ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องส่วนตัวของปักษาเตโช

    ลำดับตอนที่ #8 : การงาน-**-การเลี้ยงหมู

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.45K
      1
      5 ส.ค. 52

    หมูมีกำเนิดเดิมมาจากหมูป่าในแถบยุโรป อเมริกา แอฟริกา และเอเชีย ชาวจีนและชาวไทยนิยมเลี้ยงหมูกันมาก ผู้เลี้ยงหมูในสมัยก่อนมีวิธีเลี้ยงแบบง่าย ๆ นอกจากเศษอาหารในครัวเรือน รำข้าวและหยวกกล้วยสับละเอียด ยังนำเอาผักหญ้าต่าง ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นมาสับให้ละเอียดผสมกับรำข้าว

     

    กากถั่วเหลือง หรือกากถั่วลิสงและน้ำให้หมูกิน หมูที่ชาวบ้านเลี้ยงในสมัยดั้งเดิมเป็นหมูพันธุ์พื้นเมือง ตัวเล็ก เติบโตช้า ใช้เวลานานในการขุนให้อ้วน ให้ซากที่มีเนื้อน้อย มันมาก หมูพันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยงกันทั่วไป ได้แก่ หมูพันธุ์ควาย หมูพันธุ์ราด หมูพันธุ์พวงและหมูพันธุ์ไหหลำที่มีถิ่นเดิมมาจากประเทศจีน

     

    ในปัจจุบัน การเลี้ยงหมูได้พัฒนาขึ้นมาก ทั้งการเลี้ยงดู การให้อาหาร และการปรับปรุงพันธุ์ มีการสร้างโรงเรือนเลี้ยงหมู บ้านเมืองเรามีอากาศร้อน โรงเรือนสำหรับหมูควรโปร่งมีหลังคาสูง เพื่อให้อากาศระบายได้ดีตลอดเวลา ภายในโรงเรือนอาจแบ่งเป็นคอก

     

    มีห้องเก็บอาหารและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ อาหารสำหรับหมู ได้รับการปรับปรุงให้มีคุณภาพสูง เป็นอาหารผสมที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ได้แก่ น้ำ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ พันธุ์ของหมูเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้เลี้ยงและผู้บริโภค

     

    ลักษณะของอาหารที่หมูกิน และตามความประสงค์ของผู้ผสมพันธุ์ การนำหมูพันธ์ดีหลายพันธ์จากต่างประเทศมาผสมพันธุ์ ทำให้เกิดหมูพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้น หมูพันธุ์ต่างประเทศที่นิยมเลี้ยงกันมากและได้ผลดีมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์แลนด์เรซ พันธุ์ลาร์จไวต์ พันธุ์ดูร็อก

     

    และพันธุ์ลูกผสมต่างๆ หมูพันธุ์ต่างประเทศได้รับความนิยมมากกว่าหมูพันธุ์พื้นเมืองเพราะเติบโตเร็ว มีคุณภาพของซากดี (คุณภาพของซากที่ดีคือ ต้องมีเนื้อแดงมาก มันน้อย ทำให้ขายได้ราคาสูง) สามารถเปลี่ยนอาหารที่กินเข้าไปให้เป็นเนื้อได้มาก จึงขุนให้อ้วนได้ง่าย

     

    หมูอายุ 5-6 เดือน เมื่อได้อาหารเต็มที่จะมีน้ำหนักราว 90-100 กิโลกรัมก็ขายส่งตลาดได้ คุณภาพซากมีเนื้อแดงมาก ไขมันบาง หมูหนุ่ม หมูสาวที่สมบูรณ์ก็อาจค้ดไว้สำหรับผสมพันธุ์เพื่อเอาลูกเลี้ยงต่อไป

     

    พ่อหมูแม่หมูที่นำมาใช้ทำพันธุ์ควรมีลักษณะดี ไม่เคยเป็นโรคติดต่อร้ายแรงมาก่อน ห้ามนำหมูป่วย หรือหมูที่เพิ่งได้รับการฉีดวัคซีนมาผสมพันธุ์ โดยปกติพ่อหมูที่ใช้ผสมพันธุ์ควรมีอายุประมาณ 8 เดือน หนักประมาณ 80-90 กิโลกรัม สำหรับพ่อหมูพันธุ์ต่างประเทศ

     

    การเลี้ยงหมูในประเทศไทยเป็นอย่างไร


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    การเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทย แต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้านเป็นส่วนใหญ่ คือ ผู้เลี้ยงหมูประเภทนี้เลี้ยงไว้โดยให้กินเศษอาหารที่มีอยู่หรือที่เก็บรวบรวมได้ตามบ้าน ดังนั้น ผู้เลี้ยงประเภทนี้จึงเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมากไม่ได้ จะเลี้ยงไว้เพียงบ้านละ 2-3 ตัวเท่านั้น ผู้เลี้ยงเป็นอาชีพจริง ๆ มีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ผู้เลี้ยงไว้เป็นจำนวนมาก ๆ ได้ มักทำอาชีพอื่น ๆ อยู่ด้วย เช่น เป็นเจ้าของโรงสี เป็นต้น ผู้เลี้ยงหมูแต่ก่อนมักเป็นชาวจีน รองลงมาก็เป็นผู้เลี้ยงชาวไทยเชื้อสายจีน

    วิธีการเลี้ยงหมูแต่เดิมมายังล้าสมัยอยู่มาก จะเห็นได้ว่าผู้เลี้ยงบางคนยังไม่มีคอกเลี้ยงหมูเลย หมูจึงถูกปล่อยให้กินอยู่ตามลานบ้าน ใต้ถุนเรือน หรือตามทุ่ง หรือผูกติดไว้กับโคนเสาใต้ถุนบ้าน เป็นต้น ส่วนที่ดีขึ้นมาหน่อยก็มีคอกเลี้ยง แต่พื้นคอกก็ยังเป็นพื้นดินอยู่นั่นเอง พื้นคอกที่ทำด้วยไม้และคอนกรีตมีน้อยมาก อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูแต่เดิมนอกจากเศษอาหารตามบ้านแล้ว อาหารหลักที่ใช้ก็คือรำข้าว และหยวกกล้วย นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตำให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้อาจมีผักหญ้าที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ เช่น จอก ผักตบชวา ผักบุ้ง สาหร่าย และผักขม เป็นต้น นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับรำข้าวและปลายข้าวที่ต้มสุกแล้ว เติมน้ำลงในอาหารที่ผสมแล้วนี้ในปริมาณที่พอเหมาะแล้วจึงให้หมูกิน หมูที่เลี้ยงในสมัยก่อนเป็นหมูพันธุ์พื้นเมือง หมูเหล่านี้มีขนาดตัว เล็กและเจริญเติบโตช้า เนื่องจากไม่มีใครสนใจปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น หมูพันธุ์พื้นเมืองจึงถูกปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองโดยไม่มีการคัดเลือก นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงมักจะคัดหมูตัวที่โตเร็วออกขายเอาเงินไว้ก่อน จึงเหลือแต่หมูที่ลักษณะไม่ดีนำมาใช้ทำพันธุ์ต่อไป

     

    หมูแบ่งเป็นกี่ประเภท เป็นอย่างไรบ้าง


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    หมูที่เลี้ยงในปัจจุบันมีอยู่หลายพันธุ์ รูปร่างลักษณะของหมูเกิดจากการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ตามความต้องการของนักผสมพันธุ์และผู้บริโภค ตลอดจนอาหารที่ใช้เลี้ยงดู ถ้าจัดแบ่งหมูตามรูปร่างลักษณะและคุณภาพของเนื้อแล้ว จะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

    ๑. หมูประเภทมัน หมูประเภทนี้มีลักษณะอ้วนเตี้ย ลำตัวหนาแต่สั้น สะโพกเล็ก มีมันมาก มีเนื้อแดงน้อย หมูประเภทมันมีขนาดเล็ก เจริญเติบโตช้าและกินอาหารเปลือง สมัยก่อนคนนิยมเลี้ยงหมูประเภทนี้กันมาก เพราะต้องใช้มันหมูในการประกอบอาหาร ปัจจุบันเรานิยมบริโภคน้ำมันพืชแทน ความนิยมในการใช้น้ำมันหมูจึงลดลง อย่างมาก ตัวอย่างพันธุ์หมูที่จัดไว้ในหมูประเภทมัน ได้แก่ หมูพันธุ์พื้นเมือง ทั้งที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เช่น พันธุ์ราด พันธุ์พวง ฯลฯ และที่มีถิ่นดั้งเดิมจากประเทศจีน คือ พันธุ์ไหหลำ

    ๒. หมูประเภทเนื้อ หมูประเภทนี้มีคุณสมบัติอยู่กึ่งกลางระหว่างหมูประเภทมันและเบคอน ดังนั้น หมูประเภทเนื้อลำตัวจึงยาวกว่าประเภทมัน แต่ไม่ยาวมากนัก มีส่วนไหล่และสะโพกใหญ่อวบ ลำตัวหนาและลึก หลังโค้งพองาม หมูประเภทนี้มีขึ้นโดยวิธีการผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ให้มีเนื้อแดงมากขึ้นแต่มันลดลง เจริญเติบโตเร็วและมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อก็ดีขึ้น ตัวอย่างหมูประเภทนี้คือ หมูพันธุ์ดูร็อก พันธุ์แฮมเชียร์ เป็นต้น

