ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตามเบ็คแฮมมาเรียนอังกฤษ

    ลำดับตอนที่ #17 : 12 th step: การสอบครั้งสุดท้ายในชีวิต…และการเตรียมพร้อมทำ Dissertation

    • อัปเดตล่าสุด 5 มิ.ย. 56


              ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง 21 May 2013 เป็นวันสอบวันสุดท้ายในชีวิตของเราแล้ว เรารู้สึกโล่งใจมาก เพราะขาข้างนึงได้ก้าวไปสู่คำว่า สำเร็จการศึกษา และกำลังจะได้Master degree มาครอบครอง ถึงแม้ว่าขาอีกข้างยังยืนอยู่ในวงกลมเรียกว่า Dissertation ก็ตาม หลังจากสอบเสร็จเราก็ตาลีตาเหลือก กลับมาจัดกระเป๋าเตรียมไปท่องยุโรป เนื่องจากคณะเราสอบเสร็จก่อนคณะอื่น เลยมีเวลาหยุดประมาณ 9 วัน ก่อนที่จะต้องเริ่มหาอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อทำ Dissertation

              หลายคนอาจสงสัยว่า Dissertation ที่พูดๆกันมันคืออะไร เราก็เป็นเด็กคนหนึ่งที่เกิดมาก็ไม่เคยได้ยินคำนี้ ได้ยินแต่คำว่า Thesis หรือ วิทยานิพนธ์ จนมาเรียนป.โท ที่อังกฤษ ก็เลยรู้ว่า มันก็คือ วิทยานิพนธ์ดีๆนี่เอง แต่ที่อังกฤษเค้าเรียกกันว่า Dissertation

              การเรียน ป.โท ที่อังกฤษ นั้นจะแบ่งเป็น 2 เทอมใหญ่ กับอีก 1 เทอมสำหรับทำ Dissertation ซึ่งนอกจากการสอบเก็บคะแนน ใน2 เทอมใหญ่แล้ว การจะเรียนจบหรือไม่จบนั้น จะต้องดูที่การทำDisser ด้วย ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน สำหรับมหาลัยเรานั้น ให้เวลาทำ Disser ประมาณ 3 เดือน เริ่มทำกันตั้งแต่ ต้น มิถุนา จบที่ ต้น กันยา

              ระหว่างการทำDisser อาจารย์จะไม่อนุญาติให้ไปเที่ยวหรือกลับบ้าน ( ก็มันเป็น Self-study ทำให้หลายคนจะเนียน หายแว๊บไปจากมหาลัย ไปโผล่อีกทีก็ที่บ้านเกิดแล้ว ^^) แต่หากหัวข้อDisser ที่เลือกทำ เกี่ยวข้องกับประเทศบ้านเกิด และมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องมาเก็บข้อมูลที่นี่ อาจารย์ก็จะอนุญาติเป็นรายๆไป ( ใครอยากกลับบ้าน ก็สามารถเลือกแนวทางนี้ได้ชี้โพรงกันสุดๆ อิอิ )

              เนื่องจากเราเรียนใน Business school เด็กค่อนข้างเยอะ ดังนั้นเพื่อลดความยุ่งยาก และประเด็นที่ว่าแฟร์ไม่แฟร์ที่อาจเกิดขึ้น เด็กๆเลยไม่มีโอกาสเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา Disser เอง อันนี้เราแอบเห็นด้วย แต่ไม่ใช่เหตุผลเพราะว่าเด็กเยอะแล้ว แลดูวุ่นวายหรอกนะ แต่เป็นเพราะว่าอาจารย์ที่ป๊อปๆ ใจดี มีไม่กี่คนในคณะ ถ้าให้เลือกกันเอง อาจารย์เหล่านั้นรับไม่ไหวแน่

              ไม่เฉพาะแต่เด็กๆ อาจารย์เองก็ไม่มีสิทธิ์เลือกเหมือนกันค่ะ คนที่จะทำหน้าที่จับคู่ระหว่างอาจารย์กับนักเรียน คือ เจ้าหน้าที่คนกลางที่รับผิดชอบคอร์สป.โท โดยตอนแรก จะให้อาจารย์เขียน Area ที่อาจารย์สนใจมาก่อน จากนั้นก็ให้เด็กเขียน Proposal ในหัวข้อที่อยากทำ ส่งมา จากนั้นทางเจ้าหน้าที่กับอาจารย์ที่เป็นคนกลาง จะเป็นคนดูความเหมาะสม และจับคู่ให้เอง ดังนั้นช่วงระหว่างรอผล เรากับเพื่อนๆก็ลุ้นกันสุดๆ

