ภารกิจรักกามเทพ
ด้วยความรักและแก่นเซี้ยวในวัยเยาว์ของทั้งสองจึงเกิดพินัยกรรมขึ้นเพื่อให้ทั้งสองได้รักกันโดยมีเหล่ากามเทพจอมจุ้นมาจัดการชีวิตของทั้งสอง....
ผู้เข้าชมรวม
1,403
ผู้เข้าชมเดือนนี้
7
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เมื่อพินัยกรรมระบุชัดให้ เธอ มาติกา ดาราสาวดาวรุ่งวัย 25 ปี อดีตเด็กสาวจอมทโมน ผาดโผน ห้าวหาญเกินชาย ต้องแต่งงานกับ หนุ่มมาดนิ่ง เย็นชา ไร้หัวใจ อย่าง นราวิชญ์ คู่ปรับคนสำคัญในวัยเยาว์ เพื่อรักษามรดกที่ควรเป็นของนราวิชญ์เอาไว้..แต่มีหรือ คนอย่างมาติกาจะยอมทำตาม อย่างไรเธอก็ต้องหาทางบิดพลิ้วประวิงเวลาไปเรื่อยๆให้ได้ เธอไม่ยอมแต่งงานกับศัตรูหมายเลขหนึ่งในวัยเด็กอย่าง นราวิชญ์แน่นอน..เหล่ากามเทพรู้อย่างนี้เห็นทีจะอยู่เฉยไม่ได้เสียแล้ว ต้องออกโรงแผลงศรรักให้ปักใจหนุ่มนิ่ง สาวแสบให้รักกันให้จงได้ เพี้ยง!
**ขอบคุณสำหรับแฟนคลับทุกคนที่ติดตามนะค่ะ ระยะนี้จะพยายามมาอัพและแก้ไขให้ดีและดียิ่งขึ้นไปนะค่ะ ติชมได้นะค่ะ ยินดีค่ะ**
ผลงานอื่นๆ ของ ลูกช่างแอร์ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ลูกช่างแอร์
"Secret !! บริษัทรับวิจารณ์บทความ"
(แจ้งลบ)ชื่อบทความ : ภารกิจรักกามเทพ ชื่อนักวิจารณ์ : กุหลาบน้ำเงิน ลิ้งค์หรือแบนเนอร์บทความที่วิจารณ์ : http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=655377 โครงเรื่อง [9/10] : เนื่องจากตอนที่จะให้วิจารณ์มีน้อยมากๆ มีเเค่ 1 ตอนเท่านั้น ฉะนั้นผู้วิจารณ์จะขอวิจารณ์โดยละเอียดเฉพาะตอนที่ 1 โครงเรื่องมีจุดขัดเเย้งชัดเจน คือ "นางเอกต้องเเต่งงาน ... อ่านเพิ่มเติม
ชื่อบทความ : ภารกิจรักกามเทพ ชื่อนักวิจารณ์ : กุหลาบน้ำเงิน ลิ้งค์หรือแบนเนอร์บทความที่วิจารณ์ : http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=655377 โครงเรื่อง [9/10] : เนื่องจากตอนที่จะให้วิจารณ์มีน้อยมากๆ มีเเค่ 1 ตอนเท่านั้น ฉะนั้นผู้วิจารณ์จะขอวิจารณ์โดยละเอียดเฉพาะตอนที่ 1 โครงเรื่องมีจุดขัดเเย้งชัดเจน คือ "นางเอกต้องเเต่งงานกับผู้ชายที่ไม่เคยคุยกับใครเพื่อเเลกกับเงิน" นี่เองที่จะดึงดูดให้ผู้อ่านติดตามเอาใจช่วยตัวละคร แต่โครงเรื่องยังมีจุดอ่อนเรื่องความสมเหตุสมผล ซึ่งผู้วิจารณ์จะบอกในส่วนของความสมเหตุสมผลอีกที ตัวละคร [8/10] : ตัวละครมีจำนวนมากมายเป็นการสร้างสีสันให้แก่เรื่อง ต่างมีบุคลิกชัดเจนผ่านการพูด ท่าทาง การกระทำ เเต่จุดที่ควรปรับคือ 1. ผู้เขียนมีตัวละครมากเกินไป เเละตัวละครเหล่านั้นล้วนมีเพื่อสร้างสีสันเท่านั้น คล้ายกับนักแสดงในละครโทรทัศน์ ในละครโทรทัศน์ต้องมีตัวละครจำนวนมาก เพราะต้องใช้ตัวละครเหล่านั้นยืดเรื่องให้ยาวขึ้น เเละทำให้เรื่องผ่อนคลาย อย่างไรก็ตามนิยายไม่ใช่ละครโทรทัศน์ จึงไม่จำเป็นต้องยืดเวลา ผู้อ่านจะไม่ทนอ่านนิยายที่ยืดยาว เเนะนำให้ผู้เขียนตัดตัวละครที่ไม่จำเป็นออกไป ตัวละครใดที่ไม่มี แต่เรื่องก็ยังสามารถดำเนินไปได้ ก็ขอให้ตัดตัวละครตัวนั้นทิ้งเสีย 2. ผู้เขียนควรบรรยายลักษณะหน้าตา บุคลิกภาพ ของตัวละครเพิ่มขึ้น เพราะถึงเเม้ผู้เขียนจะมีอิมเมจมาให้ชมเเล้ว