    ๓. หมูประเภทเบคอน หมูประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ผอม ลำตัวยาวกว่าประเภทอื่น ๆ แต่ค่อนข้างบาง กระดูกใหญ่ ขายาว สะโพกเล็ก เป็นหมูที่เป็นหนุ่มเป็นสาวช้า หมูประเภทเบคอนมีเนื้อสามชั้นเหมาะสำหรับทำหมูเค็มตามกรรมวิธีของชาวต่างประเทศ เรียกว่า เบคอน ได้แก่ หมูพันธุ์แลนด์เรซ และพันธุ์ลาร์จไวต์ เป็นต้น

     

    หมูพันธุ์พื้นเมืองแบ่งออกได้กี่พันธุ์ อะไรบ้าง


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    หมูพันธุ์พื้นเมืองปัจจุบันมีจำนวนค่อนข้างน้อยมาก จะพบในบางท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่มักจะได้รับการผสมพันธุ์จากหมูพันธุ์ต่างประเทศ

    เนื่องจากไม่ได้รับการปรับปรุงหรือคัดเลือกให้เป็นหมูพันธุ์ที่ดี หมูพันธุ์พื้นเมืองจึงมีลักษณะและคุณสมบัติโดยทั่วไปเลวลง คือ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า สามารถเปลี่ยนอาหารไป เป็นเนื้อได้น้อย คุณภาพค่อนข้างต่ำ คือ มีเนื้อแดงน้อย มันมาก ลำตัวสั้น หนังแอ่น สะโพกและไหล่เล็ก หมูพันธุ์พื้นเมืองแบ่งออกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้

    ๑. หมูพันธุ์ไหหลำ หมูพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีน พบในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ลำตัวมีสีขาวกับดำปนกัน สีดำมากในตอนหัว ไหล่ หลัง และบั้น ท้าย ส่วนตอนล่างของลำตัวมีสีขาว

    หมูพันธุ์ไหหลำมีหัวได้รูปงาม จมูกยาวและแอ่นเล็กน้อย คางย้อยและไหล่ใหญ่ ลำตัวยาวปานกลาง หลังแอ่น สะโพกเล็ก ขาและข้อเหนือกีบเท้าอ่อน หมูไหหลำเติบโตและสืบพันธุ์ดีกว่าหมูพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ

    ๒. หมูพันธุ์ควาย พบเลี้ยงในภาคเหนือของประเทศไทย สีของหมูพันธุ์นี้คล้ายสีของหมูพันธุ์ไหหลำ แต่ลำตัวมีสีดำเป็นส่วนใหญ่ จมูกของหมูพันธุ์ควายตรงกว่าและสั้นกว่า และมีรอยย่นมากกว่า ลำตัวเล็กกว่าหมูพันธุ์ไหหลำ ไหล่และสะโพกเล็ก ขาและข้อเหนือกีบเท้าอ่อน

    ๓. หมูพันธุ์ราด พบเลี้ยงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หัวของหมูพันธุ์ราดมีรูปงาม ยาวและตรงลำตัวสั้นและแน่น กระดูกแข็งแรง แต่เจริญเติบโตช้า

    ๔. หมูพันธุ์พวง เลี้ยงกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีสีดำ หมูพันธุ์พวงเป็นหมูที่มีผิวงหนังหยาบมากที่สุด ดังนั้น จึงขายได้ในราคาต่ำกว่าหมูพันธุ์อื่น หมูพันธุ์พวง ส่วนมากใช้ผสมกับหมูพันธุ์ราด เพื่อให้ได้รูปขนาดและการเจริญเติบโตดีขึ้น อย่างไรก็ตามการนำหมูพันธุ์ต่างประเทศมาผสมเพื่อปรับปรุงพันธุ์จะได้ผลดีกว่า

     

    หมูพันธุ์ต่างประเทศแบ่งออกได้กี่พันธุ์ อะไรบ้าง


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    ๑. หมูพันธุ์แลนด์เรซ

    หมูพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ก เป็นหมูประเภทเบคอนที่ดีที่สุด เจริญเติบโตและเนื้อมีคุณภาพดี มีสีขาวตลอดลำตัว แต่อาจมีจุดดำบนผิวหนังได้บ้าง ลำตัวและหลังค่อนข้างตรง ใบหูใหญ่และปรก จมูกตรง คางเรียบ ให้ลูกดกและเลี้ยงลูกเก่ง ในประเทศไทยมีเลี้ยงกันอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะ ภาคกลางของประเทศมีเลี้ยงกันมาก

    ๒. หมูพันธุ์ลาร์จไวต์

    หมูพันธุ์นี้ในสหรัฐอเมริกาเรียกพันธุ์ยอร์กเชอร์ (Yorkshire) ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ เป็นหมูประเภทเบคอนที่ให้เนื้อมาก เติบโตเร็ว มีสีขาวตลอดลำตัว หัวโตปานกลาง หูตั้ง ตัวเมียให้ลูกดกและเลี้ยงลูกเก่ง

    ๓. หมูพันธุ์ดูร็อก

    หมูพันธุ์ดูร็อกมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหมูประเภทเนื้อขนาดใหญ่ รูปร่างหนาลึก ความยาวของลำตัวสั้นกว่าหมูพันธุ์แลนด์เรซ และพันธุ์ลาร์จไวต์ สะโพกใหญ่เด่นชัด มีสีตั้งแต่แดงเข้มไปจนอ่อน หัวมีขนาดปานกลาง หูย้อยไปข้างหน้า

    ๔. หมูพันธุ์ลูกผสม

    เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ต่างประเทศด้วยกัน ส่วนใหญ่เจริญเติบโตเร็ว เป็นที่นิยมกันมากในการเลี้ยงเป็นหมูขุน

    การเลี้ยงดูและการดูแลหมูพ่อพันธุ์ ต้องทำอย่างไร


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    หมูตัวผู้ที่จะนำมาใช้ผสมพันธุ์ได้ดี ควรมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีขนาดและอายุที่พอเหมาะเพื่อให้สามารถผลิตน้ำเชื้อที่มีคุณภาพดีพอเพียง มีผลทำให้การผสมติดสูง และได้จำนวนลูกมากเป็นปกติ แม้ว่าหมูตัวผู้สามารถผลิตอนุจิได้บ้างแล้วเมื่อมีอายุย่างเข้า 4 เดือนก็ตาม แต่จำนวนน้ำเชื้อและอสุจิที่ผลิตได้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อหมูมีอายุมากขึ้น ดังนั้น หมูตัวผู้ที่จะนำมาใช้ผสมพันธุ์ ควรมีขนาดใหญ่พอเหมาะที่จะผสมกับแม่หมูที่มีขนาดปกติได้ โดยปกติมักใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุราว 8 เดือน และมีน้ำหนักประมาณ 80-90 กิโลกรัม สำหรับหมูพ่อพันธุ์ต่างประเทศควรมีน้ำหนักราว 115 กิโลกรัม

    การเลี้ยงหมูพ่อพันธุ์ ปกติให้อาหารวันละมื้อ พ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรืออ้วนควรให้ออกกำลังบ้าง หรือลดอาหาร และให้อาหารหยาบมากขึ้น หมูพ่อพันธุ์ถ้าได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากผู้เลี้ยงจะสามารถใช้งานได้หลายปี โดยไม่มีข้อบกพร่องแม้จะใช้ผสมพันธุ์วันละสองครั้งก็ตาม แต่ก็ไม่ควรใช้งานมากเกินไป เพราะการผสมบ่อย ๆ หรือติด ๆ กันจะทำให้จำนวนอสุจิลดน้อยลงและอาจมีอสุจิตัวอ่อนที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ดังนั้น หลังจากฤดูผสมพันธุ์ควรจะให้ตัวผู้ได้พักผ่อนและออกกำลังกาย โดยปล่อยในทุ่งหญ้า

     

    การเลี้ยงดูและการดูแลหมูแม่พันธุ์ ต้องทำอย่างไร


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    หมูสาวเจริญเติบโตในลักษณะเช่นเดียวกันกับหมูหนุ่ม เมื่อมีอายุมากขึ้นปริมาณของไข่ที่ตกจากรังไข่จะเพิ่มขึ้น ทำให้ ปริมาณลูกที่คลอดมีจำนวนมาก จนกระทั่งแม่หมูมีอายุประมาณ 15 เดือน ปริมาณไข่ที่ตกก็จะคงที่ โดยปกติจะผสมพันธุ์หมูสาวเมื่อมีอายุได้ราว 7-8 เดือน หรือน้ำหนักราว 110-115 กิโลกรัม

    การผสมพันธุ์แม่หมู ควรกะเวลาให้พอดีกับระยะการตกไข่ เพราะจะทำให้ได้ผลดีกว่าการผสมในเวลาอื่น แม่หมูส่วนใหญ่จะกลับเป็นสัดอีกภายใน 3-7 วัน หลังการหย่านม แม่หมูแสดงการเป็นสัดนานประมาณ 48-72 ชั่วโมง (หมูสาวนานประมาณ 36-60 ชั่วโมง) การตกไข่เกิดขึ้นประมาณช่วงกลาง ๆ ของการเป็นสัด แต่ไข่จะไม่ตกพร้อม กันทีเดียวทั้งหมด การผสมหมูสาวหรือแม้หมูควรผสมซ้ำหรือผสมครั้งที่สอง โดยทิ้งระยะให้ห่างจากครั้งที่หนึ่งประมาณ 12 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย ปกติการผสมพันธุ์หมู มักทำในตอนเช้าและเย็น เพราะอากาศไม่ร้อน ไม่ควรผสมพันธุ์ หมูขณะที่ป่วยหรือหลังการฉีดวัคซีนใหม่ ๆ วิธีดังกล่าวนี้จะช่วยให้การผสมพันธุ์ได้ผลดีขึ้นและเพิ่มลูกต่อครอกให้มากขึ้น

