เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง - เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง นิยาย เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง : Dek-D.com - Writer

    เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง

    ตะไคร้ผักสวนครัว ที่มากกว่าความอร่อย

    ผู้เข้าชมรวม

    23,717

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    23.71K

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 ก.พ. 54 / 21:16 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น


    รายงานโครงงาน
    เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง

     

    จัดทำโดย
    1.นางสาวชิดชนก ช่างปรุง เลขที่ 9
    2.นางสาวสุธัญญา พื้นหินลาด เลขที่ 50

     

     

    อาจารย์ที่ปรึกษา

    นางสาวปราณปรียา  คุณประทุม

     

    โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา อำเภอแก้งคร้อ

    จังหวัดชัยภูมิ

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      โครงงาน เรื่อง  เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง


      คณะผู้จัดทำ

      1. นางสาวสุธัญญา   พื้นหินลาด   เลขที่  50
      2. นางสาวชิดชนก    ช่างปรุง       เลขที่  9

      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2

      โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา

      อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

      นางสาวปราณปรียา     คุณประทุม


      บทคัดย่อ

      ยุง เป็นพาหะนะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น จึงมีผู้คิดทำตัวยาเพื่อกำจัดและป้องกันยุงขึ้นมาหลายชนิดเช่น ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสมอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้ ผู้จัดทำโครงงานได้พบว่ามีชาวบ้านในท้องถิ่นได้นำใบตะไคร้หอมทำเป็นแล้ววางไว้ใกล้ตัว พบว่าสามารถไล่ยุงได้ ผู้จัดทำจึงได้ทำเทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นและหยุดปัญหาการแพ้สารเคมี


      วัตถุประสงค์

      1. เพื่อใช้พืชพรรณในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์

      2. เพื่อให้รู้คุณค่าของพืชพรรณในธรรมชาติ

      3. เพื่อศึกษาขั้นตอนในการทำเทียนหอมสมุนไพร



      กิตติกรรมประกาศ

                  การจัดทำโครงงานเรื่อง  การทำเทียนหอม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4      โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา  อำเภอแก้งคร้อ  จังหวัดชัยภูมิ   สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับความร่วมมือจากคณะผู้จัดทำโครงงานซึ่งได้กำลังใจจากผู้ปกครอง  และขอกราบขอบพระคุณ  คุณครูปราณปรียา คุณประทุม  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานที่ให้คำปรึกษาจนรายงานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

       

      ความสำคัญและที่มาของความสำคัญ

      เทียนไขเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการให้แสงสว่าง แต่ในระยะเวลา  ต่อมาเทียนไขได้ถูกทดแทนด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านพลังงานแสงสว่างจากกระแสไฟฟ้า ทำให้บทบาทเทียนไขที่มีต่อชีวิตประจำวันของผู้คนลดน้อยลง และเปลี่ยนสถานะ จากสิ่งของจำเป็นไปเป็นสิ่งของตกแต่ง ซึ่งทำให้มีการพัฒนาทางด้านรูปแบบสีสันของเทียนให้มีความสวยงามมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันมีการดัดแปลงจากเทียนที่ให้แสงสว่างธรรมดามาผสมกลิ่นหอมประเภทต่างๆ เพิ่มลงไป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยการนำกลิ่นสมุนไพรต่างๆ เช่น กลิ่นตะไคร้หอม มะกรูด มะนาว อบเชย เป็นต้น เข้ามาผสมและมีวัตถุประสงค์ในการใช้สอยเพิ่มขึ้นจากเดิม เพื่อประโยชน์ในการบำบัดทางด้านจิตใจ และอารมณ์ของคนในสังคมในปัจจุบันที่เกิดภาวะความตึงเครียดทางอารมณ์ค่อนข้างสูง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในลำดับต่อมา ซึ่งการนำกลิ่นหอมเข้ามาบำบัดจะทำให้สภาวะร่างกายเกิดการผ่อนคลายสามารถนอนหลับพักผ่อนได้ง่ายขึ้น และบางกลิ่นจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีความกระตือรือร้น

