คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #12 : -โรลวิชาหลักฐานศึกษา-
ACADEMY CRIMINAL
สถาบันนักล่า(ฆ่า)อาชญากร
วิชาหลักฐานศึกษา
Adam
Professor’s Dying Message
Adam’s talk : ขอต้อนรับสู่คลาสวิชาหลักฐานศึกษา คลาสแห่งการไขคดี ผม อดัม จะมาทำหน้าที่เป็นโปรเฟสเซอร์ในคลาสวันนี้
การให้คะแนนวิชาหลักฐานศึกษา
- Role Play 10 คะแนน
- การบ้าน 40 คะแนน
- สอบปลายภาค 50 คะแนน
รวม 100 คะแนน
งานของผมไม่มีอะไรมาก ไม่ยาก ไม่ง่าย ใช้ความรู้และสมองเพียงเล็กน้อยก็ส่งงานผมได้แล้วล่ะ
(เวนดี้) : มองมิสเตอร์อดัมนิ่ง //พยักหน้ารับ
ก่อนที่เราจะเริ่มคลาส ผมอยากให้คุณช่วยแนะนำตัวสักหน่อยว่าชื่ออะไรมาจากโดมไหน และชอบอะไรไม่ชอบอะไร
(เวนดี้) : คะ ชื่อนริศราวรรณ วรรณนรักษา อยู่โดมคาร์เนเลี่ยนคะ ส่วนเรื่องที่ชอบอะไรไม่ชอบอะไรนั้น ก็มีเยอะคะ
และต่อไปนี้คือบทเรียนทั้งหมดในครั้งนี้
LESSON#6 : ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน
ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน
1. ความหมายของพยานหลักฐาน
คำว่า “พยานหลักฐาน” นั้น ความหมายโดยทั่วไปหมายถึง “สิ่งที่แสดงถึงข้อเท็จจริงใดข้อเท็จจริงหนึ่ง” เช่น นายแดงเห็นนายดำและนายขาวโต้เถียงทะเลาะกัน สุดท้ายนายดำทำร้ายนายขาว สิ่งที่นายแดงรู้เห็นยืนยันถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น สิ่งที่นายแดงเห็นจึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
แต่ความหมายของพยานหลักฐานโดยทั่วไป อาจต่างจากพยานหลักฐานตามความหมายของกฎหมายก็ได้ ศาสตราจารย์โสภณ รัตนากร ให้ความหมาย “พยานหลักฐาน” ในความหมายอย่างกว้างและความหมายอย่างแคบไว้ดังนี้
1.1 สิ่งที่สามารถให้ข้อเท็จจริงแก่ศาล ความหมายนี้หมายถึงข้อเท็จจริงทุก ๆ อย่างที่อาจพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อศาลได้
1.2 พยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ ความหมายนี้หมายถึง เฉพาะพยานหลักฐานที่คู่ความนำเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีเท่านั้น
1.3 พยานหลักฐานที่ศาลยอมรับ ความหมายนี้หมายถึง เฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลยอมรับหรือยอมให้นำสืบได้เท่านั้น
จะเห็นว่า “พยานหลักฐาน” ตามความเข้าใจโดยสามัญทั่วไปนั้น อาจไม่ใช่พยานหลักฐานตามความหมายของกฎหมาย เพราะแม้เป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันถึงสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่หากไม่เป็นพยานหลักฐานในประเด็นหรือที่เกี่ยวข้องกับประเด็นในคดี ก็ ไม่เป็นพยานหลักฐานตามความหมายของกฎหมาย และแม้จะเป็นพยานหลักฐานในประเด็น หรือที่เกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก็ตาม แต่หากเป็นพยานหลักฐานที่ศาลไม่ยอมรับให้นำสืบเข้ามาในคดี ก็ไม่เป็นพยานหลักฐานตามความหมายของกฎหมายเช่นกัน
บทบัญญัติและหลักเกณฑ์ของกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จะเป็นสิ่งแยกแยะให้รู้ว่าพยานหลักฐานชนิดใด อย่างไร จึงจะเป็นพยานหลักฐานตามความหมายของกฎหมาย