    ข้อแนะนำระหว่างการผสมพันธุ์หมูคือควรให้อาหารแม่หมูและหมูสาวให้มากขึ้น เนื่องด้วยเหตุผลสองประการคือ

    ประการแรก เนื่องจากแม่หมูผสมพันธุ์ครั้งใหม่หลังการหย่านมในช่วงเวลาสั้น หมูยังอยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรงเพียงพอ

    ประการที่สอง เนื่องจากระหว่างการให้นม แม่หมูส่วนใหญ่สูญเสียน้ำหนักไปมาก การให้อาหารเพิ่มขึ้นจะช่วยให้แม่หมูอยู่ในสภาพที่เหมาะสำหรับการให้นมครั้งต่อไป

     

    ทราบหรือไม่ว่าการปฎิบัติดูแม่หมูก่อนคลอด ควรปฎิบัติอย่างไร


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    ช่วงระยะก่อนคลอด ระหว่างคลอด และระยะ 2-3 วัน ของการให้นม เป็นช่วงที่มีความสำคัญมากช่วงหนึ่งของการเลี้ยงดูหมู ถ้าการเลี้ยงดูในระหว่างช่วงนี้ไม่ดีพอก็จะสูญเสียลูกหมูไปโดยไม่จำเป็น การเลี้ยงดูแม่หมูก่อนคลอดควรปฏิบัติดังนี้

    ๑. การทำความสะอาดคอกคลอด ควรทำความสะอาดไว้ล่วงหน้าให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำแม่หมูเข้าคอกคลอดประมาณหนึ่งสัปดาห์หรือนานกว่านี้ก็ได้ เพื่อลดโอกาสที่โรคและพยาธิจะเกิดขึ้นให้มีได้น้อยที่สุด ซึ่งโรคและพยาธินี้จะติดต่อถึงลูกได้มาก เนื่องจากลูกหมูพยายามหาทางไปกินนมจากแม่ภายหลังที่คลอดได้ไม่กี่นาทีลูก หมูจึงอาจติดโรคและพยาธิเหล่านี้ได้จากคอกที่สกปรก การทำความสะอาดคอกคลอดจะใช้ผงซักฟอกหรือโซดาไฟล้างก็ได้แล้วใช้น้ำสะอาดล้างให้ทั่วอีกครั้ง เมื่อคอกแห้งแล้วจึงใช้ยาฆ่าเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่งผสมน้ำเจือจางตามคำแนะนำแล้วพ่นให้ทั่วบริเวณคอก

    ๒. การถ่ายพยาธิแม่หมู ก่อนถึงกำหนดคลอด 7-14 วัน ควรถ่ายพยาธิแม่หมู โดยเฉพาะหมูที่เลี้ยงแบบปล่อยลงแปลงหรือเลี้ยงในคอกที่มีพื้นเป็นดิน วิธีการใช้ยาถ่ายพยาธิให้ดูจากฉลากที่ติดมากับยาชนิดนั้น ๆ

    ๓. การทำความสะอาดแม่หมู ปกติทั้งแม่หมูและหมูสาวจะอุ้มท้องนานประมาณ 114 วัน เมื่ออุ้มท้องได้ 109 วัน ควรย้ายหมูเหล่านั้นไปยังคอกคลอด อาบน้ำด้วยสบู่ ใช้แปรงที่มีขนแข็งถูให้ทั่วบริเวณร่างกาย โดยเฉพาะตามพื้นท้อง ลำตัว และบริเวณเต้านม วิธีนี้จะกำจัดไข่พยาธิ และสิ่งสกปรกที่ติดมากับตัวหมูออกไป

    ๔. การให้อาหารและน้ำแม่หมู อาหารที่ให้แม่หมูในช่วงก่อนคลอดนี้ ควรจะเป็นอาหารช่วยระบายอย่างอ่อน ๆ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการท้องผูกของแม่หมู ช่วงนี้ผู้เลี้ยงอาจเพิ่มอาหารที่มีเยื่อใยสูงลงในอาหารแม่หมูได้ รำข้าว หรือจะให้หญ้าสด เช่น หญ้าขน ก็ได้

     

    การดูแลแม่หมูระหว่างคลอดควรปฎิบัติอย่างไร


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    การดูแลแม่หมูระหว่างคลอดควรปฏิบัติดังนี้

    ๑. การจัดเตรียมวัดสุรองพื้นสำหรับลูกหมูควรจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนแม่หมูจะคลอดหนึ่งวันหรือสองวัน วัดสุที่รองพื้นที่ควรจัดเตรียมไว้ ได้แก่ ฟางข้าว หญ้าแห้ง หรือกระสอบที่สะอาด และแห้ง วัสดุรองพื้นช่วยป้องกันขาและเต้านมของลูกหมูที่เพิ่งคลอดไม่ให้ได้รับอันตรายจากพื้นคอกที่หยาบ แข็ง และยังช่วยให้ความอบอุ่นแก่ลูกหมูอีกด้วย

    ๒. การจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฐมพยาบาลลูกหมูที่คลอดออกมา เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องเตรียมไว้ระหว่างหมูกำลังคลอดมีดังนี้

    ๒.๑ ผ้าแห้งที่สะอาด 2-3 ผืน สำหรับเช็ดตัวลูกหมูที่คลอดออกมาใหม่ ๆ

    ๒.๒ คีม สำหรับตัดเขี้ยวและหางลูกหมู

    ๒.๓ ด้ายผูกสายสะดือ

    ๓. การให้อาหารแม่หมู ถ้าเป็นไปได้ช่วงก่อนคลอด 12 ชั่วโมงและหลังคลอดอีก 12 ชั่วโมง ไม่ต้องให้อาหารเลย นอกจากน้ำสะอาดอย่างเดียว

    ๔. การช่วยเหลือลูกหมูเมื่อคลอด ลูกหมูเมื่อคลอดออกมาใหม่ ๆ ควรจะช่วยทำความสะอาด เช็ดร่างกายลูกหมูให้แห้งด้วยผ้าแห้งที่สะอาด เอาเยื่อบาง ๆ ที่ห่อหุ้มตัวลูกหมูออกโดยเฉพาะเยื่อที่หุ้มส่วนจมูกและปาก ควรเช็ดและล้วงเสมหะออกจากปากเสียก่อนโดยเร็ว หลังคลอดไม่ควรขังลูกหมูไว้ ควรปล่อยให้กินนมได้เลย น้ำนมแม่เมื่อแรกคลอด (colostrum) นี้มีประโยชน์ต่อลูกหมูมาก และจะมีอยู่เพียง 2-3 วันหลังคลอดเท่านั้น

    การเลี้ยงแม่หมูระหว่างการให้นมควรปฎิบัติอย่างไร


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    การเลี้ยงดูแม่หมูระหว่างการให้นมควรปฏิบัติดังนี้

    ๑. ควรให้อาหารเดิมแก่แม่หมู (อาหารที่ให้แม่หมูตอนใกล้คลอด) ภายหลังคลอดต่อไปอีกประมาณ 3 - 5 วัน จึงค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารสูตรใหม่

    ๒. อาหารสูตรใหม่ที่ให้แก่แม่หมูระหว่างการให้น้ำนม ควรมีโปรตีนและพลังงานไม่น้อยกว่าในอาหารสำหรับแม่หมูระหว่างการอุ้มท้อง ทั้งนี้เพื่อช่วยในการผลิตน้ำนม

    ๓. การให้อาหารควรเริ่มให้แต่น้อย วันถัดไปค่อยเพิ่มจำนวนอาหารที่ให้กินมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เท่าที่แม่หมูจะสามารถกินได้ เช่น แม่หมูมีลูก 10 ตัว อาหารที่ให้แม่หมูกินเต็มที่ประมาณ 5 กิโลกรัม

    ๔. การเพิ่มอาหารให้แม่หมูกินเร็วเกินไป อาจทำให้ลูกหมู เกิดขี้ขาวได้ ถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ผู้เลี้ยงควรลดจำนวนอาหารที่ให้หมูลง

     

    การเลี้ยงและดูแลลูกหมูหลังคลอดไปจนถึงหย่านมมีวิธีอย่างไร


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    การเลี้ยงและการดูแลลูกหมู ตั้งแต่หลังคลอดไปจนถึงหย่านม นับได้ว่าเป็นช่วงที่มีความยุ่งยากมากกว่าช่วงอื่น ๆ เป็นช่วงที่มีการสูญเสียลูกหมูมากที่สุด โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ตัวต่อครอกซึ่งอาจเกิด เนื่องจากถูกแม่ทับตาย ท้องร่วงอย่างแรง อดอาหาร โลหิตจางและเสียเลือดมากทางสายสะดือเมื่อคลอด อย่างไรก็ตามการสูญเสียลูกหมูในช่วงนี้ ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการดูแลไม่ดีมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ ดังนั้น เพื่อลดการสูญเสียลูกหมูในช่วงนี้ ผู้เลี้ยงควรเตรียมการดูแลลูกหมูดังนี้