              คณะเรามีอาจารย์คนนึงมาจากสวีเดน เป็นหนุ่มบุคลิกดี ดูดี ใจดี ไม่หล่อมาก( แต่ทั้งคณะเราคนนี้หล่อสุดละ) อาจารย์คนนี้แกป๊อปมากโดยเฉพาะในหมู่นักศึกษาสาวๆ และแกก็เหมือนจะรู้ เพราะแกชอบทำท่าเก๊กเวลาเดินผ่านกลุ่มสาวๆเหล่านั้น แต่อาจารย์คนนี้เป็นคนที่ใจดีมาก เป็นกันเองเวลาสอน ( ตอนพักเบรค ชอบหยิบแอปเปิ้ลสีเขียวมากินตอนหลังเลยเป็นอีกฉายาในหมู่นักเรียนว่า อาจารย์แอปเปิ้ลเขียว^_^) และถ้าหากมีปัญหาสงสัยอะไร สามารถไปหาแกที่ห้องพักได้ โดยไม่ต้องนัดล่วงหน้าเหมือนอาจารย์ท่านอื่น อาจารย์ท่านนี้Popular มานาน รุ่นพี่ปีที่แล้วเล่าให้ฟังว่า มีเด็กนักเรียนคนนึงนั่งหน้าสุดเวลาที่อาจารย์แกสอน และชอบทำปากกาหล่นทุกครั้ง และอาจารย์ก็เก็บให้ทุกครั้ง ส่วนรุ่นเรา ตอนปาตี้ของคณะ อาจารย์เป็นคนที่โดนขอถ่ายรูปคู่มากที่สุด

              อาจารย์อีกท่านที่ป๊อปไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในหมู่สาวไทยหัวใจหลั่นล้า 555 คนนี้มาจากกรีซค่ะ อาจารย์แกชอบทำหน้าตาเครืงขรึม แลดูซีเรียสตลอดเวลา โดยเฉพาะในห้อง Lecture ตอนแรกพวกเราก็กลัวกัน แต่พอได้มาคุยกันจริงๆแล้ว จะพบว่าอาจารย์น่ารักมากค่ะ ให้คำปรึกษาดี และไม่ดุเลย

              อีกหนึ่งอาจารย์ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ อาจารย์ท่านนี้มาจากศรีลังกาค่ะ และชอบประเทศไทยมาก เลยลามมาถึงนักเรียนไทยด้วย คือ เป็นที่รู้กันเลยว่า ถ้าเป็นนักเรียนไทยไปขอคำปรึกษา หรือขอความช่วยเหลือ อาจารย์ท่านนี้ยินดีช่วยเต็มที่เลยค่ะ  

              โดยรวมแล้ว เราค่อนข้างประทับใจในตัวอาจารย์ของที่นี่มากๆเลยค่ะ แทบทุกคนตั้งใจสอน, เปิดกว้าง รับความคิดของนักศึกษา ไม่มีตีกรอบความคิดว่า ต้องเชื่อตามอาจารย์เท่านั้น , อาจารย์ชอบสอนให้รู้วิธีจับปลา มากกว่าที่จะจับปลามาให้เลย ทำให้การเรียนที่นี่ ต้องขวนขวายด้วยตัวเองเยอะ ต้องคิดวิเคราะห์เยอะๆ ตัวอาจารย์เองจะเป็นเพียงที่ปรึกษา ซึ่งแทบทุกท่าน เต็มใจที่จะให้คำปรึกษา และมีเวลาสำหรับนักเรียนเสมอค่ะ

    ปล. วันนี้ผลอาจารย์ที่ปรึกษา Disser ออกมาแล้วค่ะ เราดีใจมากๆเพราะได้อาจารย์แอปเปิ้ลเขียวสุดหล่อ 555 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×