ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : สายสัมพันธ์สองราชวงศ์
สายสัมพันธ์สองราชวงศ์
เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้มีเชื้อสายราชวงศ์ชัยปราการตะวันออก (ราชวงศ์เวียงชัยบุรี) ทรงก่อตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้นในปี พ.ศ. 1781 แล้ว พระองค์ก็ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองกรุงสุโขทัยพร้อมกันในครั้งนั้นด้วย โดยราชวงศ์พระร่วงมีพระมหากษัตริย์ปกครองสยามประเทศสืบมา 5 พระองค์ และภายหลังตกเป็นหัวเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรอยุธยาแล้วราชวงศ์พระร่วงก็มีเจ้าผ
ู้ครองนครอีก 3 พระองค์ ก่อนจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยา
ในรัชกาลสมเด็จพระอินทรราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ได้ตรัสขอพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 4 เจ้าผู้ครองนครพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์พระร่วง ให้อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยา พระราชบุตร ซึ่งในครั้งนั้นทรงครองอยู่เมืองชัยนาท
ต่อมาเจ้าสามพระยาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ และทรงมีพระราชโอรสอันเกิดจากพระราชธิดาพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า พระราเมศวร และในกาลต่อมาพระราชกุมารก็ได้ทรงราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระราชบิ
ดา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งนับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรอยุธยาที่มีเชื้อสายราชวงศ์พระร่
วงและราชวงศ์สุพรรณภูมิ
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่าได้ทรงราชาภิเษกให้ขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทำให้ราชวงศ์พระร่วงกลับเข้ามาปกครองสยามประเทศอีกครั้งในนามราชวงศ์สุโขทัย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารความว่า “...ฝ่ายพระบิดาเชื้อพระวงศ์สมเด็จพระร่วง พระมารดาเป็นพระญาติสมเด็จพระไชยราชา...”
ราชวงศ์สุโขทัยสถิตสถาพรปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่เพียง 61 ปี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 7 พระองค์ ก็ถูกสมเด็จเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม ชิงราชสมบัติ แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยราชวงศ์ปราสาททองนี้แยกมาจากราชวงศ์พระร่วง เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระเอกาทศรถ แห่งราชวงศ์สุโขทัย อันเกิดจากสาวชาวเกาะบางปะอิน
นอกจากนี้ราชวงศ์ปราสาททองยังได้มีส่วนพัวพันกับราชวงศ์พระร่วงอีกประการหนึ่งคือ หม่อมเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์พระร่วง ซึ่งทรงสืบเชื้อสายมาจากพระยาพระราม เมื่อครั้งแผ่นดินพระมหาธรรมราชา (พระยาพระรามอันเป็นพระปฐมขัตติยราชวงศ์จักรี เป็นพระญาติกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งราชวงศ์สุโขทัย เนื่องจากได้แต่งงานกับพระธิดาของสมเด็จพระเอกาทศรถ) ได้เป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งต่อมาในภายหลังทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมพระเทพามาตย์ เป็นที่รู้จักกันดีในพระนาม “เจ้าแม่วัดดุสิต” โดยเจ้าแม่วัดดุสิตนี้ได้ทรงเษก สมรสกับหม่อมเจ้าเจิดอุภัย แห่งราชวงศ์พระร่วง มีโอรสองค์โตคือ หม่อมราชวงศ์ปาน ต่อมาภายหลังได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระย
าโกษาธิบดี (ปาน) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) มีบุตรคนโตชื่อ ขุนทอง ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ เจ้าพระยาวรวงศาธิราช เสนาบดีกรมคลัง
เจ้าพระยาวรวงศาธิราช (ขุนทอง) มีบุตรคนโตชื่อ ทองคำ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้เป็นพระยาราชนิกูล ปลัดทูลฉลองในกรมมหาดไทย และได้ย้ายบ้านเรือนมาอยู่ที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี จนมีบุตรคนโตชื่อ ทองดี จึงได้ย้ายครอบครัวกลับมาอยู่ที่ป้อมเพชร กรุงศรีอยุธยา โดยนายทองดีนี้ภายหลังในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้เป็นที่ พระอักษรสุนทรศาสตร์