    ๑. การให้ความอบอุ่น หมูที่มีอายุต่ำกว่า 3 วัน กลไกที่คาบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายยังไม่ทำงาน จึงไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความผันแปรของอุณหภูมิภายนอกได้ ลูกหมูแรกเกิดที่ถูกความหนาวเย็นมาก ๆ หรือเป็นเวลานาน ๆ อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงจะเป็นผลให้ลูกหมูตัวนั้นตายได้

    ๒. การป้องกันลมโกรก ไม่ควรปล่อยให้ลูกหมูถูกลมโกรก เช่น ให้ลูกหมูอยู่ในคอกที่โปร่งมากหรือมีพื้นเป็นไม้ระแนง เพราะจะทำให้ลูกหมูเจ็บป่วยได้ง่าย บริเวณสำหรับลูกหมูแรกคลอดหลับนอนควรมีที่กำบังลมไว้ประมาณ 3-4 วัน จะช่วยให้ลูกหมูไม่ถูกลมโกรกมากนัก อย่างไรก็ตาม คอกลูกหมูก็ไม่ควรปิดทึบเพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เวลาคอกเปียกชื้นจะแห้งยากทำให้เกิดเชื้อโรค ลูกหมูจะเจ็บป่วยได้ง่ายเช่นกัน

    ๓. การรักษาความสะอาดคอก คอกที่ใช้เลี้ยงลูกหมูควรทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ พื้นคอกตลอดจนบริเวณที่ลูกหมูนอนควรจะแห้งและสะอาดอยู่เสมอ ถ้าจำเป็นที่จะต้องล้างทำความสะอาด เนื่องจากคอกสกปรก ควรขังลูกหมูเอาไว้ก่อน อย่าปล่อยออกมาให้ตัวเปียกน้ำ ลูกหมูอาจจะหนาวสั่นและเจ็บป่วยได้ เมื่อเห็นว่าคอกแห้งพอสมควรดีแล้วจึงปล่อยลูกหมูตามเดิม

    ๔. การตัดสายสะดือ ก่อนอื่นควรมัดสายสะดือเพื่อป้องกันเลือดออกหลังตัด ควรตัดให้เหลือสายสะดือยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อลูกหมูยืนขึ้นสายสะดือจะได้ไม่ติดพื้นคอก จากนั้นเช็ดแผลที่ตัดแล้วด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน สายสะดือเป็นส่วนสำคัญที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ตัวลูกหมูได้ การเจ็บป่วย เช่น ลูกหมูขาเจ็บหรือตายอาจจะมาจากการละเลยการปฏิบัติดังกล่าว

    ๕. การตัดฟันและการตัดหาง ควรตัดภายหลังที่ลูกหมูคลอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง การตัดฟันและหางนี้ควรทำพร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการจับต้องลูกหมูหลาย ๆ ครั้ง

    ๖. การป้องกันโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางในลูกหมูมักเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ทั้งนี้เพราะลูกหมูมีความต้องการธาตุเหล็กมากเกินกว่าที่ได้รับจากน้ำนมแม่ เนื่องจากลูกหมูมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและธาตุเหล็กที่เก็บสำรองในตัวลูกหมูที่เกิด ใหม่มีอยู่จำนวนน้อย เพื่อป้องกันโรคนี้ผู้เลี้ยงควรฉีดธาตุเหล็กให้ลูกหมูประมาณ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อลูกหมูอายุได้ 3 วัน ครั้งถัดไปเมื่อลูกหมูมีอายุได้ 2-3 สัปดาห์

    ๗. การตอนลูกหมูตัวผู้ ลูกหมูตัวผู้ที่ไม่เก็บไว้ทำพันธุ์ จะตอนเมื่ออายุเท่าใดก็ได้ แต่ที่เหมาะคือเมื่ออายุได้ 2 หรือ 3 สัปดาห์ ในช่วงนี้อันตรายจากการตอนมีน้อยกว่าช่วงที่ลูกหมูโตแล้ว เพราะจับลูกหมูได้ง่ายกว่า และแผลก็จะหายเร็วกว่าด้วย

    ๘. การหัดให้กินอาหารแห้ง ก่อนลูกหมูหย่านมอย่างสมบูรณ์ เมื่อลูกหมูมีอายุได้ 1 หรือ 2 สัปดาห์ ควรหัดให้กินอาหารบ้างลูกหมูที่เคยหัดให้กินอาหารตั้งแต่เล็ก โดยทั่วไปเมื่อหย่านมจะเรียนรู้การกินอาหารได้เร็วกว่าพวกที่ไม่เคยหัดเลย

     

    โรคของหมูที่สำคัญ คือโรคอะไร


    [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

    แม้ว่าการเลี้ยงหมูจะเจริญไปมากก็ตาม แต่ปัจจุบันยังประสบปัญหาเรื่องโรคและพยาธิต่างๆ โดยเฉพาะโรคระบาดที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น โรคอหิวาต์หมู โรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งยังไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ จึงเป็นเหตุให้การเลี้ยงหมูในบ้านเรายังไม่เจริญก้าวหน้าถึงที่สุด ตลาดต่างประเทศยังไม่ยอมรับเนื้อหมูจากประเทศไทย ตลาดหมู จึงจำกัดอยู่ภายในประเทศเท่านั้น โรคระบาดร้ายแรงที่เป็นอันตรายมาก ได้แก่

    โรคอหิวาต์หมู

    โรคอหิวาต์หมูเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงมากและเป็นเฉพาะหมูเท่านั้น โรคนี้นำความเสียหายมาสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเป็นอย่างมาก และเคยระบาดไปทั่วโลกรวมทั้งทวีปเอเชีย

    สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งคือ ทอร์เทอร์ซูอิส (Tortor suis) ติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัสหรือโดยทางอ้อมจากอาหาร น้ำที่มีเชื้อปะปน นก แมลง หนู และสุนัข รวมทั้งคนซึ่งเป็นพาหะอย่างดีจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้โดยง่าย สาเหตุอีกประการที่ทำให้โรคนี้ระบาดได้เร็วคือ การเลี้ยงหมูด้วยเศษอาหารที่เก็บรวบรวมจากที่ต่างๆ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคปะปนติดมา หากอาหารที่นำมาเลี้ยงนั้นไม่ได้ต้มให้เชื้อตายเสียก่อนแล้ว หมูจะได้รับเชื้อทันที

    อาการ หมูที่ติดโรคนี้เริ่มแรกจะมีอาการหงอยซึม เบื่ออาหาร มีไข้สูง มีอาการสั่น หลังโก่ง หูและคอตก ขนลุก ไม่ค่อยลืมตา เยื่อตาอักเสบนัยน์ตาแดงจัด มักมีขี้ตาสีขาวสีเหลืองแถวบริเวณหัวตาก่อน แล้วแผ่ไปเต็มลูกนัยน์ตา อาจทำให้ตาปิดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ผิวหนังบริเวณเนื้ออ่อนๆ เช่น บริเวณท้อง โคนขา ใบหู มีลักษณะช้ำเป็นผื่นแดงปนม่วงเป็นเม็ดๆ เนื่องจากเลือดออกเป็นจุดๆ ใต้ผิวหนังเห็นได้ชัดกับหมูที่มีผิวหนังขาว หมูจะอ่อนเพลีย ชอบนอนซุกตามมุมคอก

    หมูที่เป็นโรคนี้จะมีอาการท้องผูกในตอนแรก ต่อมาจึงมีอาการอาเจียนเป็นน้ำสีเหลืองๆ เวลาเดินตัวสั่นเพราะไม่มีแรงทรงตัว มีอุจจาระร่วงและไข้ลดลง แต่มีอาการหอบเข้าแทรกจนกระทั่งตาย หมูที่เป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 90 มักตาย โรคอหิวาต์หมูเป็นได้กับหมูทุกระยะการเจริญเติบโต

    การป้องกันและรักษา ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ให้กับหมูทุกๆ ตัว ปีละครั้ง สำหรับหมูที่เพิ่งแสดงอาการเป็นโรคนี้อาจฉีดเซรุ่มรักษาให้หายได้

    โรคปากและเท้าเปื่อย

    โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคระบาดที่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วของสัตว์ที่มีกีบคู่ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ และหมู โรคนี้ไม่ทำให้สัตว์ถึงตายได้ แต่จะซูบผอมลงเพราะกินอาหารไม่ได้ สัตว์ที่กำลังให้นมจะหยุดให้นมชั่วระยะหนึ่งและจำนวนน้ำนมจะลดลง

    สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีแบบต่างๆ กัน ในประเทศไทยเป็นแบบเอ โอ และเอเชีย 1 โรคนี้ติดต่อได้ง่ายทางอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคนี้ หรือติดต่อทางสัมผัสเมื่อหมูคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็นโรค นอกจากนี้แมลงวันก็เป็นพาหะของโรคนี้ด้วย

    อาการ อาการหมูที่ป่วยด้วยโรคนี้จะเริ่มเบื่ออาหาร มีไข้สูง จมูกแห้ง เซื่องซึม ภายในปากอักเสบแดง ต่อมามีเม็ดตุ่มแดงที่เยื่อภายในปาก บนลิ้น ริมฝีปาก เหงือก เพดาน ตามบริเวณซอกกีบ ตุ่มเหล่านี้จะเกิดพุพองและกลัดหนองแล้วแตกเฟะ ทำให้หมูกินอาหารและน้ำไม่สะดวก มีน้ำลายไหลอยู่เสมอ เท้าเจ็บ เดินกะเผลก บางตัวต้องเดินด้วยเข่า หรือเดินไม่ได้ บางตัวที่เป็นมากกีบจะเน่าและหลุดออก ทำให้หมูหมดกำลังและตายในที่สุด