2.ประเภทของพยานหลักฐาน
การแบ่งแยกพยานหลักฐานออกเป็นประเภทต่าง ๆ นั้นแบ่งได้หลายวิธีตามลักษณะ ชนิด หรือคุณภาพของพยานหลักฐานนั้น ๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะพิจารณาพยานหลักฐานในแง่มุมใด เท่าที่รวบรวมได้มีการแบ่งประเภทของพยานหลักฐานเป็นดังนี้
2.1พยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานวัตถุ
การแบ่งวิธีนี้มุ่งที่สภาพของพยานหลักฐานและเป็นวิธีแบ่งที่ยอมรับกันทั่วไป แม้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ก็บัญญัติถึงพยานทั้งสามชนิดนี้อย่างชัดแจ้ง
1. พยานบุคคล คือ พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากคำเบิกความของบุคคลต่อศาล จะเห็นว่าผู้ที่มาเบิกความเป็นพยานเรียกว่า พยาน (Witness) แต่ตัวบุคคลไม่ใช่พยานหลักฐาน ถ้อยคำหรือข้อเท็จจริงที่บุคคลผู้นั้นเบิกความต่อศาลต่างหากที่เป็นพยานหลัก ฐาน แม้ศาลจะได้บันทึกคำเบิกความไว้ในเอกสารก็ยังคงเรียกว่าเป็น “พยานบุคคล” แต่หากนำเอกสารที่บันทึกถ้อยำพยานนั้นไปใช้ในคดีเรื่องอื่น พยานหลักฐานนั้นก็จะเรียกว่า “พยานเอกสาร”
อาจกล่าวได้ว่าพยานบุคคลเป็นพยานที่สำคัญที่สุดโดยเฉพาะในคดีอาญา และแม้ในคดีแพ่งที่ใช้เอกสารเป็นพยานมากก็ตาม ก็ต้องอาศัยพยานบุคคลเบิกความเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเอกสารนั้น
2. พยานเอกสาร คือ ข้อความที่บันทึกไว้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะบันทึกในวัสดุใดที่สามารถสื่อ หรือแสดงความหมายของสิ่งที่บันทึกไว้ให้ศาลเข้าใจได้ ข้อความนั้นจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย สัญลักษณ์ จะเกิดขึ้นด้วยการเขียน พิมพ์ แกะสลัก และจะทำลงบนกระดาษ ผ้า ผนัง ก้อนหัน ไม้ โลหะก็ได้ทั้งสิ้น ขอเพียงแต่เสนอพยานนั้นเพื่อสื่อความหมายที่บันทึกอยู่ในพยานชิ้นนั้น บางครั้งจึงสับสนระหว่างพยานเอกสารกับพยานวัตถุ เช่น นำสืบว่าข้อความที่สลักลงบนก้อนหินมีความหมายอย่างไร เป็นการนำสืบข้อความในก้อนหินในฐานะเป็นพยานเอกสาร แต่ถ้านำสืบว่าได้มีการสลักข้อความไว้ที่ก้อนหินหรือไม่ เป็นการนำสืบก้อนหินที่มีข้อความในฐานนะเป็นพยานวัตถุ
3. พยานวัตถุ คือ สิ่งใด ๆ ที่เสนอต่อศาลเพื่อให้ศาลตรวจดู มิใช่การอ่านหรือพิจารณาข้อความในวัสดุนั้น เช่น นำสืบมีดที่คนร้ายใช้แทงผู้ตายว่ามีความกว้างยาวเท่าใด นำสืบบาดแผลบนตัวผู้เสียหายว่าเป็นกรณีเสียโฉมหรือไม่
3.พยานชั้นหนึ่ง และพยานชั้นสอง
การแบ่งวิธีนี้มุ่งที่ความใกล้ชิดของพยานกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น คำว่า “พยานชั้นหนึ่งและพยานชั้นสอง” นั้น ไม่ปรากฏในกฎหมายไทย การแบ่งแบบนี้มาจากหลักกฎหมายพยานของอังกฤษที่ว่า “ศาลจะรับฟังแต่เฉพาะพยานหลักฐานที่ดีที่สุดเท่านั้น (The best evidence rule)” หากมีพยานหลักฐานใดที่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงในคดีได้โดยตรง ย่อมมีน้ำหนักและความน่าเชื่อถือมากกว่าพยานอื่น เช่น คดีมีประเด็นว่า “มีการทำสัญญาพิพาทหรือไม่” ผู้ที่เป็นพยานในสัญญาย่อมยืนยันข้อเท็จจริงได้ดีที่สุดเพราะรู้เห็นการทำสัญญาและได้ลงชื่อเป็นพยานไว้ หากจะนำบุคคลอื่นที่จะลายมือชื่อคู่สัญญาได้มาสืบ ย่อมมีน้ำหนักและความน่าเชื่อถือน้อยกว่า
