ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สาระน่ารู้เกี่ยวกับวิตามิน

    ลำดับตอนที่ #2 : วิตามิน?? ตอนที่ 2

    • อัปเดตล่าสุด 1 มิ.ย. 49






    ความต้องการวิตามิน

                     สำหรับปริมาณวิตามินที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน Committee on Nutritional National Research Council ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอเป็นแนวทางไว้ เรียกว่า Recommended Dietary Allowances เรียกย่อๆว่า " RDA"  RDA เป็นค่าที่แสดงถึงความต้องการสารอาหารของคนสุขภาพปกติ แบ่งตามความเหมาะสมของอายุและเพศ ค่า RDA สำหรับวิตามินและแร่ธาตุมีประโยชน์มาก โดยใช้เป็นเกณท์พิจารณาได้ว่าปริมาณวิตามินและแร่ธาตุในอาหารที่ได้รับนั้นพอเพียงหรือไม่ และในกรณีที่จำเป็นต้องเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุในรูปของยา ควรพิจารณาให้อีกเท่าใด ในปัจจุบันนี้ความเชื่อเรื่องการใช้วิตามินและแร่ธาตุในขนาดสูงๆ เพื่อรักษาโรคต่างๆ มีอยู่แพร่หลาย หากใช้ค่า RDA เป็นค่าเปรียบเทียบ จะเห็นได้ว่า ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่ใช้กันตามความเชื่อนั้นสูงเกินค่า RDA ไปหลายสิบเท่า จึงใคร่เน้นในที่นี้ว่า บุคคลที่มีสุขภาพปกติ บริโภคอาหารทั้ง 5 หมู่ ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับวิตามินและแร่ธาตุเสริมอีก
              มนุษย์ได้ทราบมานานกว่าร้อยปีแล้วว่าโรคบางอย่างมีส่วนสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทาน  เช่นโรคเลือดออกตามไรฟัน  มักพบในกลาสีเรือที่ต้องแล่นเรือไปในทะเลเป็นเวลานาน และไม่ได้รับประทานอาหารพวกส้ม  หรือมะนาว  ซึ่งต่อมาพบว่าเกิดจากการขาดวิตามินซี  ในปี  ..1912  Funk  นักเคมีชาวอังกฤษได้สกัดสารอย่างหนึ่งได้จากรำข้าว  ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคเหน็บชาในนกพิราบได้  และตั้งชื่อสารนี้ว่า  vitamine  หมายถึงสารอินทรีย์พวก  amine  ที่จำเป็นต่อชีวิต  ต่อมาพบว่า  วิตามินไม่จำเป็นต้องเป็น  amine  เสมอไป  จึงได้ตัด  ออก  คงเหลือแต่  vitamin
              เนื่องจากในระยะแรกของการค้นพบ  วิตามินแต่ละตัว  นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบถึงสูตรโครงสร้างเคมีของวิตามิน  จึงได้เรียกชื่อ  วิตามินเป็นตัวอักษรตามลำดับของการพบก่อนหลัง  เช่น  วิตามิน A, B, C, D  เป็นต้น หรือเรียกชื่อ  วิตามินตามตัวอักษรซึ่งเป็นตัวอักษร  ซึ่งเป็นตัวย่อมาจากหน้าที่ของวิตามิน เช่น  วิตามิน  ย่อมาจาก  koagulation  เป็นต้น