    การป้องกันและรักษา ควรฉีดวัคซีนให้ 6 เดือนต่อครั้ง และประการสำคัญอย่าเลี้ยงสัตว์ประเภทกีบคู่ใกล้กันเพราะสามารถติดต่อกันได้ และอย่าให้คนเลี้ยงหมูจากที่อื่นเดินมาในบริเวณเลี้ยงหมูโดยไม่ได้จุ่มเท้าในน้ำยาฆ่าเชื้อเสียก่อน

    http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK18/chapter9/chap9.htm

     

    การเลี้ยงสุกร

      ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยได้มีการพัฒนาการด้านพันธุ์อาหารสัตว์ การจัดการและการสุขาภิบาล จนทัดเทียมกับต่างประเทศ การเลี้ยงสุกรภายในประเทศ แม้จะมีฟาร์มใหญ่ ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อยที่ทำการเลี้ยงสุกรรายละ 1-20 ตัว ตามหมู่บ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เกตรกรรายย่อยดังกล่าวจำเป็นจะต้องได้รับความรู้ในด้านการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำรายได้ให้กับครอบครัว และยังจะได้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรให้ได้ผลดีด้วย

     

    ปัจจัยที่จะทำให้การเลี้ยงสุกรประสบความสำเร็จประกอบด้วย

     

    สุกรพันธุ์ดี

    อาหารดี

    โรงเรือนดี

    การจัดการเลี้ยงดูดี

    การป้องกันโรคดี

     

    เหตุผลในการเลี้ยงสุกร

    สุกรสามารถเลี้ยงได้ในจำนวนน้อย เป็นฟาร์มเล็ก ๆ

    ในการเลี้ยงสุกรต้องการพื้นที่เพียงเล็กน้อย

    การเลี้ยงสุกรใช้แรงงานน้อย เลี้ยงง่าย

    ใช้เศษอาหารและของเหลือต่าง ๆ เป็นอาหารสุกรได้

    มูลสุกรใช้เป็นปุ๋ยอย่างดี และใช้กับบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มผลผลิตของการเลี้ยงปลา

    สุกรให้ลูกดก ขยายพันธุ์ได้เร็ว

    *    การเลี้ยงสุกรเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี สามารถคืนทุนได้ภายในเวลา 6 เดือน

     

            แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามการใช้ประโยชน์ คือ

    ประเภทมัน

    เป็นสุกรรูปร่างตัวสั้น อ้วนกลม มีมันมาก สะโพกเล็ก โตช้า เช่น สุกรพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย

    ประเภทเนื้อ

    รูปร่างจะสั้นกว่าพันธุ์เบคอน ไหล่และสะโพกใหญ่ เด่นชัด ลำตัวหนาและลึก ได้แก่ พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เบอร์กเชียร์ แฮมเเชียร์ เป็นต้น

    ประเภทเบคอน

    รูปร่างใหญ่ ลำตัวยาว มีเนื้อมาก ไขมันน้อย ความหนาและความลึกของลำตัวน้อยกว่าประเภทเนื้อ ได้แก่ พันธุ์แลนด์เรซ ลาร์จไวท์ เป็นต้น

     

    พันธุ์สุกรจากต่างประเทศ และพันธุ์สุกรพื้นเมืองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ตามรายละเอียด ดังนี้

     

          @ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 มีสีขาว หูตั้ง ลำตัวยาว กระดูกใหญ่ โครงใหญ่ หน้าสั้น หัวใหญ่ โตเต็มที่น้ำหนัก 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว คุณภาพซากดี พันธุ์ลาร์จไวท์ เหมาะที่ใช้เป็นทั้งสายพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

        พันธุ์ลาร์จไวท์       

     

           มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ค นำเข้ามาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2506 มีสีขาว หูปรก ลำตัวยาว มีซี่โครงมากถึง 16-17 คู่ (สุกรปกติมีกระดูกซี่โครง 15-16 คู่) หน้ายาว โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีข้อเสียคือ อ่อนแอ มักจะมีปัญหาเรื่องขาอ่อน ขาไม่ค่อยแข็งแรง แก้ไขโดยต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพดี พันธุ์แลนด์เรซเหมาะที่ใช้เป็นสายแม่พันธ

        พันธุ์แลนด์เรซ      

     

          @มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกา มีสีแดง หูปรกเป็นส่วนใหญ่ ลำตัวสั้นกว่าลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ลำตัวหนา หลังโค้ง โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม เป็นสุกรที่ให้ลูกไม่ดกเฉลี่ย 8-9 ตัว เลี้ยงลูกไม่เก่ง หย่านมเฉลี่ย 6-7 ตัว ลูกสุกรหลังจากอายุ 2 เดือนไปแล้ว เจริญเติบโตเร็ว มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศทุกชนิด นิยมใช้เป็นสายพ่อพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมที่สวยงาม แผ่นหลังกว้าง เจริญเติบโตเร็ว

      พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่     

     

           มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยม มีสีดำขาวเหลือง ลายสลับ เป็นสุกรที่มีรูปร่างสวยงาม กล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ แผ่นหลังกว้างเป็นปีก สะโพกเห็นเด่นชัด โตเต็มที่ 150-200 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูงมาก มีข้อเสีย คือ ตื่นตกใจช็อคตายง่าย และโตช้า ปัจจุบันนิยมใช้ผสมข้ามพันธุ์ในการผลิตสุกรขุน

       พันธุ์เปียแตรง     

     

      สุกรพื้นเมือง     

          @ เป็นสุกรที่เลี้ยงอยู่ตามหมู่บ้านชนบทพวกชาวเขา ลักษณะโดยทั่วไป จะมีขนสีดำ ท้องยาน หลังแอ่น การเจริญเติบโตช้า ให้ลูกดก และเลี้ยงลูกเก่ง จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น สุกรพันธุ์ไหหลำ พันธุ์ควาย พันธุ์ราด พันธุ์พวง สุกรป่า เป็นต้น

    สุกรพันธุ์ไหหลำ

    เลี้ยงตามภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย มีสีดำปนขาว ตามลำตัวจะมีสีดำ ท้องมักมีสีขาว จมูกยาวและแอ่นเล็กน้อย คางย้อย ไหล่กว้าง หลังแอ่น สะโพกเล็ก มีอัตราการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ได้ดีกว่าสุกรพื้นเมืองอื่น ๆ แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 100-120 กิโลกรัม

    สุกรพันธุ์ราดหรือพวง

    สุกรพันธุ์ราดหรือพวง เลี้ยงตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ มีขนสีดำตลอดตัว มีสีขาวปนแซมบ้างเล็กน้อย จมูกยาว ลำตัวสั้นป้อม หลังแอ่น ใบหูตั้งเล็ก ผิวหนังหยาบ แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม

    สุกรพันธุ์ควาย

    สุกรพันธุ์ควาย เลี้ยงตามภาคเหนือและภาคกลาง มีลักษณะคล้ายสุกรไหหลำ แตกต่างกันที่พันธุ์ควายจะมีสีดำ สุกรพันธุ์ควายมีหูใหญ่ ปรกเล็กน้อย มีรอยย่นตามตัว เป็นสุกรที่มีขนาดใหญ่ กว่าสุกรพื้นเมืองพันธุ์อื่น แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม

    สุกรป่า

    เลี้ยงตามภาคต่าง ๆ ทั่วไป มีขนหยาบแข็ง สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเข้ม หรือสีดอกเลา หนังหนา หน้ายาว จมูกยาวและแหลมกว่าสุกรพื้นเมือง ขาเล็กและเรียว ดูปราดเปรียว ที่พบมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แม่สุกรโตเต็มที่หนักประมาณ 80 กิโลกรัม

     

    สุกรพันธุ์แฮมเชียร์

    สุกรพันธุ์เหมยซาน

             นอกจากนี้ก็มีสุกรพันธุ์แฮมเชียร์ เบอร์กเชียร์ และเหมยซาน ที่นำเข้ามาทดลองเลี้ยงดูในประเทศไทย แต่ไม่นิยมเลี้ยงแพร่หลาย ที่นิยมเลี้ยงกันมากมีเพียง 3 พันธุ์เท่านั้น คือ ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ และดูร็อคเจอร์ซี่ ส่วนสุกรลูกผสมที่ผลิตเป็นสุกรขุน นิยมใช้สุกร 3 สายพันธุ์ คือ ดูร็อคเจอร์ซี่ x แลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ (โดยใช่พ่อพันธุ์แท้ดูร็อคเจอร์ซี่ และแม่ลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์)

     