เเต่ผู้อ่านไม่ได้จำอิมเมจเหล่านั้นทุกตัว เเละเวลาตีพิมพ์ ในหนังสือก็ไม่มีอิมเมจเหล่านั้น นิยายที่ดีคือการที่ผู้เขียนได้โชว์ฝีมือในการบรรยายเเละพรรณารูปร่างหน้าตาของตัวละครจนเห็นภาพ เพียงเเค่การขยับกาย ทำท่าเล็กๆน้อยๆก็บ่งบอกนิสัยของตัวละครได้ เช่น การยักไหล่ การเบ้ปาก การฝืนยิ้ม การถอนหายใจ เป็นต้น ฉาก สถานที่ เวลา [7/10] : ผู้อ่านสามารถเข้าใจว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นทีไ่หน เวลาใด คนจำนวนมากเท่าใด เเต่อยากติงผู้เขียนว่าผู้เขียนบรรยายน้อยเกินไป การขึ้นฉากควรบรรยายว่าใคร ทำอะไร เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ แต่ปรากฏว่าในย่อหน้าเเรก ผู้เขียนกลับไม่เขียนถึงสิ่งเหล่านั้นเลย ตัวอย่าง "เสียงปรบมือดังลั่นฮอลล์แห่งนี้ ผู้ชมบางคนถึงขั้นน้ำตาเอ่อเพราะบางคนเป็นแฟนคลับตัวจริงของมาติกา บางคนก็บ่นว่าเสียดายในความสามารถของเธอ มาติกาโค้งคำนับ พลางยกมือไหว้ขอบคุณด้วยความจริงใจและแปลกใจที่แฟนคลับของเธอหลายๆคนที่ถือป้ายไฟมาเชียร์เธอราวกับเธอจะออกจากบ้านเดอะสตาร์เป็นวีคแรก!" ในย่อหน้านี้ผู้อ่านไม่รู้เลยว่ามาติกาคือใคร? เเสดงอะไร? ผู้เขียนควรอธิบายว่า สถานที่นั้นคือที่ไหน มีลักษณะอย่างไร คับคั่งไปด้วยผู้คนมากมายเพียงไร เเล้วคนเหล่านั้นมาทำอะไร พวกเขามาชมการเเสดงอะไรการเเสดงนั้นเ็ป็นอย่างไร น่าทึ่ง น่าตระการตาเพียงใด เเล้วผู้ชมตอบรับการเเสดงเหล่านั้นอย่างไร... ยกตัวอย่างการเเก้ไข ณ หอการแสดงใหญ่ใจกลางนครหลวงของเมืองไทย เสียงปรบมือดังสนั่นไปทั่วทั้งห้องจัดแสดงครั้งนี้ หลังจากที่ร่างบางในชุดทักซิโด้สีขาวปล่อยฝูงผีเสื้อนับพันให้โผบินออกมาจากหมวกของเธอ ผีเสื้อเหล่านั้นสยายปีกบินตระการตาไปทั่วห้องจัดเเสดง ท่ามกลางเสียงปรบมือที่ดังอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตามด้วยเสียงร้องชื่นชมไม่ขาดสาย มาติกา ... หญิงสาวในชุดทักซิโด้สีขาวโดดเด่นที่สุดในงานครั้งนี้โค้งตัวลงรับเสียงปรบมือนั้น เธอคือนักมายากลผู้มากความสามารถ ทุกครั้งที่ขึ้นเเสดง เธอจะเสกสรรค์เวทมนต์สร้างจินตนาการพร่างพราย จนผู้ชมต้องประทับใจอย่างไม่มีวันลืม แต่ครั้งนี้เเตกต่าง... ระหว่างที่มาติกาก้าวลงจากเวทีท่ามกลางเสียงปรบมือที่ยังไม่สิ้นสุด เธอสังเกตเห็นใบหน้าที่นองน้ำตาของผู้ชมหลายคน เธอสัมผัสได้ถึงความโศกเศร้าที่อัดเเน่นไปทั่วห้องการเเสดงแห่งนี้ ผู้ชมของเธอต่างพร้อมใจส่งเสียงร้องให้กำลังใจเธออย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ได้ยินเสียงบ่นเสียดายในความสามารถของเธอดังมาไม่ขาดสาย... สรุปก็คือ ผู้เขียนควรจะบรรยายให้ชัดเจน มากกว่าการบรรยายตัดตอนอย่างง่ายๆ เเละทุกครั้งที่เปลี่ยนฉาก ก็ควรมีการบรรยายฉากให้มองเห็นอารมณ์ความรู้สึกในฉาก เห็นภาพ เห็นความโศกเศร้า เห็นความยิ่งใหญ่ เห็นความเก่งกาจ อย่างชัดเจน การดำเนินเนื้อเรื่องและมุมมองการเล่าเรื่อง [8/10] : การดำเนินเรื่องยังรวดเร็วไป ไม่มีการตัดเเบ่งฉากที่เเน่ชัด ตัวละครเข้าฉากง่ายๆโดยที่ไม่มีการบรรยายที่มาที่ไปของตัวละคร