ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ฝึกเรียนฮิรางานะกับป่านคุง

    ลำดับตอนที่ #12 : บทเรียนที่ 11 : ตัวอักษรฮิรางานะ เสียงกึ่งขุ่นและเสียงขุ่น

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.96K
      1
      24 ม.ค. 52

    สวัสดีปีใหม่ทุกท่านนะครับ ก็กลับมาอีกครั้งนะครับสำหรับกระทู้สอนภาษาญี่ปุ่นนะครับ หลังจากที่หยุดสอนไปช่วงปีใหม่ ในวันนี้ก็เป็นวันจันทร์ซึ่งก็จะถือมากลับมาโพสสอนตามปกตินะครับ

    ประกาศให้ทราบอีกนิดละกัน เวลาที่ผมจะหยุดโพสสอนอีกครั้งนั้นก็จะมีอีกทีก็หลังวันวาเลนไทน์ นั่นก็คือ วันที่ 17 โดยประมาณ เพราะจะเป็นอาทิตย์ที่นักเรียนมัธยมจะเริ่มเตรียมตัวสอบปลายภาคกันนะครับ

    ก่อนอื่นที่เราจะมาเริ่มสอนต่อ จำได้นะครับว่าผมได้สอนตัวฮิรางานะแบบปกติไปแล้ว ทีนี้เราก็จะเหลืออีกไม่กี่คำที่เราจะมาฝึกกันง่ายๆ นั่นก็คือ เสียงขุ่นและเสียงควบ ซึ่ง 2 ประเภทนี้มันก็คือตัวปกติที่เราเรียนไปแล้วเนี่ยแหละมันมาเปลี่ยนรูปนิดหน่อยและเปลี่ยนเสียง หากเทียบกับภาษาไทยก็คือ บ กับ ป ไม่ก็ ผ กับ ฝ นั่นแหละครับ ซึ่ง 2 อย่างนี้ผมจะรวบสอนไปวันละ 2 ประเภทยาวไปเลยนะครับ  แล้วพอจบ 2 ประเภทนี้ผมจะมีของแถมให้

    ก่อนที่เราจะมาเริ่มบทเรียนกัน เราจะมาทวนกันเหมือนเคย เพียงแต่งวดนี้ผมจะไม่เอาภาพมาโปะเหมือนเดิมละ ไม่งั้นบทเรียนก็น่าเบื่อตาย เอานี่ไปดูก่อน

    เปิดดูให้จบก่อนนะครับ แล้วค่อยเปิดดูคลิปที่สอง กดให้มันโหลดให้จบไปก่อนก็ได้สำหรับคนที่เนตช้า เพื่อไม่ให้เสียอารมณ์ครับ

    http://www.youtube.com/watch?v=OI7vVF7E6PE

    ปล. ผมโพสใส่ยูทูปไม่เปงอะ

    สำหรับคนที่กำลัง โหลดอยู่นะครับ มาอ่านกันก่อน สาเหตุที่ผมเอาคลิปเพลงเปิดของการ์ตูนเรื่อง อินุยาฉะ มาก็คือ ต้องการให้ทวนครับ ตรงนี้จะสังเกตตรงคลิปก็คือ จะมีตัวคันจิโผล่มาด้วย แต่ส่วนมากเป็นตัวฮิรางานะครับ ดังนั้น ลองฝึกอ่านไปเลยครับ ไม่สิ ฝึกร้องไปเลย ตรงตัวคันจิสังเกตเลยครับว่าจะมีตัวฮิรางานะปรากฎข้างบนด้วย นั่นแหละครับ ตัวนั้นมันอ่านอย่างนั้น และจะมีตัวคาตาตะนะโผล่มาหน่อย แต่เราจะไม่ไปมองตรงนั้นครับ เราจะเน้นที่ตัวฮิรางานะ ลองร้องตามเพลงไปเลย ไม่ได้ดูที่ภาพอย่างเดียวนะ ซึ่งตรงนี้หากใครท่องฮิรางานะจนจำได้ขึ้นใจแล้วจะอ่านออกและร้องตามได้นี่แสดงว่าเรื่องฮิรางานะสอบผ่าน แต่ทว่า สำหรับคนที่ไม่เคยเรียนญี่ปุ่นมาก่อนแล้วมาลองฝึกร้องนี่รับรองต้องมึนแน่ว่าไอ้ตัวประหลาดๆบนตัวอักษร ฮะ หรือตัว ชะ มันคือตัวอะไร และนั่นแหละครับที่เราจะมาฝึกเรียนกันในวันนี้ ดังนั้น โหลดคลิปให้เต็มเลยนะครับ จะได้ไม่ต้องเสียอารมณ์ขณะดู