หลักพยานที่ดีที่สุด (Best Evidence Rule) เป็นหลักที่แพร่หลายในประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณ ค.ศ. 1700 Gillbert นักกฎหมายอังกฤษอธิบายหลักนี้ว่า “เป็นหลักของกฎหมายที่ต้องการให้พิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานที่ดีที่สุดในเรื่องนั้น ๆ หากอยู่ในวิสัยที่จะนำพยานหลักฐานที่ดีที่สุดมาได้แต่มานำมา ย่อมก่อให้เกิดข้อสงสัยได้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่คู่ความฝ่ายนั้นต้องการปกปิดไว้” ดังนั้นคู่ความจึงต้องเสนอพยานหลักฐานที่ดีที่สุด หากนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาไม่ได้ก็ต้องนำพยานที่ดีที่สุดในลำดับถัดไปมาเสนอต่อศาล เช่น คู่ฉบับเอกสารย่อมเป็นพยานที่ดีกว่าสำเนาเอกสารและสำเนาเอกสารย่อมเป็นพยานที่ดีกว่าพยานบุคคล (Villers V. Villers, 1740) แต่ประมาณปี ค.ศ. 1800 นักกฎหมายว่าหลักนี้ทำให้การพิสูจนข้อเท็จจริงลำบาก เพราะบางครั้งหาพยานชั้นหนึ่งไม่ได้หรือหาได้ยากมาก จึงเริ่มยอมรับฟังพยานชั้นสองได้ แต่การไม่ยอมนำพยานชั้นหนึ่งมาสืบจะทำให้ความน่าเชื่อถือของพยานชั้นสองลดลง หลักกฎหมายพยานข้อนี้ในปัจจุบันไม่ค่อยกล่าวอ้างกันมากนักเนื่องจากมีหลักอื่นที่พัฒนาต่อมามีขอบเขตกว่างกว่า
1. พยานชั้นหนึ่ง (Primary Evidence) หมายถึง พยานที่ดีที่สุดที่พึงมีสำหรับข้อเท็จจริงนั้น ๆ เช่น เป็นคู่สัญญาหรือพยานที่ลงชื่อในสัญญา กรณีพยานเอกสารก็คือต้นฉบับเอกสาร หรือกรณีพยานวัตถุก็คือตัววัตถุพยาน
2 .พยานชั้นสอง (Second Evidence) หมายถึง พยานอื่นที่มีพยานที่ดีที่สุด เช่นนำสืบสำเนาเอกสารแทนที่จะนำสืบต้นฉบับ หรือนำสืบบุคคลที่จำลายมือชื่อของผู้ที่ลงชื่อในสัญญาแทนที่จะนำสืบพยานที่ เห็นการลงชื่อในสัญญา
กฎหมายลักษณะพยานของไทยยอมรับหลักเรื่องพยานที่ดีที่สุดเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการกำหนดให้ต้องอ้างต้นฉบับเอกสาร (ป.ว.พ. มาตรา 93) พยานบุคคลที่มาเบิกความต้องรู้เห็นเหตุการณ์มาด้วยตนเองโดยตรง (ป.ว.พ.มาตรา95)
4.ประจักษ์พยาน และพยานบอกเล่า
การแบ่งพยานด้วยวิธีนี้ มุ่งที่คุณสมบัติของพยานว่า ได้รับรู้ข้อเท็จจริงที่เบิกความต่อศาลมาด้วยวิธีการใด
1. ประจักษ์พยาน หมายถึง พยานที่ได้รู้เห็นหรือสัมผัสกับเหตุการณ์ที่มาเบิกความด้วยตนเองโดยตรง ทั้งนี้ไม่ว่าจะรู้เห็นมาด้วยประสาทสัมผัสใด เช่น เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง ได้ยินเสียงด้วยหูของตนเอง สัมผัสความร้อนเย็นด้วยตนเอง