              สภาวะและโอกาสที่จะเกิดการขาดวิตามิน พอจำแนกได้ 6 กรณี ที่ควรพิจารณาให้วิตามินเสริมการขาดวิตามิน อาจเกิดจากกรณีใดกรณีหนึ่ง แต่โดยทั่วไป มักเกิดจากสาเหตุร่วมหลายประการ
              1.ได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ อาจเนื่องมาจากความยากจน ความเจ็บป่วย การดื่มสุรา การจำกัดอาหารตามลัทธินิยม เช่น มังสวิรัติ การจำกัดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุและผู้ที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดแบบสมบูรณ์ [ Total parenteral nutrition] การขาดวิตามิน เอ, บี 1 และ บี 2 มักเกี่ยวข้องกับความยากจน และขาดแคลนอาหารที่มีคุณค่า อาหารที่ผู้สูงอายุรับประทานมักขาดวิตามิน เอ, ซี, โฟเลท และวิตามิน บี 1
              2.ภาวะการดูดซึมสารอาหารบกพร่อง โรคต่างๆที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพในระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินด้วย ความผิดปกติในการหลั่งหรือผลิตน้ำดีทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันบกพร่อง โรคของตับอ่อนมีผลต่อการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันและวิตามินบี12 เด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักแรกคลอดต่ำมีการดูดซับวิตามิน อีได้น้อย การอักเสบเรื้อรังของลำไส้ทำให้มีการขาดวิตามิน บี 12 กรดโฟลิก และวิตามินที่ละลายในไขมัน การใช้ยาบางชนิดมีผลต่อการดูดซึมวิตามินได้
              3.ความบกพร่องในการนำวิตามินไปใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจเกิดจากพยาธิสภาพของโรคที่เป็น หรือสูงอายุ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความบกพร่องในการใช้วิตามินซี และการเปลี่ยน carotenoid เป็น retinol ผู้สูงอายุไม่สามารถใช้วิตามิน บี1 ได้เท่าที่ควร โรคมะเร็งทำให้เกิดการขาดวิตามินได้ เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งเต้านม ทำให้เมตาบอลิสมของวิตามิน บี 6 ผิดปกติ โรคตับทำให้เมตาบอลิสมของกรดโฟลิก และวิตามิน เอ เปลี่ยนแปลง ภาวะไตเรื้อรังมีผลต่อการเปลี่ยนวิตามิน เอไปเป็น active form นอกจากนั้นยังมีโรคทางพันธุกรรมซึ่งทำให้เมตาบอลิสมของวิตามินบกพร่อง เช่น วิตามิน บี1, ไนอาซีน,บี6 ,กรดโฟลิก, วิตามินเอ,และวิตามินซี แต่โรคดังกล่าวพบน้อยมาก
              4.การขับวิตามินออกจากร่างกายเพิ่มขึ้น การเป็นไข้เรื้อรัง และสภาวะที่ทำให้เกิดการสลายของเนื้อเยื่อ [Catabolic state] เช่น วัณโรค ทำให้ร่างกายขับวิตามิน บี 2 และวิตามิน เอ มากขึ้น การล้างไต [Dialysis]เพิ่มการสูญเสียวิตามินซีและบี 1 โรคไตเรื้อรังทำให้มีการสูญเสียวิตามินเอ และ ดี
           5.การทำลายวิตามินเพิ่มขึ้น ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงในการทำลายหรือลดปริมาณวิตามิน ( ดูตารางที่ 3) ผู้ป่วยโรคไตมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามิน บี 6 เนื่องจากสารที่คั่งค้างอยู่ในเลือดทำลายวิตามิน บี 6 ได้
           6.ความต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น ได้แก่ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นไข้ burns, trauma, การผ่าตัด การติดเชื้อ ,hyperthyriodism เป็นต้น ภาวะเหล่านี้ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้สารอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อและรักษาสภาวะสมดุลในเลือด การออกกำลังกายเพิ่มความต้องการวิตามิน บี 2และ บี1 ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่นร้อนเกินไปจะเพิ่มความต้องการวิตามิน ซี สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร จำเป็นต้องได้รับสารอาหารทุกชนิดเพิ่มขึ้น

               หมายถึงการใช้วิตามินในขนาดตั้งแต่ 10 เท่าของRDA ขึ้นไป การใช้วิตามินขนาดสูงๆ [Mega-dose] มาจากแนวความคิดที่ว่า ถ้าปริมาณน้อยยังให้ประโยชน์มาก ยิ่งเพิ่มปริมาณก็ยิ่งเพิ่มประโยชน์เป็นทวีคูณ ผู้ใช้มักมีความหวังว่าวิตามินและแร่ธาตุจะช่วยรักษาความเจ็บป่วยที่แพทย์แผนปัจจุบันยังไม่สามารถเยียวยาได้เท่าที่ควร เช่นโรคของสมอง [ Minimal brain dysfunction] โรคมะเร็ง หอบหืด ปวดข้อ นอนไม่หลับสิว ชะลอความแก่ ฯลฯ สรรพคุณดังกล่าว ได้รับการโฆษณาเผยแพร่อาศัยพื้นฐานจากการextrapolation ผลการทดลองในสัตว์ การศึกษาในกลุ่มคนจำนวนไม่มาก การออกแบบการทดลอง [Experimental design]ไม่ถูกต้องและไม่มีการควบคุมที่ดีพอ ทำให้การแปรผลมีความเอนเอียงได้ นอกจากนั้นยังมีการเชิญชวน โดยเล่าประสบการณ์ส่วนตัวที่ผู้ป่วยหายจากโรคต่างๆอย่างปลิดทิ้ง
              การใช้วิตามินขนาดสูงกว่า RDA มากถือว่าเป็น pharmacological dose ควรใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น เช่น Vitamin dependency ( ภาวะที่ร่างกายมีความต้องการวิตามินนั้นๆ มากกว่าระดับปกติหลายเท่า) ทั้งยังต้องคำนึงถึงผลข้างเคียง และพิษของวิตามินที่อาจเกิดขึ้นได้