    คนที่เมื่อกี้เปิดดูคลิปแล้วไม่ได้ดูเนื้อร้องญี่ปุ่น กรุณาเปิดไปดูทวนอีกครั้งนะครับ ผมรู้ดี แรกๆไม่ได้ดูตัวอักษรกันหรอก หึๆ

    บทเรียนที่ 11 : ตัวอักษรฮิรางานะ เสียงกึ่งขุ่นและเสียงขุ่น

    ตอนที่เราเรียนตัวฮิรางานะแบบปกติมาหมดแล้ว ซึ่งสงสัยไหมครับว่ามันยังมีอะไรขาดหายไป

    ลองเทียบกับภาษาไทย ตัว ก - ฮ ดู

    ใช่แล้ว !! ตัวอักษรที่ปกติของไทยเรามีนั้น ของญีปุ่นไม่มี ไม่ต้องแปลกใจ เพราะว่าเรากำลังจะมาเจอในบทนี้แหละ มันคือ เสียงขุ่นและเสี่ยงกึ่งขุ่นนั่นเอง

    ขออธิบายก่อนว่า เนื่องจากในภาษาญี่ปุ่นจะไม่มีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกับภาษาไทย จะมีแค่เสียงสูงกับเสียงต่ำเท่านั้น การทำให้ตัวฮิรางานะนั้นกลายเป็นเสียงขุ่นหรือเสี่ยงกุ่งขุ่นก็เพราะเพื่อให้เกิดเสียงที่หลากหลายภายใต้กฎเกณฑ์ของภาษานั้นนั่นเอง ดังนั้น เวลาคนญี่ปุ่นพูดภาษา
    ไทยจึงไม่ค่อยมีเสียงวรรณยุกต์   เลยพูดออกแปลกๆสักหน่อย

    เครื่องหมายแสดงเสียงขุ่น

    มันเรียกว่า  "ten ten"  แต่ถ้าเพิ่งเรียนผมแนะนำว่ายังไม่ต้องไปจำตัวนี้หรอก เดี๋ยวก็ลืม เอาเป็นว่ามันเติมตัว         นี้ลงไป เพื่อเปลี่ยนเสียงบนขวามือของตัวอักษรครับ

    เครื่องหมายแสดงเสียงกึ่งขุ่น

    และตัวนี้เรียกว่า "ma ru "  และยังไม่ต้องไปจำมัน กลับมาอ่านอีกรอบค่อยจำก็ได้ เดี๋ยวก็ลืม แต่หลักของมันก็คือ เติมตัว ๐ ไว้บนขวามือของตัวอักษรเพื่อเปลี่ยนเสียง

    วิธีเติมเครื่องหมาย "เสียงขุ่น(ten ten)" และ เครื่องหมาย "เสียงกึ่งขุ่น(ma ru)" 
              ส่วนตำแหน่งการเติมเครื่องหมายทั้งสองจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คือ จะเติมไว้ที่มุมขวาบนของตัวอักษร ตัวอักษรที่นำมาเติมเครื่องหมายนี้ได้
    มีเพียง ๔ วรรคเท่านั้นแหละครับ นั่นก็คือ      

    1.วรรค ka (เติม ten ten เท่านั้น)
    2.วรรค sa (เติม ten ten เท่านั้น)
    3.วรรค ta (เติม ten ten เท่านั้น)
    4.วรรค ha (เติมได้ทั้ง ten ten และ ma ru) 