ผู้เขียนดำเนินเรื่องเหมือนเรื่องย่อละครทีวีที่อยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ที่พยายามย่อประหยัดพื้นที่ เเต่นี่คือนิยาย ซึ่งมิได้เห็นภาพชัดเจนเหมือนละครทีวี นักอ่านไม่ได้รู้มาก่อนว่าตัวละครที่ปรากฏมาเป็นใคร ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องดำเนินเรื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป เเต่ก็ไม่ยืดเยื้อ เเละไม่รวดเร็วเกินไป ควรมีการตัดฉากที่เนียน ยกตัวอย่างเช่น .....หลังจากงานแสดงมายากลของเธอเสร็จลง มาติกาก็รีบเปลี่ยนเสื้อคลุมสีดำที่เธอใส่อยู่ถอดออกแล้วใส่สีส้มแทน "น้องเมย์ค่า.."พี่มดช่างทำผมประจำตัวเธอหันมาจ้องหน้าเธอแล้วน้ำตาไหล "พี่มดเป็นอะไรค่า"มาติการีบเดินเข้าไปหามดทันที .... เท่าที่อ่านดู พบว่าทุกอย่างรวบรัดจนเหมือนอ่านเรื่องย่อละครในหน้าหนังสือพิมพ์ นิยายที่ดีควรมีการบรรยายชัดเจนกว่านี้ ตัวอย่างการเเก้ไข หลังจากการเเสดงของเธอจบสิ้นลง มาติกาเดินกลับเข้ามาที่หลังเวลาพลางยกมือขึ้นปาดเหงื่อบนใบหน้า ทีมงานแต่ละคนต่างทำงานฝ่ายของตนอย่างขมักเขม้น เพราะใกล้ถึงรอบการเเสดงต่อไปเเล้ว ทันทีที่มาถึงห้องเเต่งตัว มาติการีบปลดเสื้อคลุมสีดำออก เเล้วคว้าเสื้อคลุมสีส้มจากราวเเขวนผ้า "น้องเมย์คะ" เสียงที่มาติกาคุ้นเคยดังขึ้นจากด้านหลังของเธอ มาติกาเหลียวหลังไปอย่างประหลาดใจ "พี่มด" พี่มดคือช่างตัดผมประจำตัวของเธอ พี่มดเป็น.....(คนรูปร่างหน้าตาอย่างไร)... วันนี้พี่มดแปลกไปจนมาติการู้สึกไม่่สบายใจ พี่มดเรียกชื่อเเล้วมองหน้าเธอเงียบๆ เหมือนจะพูดอะไรบางอย่าง เเต่ก็ไม่ยอมพูดออกมา เเล้วมาติกาก็ใจหายวาบเมื่อเห็นน้ำตาของพี่มด "พี่มด!" มาติกาอุทานอย่างตกใจ รีบถลาเข้าหาพี่มดทันที "พี่มดเป็นอะไรไปคะ" หญิงสาวถามเสียงสั่นเมื่อเห็นพี่มดยิ่งสะอื้นหนักเข้าไปใหญ่ เกิดอะไรขึ้น? ทำไมพี่มดที่เคยสดใสร่าเริงของเธอจึงดูซึมเศร้าเเละเอาแต่ร้องไห้ถึงขนาดนี้!? สรุปก็คือ ผู้เขียนไม่ควรบรรยายเเค่ว่าใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร เเต่ควรบรรยายให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครด้วย ความสมเหตุสมผล [8/10] : เรื่องจะดูสมเหตุสมผลมาก ถ้าเกิดว่าในบทที่ 1 ตัวละครเอกไม่ไ่ด้เป็นคนมีชื่อเสียงถึงขนาดมีเเฟนคลับมากมายเช่นที่ผู้เขียนบรรยาย เพราะการเป็นนักมายากล ไม่จำเป็นต้องขึ้นตรงกับบริษัทใดๆก็ได้ นักมายากลที่มีความสามารถอย่างมาติกา จะสามาารถหาเงินได้อีกมาก ความสามารถถของเธอ ชื่อเสียงของเํธอ แฟนคลับของเธอ จะทำให้นายทุนจำนวนมากยินดีรับเธอไปร่วมงาน หรือเธอจะสามารถเเสดงมายากลเป็นอาชีพอิสระก็ย่อมได้ นี่จึงไม่น่าเป็นสถานการณ์ที่สมเหตุสมผลพอจะทำให้เธอตกอับจนถึงขั้นต้องยอมเเต่งงานกับผู้ชายเพื่อเเลกกับเงิน เว้นเสียเเต่ว่าผู้เขียนวางเรื่องไว้ว่านางเอกเป็นคนธรรมดา ฐานะไม่ค่อยดีนัก ไฝ่ฝันอยากเป็นนักมายากล เเต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง ขายขี้หน้าตลอด เปิ่นเเละปล่อยไก่ตลอดงาน โดนคนดูโห่ไล่ทุกครั้ง ทำให้บริษัทต้องเลิกจ้าง เธอตกงานซ้ำเเล้วซ้ำเล่า เเต่ก้ไม่ทิ้งความฝัน เธอยังพยายามต่อไป