            1.วิตามินที่ละลายในไขมัน [ Fat-soluble vitamins] ได้แก่วิตามิน เอ,ดี,อีและเค
              2.วิตามินที่ละลายในน้ำ [ Water- soluble vitamins] ได้แก่ วิตามิน บี1, บี2, ไนอาซีน, บี6, กรดโฟลิก,บี12, pantothenic acid, ไบโอติน, choline, inositol, และวิตามินซี
    1.เป็นโคเอนไซม์  คือช่วยในการทำงานของน้ำย่อยในกระบวนการเมตาบอลิซึม  ของอาหารในร่างกาย  และการเมทาบอลิซึมของเซลล์  เซลล์หลายชนิดไม่สามารถทำงานได้หากวิตามินบี  ไม่เพียงพอ
    2.ส่งเสริมการเจริญเติบโต
    3.ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ
    4.ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค
              วิตามินที่ละลายในไขมัน  ร่างกายจะดูดซึมโดยรวมกับไขมันเข้าทางท่อน้ำเหลือง  เส้นเลือด  ผ่านไปที่ตับ  และเข้าหัวใจ  ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำ  ร่างกายจะดูดซึมโดยตรงที่กระเพาะและลำไส้เล็ก  โดยเข้าเส้นเลือด  ผ่านตับเข้าสู่หัวใจ  ยกเว้น  วิตามินบี 12  ที่โมเลกุลขนาดใหญ่  ต้องอาศัยอินทรินสิกแฟกเตอร์ที่กระเพาะอาหารผลิตขึ้นเป็นตัวช่วยในการดูดซึม
              สารแรกเริ่ม (Provitamins, precursors) หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับวิตามินตัวนั้นโดยตรง  แต่ยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนรูปให้ อยู่ในรูปที่ทำงานได้
              สารต้านวิตามิน  (antivitamins, vitamin antagonists, pseudovitamins) หมายถึงสารที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับวิตามิน  เมื่อเข้าไปในร่างกาย  ร่างกายไม่สามารถจำแนกได้  เมื่อร่างกายนำไปใช้  สารนี้จะไปขัดขวางการทำงานของระบบน้ำย่อย  ทำให้วิตามินที่แท้จริงไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ
               ได้แก่วิตามินบีรวมและวิตามินซี วิตามินบีรวม เป็นกลุ่มของสารที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านสูตรโครงสร้างทางเคมีและหน้าที่ การจัดวิตามินกลุ่มนี้เข้าด้วยกัน เนื่องจากสามารถสกัดได้จากอาหารชนิดเดียวกันคือ ตับและยีสต์ การขาดวิตามินบี มักเกิดพร้อมๆกันหลายชนิด ดังนั้น ในการรักษาจึงนิยมให้วิตามินบีรวมมากกว่าให้วิตามินเดี่ยว วิตามินละลายน้ำถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้โดยตรงผ่านกระบวนการ active transport วิตามินบีที่เข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น active form [Co-enzyme] ก่อนจึงจะทำงานได้
               วิตามินบีรวม ได้แก่ สารต่อไปนี้คือ บี1 [thiamin], บี2 [riboflavin], niacin (หรือวิตามิน บี3), pantothenic acid (หรือ บี 5), บี6 [pyridoxin] , กรดโฟลิก, บี12[ cyanocobalamin], biotin,cholin และ inositol


    เอกสารอ้างอิง :สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×