    ** สรุปก็คือ วรรค 4 วรรคนี้จะเติมตัว เทน เทน หรือ ตัว     นี้หมดเลย ยกเว้นตัวอักษร ฮะ เพียงวรรคเดียวที่เหมารวมเติมตัว ๐ ลงไปด้วย สรุปก็คือ ตัว มารุ หรือตัว ๐ จะเติมเพียงตัวเดียวก็คือ แถวอักษร ฮะ นั่นเอง

    โอเคครับผม เรามาดูรูปร่างหน้าตาของตัวที่เปลี่ยนเสียงไปเพราะมีตัวเทนเทนกับตัวมารุมาเสียบเป็นหมวกบนหัวกันดีกว่า





    เห็นแล้วนะครับกับตัวแปลกๆพวกนี้ จะมีเพียงวรรค 4 วรรคนี้เท่านั้น ได้แก่ คะ + ชะ + ทะ และ ฮะ เท่านั้น (ข้ามตัว นะ ไป) ทุกตัวทำเหมือนกันหมด ดังนั้นคงไม่ต้องมาสอนเขียนกรอกมั้ง ทีนี้เรามาดูกันก่อนครับว่าแต่ละตัวเมื่อเพิ่มตัว เทนเทน กับ มารุ ไปแล้วมันจะเปลี่ยนไปยังไงบ้าง

    สำหรับวรรค คะ เมื่อใส่ตัว เทนเทน หรือตัว    ไปแล้ว จะออกเสียงเป็น ก๊ะ (จาก ka เป็น ga)

    ส่วนวรรค ชะ  เมื่อใส่ตัว เทนเทน ไปแล้ว  ก็จะเป็น ซะ ซึ่งตัวนี้ไม่น่ายากเพราะจาก sa ก็เป็น za ครับ

    ส่วนวรรค ทะ  เมื่อเติมตัว เทนเทน เข้าไปแล้ว ก็จะเปลี่ยนเป็น ดะ ครับ (ก็จาก ta เป็น da งะ)

    ส่วนแถวสุดท้ายที่หลายคนอาจคิดว่ามันยากครับ นั่นคือ เมื่อเติม เทนเทน ไปแล้วก็จะเป็น บะ ครับ (จาก ha เป็น pa)

    ทีนี้พอใส่ตัวมารุ หรือ ๐ ไป ก็จะเป็น ปะ ครับ ง่ายไหมครับ บ กับ ป นะ (ก็ จาก ha เป็น ba ครับ)

    สรุปก็คือ เสียงที่จะมีมาใหม่ก็คือ จะมีเสียง ก๊ะ ซะ ดะ บะ และ ปะ ครับ โอเคครับ ดูแค่นี้รับรองว่าลืมไปแน่นอน เรามาทวนกันอีกรอบด้วยภาพใหญ่ๆกีดีกว่า จะได้จำง่ายๆ








    ทีนี้ผมคิดไปคิดมา ผมจะมาทำวันละบท บทละวรรคดีกว่า เพราะทั้งการทวนหรืออะไรมันเยอะมาก แหม่ เวบนี้มันละเอียดดีจริงๆ ต้องขอบคุณข้อมูลจาก http://www.jitakuryuugaku.com นะครับ

    เอาหละครับ ทีนี้มาทวนกัน ลองฝึกอ่านดูนะครับ ซึ่งการบ้านคราวนี้จะมีตัวฮิรางานะจากตัวอื่นมาด้วย ยังไงก็ลองฝึกอ่านดูนะครับ







    ส่วนพรุ่งนี้เราจะมาดูกันที่แถวตัวอักษรวรรค ชะ นะครับ

    ซาโยนาระ !!

    ของฝากจากญี่ปุ่น : เทศกาลปีใหม่ที่ญี่ปุ่น (1) อาหารตอนปีใหม่

     oshougatsu  วันขึ้นปีใหม่ 
      ryouri อาหาร 


    ในวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นนั้น บ้านคนญี่ปุ่นโดยทั่วไปมักจะมีอาหารพิเศษ ที่มักจะทานกันเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ เรียกว่า ????? ( Osechi ryouri ) ซึ่งเป็นอาหารที่จะเริ่มทานกันในครอบครัวตั้งแต่เช้าวันที่ 1 มกราคม ถึงประมาณวันที่ 3 มกราคม

