ตอนที่ 8 : [How to]การจัดทำหน้าปก
[How to]การจัดทำหน้าปก
หนังสือที่เราเห็นอยู่ในตลาดนั้นจะเห็นว่ามีอยู่หลากหลายขนาด แต่ขนาดที่เป็นมาตรฐานก็คือ ขนาด A5 หรือ 14.8x21 เซนติเมตร แต่ขนาดจริงๆ นั้นอาจจะมีขนาดเล็กกว่า A5 เล็กน้อย เพราะเกิดจากการตัดตก (ถ้าอยากให้มีขนาดเท่ากับ A5 ก็ต้องบวกเพิ่มเผื่อระยะตัดตกไป)
การตัดตกและระยะตัดตกคืออะไร?
ผมจะขออธิบายง่ายๆ ว่า ในวงการพิมพ์นั้นหมายถึง การเว้นขอบชิ้นงานส่วนหนึ่งสำหรับการเจียนหรือตัดให้ขาดโดยเครื่องตัดกระดาษ เวลาพิมพ์งานตัวงานจะพิมพ์ใส่กระดาษขนาดใหญ่กว่าตัวงานประมาณหนึ่งมาเรียงตัวต่อกันเป็นชั้นๆ แล้วเข้าเครื่องตัด ใบมีดของเครื่องตัดกระดาษจะเจียนตามไซส์ที่เรากำหนดไว้ และมีโอกาสเล็กน้อยที่กระดาษจะเรียงไม่ตรงกัน ซึ่งจุดนี้นี่เองที่จะทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำของกระดาษที่มีสีพื้นกระดาษที่เป็นสีขาวเหลื่อมล้ำเข้ามาในเนื้องานของเรา เป็นผลทำให้ตัวงานมีบางส่วนถูกตัดแหว่ง หรือเกิดขอบขาวติดเข้ามาในเนื้องานดูไม่สวยงาม
ดังนั้นเราจึงมักเว้นระยะขอบไว้เผื่อเพิ่มด้านละประมาณ 3 มิลลิเมตร
ต้องขอบอกไว้ก่อนเลยว่า การจัดทำหน้าปกของผมนั้น จะตั้งค่าขนาดเท่ากับ A5 เป๊ะๆ ดังนั้นเมื่อพิมพ์ออกมาจึงจะมีขนาดเล็กกว่า A5 เล็กน้อย ซึ่งเกิดจากการตัดตกนั่นเอง
ขั้นตอนการทำปก
1. เปิดโปรแกรม Adobe Photoshop จะเวอร์ชั่นไหนก็ได้ แต่ผมแนะนำให้ไม่ต่ำกกว่า CS3
2. กด New >> ตั้งขนาดของ Page
ปกติขนาดของหน้าปกก็จะมีขนาดประมาณกระดาษ A4 แนวนอน หรือก็คือขนาด 210x297 มม. ทีนี้เราจะต้องบวกความกว้างของสันเข้าไปด้วยอีก ซึ่งในที่นี้ผมจะใส่เข้าไป 2 ซม. ขนาดของสันสามารถประมาณได้จากตารางข้างล่างนี้
นอกจากนี้ค่า Resolution หรือความละเอียดให้ตั้งไว้ที่ 300 pixel/inch ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานต่ำสุดของกราฟฟิกปก สูงกว่านี้อาจทำให้คอมค้างได้ แต่ถ้าต่ำกว่าก็อาจจะทำให้ภาพแตก
ดังนั้นขนาดเพจที่ผมตั้งจะอยู่ที่ 317x210 มม.
ปล.ถ้าใครอยากเว้นขอบสำหรับการตัดตก ก็ให้เว้นออกไปด้านละ 2 มม. ครับ
3. แบ่งหน้ากระดาษด้วยทำเส้นกริดขึ้นมา (กด Ctrl+R ก่อนเพื่อเรียกแถบระยะขึ้นมา ก่อนจะลากเส้นสีฟ้าด้วยการคลิกที่แถบแนวตั้ง ลากมาที่ระยะ 147 มม. และ 167 มม. (ระยะที่สองขึ้นอยู่กับว่าเราใส่ความหนาสันไปเท่าไหร่ 147 มม.+ความหนาสัน)
4. หลังจากนั้นก็จัดการทำอาร์ตเวิร์คลงไปตามพื้นที่ต่างๆ ที่ได้แบ่งเอาไว้ แต่!!! เราต้องไม่ลืมว่ากำลังทำงานอยู่บนหน้ากระดาษที่มีความละเอียดมากๆ มากกว่า 2000 pixel ดังนั้น ถ้าจะนำรูปมาจากในอินเทอร์เน็ตก็ต้องดูความละเอียดดีๆ ด้วย หรือถ้าจะวาดรูปลงก็ต้องตั้งค่าความละเอียดดีๆ
ปล. แนะนำว่าถ้าเป็นภาพวาด ควรตั้งหน้ากระดาษแบบนี้ขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เมื่อวาดภาพเสร็จแล้ว ค่อยเซฟแล้วลากมาลงไฟล์หน้าปก
การจัดทำหน้าปกเองนั้น ผู้ทำควรมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการใช้งาน Photoshop ในระดับหนึ่ง จะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น และหน้าปกจะสวยหรือไม่ ก็อยู่ที่ความสามารถในการจัดองค์ประกอบ หรือศิลป์แล้วล่ะครับ