    สุกรลูกผสมที่เหมาะสมในการใช้เลี้ยงสุกรขุน

             การเลี้ยงสุกรพันธุ์แท้พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นจึงนิยมนำพันธุ์แท้มาผสมข้ามพันธุ์ เพื่อทำให้ลูกที่เกิดขึ้นมีลักษณะของเฮตเตอร์โรซีส ( Heterosis) หรือ ไฮบริดวิกเกอร์ (Hybrid Vigor) หรือ เรียกว่าพลังอัดแจ กล่าวคือ ตัวลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างพันธุ์กันนำมาผสมพันธุ์จะให้ผลผลิต เช่น การเจริญเติบโต ความแข็งแรง ดีกว่าค่าเฉลี่ยของการให้ผลผลิตจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิด สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์ สามสายพันธุ์ หรือสี่สายพันธุ์ สามารถนำมาใช้เป็นสุกรขุนได้เช่นกัน แต่สากลนิยมทั่วไปมักใช้สุกรลูกผสมสามสายพันธุ์เป็นสุกรขุน คือ ดูร็อคเจอร์ซี่ x แลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ โดยใช้แม่สองสายพันธุ์ คือ แลนด์เรซ x ลาร์จไวท์ หรือ ลาร์จไวท์ x แลนด์เรซ ซึ่งถือว่าเป็นนสายแม่พันธุ์ที่มีคุณสมบัติการผลิตลูกดีที่สุด ส่วนพ่อสุดท้ายจะใช้พ่อพันธุ์แท้เป็นพันธู์ดูร็อคเจอร์ซี่ หรือ อีกทางให้เลือกคือ ใช้พ่อพันธุ์แท้เป็นพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ หรืออีกทางให้เลือก คือ ใช้พ่อพันธุ์แท้ เช่น ดูร็อคเจอร์ซี่ ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ ผสมกับแม่พันธุ์แท้ เช่น พันธุ์แลนด์เรซ ลาร์จไวท์ ดูร็อคเจอร์ซี่ จะได้ลูกผสมสองสายพันธุ์ใช้เป็นสุกรขุนได้ตามแผนผังด้านล่าง


    สุกรลูกผสมสายสามพันธุ์เพื่อใช้เป็นสุกรขุน

    แลนด์เรซ (เพศเมีย)

    ลาร์จไวท์ (เพศผู้)

     

     

    แลนด์เรซ 50% ลาร์จไวท์ 50% (เพศผู้)

    ดูร็อคเจอร์ซี่ (เพศเมีย)

     

    ตัวเมียใช้ทำเป็นพ่อพันธุ์สองสายพันธุ์
    ตัวผู้ ให้ตอนเลี้ยงเป็นสุกรขุน

    ดูร็อคเจอร์ซี่ x แลนด์เรซ - ลาร์จไวท์

    ลูกผสม 3 สายพันธุ์ เพื่อใช้เป็นสุกรขุน


    สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์เพื่อใช้เป็นสุกรขุน

    ดูร็อคเจอร์ซี่

    แลนด์เรซ

     

     

    ดูร็อคเจอร์ซี่ 50% แลนด์เรซ 50%

    สายพ่อใช้พันธุ์อื่นก็ได้ แต่เกษตรกร มักนิยมใช้พ่อดูร็อคเจอร์ซี่ ส่วนแม่พันธุ์จะใช้พันธุ์อื่นก็ได้ เช่น แลนด์เรซ , ลาร์จไวท์ เป็นต้น

    ลูกผสมที่ใช้เป็นสุกรขุน

     

             การใช้สุกรขุนสองสายพันธุ์ ใช้ในกรณีที่เรามีแม่พันธุ์แท้อยู่แล้ว สุกรสองสายพันธุ์สามารถใช้เป็นสุกรขุนได้เป็นอย่างดี จะขึ้นอยู่กับพ่อสุดท้าย ถ้าเป็นพ่อพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ มักจะให้ลูกสองสายพันธุ์ที่แข็งแรงกว่า อย่างไรก็ตามการผลิตสุกรขุนสองสายพันธุ์ จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าสุกรลูกผสมสามสายพันธุ์ เนื่องจากแม่สุกรพันธุ์แท้จัดหาซื้อมาในราคาที่แพงและมักจะอ่อนแอกว่าแม่สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์

     

    หลักในการปรับปรุงพันธุ์สุกรนั้นมี 2 ข้อดังนี้

    การคัดเลือกพันธุ์

             สุกรที่จะใช้ทำพันธุ์นั้นจะคัดเลือกจากลักษณะภายนอกและจากพันธุ์ประวัติ การคัดเลือกจากลักษณะภายนอก เช่น รูปร่างลักษณะ ถูกต้องตามสายพันธุ์ พิจารณาความแข็งแรงของขา ขาไม่แอ่นเหมือนตีนเป็ด ลำตัวยาว อวัยวะเพศปกติ เต้านมไม่ต่ำกว่า 12 เต้า หัวนมไม่บอด ส่วนจากพันธุ์ ดูอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ความหนาไขมันสันหลัง และผลผลิตจากแม่พันธุ์ (ลูกดก)

    การผสมพันธุ์

             เมื่อคัดเลือกพันธุ์ได้แล้วก็นำมาผสมพันธุ์เพื่อผลิตลูกต่อไป อย่างไรก็ตามจำเป็นจะต้องนำสุกรจากที่อื่นเข้ามาปรับปรุงด้วย เพื่อป้องกันเลือดชิด สุกรเพศผู้จะเริ่มใช้ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 7-8 เดือน น้ำหนักประมาณ 100-120 กิโลกรัม สุกรแม่พันธุ์ควรจะให้ลูกครอกแรกเมื่ออายุได้ 1 ปี แม่สุกรเป็นสัดแต่ละรอบ ระยะเวลาห่างกัน 21 วัน ตั้งท้อง 114 วัน ควรทำการผสมแม่พันธุ์ 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชั่วโมง (เช้า-เช้า หรือ เย็น-เย็น) หรือมากกว่า 2 ครั้ง ยิ่งดีโดยเริ่มผสมพันธุ์ในวันที่สองของการเป็นสัด
             แม่สุกรที่คลอดลูกแล้ว ควรหย่านมเมื่อลูกอายุ 4 สัปดาห์ และแม่สุกรจะเป็นสัดหลังจากหย่านมภายใน 3-10 วัน ทำการผสมพันธุ์ต่อได้เลย แม่สุกรควรให้ลูกปีละไม่ต่ำกว่า 2 ครอก และผลิตลูกได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตัว/แม่/ปี ในแม่สุกรพันธุ์แท้ ส่วนแม่สุกรลูกผสม (แลนด์เรซ - ลาร์จไวท์) ควรผลิตลูกได้ไม่ต่ำกว่า 18 ตัว/แม่/ปี แม่สุกรที่ผสมไม่ติดเกิน 3 ครั้ง ควรคัดออกจากฝูง

    การผสมพันธุ์

    มี 2 วิธี

    1. ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ

    2. ผสมเทียม

             โดยใช้พ่อพันธุ์ผสมกับแม่พันธุ์ ในอัตราส่วน 1:10 พ่อพันธุ์สามารถใช้ ผสมพันธุ์จนถึงอายุ 3-4 ปี

             โดยการฉีดน้ำเชื้อสุกรตัวผู้เข้าในอวัยวะเพศเมีย ในขณะที่ตัวเมียเป็นสัดเต็มที่ ในปัจจุบันฟาร์มสุกรขนาดใหญ่และขนาดกลางนิยมใช้การผสมเทียมมาก เนื่องจากมีข้อดีหลายข้อ เช่น ได้พ่อพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ประหยัดค่าอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อพันธุ์ ผสมเทียมใช้พ่อพันธุ์กับแม่พันธุ์ในอัตราส่วน 1: 50 และเกษตรกรรายย่อยสามารถทำการผสมเทียมเองได้ วิธีการผสมเทียมง่ายและสะดวก หน่วยงานของกรมปศุสัตว์ เช่น ศูนย์วิจัยการผสมเทียมมีบริการผสมเทียมในสุกร ซึ่งจำหน่ายน้ำเชื้อสุกรในราคาถูก

     


    การจัดการพ่อสุกร

              พ่อสุกรที่จะนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ให้อาหารโปรตีน 16 % ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพของพ่อสุกรด้วยว่าไม่อ้วนและผอมเกินไป

    การจัดการแม่สุกร

              ให้อาหารโปรตีน 16% ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม แม่สุกรสาวควรมีอายุ 7-8 เดือน น้ำหนัก 100-120 กิโลกรัม จึงนำมาผสมพันธุ์ (เป็นสัดครั้งที่ 2-3) ผสมพันธุ์ 2 ครั้ง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น) เมื่อผสมพันธุ์แล้วควรลดอาหารให้เหลือ 1.5-2 กิโลกรัม เมื่อตั้งท้องได้ 90-108 วัน ควรเพิ่มอาหารเป็น 2-2.5 กิโลกรัม และเมื่อตั้งท้องได้ 108 วันคลอดลูก ให้ลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม (ปกติสุกรจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน) แม่สุกรควรอยู่ในสภาพปานกลาง คือ ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป แม่สุกรจะให้ลูกดีที่สุดในครอกที่ 3-5 และควรคัดแม่สุกรออกในครอกที่ 7 หรือ8 (แม่สุกรให้ลูกเกินกว่าครอก ที่ 7 ขึ้นไป มักจะให้จำนวนลูกสุกรแรกคลอด มีชีวิต และจำนวนสุกรหย่านมลดลง)