      กระฉับกระเฉงพร้อมที่จะทำงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆอย่างสดชื่นขึ้นเพราะฉะนั้นความต้องการสินค้าประเภทนี้ จึงนับได้ว่ามีแนวโน้มที่ดีตามสภาวะของผู้ที่ต้องการผ่อนคลายทางด้านจิตใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ ด้วยความหลากหลายของรูปแบบสีสันและกลิ่นหอมนานาชนิด จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการส่งออก พบว่ามีผู้ประกอบการในประเทศดำเนินธุรกิจเทียนหอมส่งออกอยู่ถึง 71 ราย และในเขตเชียงใหม่มีผู้ประกอบการธุรกิจเทียนหอมส่งออกประมาณ 10 ราย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไป ที่สำคัญได้แก่ เขตอำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ริม และในเขตอำเภอเมือง สภาพการแข่งขันในปัจจุบันถือว่ายังไม่มีแรงงาน ผู้ประกอบการยังมีจำนวนน้อยราย ประกอบกับเทียนหอมเป็นงานฝีมือที่มีเอกลักษณ์

      เฉพาะตัวของแต่ละกิจการ การออกแบบแต่ละชิ้นงานเลียนแบบกันได้ค่อนข้างยาก แนวโน้มการเจริญเติบโตของธุรกิจยังไปได้ดีในตลาดต่างประเทศ (ชลนันท์, 2548)

       

       

       

       

      ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

      ชื่อวิทยาศาสตร์

      Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle,
      Cymbopogon winterianus Jowitt.

      ชื่อวงศ์

      Gramineae

      ชื่ออังกฤษ

      Citronella grass

      ชื่อท้องถิ่น

      จะไคมะขูด, ตะไคร้มะขูด, ตะไคร้แดง

       

      หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

      1.  ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลง

                          น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ (1)  ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน 2 ชม. และที่ความเข้มข้น 10% จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า 4 ชม.  ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5% น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลิน 0.5%  จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า 6 ชม.  (2, 3) และเมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย  เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10 ชม. (4) และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50) และร้อยละ 95 (EC95) มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1% สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19% (5)  สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาอยู่ที่ 114-126 นาที นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย (6)

                      น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ดีในการไล่ตัวอ่อนของเห็บ โดยให้ผลในการไล่ได้นานถึง 8 ชม.  (7)  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไล่แมลงที่จะมาทำลายเมล็ดข้าวที่เก็บไว้ได้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของข้าว (8) ตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่ผีเสื้อกลางคืน (9) และพวกแมลงบินต่างๆ ได้ (10)

      2.  สารสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุง

      น้ำมันตะไคร้หอมมีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor (11, 12), cineol (13-15), eugenol (16-19), linalool (20), citronellal, citral (17)

      3.  การทดลองทางคลินิกใช้ในการไล่ยุง

                      มีการศึกษาผลของครีมที่มีส่วนผสมน้ำมันหอมระเหย 14% ในการทาป้องกันยุงรำคาญกับอาสาสมัคร 40 คน เปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา พบว่าสามารถป้องกันยุงได้ 13 คน ในอาสาสมัครที่ทาครีม 20 คน ขณะที่อาสาสมัครที่ทาครีมที่ไม่มีตัวยา จะไม่สามารถป้องกันยุงได้ (21)

      สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม 14% พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 2 ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์ (dimethyl phthatate 20% + diethyl toluamide 5%) (22)

      4. ฤทธิ์ฆ่าแมลง

                      น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม เมื่อนำมารมเมล็ดถั่ว นาน 72 ชม.  มีผลฆ่าแมลง Callosobruchus maculatus ที่จะมาทำลายเมล็ดถั่วได้ น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยไม่มีผลต่อการงอกของถั่ว (23) แต่มีผลต่อ parasite ของแมลงชนิดนี้มากกว่า (24)  สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา และข่า ในอัตรา 200 มล./น้ำ 20 ลิตร มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาวได้ แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่ว (25)  สารสกัดตะไคร้หอม ความเข้มข้น 100 ppm จะให้ผลน้อยมากในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำ (26) แต่จะมีผลทำให้ไรแดงกุหลาบตายร้อยละ 95 ภายใน 20.70 ชม. (27)  นอกจากนี้สารสกัด10% เอทานอล (ต้นตะไคร้หอมแห้ง 200 ก./4 ลิตร)  จะให้ผลดีในการลดปริมาณของหมัดกระโดดซึ่งเป็นแมลงศัตรูคะน้า แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักของคะน้าลดลง (28) แชมพูที่ส่วนผสมของสารสกัดตะไคร้หอม สามารถฆ่าเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยงได้ (29)

