ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    "ชุล" ผจญวิบากกรรม

    ลำดับตอนที่ #4 : เกร็ดเนื้อเรื่อง By คนเขียน (จากบทที่ 1)

    • อัปเดตล่าสุด 28 มิ.ย. 55


    พื้นที่อุทยานแห่งชาติ

    ป้ายอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (ภาพจาก Google)

    นอกจากอุทยานแห่งชาติจะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่อนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว ยังมีบทบาทในการป้องกันสัตว์ป่าไม่ให้ถูกมนุษย์รุกรานอีกด้วย และอุทยานยังเป็นพื้นที่ที่ทางสวนสัตว์จะนำสัตว์ที่ทำการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนได้สำเร็จไปปล่อยเพื่อคืนสู่ป่าอีกด้วย (ปล่อยในป่าปกติเดี๋ยวชาวบ้านนายพรานแถวนั้นยิงกันตาย)

    ว่าด้วยเรื่องของสุนัขจิ้งจอก

    สุนัขจิ้งจอกทอง ตัวเอกของเรื่อง (ภาพจาก Dekdee.com)

    อันที่จริงส่วนตัวคนเขียนตั้งใจที่จะให้ตัวเอกกลายเป็นหมาป่า แต่เมื่อดูจากสัตว์ในเมืองไทยแล้ว จะมีแต่สุนัขจิ้งจอกทองมากกว่า  จึงได้เปลี่ยนเป็นสุนัขจิ้งจอกแทนครับ

    ตามธรรมชาติของสุนัขจิ้งจอกนั้นจะไม่ทำร้ายมนุษย์เด็ดขาด ออกหากินตอนกลางคืน และพักผ่อนในเวลากลางวัน แต่บางครั้งอาจพบเห็นได้ช่วงพลบค่ำหรือเช้าตรู่ และกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เป็นหลัก ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

    ส่วนสาเหตุการตายพ่อของชุลที่ว่าเพราะโดนสุนัขจิ้งจอกฆ่านั้น ยังเป็นปริศนาที่ชวนสงสัยเหมือนกัน

    เจ้าป่าเจ้าเขา

    ในภูมิประเทศที่เป็นป่าดิบ มีเขาสูง ตามเขาจะมถ้ำแทรกอยู่ ก็จะมีเทพดูแลเช่นกัน ตามป่าก็จะเรียกว่า "เจ้าป่า"" ตามภูเขา ตามถ้ำก็เรียกว่า "เจ้าเขา" เจ้าป่าจะอยู่ในทุกพื้นที่ของป่า ป่าใหญ่แห่งหนึ่งทั้งผืน ก็จะมีเจ้าป่า แยกกันไปตามพื้นที่ ในป่าก็จะมี ต้นไม้ใหญ่ ในแต่ละต้นไม้ใหญ่ ก็จะมี รุกขเทวดา เทพารักษ์ ดูและอยู่ เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อให่เกิดความสงบ

    บรรดาพวกหาของป่า พรานล่าสัตว์ เมื่อใดเขาเหล่านั้นจะเข้าป่า เขาจะทำพิธีกรรม บูชา เปิดป่า ต่อ เจ้าป่า ขออนุญาติ และจะไม่ทำอะไรที่เรียกว่า ผิดป่า ทั้งนี้เพื่อ ความปลอดภัย ไม่ต้องผจญภัยกับอาถรรย์ของป่า

    ในทางศาสนานั้น เจ้าป่าเจ้าเขาเป็นเทวดาชั้นต้นในชั้น จาตุมหาราชิกาภูมินะครับ ซึ่งเป็นภูมิที่อยู่ต่อจากมนุษยภูมิขึ้นไป มีเทวดาผู้เป็นใหญ่ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีอยู่ตั้งแต่กลางเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นดินที่มนุษย์อยู่ มีชื่อเรียกตามที่อยู่ที่อาศัย ดังนี้

    ภุมมัฏฐเทวดา

    ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน ตามบ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะอยู่ตอนกลางรอบเขาสิเนรุ มีปราสาทเป็นวิมานของตนเอง สำหรับ เทวดาอื่นที่ไม่มีวิมาน ก็ต้องไปอาศัยอยู่ตามสถานที่ดังกล่าวข้างต้น โดยถือเอาสถานที่นั้นเป็นวิมานของตน

    รุกขเทวดา

    ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มีอยู่ ๒ จำพวก คือ พวกที่มีวิมานอยู่บนต้นไม้ กับพวกที่ไม่มีวิมาน รุกขเทวดาที่มีวิมานนั้น จะเอา วิมานตั้งอยู่บนยอดไม้ ส่วนเทวดาที่ไม่มีวิมานของตนเอง ก็จะอาศัยอยู่บนคบไม้ หรือ กิ่งก้านของต้นไม้

    อากาสัฏฐเทวดา

    ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานของตนเองในอากาศ ตั้งอยู่ในอากาศ ภายใน และภายนอกของวิมาน จะประกอบด้วยรัตนะ ๗ อย่าง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ของกุศลกรรม คือ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วมณี แก้ว เชียร เงิน และทอง บางวิมานก็มี ๒ รัตนะ บางวิมานก็มี ๓, ๔, ๕, ๖ รัตนะ ขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่ตนได้สร้างไว้ วิมานเหล่านี้ จะลอยหมุนเวียนไปในอากาศรอบ ๆ เขาสิเนรุ

    ** ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
    - วิกิพีเดีย
    - watkoh.com
    - buddhism-online.org

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×