    การจัดการแม่สุกรก่อนคลอด ระวังอย่าให้แม่สุกรเจ็บป่วยหรือท้องผูก ควรจัดการ ดังนี้

          แม่สุกรก่อนคลอด 7 วัน ให้อาบน้ำด้วยสบู่ทำความสะอาดแม่สุกร โดยเฉพาะราวนม บั้นท้าย อวัยวะเพศ แล้วพ่นอาบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (ละลายน้ำ ตามอัตราส่วน) และพ่นยาพยาธิภายนอก แล้วนำเข้าคอกคลอด
          ก่อนแม่สุกรคลอด 4 วัน ควรลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม/วัน ควรผสมรำละเอียดเพิ่มอีก 20 % ในอาหาร โดยให้แม่สุกรกิน 4-6 วันก่อนคลอด หรือผสมแม็กนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) ประมาณ 10 กรัม โดยคลุกอาหารให้ทั่วให้แม่สุกรกินวันละครั้ง 1-3 วันก่อนคลอด เพื่อป้องกันแม่สุกรท้องผูก ช่วยลดปัญหาแม่สุกรคลอดยาก
          ดูแลแม่สุกรอย่างใกล้ชิด อย่าให้แม่สุกรป่วย เช่น สังเกตรางอาหารว่าแม่สุกรกินอาหารหมดหรือไม่ ถ่ายอุจจาระเป็นเม็ดกระสุน ท้องเสีย หอบแรง เป็นต้น ถ้าแม่สุกรป่วยก็ควรรักษาตามอาการ
          คอกคลอด ก่อนนำแม่สุกรเข้าคอกคลอด คอกคลอดต้องสะอาด ราดหรือพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และโรยปูนขาว ต้องมีอาการพักคอกไว้อย่างน้อย 7 วัน ซึ่งจะเป็นการตัดวงจรของเชื้อโรค

    การจัดการลูกสุกรเมื่อคลอด

              แม่สุกรก่อนคลอด 24 ชั่วโมง จะมีน้ำนมไหลออกมาจากเต้านม ลูกสุกรแรกคลอดควรดูแลปฏิบัติ ดังนี้
          ใช้ผ้าที่สะอาดหรือฟางเช็ดตัวลูกสุกรให้แห้ง ควักเอาน้ำเมือกในปากและในจมูกออก
          การตัดสายสะดือ ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 1-2 นิ้ว ตัดสายสะดือด้วยกรรไกร ทารอยแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค
          ตัดเขี้ยวออกให้หมด (เขี้ยวมี 8 ซี่ ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ) เพื่อป้องกันลูกสุกรกัดเต้านมแม่สุกรเป็นแผลในขณะแย่งดูดนม
          รีบนำลูกสุกรกินนมน้ำเหลืองจากเต้านมแม่สุกรในนมน้ำเหลืองจะมีสารอาหาร และภูมิคุ้มกันโรค ปกตินมน้ำเหลืองจะมีอยู่ประมาณ 36 ชั่วโมง หลังคลอด จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมธรรมดา

    การจัดการลูกสุกรแรกคลอด-หย่านม

          ลูกสุกรในระยะ 15 วันแรก ต้องการความอบอุ่น ต้องจัดหา
          ลูกสุกรอายุ 1-3 วัน ให้ฉีดธาตุเหล็กเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 2 ซี.ซี เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง
          ลูกสุกรอายุ 10 วัน เริ่มให้อาหารสุกรนมหรืออาหารสุกรอ่อน (อาหารเลียราง) เพื่อฝึกให้ลูกสุกรกินอาหาร โดยให้กินทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
          ลูกสุกรทั่วไปหย่านมเมื่ออายุ 28 วัน (4 สัปดาห์)

     

    ไฟกกลูกสุกร

    กล่องกระสอบ

     

    การจัดการลูกสุกรเมื่อหย่านม

          หย่านมลูกสุกรเมื่ออายุ 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม ควรย้ายแม่สุกรออกไปก่อนให้ลูกสุกรอยู่ในคอกเดิมสัก 3-5 วัน แล้วจึงย้ายลูกออกไปคอกอนุบาล เพื่อป้องกันลูกสุกรเครียด และควรใช้วิตามินหรือยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้ลูกสุกรกินหลังจากหย่านมประมาณ 3-5 วัน
          ลูกสุกรอายุ 6 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรและฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์(วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 6-12 เดือน)
          ลูกสุกรอายุ 7 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย่ และฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 4-6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ (วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 4-6 เดือน)
          ลูกสุกรอายุ 2 เดือนครึ่ง ควรให้ยาถ่ายพยาธิ และให้ซ้ำหลักจากให้ครั้งแรก 21 วัน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ควรถ่ายพยาธิทุก ๆ 6 เดือน

    การจัดการแม่สุกรหลังคลอด

     

          ฉีดยาปฏิชีวนะ ให้แม่สุกรหลังคลอดทันทีติดต่อกันเป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อป้องกันมดลูกอักเสบ (ยาเพนสเตร็ป, แอมพิซิลิน, เทอร์รามัยซิน เป็นต้น
          หลังคลอด 1-3 วัน ควรให้อาหารแม่สุกรน้อยลง(วันละ 1-2 กิโลกรัม) และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนให้อาหารเต็มที่เมื่อหลังคลอด 14 วัน (ให้อาหารวันละ 4-6 กิโลกรัม) จนกระทั่งแม่สุกรหย่านม ระวังอย่าให้แม่สุกรผอมเมื่อหย่านม ซึ่งจะมีผลทำให้แม่สุกรไม่สมบูรณ์พันธุ์ และโทรมมาก แม่สุกรหลังหย่านมควรขังรวมกันคอกละประมาณ 2-5 ตัว (ขนาดใกล้เคียงกัน) เพื่อให้เกิดความเครียดจะเป็นสัดง่ายและจะเป็นสัดภายใน 3-10 วัน ถ้าแม่สุกรเป็นสัดทำให้การผสมพันธุ์ได้เลย

          ปัญหาแม่สุกรไม่เป็นสัด สุกรสาวหรือเม่สุกรหลังจากหย่านมแล้วไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ จะพบเห็นได้บ่อย ๆ มีวิธีแก้ไข ดังนี้
                  
    1. ต้อนแม่สุกรมาขังรวมกัน เพื่อให้เกิดความเครียด
                  
    2. เลี้ยงพ่อสุกรอยู่ใกล้ ๆ หรือให้พ่อสุกรเข้ามาสัมผัสแม่สุกรบ้าง .

     

    การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกดก

     

                  1. คัดเลือกสายแม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ลาร์จไวท์ แม่พันธุ์แลนด์เรซ หรือลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์
                  
    2. ผสมเมื่อแม่สุกรเป็นสัดเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ไข่ตกมากจะอยู่ช่วงวันที่ 2-3 ของการะเป็นสัด ผสม 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชี่วโมง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น)
                  
    3. ถ้ามีพ่อสุกรหลายตัว และผลิตสุกรขุนเป็นการค้าควรใช้พ่อสุกร
                  
    4. แม่สุกรหลังจากหย่านมแล้ว 1 วัน ควรเพิ่มอาหารให้จนกระทั่งเป็นสัด โดยให้อาหารวันละ 3-4 กิโลกรัม (ไม่เกิน 15 วัน) เพื่อทำให้ไข่ตกมากขึ้น และเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ให้ลดอาหารแม่สุกรลงเหลือวันละ 1.5-2 กิโลกรัม ตามปกติ

     

             สุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อใยมากได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวม (โค กระบือ) ระบบการย่อยอาหารที่มีหน้าที่ย่อยอาหารที่สุกรกินเข้าไปให้แตกตัวจนมีขนาดเล็กลง เพื่อสามารถดูดซึมไปใช้เสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สุกรมีความต้องการโภชนะนั้น หมายถึง สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายประกอบด้วย 6 ชนิด
             น้ำ ให้น้ำสะอาดแก่สุกรตลอดเวลา ปกติสุกรจะกินน้ำประมาณ 5-20 ลิตรต่อวัน ตามขนาดของสุกร
             โปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสุกร ช่วยสร้างเนื้อเยื่อและเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของร่างกายสัตว์ โปรตีนประกอบด้วย กรดอะมิโนอยู่ประมาณ 30 ชนิด กรดอะมิโนที่จำเป็น 10 ชนิด ได้แก่ ไลซีน เมทไธโอนีน ทริพโตแฟน อาร์ยินิน ฮิสทิดีน ไอโซลูซีน ลูซีน อาลานีน ทรีโอนีน และวาลีน
             คาร์โบไฮเดรท เป็นอาหารที่ให้พลังงานที่เรียกง่าย ๆ ว่าอาหารแป้งและน้ำตาล รวมไปถึงเยื่อใยที่เป็นส่วนประกอบในวัตถุดิบอาหารสัตว์
             ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน เช่น เดียวกับคาร์โบไฮเดรด แต่ให้พลังงาน
             แร่ธาตุ แร่ธาตุเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด สำหรับการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่เสริมสร้างกระดูก และต้านโรค ในร่างกายสุกรมีแร่ธาตุ มากกว่า 40 ชนิด ส่วนที่จำเป็นและสำคัญต่อร่างกาย ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม คลอรีน เหล็ก ทองแดง ไอโอดีน กำมะถัน สังกะสี แมงกานีส โคบอลท์ โปตัสเซียม แมกนีเซียม และซิลิเนียม
             ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต ไวตามินมีมากถึง 50 ชนิด ส่วนที่จำเป็นในร่างกายสัตว์ ได้แก่ ไวตามิน เอ ดี อี บี 2 (ไรโบฟลาวิน) ไนอาซีน กรดแพนโทธินิค โคลีน ไบโอติน และบี 12 เป็นต้น

     

    วัตถุดิบอาหารสัตว์

     

    1.อาหารประเภทโปรตีน ได้มาจากพืชและสัตว์ มีรายละเอียด ดังนี้ อาหารโปรตีนที่ได้จากพืช ได้แก่
            