    นอกจากนั้นอาหารปีใหม่นี้ นับว่าเป็นอาหารเทศกาลที่มีราคาค่างวดค่อนข้างจะแพงทีเดียว โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีชื่อเสียง บางร้าน สนนราคาประมาณ 3-5 หมื่นเยน บางร้านหรือบางชุดราคาเป็นแสนเยนเลยทีเดียว ทำไมเจ้าอาหารปีใหม่นี้ทำไมถึง เป็นที่นิยมสำหรับครอบครัวคนญี่ปุ่นนัก มีอะไรเป็นส่วนประกอบกันบ้าง และทำไมถึงมีราคาแพงนัก ผมจะลองแจกแจงให้ ทุกท่านทราบต่อไปครับ

    Osechi นั้นในสมัยก่อนเรียกว่า ??? (Osechiku) ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายถึงสิ่งของที่ถวายเทพเจ้าในช่วงเทศกาล หรือ ?? (sekku) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 เทศกาล คือ วันที่ 1 เดือน 1/ วันที่ 3 เดือน 3 / วันที่ 5 เดือน 5 / วันที่ 7 เดือน 7 และวันที่ 9 เดือน 9 ซึ่งต่อมาการทำอาหารถวายเทพเจ้าได้แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป และได้ประชาชนได้ทำทานเอง ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้มีการดัดแปลงการเรียกชื่อเป็น ???( Osechi )

    การทานอาหารปีใหม่นี้ ถือว่าเป็นการขอพรเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงและนำมาซึ่งความสุขในช่วงหนึ่งปีจากนี้ไป การ เรียกชื่ออาหารปีใหม่ว่า Osechi ryouri นี้ สันนิษฐานว่าเพิ่งเริ่มใช้ในช่วงปลายสมัยเอโดะหรือประมาณ 200 กว่าปีมานี้เอง นับได้ว่าเป็นวัฒนธรรมการกินที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมการกินดั้งเดิมของญี่ปุ่น

    อาหารปีใหม่มักจะกล่าวกันโดยทั่วไปว่า เป็นอาหารที่ไม่ค่อยมีรสชาติ มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบเพียงนิดหน่อย แถมยังมี จำนวนไม่มากอีกต่างหาก แต่หากมองในมุมกลับกัน อาหารปีใหม่ของญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำจากผักเสียเป็น ส่วนใหญ่ ดีต่อสุขภาพ แต่รูปร่างหน้าตาของอาหารปีใหม่ในแต่ละครัวเรือนก็มีหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป

    โดยตามธรรมเนียมเดิมแล้ว อาหารปีใหม่จะประกอบด้วยอาหาร 5 ชั้นด้วยกัน (เพราะส่วนใหญ่มักใช้ทานสำหรับ 3 วัน แต่ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยเคร่งครัดเรื่องจำนวนชั้นของอาหารเท่าใดนัก ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับวัตถุดิบหลักที่นำมาใช้ ประกอบอาหารมากกว่า)

    ส่วนประกอบหลักของอาหารปีใหม่ที่มีรูปร่างหน้าตาและเป็นที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบันนี้ เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายสมัยเอโดะ ซึ่งมักจะนำวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารที่มีชื่อ หรือความหมายที่เป็นมงคล
     


    ปัจจุบันตามห้างได้มีการจำหน่ายแบบแพ๊คเป็นถุง จะมีสีขาวแข็งๆเป็นก้อนสี่เเหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมแห้งๆเวลา

    รับประทานต้องผ่านความร้อน ด้วยการย่าง หรือง่ายๆน้ำไปเข้าตู้ไมโครเว็ปแล้วใส่น้ำนิดหนึ่ง ในภาชนะที่จะนำไป

    เข้าตู้อบใช้เวลาประมาณ 1 หรือ 2 นาที ก็สามารถรับประทานได้แล้ว


    นี่ครับ หน้าตาอาหารญี่ปุ่นช่วงปีใหม่ 







    ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก >> http://jeducation.com/THAI/sign/35_osechi%20ryouri/Osechi%20ryouri.htm และ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=erina-was&month=01-2006&date=03&group=1&gblog=4

    พรุ่งนี้เดียวมาต่อกันนะคร้าบ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×