แต่สุดท้ายก็มาเข้าตาจนเมื่อพ่อเเละเเม่ป่วยหนัก ทำให้เธอร้อนเงิน สถานการณ์นี้จะสมเหตุสมผลกว่ามาก อย่างไรก็ตาม คำวิจารณ์เรื่องโครงเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงคำวิจารณ์เบื้องต้น เพราะผู้เขียนเขียนไปได้เเค่ 1 ตอน ผู้อ่านจึงยังตัดสินอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ บางทีผู้เขียนอาจมีเหตุผลอื่นที่สมเหตุสมผลยู่เเล้ว บทสนทนา [9/10] : บทสนทนาเป็นธรรมชาติดีค่ะ บ่งบอกความคิดเเละเงื่อนงำในตัวละครได้ดี เเต่มีบางส่วนที่ผิด ควรเเก้ไข ดังนี้ "น้องเมย์ค่า.." ควรใช้เป็น "น้องเมย์คะ..." "พี่มดเป็นอะไรค่า" ควรใช้เป็น "พี่มดเป็นอะไรไปคะ?" "เห้ย!ไอน้อยหน่า แกดุพี่มดทำไมเนี่ย" มาติกาลุกจะเถียงน้อยหน่าที่มาดุมดจนมดร้องไห้หนักกว่าเก่า ประโยคสนทนาเเสดงความเป็นกันเองมาก เเสดงว่านางเอกเเละน้อยหน่าสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว ผู้เขียนควรบรรยายเพิ่มเติมว่าน้อยหน่าเป็นใคร มีความสัมพันธ์อย่างไรกับมาติกา ภาษาสำนวน - การบรรยาย [7/20] : ดังที่ได้กล่าวมาเเล้ว ผู้เขียนควรบรรยายเพิ่มเติม 1. บรรยายความรู้สึกของตัวละคร 2. บรรยายสีหน้าของตัวละคร 3. บรรยายรูปร่างหน้าตาของตัวละคร 4. บรรยายฉาก 5. บรรยายบรรยากาศ ภาษาสำนวนถือว่าดีเเล้ว เเต่ยังมีที่ควรเเก้ไข นั่นคือ ผู้เขียนใช้ประโยคไม่สมบูรณ์ ใช้การเปรียบเทียบที่ไม่สวยงามนัก เช่น 1. "คนที่เซ็นทรัลที่มาชมเธอแน่นขนัด " ใช้คำว่า ที่ ซ้ำกันถึง 2 ครั้ง เเละยังไม่ใช่ประโยคสมบูรณ์ ควรใช้ "ผู้ชมในเซ็นทรัลต่างเเห่เเหนมาชมการเเสดงของเธอจนเเน่นขนัด" 2. "เวลาเธอสั่งงานเธอก็มักจะดุแบบนี้ แต่ตัวจริงๆเธอสดใสและร่าเริง แต่เวลาทำงานเธอจะจริงจังเสมอ" มีคำว่า เเต่ ซ้ำกันถึง 2 ครั้ง ทำให้สะดุด 3."แถมยังไม่พอบางคนยังร้องไห้อีก!! " มีคำว่า ยัง ซ้ำกันถึง 2 ครั้ง 4. "วันนี้เธอแสดงเป็นรอบที่ห้าได้เพราะตั้งแต่เช้าเธอแทบยังไม่มีอะไรลงท้องเลย" ประโยคไม่เป็นเหตุเป็นผลกัน ...เธอเเสดงรอบที่ห้าเพราะยังไม่ได้ทานอะไร? ไม่เกี่ยวกันเลย เว้นเเต่ผู้เขียนจะเขียนว่า "เธอรู้สึกอิดโรยมาก เพราะยังไม่มีอะไรลงถึงท้องเลย" หรือ "เธอเเสดงต่อเนื่องเป็นรอบที่ห้าของวันนี้โดยไม่ได้กินอะไรเลย" - คำผิด คำซ้ำ การหลากคำ [8/10] : มีคำซ้ำมากตามที่ได้กล่าวไปในส่วนบรรยายเเล้ว ไม่พบการหลากคำ เเต่พบคำผิด ซึ่งเกิดจากการพิมผิดเช่น น้ำเอ่อ ควรเป็น น้ำตาเอ่อ เยดาย ควรเป็น เสียดาย ความน่าติดตาม [9/10] : เดิมทีโครงเรื่องนี้ค่อนข้างกระชับเเละเเข็งเเรง เพราะมีจุดหมายปลายทางชัดเจน เเต่การจบบทเเรกยังไม่ดึงดูดพอ เเละดูเหมือนกระชับเกินไปจนผู้อ่านสงสัยว่า เฮ่ย จบเเล้วหรอ อะไรเนี่ย? เเค่เนี๊ยะ? ตัวอย่าง "วันนี้ดูแปลกจัง" มาติกานั่งลงที่เก้าอี้หลังเวทีพลางมองรอบกายแล้วรู้สึกแปลกใจชอบกล เเล้วผู้เขียนก็จบง่ายๆเเบบนี้ เหมือนว่ายังไม่สมบูรณ์ ผู้เขียนไม่ควรจบเเค่นี้ ควรบรรยายเพิ่มเติมอีกสักหน่อยว่า มาติการู้สึกแปลกใจอะไรยังไง เล่าทวนเล็กน้อยว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้น เเล้วจบด้วยประโยคทิ้งท้ายชวนติดตาม