ เช่น คุณพ่อคุณแม่ อาจารย์ เป็นต้น เมื่อได้รับคำเสนอแนะก็ต้องนำมาคิดตรองอีกที เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแทนที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ อาจจะยิ่งไขว้เขวมากยิ่งขี้น 

    ดังนั้นส่วนนี้อาจจะทำเมื่อคิดไม่ออกจริงๆ หรือก็พอจะตัดสินใจได้ว่าน่าจะเลือกแบบไหน แต่แค่อยากได้ฟังความเห็นจากคนอื่นๆบ้าง และนอกจากนี้อาจจะต้องคำนึงถึงเรื่องต่างๆประกอบด้วย เช่น ความพร้อมทางการเงิน เรื่องนี้สำคัญมากทีเดียว ไม่ว่าจะไปเรียนต่อต่างประเทศหรือเรียนต่อภายในประเทศ เราต้องดูว่าถ้าตัดสินใจเรียนต่อ แน่นอนคงจะไม่สามารถทำงานหารายได้เข้าครอบครัวได้ หรือถ้าพอจะไปทำงานเล็กน้อยๆได้บ้าง รายได้ก็คงไม่มากนัก 

    เราต้องเริ่มมาดูแล้วว่า “ทางบ้านสามารถสนับสนุนได้มากน้อยแค่ไหน” หรือ “ครอบครัวจะเป็นไรไหม หากเราไม่ได้ทำงาน” ถ้าครอบครัวฐานะทางการเงินดีไม่มีปัญหาอะไร การเลือกว่าจะเรียนต่อหรือไม่นั้นคงไม่ใช่ปัญหา 


    แต่หากฐานะทางการเงินไม่ค่อยดีนัก ก็อาจจะต้องใช้วิธีทำงานเก็บเงินไปก่อนแล้วค่อยกลับมา เรียน หรือไม่ก็ขอทุน คนที่เรียนได้คะแนนเฉลี่ยสะสมดีมากระดับเกียรตินิยมก็ไม่ใช่เรื่องยากนักกับการขอทุน ซึ่งก็อาจจะต้องหารายละเอียดเกี่ยวกับทุนต่อไป ประเด็นการที่เลือกเรียนต่อหรือทำงานก่อนแล้วค่อยกลับมาเรียนต่อก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป 

    บางคนมองว่าเรียนต่อไปเลยอาจจะดีกว่าในแง่ที่ว่า “ถ้าทิ้งช่วงนานเดี๋ยวจะพาลไม่อยากเรียนต่อ” อันนี้ก็มีส่วนถูกเพราะเมื่อเราไปทำงานสักระยะ ถ้าทำแล้วสนุก งานกำลังก้าวหน้า ที่คิดไว้ว่าถ้าทำงานสัก 1-2 ปีจะกลับมาเรียนต่ออาจจะต้องพับไป เพราะส่วนใหญ่ถ้าจะเรียนต่อก็ต้องลาออกจากงานที่ทำ น้อยมากที่ที่ทำงานนั้นเขาจะรอเราจนกระทั่งเรียนต่อจบ 


    แต่ข้อเสียอาจจะเกิดขึ้นได้เหมือนกัน ถ้าเรายังไม่แน่ใจเลยว่า “จะเรียนต่อทางด้านไหน” “หรือสนใจด้านไหนจริงๆ” คิดว่าชอบแต่พอเรียนจบมาทำงานก็อาจจะกลายเป็นเรียนมาแล้วไม่ได้ใช้ เพราะมันไม่ใช่ที่ตัวเองชอบแบบนี้ก็เสียเวลา ในทางเดียวกันออกไปทำงานก่อนสักระยะแล้วค่อยกลับมาเรียน ข้อเสียของมันก็จะเป็นอย่างข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว 


    ส่วนข้อดีของมันเหมือนกับว่า เราได้ออกไปทำงาน ก็คล้ายกับไปค้นหาตัวตนที่แท้จริง ความสนใจของเราว่า 
    “จริงๆแล้วต้องการอะไร” บางคนตั้งแต่เข้ามาเรียนจนถึงวันสุดท้ายยังไม่รู้เลยว่า 

    “จบแล้วจะเป็นทำงานทางด้านไหน” 

    ถ้าเรียนต่อแน่ใจแล้วหรือว่า สิ่งที่เลือกเราจะชอบจริง แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามการตัดสินใจในเรื่องนี้ เราก็ต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง เพราะตัวเราเองน่าจะรู้ความต้องการของเราได้ดีที่สุด (ถึงแม้ว่ามันจะเข้ามาอย่างงงๆและจบอย่างงงๆก็ตาม) 


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×