พระอักษรสุนทรศาสตร์ เป็นบิดาของนายทองด้วง ซึ่งต่อมาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งจักรีบรมราชวงศ์
นายทองด้วง ผู้นี้แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกบัตรเมืองราช
บุรี เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระเจ้าตาก) ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ณ กรุงธนบุรีนั้น ได้ทรงทราบดีว่าเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) สืบเชื้อสายมาจากพระยาพระรามเจ้านายฝ่ายราชวงศ์พระร่วง ดังนั้นเมื่อเจ้าพระยาจักรีรบชนะอะแซหวุ่นกี้ จึงได้รับพระราชทานบำเหน็จและพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหึมาทุกนคราระอาเดช นเรศวรสุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก ณ กรุงเทพมหานครบวรทวารวดี กรุงศรีอยุธยา”
ในปลายสมัยกรุงธนบุรีนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และจักรีบรมราชวงศ์นี้ก็ได้สืบสันตติวงศ์ ดำรงพระมหาเศวตรฉัตรเป็นสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าต่อเนื่องมาไม่ขาดสาย จวบจนปัจจุบันนี้ก็เป็นรัชสมัยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาร
าช อันเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์นี้
ประเทศสยามได้มีพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์พระร่วง สืบเนื่องต่อกันมาไม่ขาดสายนับตั้งแต่แรกสถาปนาพระราชอาณาจักรสยามในดินแดนสุวรรณภูม
ิ เมื่อ พ.ศ. 1781 และพระราชวงศ์นั้นยังคงดำรงสถิตสถาพรมาอยู่ทุกวันนี้ในพระปรมาภิไธยแห่งองค์พระมหากษ
ัตริยาธิราช ผู้เป็นเจ้าของนพปฎลมหาเศวตรฉัตรเช่นเดียวกัน
เรียบเรียงจาก หนังสือเล่าเรื่องเมืองสยาม
http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=7560
เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้มีเชื้อสายราชวงศ์ชัยปราการตะวันออก (ราชวงศ์เวียงชัยบุรี) ทรงก่อตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้นในปี พ.ศ. 1781 แล้ว พระองค์ก็ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองกรุงสุโขทัยพร้อมกันในครั้งนั้นด้วย โดยราชวงศ์พระร่วงมีพระมหากษัตริย์ปกครองสยามประเทศสืบมา 5 พระองค์ และภายหลังตกเป็นหัวเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรอยุธยาแล้วราชวงศ์พระร่วงก็มีเจ้าผ
ู้ครองนครอีก 3 พระองค์ ก่อนจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยา
ในรัชกาลสมเด็จพระอินทรราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ได้ตรัสขอพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 4 เจ้าผู้ครองนครพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์พระร่วง ให้อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยา พระราชบุตร ซึ่งในครั้งนั้นทรงครองอยู่เมืองชัยนาท
ต่อมาเจ้าสามพระยาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ และทรงมีพระราชโอรสอันเกิดจากพระราชธิดาพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า พระราเมศวร และในกาลต่อมาพระราชกุมารก็ได้ทรงราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระราชบิ
ดา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งนับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรอยุธยาที่มีเชื้อสายราชวงศ์พระร่
วงและราชวงศ์สุพรรณภูมิ
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่าได้ทรงราชาภิเษกให้ขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทำให้ราชวงศ์พระร่วงกลับเข้ามาปกครองสยามประเทศอีกครั้งในนามราชวงศ์สุโขทัย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารความว่า “...ฝ่ายพระบิดาเชื้อพระวงศ์สมเด็จพระร่วง พระมารดาเป็นพระญาติสมเด็จพระไชยราชา...”