ให้ผู้อ่านตั้งคำถาม อย่างไรก็ตามผู้วิจารณ์อ่านไปได้เเค่บทเดียว ซึ่งหากผู้เขียนเขียนเพิ่มเเล้ว จะสามารถขอให้ผู้วิจารณ์กลับมาวิจารณ์อีกครั้งก็ได้ เรื่องของผู้เขียนเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนมาก เเต่มีความน่าติดตาม เเละมีพล็อตที่เเข็งเเรงเป็นทุนเดิมอยู่เเล้ว ปรับเเก้เรื่องการการบรรยายเล็กน้อยก็จะดีเยี่ยม ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ^^ สรุปคะแนน คะแนนรวมเต็มร้อย ได้ 73/100 อ่านน้อยลง
กุหลาบน้ำเงิน ^_^ | 22 ต.ค. 53
10
0
"Secret !! บริษัทรับวิจารณ์บทความ"
(แจ้งลบ)ชื่อบทความ : ภารกิจรักกามเทพ ชื่อนักวิจารณ์ : กุหลาบน้ำเงิน ลิ้งค์หรือแบนเนอร์บทความที่วิจารณ์ : http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=655377 โครงเรื่อง [9/10] : เนื่องจากตอนที่จะให้วิจารณ์มีน้อยมากๆ มีเเค่ 1 ตอนเท่านั้น ฉะนั้นผู้วิจารณ์จะขอวิจารณ์โดยละเอียดเฉพาะตอนที่ 1 โครงเรื่องมีจุดขัดเเย้งชัดเจน คือ "นางเอกต้องเเต่งงาน ... อ่านเพิ่มเติม
ชื่อบทความ : ภารกิจรักกามเทพ ชื่อนักวิจารณ์ : กุหลาบน้ำเงิน ลิ้งค์หรือแบนเนอร์บทความที่วิจารณ์ : http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=655377 โครงเรื่อง [9/10] : เนื่องจากตอนที่จะให้วิจารณ์มีน้อยมากๆ มีเเค่ 1 ตอนเท่านั้น ฉะนั้นผู้วิจารณ์จะขอวิจารณ์โดยละเอียดเฉพาะตอนที่ 1 โครงเรื่องมีจุดขัดเเย้งชัดเจน คือ "นางเอกต้องเเต่งงานกับผู้ชายที่ไม่เคยคุยกับใครเพื่อเเลกกับเงิน" นี่เองที่จะดึงดูดให้ผู้อ่านติดตามเอาใจช่วยตัวละคร แต่โครงเรื่องยังมีจุดอ่อนเรื่องความสมเหตุสมผล ซึ่งผู้วิจารณ์จะบอกในส่วนของความสมเหตุสมผลอีกที ตัวละคร [8/10] : ตัวละครมีจำนวนมากมายเป็นการสร้างสีสันให้แก่เรื่อง ต่างมีบุคลิกชัดเจนผ่านการพูด ท่าทาง การกระทำ เเต่จุดที่ควรปรับคือ 1. ผู้เขียนมีตัวละครมากเกินไป เเละตัวละครเหล่านั้นล้วนมีเพื่อสร้างสีสันเท่านั้น คล้ายกับนักแสดงในละครโทรทัศน์ ในละครโทรทัศน์ต้องมีตัวละครจำนวนมาก เพราะต้องใช้ตัวละครเหล่านั้นยืดเรื่องให้ยาวขึ้น เเละทำให้เรื่องผ่อนคลาย อย่างไรก็ตามนิยายไม่ใช่ละครโทรทัศน์ จึงไม่จำเป็นต้องยืดเวลา ผู้อ่านจะไม่ทนอ่านนิยายที่ยืดยาว เเนะนำให้ผู้เขียนตัดตัวละครที่ไม่จำเป็นออกไป ตัวละครใดที่ไม่มี แต่เรื่องก็ยังสามารถดำเนินไปได้ ก็ขอให้ตัดตัวละครตัวนั้นทิ้งเสีย 2. ผู้เขียนควรบรรยายลักษณะหน้าตา บุคลิกภาพ ของตัวละครเพิ่มขึ้น เพราะถึงเเม้ผู้เขียนจะมีอิมเมจมาให้ชมเเล้ว เเต่ผู้อ่านไม่ได้จำอิมเมจเหล่านั้นทุกตัว เเละเวลาตีพิมพ์ ในหนังสือก็ไม่มีอิมเมจเหล่านั้น นิยายที่ดีคือการที่ผู้เขียนได้โชว์ฝีมือในการบรรยายเเละพรรณารูปร่างหน้าตาของตัวละครจนเห็นภาพ เพียงเเค่การขยับกาย ทำท่าเล็กๆน้อยๆก็บ่งบอกนิสัยของตัวละครได้ เช่น การยักไหล่ การเบ้ปาก การฝืนยิ้ม การถอนหายใจ เป็นต้น ฉาก สถานที่ เวลา [7/10] : ผู้อ่านสามารถเข้าใจว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นทีไ่หน เวลาใด คนจำนวนมากเท่าใด เเต่อยากติงผู้เขียนว่าผู้เขียนบรรยายน้อยเกินไป