เมื่อเราจัดหน้าจัดปกต่างๆ นานาเสร็จแล้ว ก็จะออกมาประมาณนี้ครับ
ภาพที่ผมเอามาเป็นตัวอย่างนั้นคือ หน้าปกปิแอร์ฯ เล่มแรก จะเห็นได้ว่ามีการจัดเพจอย่างง่ายๆ ครับ จะเห็นว่าผมมีการทำเส้นกริดบอกระยะตัดตกเพิ่มเติมด้วย เวลาทำปกจะทำให้เรารู้ว่าควรวางรูปที่ระยะประมาณไหน
นอกจากนี้ผมยังเว้นขอบออกมาจากสันอีกด้วย เพราะหนังสือเข้าเล่มแบบไสกาวนั้นจะมีรอยเย็บเล่มบริเวณใกล้ๆ ขอบอยู่ (ลองหยิบหนังสือสักเล่มขึ้นมาดูบริเวณด้านซ้ายของปกหน้า และด้านขวาของปกหลัง จะเห็นรอยเย็บยาวๆ อยู่)
บางคนอาจจะถามว่า ในปกเนี่ยควรใส่อะไรลงไปบ้าง ผมก็พอจะสังเขปให้ได้ดังนี้
ปกหน้า:
ชื่อเรื่อง (รวมถึงภาค ตอน เล่มที่) ชื่อผู้เขียน บางครั้งเราอาจจะใส่คำโฆษณาอะไรลงไปก็ได้ ถ้ามีรางวัลหรือสถิติอะไรที่พอจะอวดเบ่ง เช่น “การันตรีจาก...” “ผลงานเรื่องใหม่ของ...” เป็นต้น บางคนก็อาจจะเอาคำโปรยสั้นๆ หรูๆ ใส่ลงไป
ปกหลัง:
หลักๆ ก็คือ “คำโปรย” คำโปรยที่ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจสามารถรับรู้ได้ว่าเรื่องของเรานั้นเกี่ยวกับอะไร แนวไหน อย่าพยายามใส่ถ้อยคำที่ดูชวนงง มีปริศนามากมาย จนคนอ่านไม่รู้ว่าหนังสือเราเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้ก็อย่าให้ยาวหรือสั้นจนเกินไป ให้ดูกระชับ กินพื้นที่ไม่เกินกว่าครึ่งปกเป็นดีครับ
ต่อมาบริเวณด้านล่างของปกหลังก็มักจะใส่ ราคา เลขที่ ISBN ลงไป (ถ้าได้ขอไว้ ก็ควรจะใส่)
สันปก:
อย่างแรกคือชื่อเรื่อง (อาจจะมีการบอกว่านี่เป็นเล่มที่เท่าไหร่ สำหรับเรื่องที่มีมากกว่า 1 เล่มจบ) ต่อมาก็ชื่อผู้เขียน ถ้ามีสำนักพิมพ์หรือตราอะไรที่อยากใส่ก็ใส่ไปบริเวณด้านบนไม่ก็ด้านล่างของสัน
ปกปิแอร์ฯ เล่มแรก
สุดท้าย ผมก็ไม่สามารถแนะนำได้ว่า จัดหน้าปกอย่างไรให้สวย ให้น่าสนใจ ก็ขึ้นกับฝีมือแต่ละคน หรือถ้าคิดว่าตัวเองไม่มีฝีมือด้านนี้เลย การจ้างนักวาดก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง แต่ว่าเราเป็นนักเขียนอินดี้ นั่นหมายความว่าเราจะต้องมีค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มขึ้นด้วย และต้นทุนของหนังสือก็จะสูงขึ้น
นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ

42 ความคิดเห็น
-
#40 kimmy4981 (จากตอนที่ 8)วันที่ 31 มกราคม 2561 / 18:10บาร์โค้ดทำไงดีคะ#400
-
#36 ดีราวดี (จากตอนที่ 8)วันที่ 23 ตุลาคม 2559 / 08:14ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ นิสนึงอย่าว่ากันนะคะ คือเส้นสีฟ้าเรียกไกด์สี เส้นกริดจะเป็นช่องตารางเล็กๆ เต็มกระดาษ จบเอกคอมค้ะ#361
-
#36-1 peecee(จากตอนที่ 8)26 ตุลาคม 2559 / 10:42ขอบคุณครับ#36-1
-
-
#26 I'm lolicon (จากตอนที่ 8)วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 / 23:43ขอบคุณค่ะ ♥ ^^#260
-
#24 CiaoVita (จากตอนที่ 8)วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 / 10:50ขอบคุณมากค่าาาาา ( • 7 • )#240
-
#16 แคริบเบียน (จากตอนที่ 8)วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 / 20:07เซฟสกุลอะไรค่ะ#160