ราชวงศ์สุโขทัยสถิตสถาพรปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่เพียง 61 ปี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 7 พระองค์ ก็ถูกสมเด็จเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม ชิงราชสมบัติ แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยราชวงศ์ปราสาททองนี้แยกมาจากราชวงศ์พระร่วง เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระเอกาทศรถ แห่งราชวงศ์สุโขทัย อันเกิดจากสาวชาวเกาะบางปะอิน
นอกจากนี้ราชวงศ์ปราสาททองยังได้มีส่วนพัวพันกับราชวงศ์พระร่วงอีกประการหนึ่งคือ หม่อมเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์พระร่วง ซึ่งทรงสืบเชื้อสายมาจากพระยาพระราม เมื่อครั้งแผ่นดินพระมหาธรรมราชา (พระยาพระรามอันเป็นพระปฐมขัตติยราชวงศ์จักรี เป็นพระญาติกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งราชวงศ์สุโขทัย เนื่องจากได้แต่งงานกับพระธิดาของสมเด็จพระเอกาทศรถ) ได้เป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งต่อมาในภายหลังทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมพระเทพามาตย์ เป็นที่รู้จักกันดีในพระนาม “เจ้าแม่วัดดุสิต” โดยเจ้าแม่วัดดุสิตนี้ได้ทรงเษก สมรสกับหม่อมเจ้าเจิดอุภัย แห่งราชวงศ์พระร่วง มีโอรสองค์โตคือ หม่อมราชวงศ์ปาน ต่อมาภายหลังได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระย
าโกษาธิบดี (ปาน) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) มีบุตรคนโตชื่อ ขุนทอง ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ เจ้าพระยาวรวงศาธิราช เสนาบดีกรมคลัง
เจ้าพระยาวรวงศาธิราช (ขุนทอง) มีบุตรคนโตชื่อ ทองคำ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้เป็นพระยาราชนิกูล ปลัดทูลฉลองในกรมมหาดไทย และได้ย้ายบ้านเรือนมาอยู่ที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี จนมีบุตรคนโตชื่อ ทองดี จึงได้ย้ายครอบครัวกลับมาอยู่ที่ป้อมเพชร กรุงศรีอยุธยา โดยนายทองดีนี้ภายหลังในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้เป็นที่ พระอักษรสุนทรศาสตร์
พระอักษรสุนทรศาสตร์ เป็นบิดาของนายทองด้วง ซึ่งต่อมาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งจักรีบรมราชวงศ์
นายทองด้วง ผู้นี้แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกบัตรเมืองราช
บุรี เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระเจ้าตาก) ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ณ กรุงธนบุรีนั้น ได้ทรงทราบดีว่าเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) สืบเชื้อสายมาจากพระยาพระรามเจ้านายฝ่ายราชวงศ์พระร่วง ดังนั้นเมื่อเจ้าพระยาจักรีรบชนะอะแซหวุ่นกี้ จึงได้รับพระราชทานบำเหน็จและพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหึมาทุกนคราระอาเดช นเรศวรสุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก ณ กรุงเทพมหานครบวรทวารวดี กรุงศรีอยุธยา”
ในปลายสมัยกรุงธนบุรีนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และจักรีบรมราชวงศ์นี้ก็ได้สืบสันตติวงศ์ ดำรงพระมหาเศวตรฉัตรเป็นสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าต่อเนื่องมาไม่ขาดสาย จวบจนปัจจุบันนี้ก็เป็นรัชสมัยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาร
าช อันเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์นี้
ประเทศสยามได้มีพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์พระร่วง สืบเนื่องต่อกันมาไม่ขาดสายนับตั้งแต่แรกสถาปนาพระราชอาณาจักรสยามในดินแดนสุวรรณภูม
ิ เมื่อ พ.ศ. 1781 และพระราชวงศ์นั้นยังคงดำรงสถิตสถาพรมาอยู่ทุกวันนี้ในพระปรมาภิไธยแห่งองค์พระมหากษ
ัตริยาธิราช ผู้เป็นเจ้าของนพปฎลมหาเศวตรฉัตรเช่นเดียวกัน
เรียบเรียงจาก หนังสือเล่าเรื่องเมืองสยาม
http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=7560
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น