การขึ้นฉากควรบรรยายว่าใคร ทำอะไร เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ แต่ปรากฏว่าในย่อหน้าเเรก ผู้เขียนกลับไม่เขียนถึงสิ่งเหล่านั้นเลย ตัวอย่าง "เสียงปรบมือดังลั่นฮอลล์แห่งนี้ ผู้ชมบางคนถึงขั้นน้ำตาเอ่อเพราะบางคนเป็นแฟนคลับตัวจริงของมาติกา บางคนก็บ่นว่าเสียดายในความสามารถของเธอ มาติกาโค้งคำนับ พลางยกมือไหว้ขอบคุณด้วยความจริงใจและแปลกใจที่แฟนคลับของเธอหลายๆคนที่ถือป้ายไฟมาเชียร์เธอราวกับเธอจะออกจากบ้านเดอะสตาร์เป็นวีคแรก!" ในย่อหน้านี้ผู้อ่านไม่รู้เลยว่ามาติกาคือใคร? เเสดงอะไร? ผู้เขียนควรอธิบายว่า สถานที่นั้นคือที่ไหน มีลักษณะอย่างไร คับคั่งไปด้วยผู้คนมากมายเพียงไร เเล้วคนเหล่านั้นมาทำอะไร พวกเขามาชมการเเสดงอะไรการเเสดงนั้นเ็ป็นอย่างไร น่าทึ่ง น่าตระการตาเพียงใด เเล้วผู้ชมตอบรับการเเสดงเหล่านั้นอย่างไร... ยกตัวอย่างการเเก้ไข ณ หอการแสดงใหญ่ใจกลางนครหลวงของเมืองไทย เสียงปรบมือดังสนั่นไปทั่วทั้งห้องจัดแสดงครั้งนี้ หลังจากที่ร่างบางในชุดทักซิโด้สีขาวปล่อยฝูงผีเสื้อนับพันให้โผบินออกมาจากหมวกของเธอ ผีเสื้อเหล่านั้นสยายปีกบินตระการตาไปทั่วห้องจัดเเสดง ท่ามกลางเสียงปรบมือที่ดังอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตามด้วยเสียงร้องชื่นชมไม่ขาดสาย มาติกา ... หญิงสาวในชุดทักซิโด้สีขาวโดดเด่นที่สุดในงานครั้งนี้โค้งตัวลงรับเสียงปรบมือนั้น เธอคือนักมายากลผู้มากความสามารถ ทุกครั้งที่ขึ้นเเสดง เธอจะเสกสรรค์เวทมนต์สร้างจินตนาการพร่างพราย จนผู้ชมต้องประทับใจอย่างไม่มีวันลืม แต่ครั้งนี้เเตกต่าง... ระหว่างที่มาติกาก้าวลงจากเวทีท่ามกลางเสียงปรบมือที่ยังไม่สิ้นสุด เธอสังเกตเห็นใบหน้าที่นองน้ำตาของผู้ชมหลายคน เธอสัมผัสได้ถึงความโศกเศร้าที่อัดเเน่นไปทั่วห้องการเเสดงแห่งนี้ ผู้ชมของเธอต่างพร้อมใจส่งเสียงร้องให้กำลังใจเธออย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ได้ยินเสียงบ่นเสียดายในความสามารถของเธอดังมาไม่ขาดสาย... สรุปก็คือ ผู้เขียนควรจะบรรยายให้ชัดเจน มากกว่าการบรรยายตัดตอนอย่างง่ายๆ เเละทุกครั้งที่เปลี่ยนฉาก ก็ควรมีการบรรยายฉากให้มองเห็นอารมณ์ความรู้สึกในฉาก เห็นภาพ เห็นความโศกเศร้า เห็นความยิ่งใหญ่ เห็นความเก่งกาจ อย่างชัดเจน การดำเนินเนื้อเรื่องและมุมมองการเล่าเรื่อง [8/10] : การดำเนินเรื่องยังรวดเร็วไป ไม่มีการตัดเเบ่งฉากที่เเน่ชัด ตัวละครเข้าฉากง่ายๆโดยที่ไม่มีการบรรยายที่มาที่ไปของตัวละคร ผู้เขียนดำเนินเรื่องเหมือนเรื่องย่อละครทีวีที่อยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ที่พยายามย่อประหยัดพื้นที่ เเต่นี่คือนิยาย ซึ่งมิได้เห็นภาพชัดเจนเหมือนละครทีวี นักอ่านไม่ได้รู้มาก่อนว่าตัวละครที่ปรากฏมาเป็นใคร ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องดำเนินเรื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป เเต่ก็ไม่ยืดเยื้อ เเละไม่รวดเร็วเกินไป ควรมีการตัดฉากที่เนียน ยกตัวอย่างเช่น .....หลังจากงานแสดงมายากลของเธอเสร็จลง มาติกาก็รีบเปลี่ยนเสื้อคลุมสีดำที่เธอใส่อยู่ถอดออกแล้วใส่สีส้มแทน "น้องเมย์ค่า.."