      5.  การทดสอบความเป็นพิษ

                          เมื่อฉีดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) จากต้น ขนาด 1 กรัม/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร ไม่พบความเป็นพิษ (30)

       

      การใช้ตะไคร้หอมไล่ยุง

      1.  ใช้ต้นตะไคร้หอม ทุบวางไว้ข้างๆ

      2.  ใช้สารสกัดตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ ชุบสำลีวางไว้ใกล้ๆตัว

       

      สมมุติฐานของการศึกษา                                                         
      1. ตะไคร้สามารถไล่ยุงได้
      2. เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงไม่ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้
      3. เทียนหอมสมุนไพรที่ผลิตขึ้นได้น่าจะมีกลิ่นของสมุนไพรซึ่งได้แก่ตะไคร้หอมให้กลิ่นที่หอมสดชื่น


      วัสดุอุปกรณ์

      1. พาราฟิน
      2. ใบตะไคร้ตากแห้ง
      3. S.A
      4. P.E
      5. ไส้เทียน
      6. สีเทียน


      อุปกรณ์

      1.หม้อ
      2.ทัพพี
      3.แม่พิมพ์
      4.มีด
      5.เขียง
      6.อุปกรณ์ตกแต่ง

      7.ตะแกง

      วิธีการทดลอง

      1 .นำใบตะไคร้ไปตากแดด


      2. หั่นใบตะไคร้ตากแห้งเป็นชิ้นเล็กๆ


      3. นำไปตะไคร้ตากแห้งไปต้มในน้ำเดือด


      4. กรองน้ำตะไคร้ด้วยตะแกง



      5. หั่นพาราฟินเป็นชิ้นเล็กๆ

       


      6. นำพาราฟินที่หั่นแล้วใส่หม้อขึ้นตั้งความร้อนปานกลาง เคี้ยวไปจนละลายเป็นของเหลว



      7. ใส่ S.A และ P.E ลงไปอย่างละประมาณ 1 ช้อนชา เสร็จแล้วใส่สีเทียนลงไปพอประมาณ แล้วตามด้วยน้ำตะไคร้หอม

       



      8. นำพาราฟินที่ละลายแล้วใส่แม่พิมพ์และใส้เทียนลงไป

       


      9. แกะเทียนออกจากแม่พิมพ์และตกแต่งให้สวยงาม

      10. ทำกล่องบรรจุภัณฑ์


      ผลการทดลอง

      เทียนหอมสมุนไพรกลิ่นตะไคร้หอมที่ได้จะมีกลิ่นหอมของตะไคร้หอมและสามารถไล่ยุงได้ดี ไม่แพ้ยากันยุง และพบว่ายุงตายด้วย

       

      สรุปผลการทดลอง
      1. การทำเทียนหอมไพรทำได้ยาก และมีขั้นตอนการทำที่ง่าย
      2.ใบตะไคร้ที่ใช้ทำเทียนสมุนไพรมีคุณสมบัติให้กลิ่นและสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง
      3.มีขั้นตอนการทำไม่ยากและยังเป็นการนำพืชสมุนไพรจากท้องถิ่นของเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้



      อภิปรายผลการทดลอง

       

      ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
      1.ทำให้ทราบประโยชน์ของใบตะไคร้ว่าสามารถไล่ยุงได้
      2. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการซื้อครีมทากันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง
      3. ไม่เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง
      4. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
      5.ได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


      ข้อเสนอแนะ
      1สามารถนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดอื่นมาเป็นส่วนผสมได้
      2.การทำเทียนหอมเราควรนำสมุนไพรที่อบแห้งใส่ลงไปในเนื้อเทียน หอมด้วย อาจจะได้กลิ่นสมุนไพรมากขึ้น
      3. ควรนำสมุนไพรหลายชนิดมาทำเทียนหอมสมุนไพรเพื่อเปรียบเทียบกลิ่นที่ได้และรับความนิยม
      4.เราสามารถเทียนหอมสมุนไพรเพื่องานอดิเรกและสามารถนำประกอบอาชีพได้อีกด้วย

       

       

        

      เอกสารอ้างอิง

      -http://gotoknow.org/blog/tananan/59092

      - http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/enin0451ppy_ch1.pdf

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       ภาคผนวก

       

       





       

        

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×