2. พยานบอกเล่า หมายถึง พยานที่เบิกความถึงข้อเท็จจริงตามที่ได้รับการบอกเล่ามาจากบุคคลอื่น เช่น เบิกความว่านายแดงเล่าให้ฟังว่าเห็นนายดำแทงนายขาว อย่างไรก็ตามการเบิกความถึงสิ่งที่ได้รับฟังมาอาจไม่เป็นพยานบอกเล่าเสมอไป หากเบิกความเป็นความจริง เช่น พนักงานสอบสวนเบิกความว่า นายดำรับสารภาพโดยสมัครใจต่อพนักงานสอบสวน เป็นข้อเท็จจริงที่พนักงานสอบสวนรับรู้มาด้วยตนเองโดยตรงจึงเป็นประจักษ์พยาน แต่ข้อเท็จจริงที่พนักงานสอบสวนเบิกความว่า นายดำเป็นผู้แทงนายขาวเป็นข้อเท็จจริงที่พนักงานสอบสวนไม่ได้รู้เห็นเอง แต่รับฟังมาจากคำบอกเล่าของนายดำจึงเป็นพยานบอกเล่า เดิมพยานบอกเล่าหมายถึง พยานบุคคลเท่านั้น เพราะเป็นผู้รับฟังการบอกเล่ามาจากผู้อื่น แต่ปัจจุบันหมายความรวมถึงบันทึกถ้อยคำของบุคคลที่ไม่ได้มาเบิกความต่อศาลด้วยตนเองด้วย คำเบิกความที่พยานบุคคลได้เบิกความและศาลได้บันทึกไว้ในคดีหนึ่ง หากนำไปอ้างอิงในอีกคดีหนึ่งเป็นการอ้างพยานเอกสารที่เป็นพยานบอกเล่า
5.พยานโดยตรง และพยานแวดล้อมกรณี
การแบ่งวิธีนี้มุ่งที่ลักษณะการให้ข้อเท็จจริงของพยานนั้น
1. พยานโดยตรง (Direct Evidence) คือ พยานที่ให้ข้อเท็จจริงซึ่งบ่งชี้หรือยืนยัน
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้โดยตรง เช่น นายแดงเบิกความว่าอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุและเห็นนายดำแทงนายขาว ข้อที่นายแดงเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงในคดีได้ทันทีว่านายดำแทงนายขาว
2. พยานแวดล้อมกรณี (Circumstantial Evidence) คือ พยานที่เบิกความข้อเท็จจริง
ที่ต้องพิจารณาใช้ความเป็นเหตุเป็นผลของเหตุการณ์ จึงอนุมานได้ว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร เช่น นายแดงเบิกความว่าตนยืนอยู่นอกบ้านที่เกิดเหตุได้ยินเสียงต่อสู้กัน และเห็นนายดำวิ่งออกมาจากบ้านที่เกิดเหตุพร้อมมีดเปื้อนเลือดเล่มหนึ่ง ข้อที่นายแดงเบิกความไม่ได้ยืนยันในทันทีว่าใคร แทงนายขาว แต่จากข้อเท็จจริงอนุมานได้ว่านายดำเป็นผู้แทงนายขาว พยานแวดล้อมกรณีนี้นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า “พยานประพฤติเหตุแวดล้อมกรณี” บางท่านเรียกว่า “พยานเหตุผล”
การบ้านวิชาฆาตกรศึกษา
คำสั่ง : ให้ Criminors ทุกคนไขคดีต่อไปนี้
ในชุดไพ่ 4 ชุด ประกอบด้วย ไพ่อัศวิน/ไพ่ราชา/ไพ่พระจันทร์/ไพ่ตัวตลก ให้จัดวางตำแหน่งที่ถูกต้องโดมอาศัยข้อความต่อไปนี้
ข้อความที่ 1# ฉันยืนมองดวงจันทร์ที่อยู่เหนือหัว มันเริ่มสูงขึ้นในเวลาเที่ยงคืนของวันนี้ ดวงดาวรายล้อมเป็นหมู่ดาวสดใส ฉันยังคงยืนมองมันอยู่เช่นนั้นจนกระทุ่งรุ่งอรุณดิ์ของวันใหม่
ข้อความที่ 2# ยืนแต่งตัวอยู่หน้ากระจก หน้าต่างห้องมองเห็นพระอาทิตย์กำลังจะขึ้นขอบฟ้า ... อ่าฮะ ... ตัวฉันนี่ดูดี ๆ ก็หล่อเหมือนกันนะ ถ้าเติมแป้งอีกหน่อย ฉันคงต้องหล่อสู้คนอื่น ๆได้เลย
ข้อความที่ 3# ตัวเราหลบอยู่ใต้ต้นไม้ มองดูผู้คนมากมายที่กำลังจะโบยบินขึ้นฟ้า ถ้าบนสวรรค์มีจริง ฉันอยากจะเกิดเป็นแบบนี้ ... ขอดูพระอาทิตย์สีม่วงอมส้มตรงหน้าสักครั้ง
เงื่อนไข
- จัดวางตำแหน่งตามข้อความที่กำหนด
- คะแนนที่ได้ขึ้นอยู่กับเนื้องานของแต่ละคน
- กำหนดส่งวันที่ 4 – 9 พฤษภาคม เวลา 00.00 น.
- ส่งงานที่ห้องพักของอาจารย์อดัมเท่านั้น
ค่าตอบแทนเมื่อทำงานสำเร็จ
- Tact Skill +20
- Body Skill + 15
- Note Skill + 20
- Decision Skill +20
- Life +10
- คะแนนงานที่ได้ (ได้ไม่เท่ากัน)
เมื่อทำงานไม่สำเร็จ!
- Life-20
- โดนขึ้นป้ายรายงานที่หน้ากระดานคะแนน (เกิน 3 ครั้ง ตาย!)
O W E N TM.
ความคิดเห็น