พี่มดช่างทำผมประจำตัวเธอหันมาจ้องหน้าเธอแล้วน้ำตาไหล "พี่มดเป็นอะไรค่า"มาติการีบเดินเข้าไปหามดทันที .... เท่าที่อ่านดู พบว่าทุกอย่างรวบรัดจนเหมือนอ่านเรื่องย่อละครในหน้าหนังสือพิมพ์ นิยายที่ดีควรมีการบรรยายชัดเจนกว่านี้ ตัวอย่างการเเก้ไข หลังจากการเเสดงของเธอจบสิ้นลง มาติกาเดินกลับเข้ามาที่หลังเวลาพลางยกมือขึ้นปาดเหงื่อบนใบหน้า ทีมงานแต่ละคนต่างทำงานฝ่ายของตนอย่างขมักเขม้น เพราะใกล้ถึงรอบการเเสดงต่อไปเเล้ว ทันทีที่มาถึงห้องเเต่งตัว มาติการีบปลดเสื้อคลุมสีดำออก เเล้วคว้าเสื้อคลุมสีส้มจากราวเเขวนผ้า "น้องเมย์คะ" เสียงที่มาติกาคุ้นเคยดังขึ้นจากด้านหลังของเธอ มาติกาเหลียวหลังไปอย่างประหลาดใจ "พี่มด" พี่มดคือช่างตัดผมประจำตัวของเธอ พี่มดเป็น.....(คนรูปร่างหน้าตาอย่างไร)... วันนี้พี่มดแปลกไปจนมาติการู้สึกไม่่สบายใจ พี่มดเรียกชื่อเเล้วมองหน้าเธอเงียบๆ เหมือนจะพูดอะไรบางอย่าง เเต่ก็ไม่ยอมพูดออกมา เเล้วมาติกาก็ใจหายวาบเมื่อเห็นน้ำตาของพี่มด "พี่มด!" มาติกาอุทานอย่างตกใจ รีบถลาเข้าหาพี่มดทันที "พี่มดเป็นอะไรไปคะ" หญิงสาวถามเสียงสั่นเมื่อเห็นพี่มดยิ่งสะอื้นหนักเข้าไปใหญ่ เกิดอะไรขึ้น? ทำไมพี่มดที่เคยสดใสร่าเริงของเธอจึงดูซึมเศร้าเเละเอาแต่ร้องไห้ถึงขนาดนี้!? สรุปก็คือ ผู้เขียนไม่ควรบรรยายเเค่ว่าใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร เเต่ควรบรรยายให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครด้วย ความสมเหตุสมผล [8/10] : เรื่องจะดูสมเหตุสมผลมาก ถ้าเกิดว่าในบทที่ 1 ตัวละครเอกไม่ไ่ด้เป็นคนมีชื่อเสียงถึงขนาดมีเเฟนคลับมากมายเช่นที่ผู้เขียนบรรยาย เพราะการเป็นนักมายากล ไม่จำเป็นต้องขึ้นตรงกับบริษัทใดๆก็ได้ นักมายากลที่มีความสามารถอย่างมาติกา จะสามาารถหาเงินได้อีกมาก ความสามารถถของเธอ ชื่อเสียงของเํธอ แฟนคลับของเธอ จะทำให้นายทุนจำนวนมากยินดีรับเธอไปร่วมงาน หรือเธอจะสามารถเเสดงมายากลเป็นอาชีพอิสระก็ย่อมได้ นี่จึงไม่น่าเป็นสถานการณ์ที่สมเหตุสมผลพอจะทำให้เธอตกอับจนถึงขั้นต้องยอมเเต่งงานกับผู้ชายเพื่อเเลกกับเงิน เว้นเสียเเต่ว่าผู้เขียนวางเรื่องไว้ว่านางเอกเป็นคนธรรมดา ฐานะไม่ค่อยดีนัก ไฝ่ฝันอยากเป็นนักมายากล เเต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง ขายขี้หน้าตลอด เปิ่นเเละปล่อยไก่ตลอดงาน โดนคนดูโห่ไล่ทุกครั้ง ทำให้บริษัทต้องเลิกจ้าง เธอตกงานซ้ำเเล้วซ้ำเล่า เเต่ก้ไม่ทิ้งความฝัน เธอยังพยายามต่อไป แต่สุดท้ายก็มาเข้าตาจนเมื่อพ่อเเละเเม่ป่วยหนัก ทำให้เธอร้อนเงิน สถานการณ์นี้จะสมเหตุสมผลกว่ามาก อย่างไรก็ตาม คำวิจารณ์เรื่องโครงเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงคำวิจารณ์เบื้องต้น เพราะผู้เขียนเขียนไปได้เเค่ 1 ตอน ผู้อ่านจึงยังตัดสินอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ บางทีผู้เขียนอาจมีเหตุผลอื่นที่สมเหตุสมผลยู่เเล้ว บทสนทนา [9/10] : บทสนทนาเป็นธรรมชาติดีค่ะ บ่งบอกความคิดเเละเงื่อนงำในตัวละครได้ดี เเต่มีบางส่วนที่ผิด ควรเเก้ไข ดังนี้ "น้องเมย์ค่า.." ควรใช้เป็น "น้องเมย์คะ..." "พี่มดเป็นอะไรค่า" ควรใช้เป็น "พี่มดเป็นอะไรไปคะ?" "เห้ย!ไอน้อยหน่า แกดุพี่มดทำไมเนี่ย" มาติกาลุกจะเถียงน้อยหน่าที่มาดุมดจนมดร้องไห้หนักกว่าเก่า ประโยคสนทนาเเสดงความเป็นกันเองมาก เเสดงว่านางเอกเเละน้อยหน่าสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว ผู้เขียนควรบรรยายเพิ่มเติมว่าน้อยหน่าเป็นใคร มีความสัมพันธ์อย่างไรกับมาติกา ภาษาสำนวน - การบรรยาย [7/20] : ดังที่ได้กล่าวมาเเล้ว ผู้เขียนควรบรรยายเพิ่มเติม 1. บรรยายความรู้สึกของตัวละคร 2. บรรยายสีหน้าของตัวละคร 3. บรรยายรูปร่างหน้าตาของตัวละคร 4. บรรยายฉาก 5. บรรยายบรรยากาศ ภาษาสำนวนถือว่าดีเเล้ว เเต่ยังมีที่ควรเเก้ไข นั่นคือ ผู้เขียนใช้ประโยคไม่สมบูรณ์ ใช้การเปรียบเทียบที่ไม่สวยงามนัก เช่น 1. "คนที่เซ็นทรัลที่มาชมเธอแน่นขนัด " ใช้คำว่า ที่ ซ้ำกันถึง 2 ครั้ง เเละยังไม่ใช่ประโยคสมบูรณ์ ควรใช้ "ผู้ชมในเซ็นทรัลต่างเเห่เเหนมาชมการเเสดงของเธอจนเเน่นขนัด" 2. "เวลาเธอสั่งงานเธอก็มักจะดุแบบนี้ แต่ตัวจริงๆเธอสดใสและร่าเริง แต่เวลาทำงานเธอจะจริงจังเสมอ" มีคำว่า เเต่ ซ้ำกันถึง 2 ครั้ง ทำให้สะดุด 3."แถมยังไม่พอบางคนยังร้องไห้อีก!! " มีคำว่า ยัง ซ้ำกันถึง 2 ครั้ง 4. "วันนี้เธอแสดงเป็นรอบที่ห้าได้เพราะตั้งแต่เช้าเธอแทบยังไม่มีอะไรลงท้องเลย" ประโยคไม่เป็นเหตุเป็นผลกัน ...เธอเเสดงรอบที่ห้าเพราะยังไม่ได้ทานอะไร? ไม่เกี่ยวกันเลย เว้นเเต่ผู้เขียนจะเขียนว่า "เธอรู้สึกอิดโรยมาก เพราะยังไม่มีอะไรลงถึงท้องเลย" หรือ "เธอเเสดงต่อเนื่องเป็นรอบที่ห้าของวันนี้โดยไม่ได้กินอะไรเลย" - คำผิด คำซ้ำ การหลากคำ [8/10] : มีคำซ้ำมากตามที่ได้กล่าวไปในส่วนบรรยายเเล้ว ไม่พบการหลากคำ เเต่พบคำผิด ซึ่งเกิดจากการพิมผิดเช่น น้ำเอ่อ ควรเป็น น้ำตาเอ่อ เยดาย ควรเป็น เสียดาย ความน่าติดตาม [9/10] : เดิมทีโครงเรื่องนี้ค่อนข้างกระชับเเละเเข็งเเรง เพราะมีจุดหมายปลายทางชัดเจน เเต่การจบบทเเรกยังไม่ดึงดูดพอ เเละดูเหมือนกระชับเกินไปจนผู้อ่านสงสัยว่า เฮ่ย จบเเล้วหรอ อะไรเนี่ย? เเค่เนี๊ยะ? ตัวอย่าง "วันนี้ดูแปลกจัง" มาติกานั่งลงที่เก้าอี้หลังเวทีพลางมองรอบกายแล้วรู้สึกแปลกใจชอบกล เเล้วผู้เขียนก็จบง่ายๆเเบบนี้ เหมือนว่ายังไม่สมบูรณ์ ผู้เขียนไม่ควรจบเเค่นี้ ควรบรรยายเพิ่มเติมอีกสักหน่อยว่า มาติการู้สึกแปลกใจอะไรยังไง เล่าทวนเล็กน้อยว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้น เเล้วจบด้วยประโยคทิ้งท้ายชวนติดตาม ให้ผู้อ่านตั้งคำถาม อย่างไรก็ตามผู้วิจารณ์อ่านไปได้เเค่บทเดียว ซึ่งหากผู้เขียนเขียนเพิ่มเเล้ว จะสามารถขอให้ผู้วิจารณ์กลับมาวิจารณ์อีกครั้งก็ได้ เรื่องของผู้เขียนเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนมาก เเต่มีความน่าติดตาม เเละมีพล็อตที่เเข็งเเรงเป็นทุนเดิมอยู่เเล้ว ปรับเเก้เรื่องการการบรรยายเล็กน้อยก็จะดีเยี่ยม ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ^^ สรุปคะแนน คะแนนรวมเต็มร้อย ได้ 73/100 อ่านน้อยลง
กุหลาบน้ำเงิน ^_^ | 22 ต.ค. 53
10
0
ความคิดเห็น