    กากถั่วเหลือง เป็นอาหารโปรตีนจากพืชที่ดีที่สุด ได้มาจากถั่วเหลืองทีสกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 40-44 % ใช้เป็นอาหารสุกรในรูปของกากถั่วเหลืองอัดน้ำมัน (แผ่นเค็ก) โปรตีนจากกากถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนที่จำเป็นสมดุลย์ เหมาะในการใช้เลี้ยงสุกรทุกระยะการเจริญเติบโตในเมล็ดถั่วเหลืองดิบไม่เหมาะแก่การนำมาใช้เลี้ยงไก่ และสุกร ทั้งนี้เพราะเมล็ดถั่วเหลืองดิบมีสารพิษชนิดที่เรียกว่า " ตัวยับยั้งทริปซิน" (Trypsin inhibitor) อยู่ด้วย สารพิษนี้จะมีผลไปขัดขวางการย่อยโปรตีนในทางเดินอาหารถั่วเหลืองที่เหมาะสำหรับใช้ผสมอาหารเลี้ยงสุกรนม อาหารครีพฟีด อาหารสุกรอ่อน อาหารสุกรเล็ก ได้แก่ ถั่วเหลืองอบไขมันสูง (ถั่วเหลืองซึ่งผ่านขบวนการอบให้สุก โดยไม่ได้สกัดน้ำมันออกมี โปรตีน 38 % ) ส่วนสุกรเล็กและสุกรขนาดอื่นทั่วไปนิยมใช้กากถั่วเหลืองสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี
            
    กากถั่วลิสง เป็นผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ประมาณ 40% กากใช้กาถั่วลิสงอย่างเดียวในอาหารจะทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า เนื่องจากความไม่สมดุลย์ของกรดอะมิโน ดังนั้น จึงควรใช้กากถั่วลิสง ถ้ามีความชื้นสูงจะเสียเร็วเนื่องจากถั่วลิสงเป็นพืชที่มีน้ำมันมาก จึงเก็บไว้นานไม่ได้ จะเกิดอาการเหม็นหืนและมีราเกิดได้ง่าย ซึ่งราจะสร้างสารพิษ "อะฟลาท็อกซิน" ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์ ดังนั้นควรจะเลือกใช้แต่กากถั่วลิสงที่ใหม่ มีไขมันต่ำ และควรเก็บไว้ในที่ไม่ร้อนและชื้น
            
    กากเมล็ดฝ้าย เป็นผลผลิตพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดฝ้าย จะมีโปรตีนประมาณ 40-45 เปอร์เซ็นต์ การเมล็ดฝ้ายมีสารพิษที่มีชื่อว่า "ก๊อสซิปอล" ซึ่งเป็นสารที่ละลายในน้ำมัน จึงเป็นเหตุให้การใช้อยู่ในขีดจำกัดไม่ควรเกิน 10 % การใช้ในระดับสูงจะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง นอกจากนี้การใช้กากเมล็ดฝ้ายควรจะเติมกรดอะมิโนไลซีนสังเคราะห์ลงไปด้วย
            
    กากมะพร้าว เป็นวัตถุพลอยได้จากโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าว ถ้าอัดน้ำมันออกใหม่ ๆ จะมีกลิ่นหอมน่ากิน มีโปรตีนประมาณ 20% ถ้าใช้กากมะพร้าวในระดับสูงเลี้ยงสุกรระยะการเจริญเติบโตและขุน จะทำให้การเจริญเติบโตของสุกรช้า ดังนั้นควรจะใช้ในระดับ 10-15 %
            
    กากเมล็ดนุ่น เมื่อสกัดน้ำมันออกแล้วจะมีโปรตีนประมาณ 20% เหมาะที่จะใช้เลี้ยงสุกรรุ่นมากกว่าสุกรระยะอื่น ในปริมาณไม่เกิน 15% กากเมล็ดนุ่นจะทำให้ไขมันจับแข็งตามอวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ เช่น ลำไส้ เป็นต้น
    1.2 อาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ ได้แก่
            
    ปลาป่น เป็นอาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ที่ดีที่สุด มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 50-60 % คุณภาพของปลาป่นขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่ใช้ทำปลาป่น และสิ่งอื่นปะปนมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งกรรมวิธีการผลิตปลาป่น เช่น ถ้าให้ความร้อนสูง ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง ปริมาณกรดอะมิโนในปลาป่นจะต่ำลงเรื่อย ๆ ปลาป่นมีคุณค่าทางอาหารสุงและใช้เลี้ยงสุกรตลอดระยะถึงส่งตลอดระยะถึงส่งตลาดจะทำให้เนื้อมีกลิ่นคาวจัด ดังนั้นจึงควรใช้ในระหว่าง 3-15 %
            
    เลือดแห้ง ได้จากโรงฆ่าสัตว์ มีโปรตีนค่อนข้างสูง 80% เป็นโปรตีนที่ย่อยยาก ทำให้การเจริญเติบโตของสุกรต่ำลง ควรใช้ร่วมกับอาหารโปรตีนชนิดอื่น ๆ ไม่ควรเกิน 5%
            
    หางนมผง มีโปรตีนปริมาณ 30-40 % และเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายแต่มีราคาแพง จึงนิยมใช้กับอาหารลูกสุกรเท่านั้น
            
    ขนไก่ป่น เป็นอาหารที่ได้จากผลิตผลพลอยได้จากโรงงานฆ่าไก่ มีโปรตีนค่อนข้างสูงถึง 85% แต่มีคุณค่าทางอาหารเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ไม่สามารถย่อยได้
    2. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท(แป้งและน้ำตาลให้พลังงาน)
            
    ปลายข้าว ปลายข้าวและรำละเอียดเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสีข้าว ปลายข้าวมีโปรตีน 8% เป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะในการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ปลายข้าวประกอบไปด้วยแป้งที่ย่อยง่ายเป็นส่วนใหญ่ มีไขมันและเยื่อใยระดับด่ำ (1.0 %) เก็บไว้ได้นาน ตรวจสอบการปลอมปนได้ง่าย ปลายข้าวที่ใช้เลี้ยงสุกร ควรเป็นปลายข้าวเม็ดเล็กปลายข้าวที่มีขนาดใหญ่ควรจะต้องบดให้มีขนาดเล็กลงก่อน แล้วจึงค่อยผสมอาหาร นอกจากนี้ยังมีปลายข้าวนึ่ง (ข้าวเปลือกที่เปียกน้ำ หรือมีความชื้นสูง นำมาอบเอาความชื้นออก สีเอาเปลือกออก ปลายข้าวนึ่งมีสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวปนเหลือง) นำมาเลี้ยงสุกรทดแทนปลายข้าวได้ แต่ต้องพิจารณาเรื่องคุณภาพด้วย เช่น การปนของเมล็ดข้าวสีดำ ซึ่งเมล็ดข้าวสีดำมีคุณภาพไม่ดี
            
    รำละเอียด มีโปรตีนประมาณ 12% รำละเอียดมีไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และเป็นไขมันที่หืนได้ง่ายในสภาวะที่อากาศร้อน หากเก็บไว้เกิน 60 วัน ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ รำละเอียดมักจะมีการปลอมปนด้วยแกลบป่น ละอองข้าวหรือดินขาวป่น ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง ถ้าเป็นรำข้าวนาปรังควรระวังเรื่องยาฆ่าแมลงที่ปะปนมาในระดับสูง รำสกัดน้ำมันได้จากการนำเอารำละเอียดไปสกัดเอาไขมันออกใช้ทดแทนรำละเอียดได้ดีแต่ต้องระวังเรื่องระดับพลังงาน เพราะรำสกัดน้ำมันมีค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้ต่ำกว่ารำละเอียด รำละเอียดมีเยื่อใยเป็นส่วนประกอบในระดับสูง จึงมีลักษณะฟ่าม ไม่ควรใช้เกิน 30% ในสูตรอาหารรำละเอียดมีคุณสมบัติเป็นยาระบาย โดยเฉพาะสูตรอาหารแม่สุกรอุ้มท้องและเลี้ยงลูก จะช่วยลดปัญหาแม่สุกรท้องผูก
            
    ข้าวโพด มีโปรตีนประมาณ 8% และมีเยื่อใยอยู่ในระดับต่ำ เป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะในการผสมเป็นอาหารสุกร ข้าวโพดที่ดีควรเป็นข้าวโพดที่บดอย่างละเอียด ไม่มีมอดกิน ไม่มีสิ่งปลอมปน และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขึ้นรา (สารพิษอะฟลาท็อกซิน) และไม่มียาฆ่าแมลงปลอมปน ข้าวโพดสามารถใช้ทดแทนปลายข้าวได้ ข้อเสียในการใช้ข้าวโพดคือ มีเชื้อราและยาฆ่าแมลง เนื่องจากการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาไม่ดีพอ
            
    ข้าวฟ่าง มีโปรตีนประมาณ 11% ข้าวฟ่างโดยทั่วไปจะมีสารแทนนิน ซึ่งมีรสฝาดอยู่ในระดับสูง สารแทนนินมีผลทำให้การย่อยได้ของโปรตีนและพลังงานลดลง ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดในการใช้ข้าวฟ่าง
            
    มันสำปะหลัง ใช้เลี้ยงสัตว์ในรูปมันสำปะหลังตากแห้งที่เรียกว่า มันเส้น มีโปรตีนประมาณ 2% มีแป้งมาก มีเยื่อใยประมาณ 4% ข้อเสียของการใช้มันเส้น คือ จะมีลำต้น เหง้า และดินทรายปนมาด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกใช้มันเส้นที่มีคุณภาพดี เกรดใช้เลี้ยงสุกร ส่วนหัวมันสำปะหลังสดไม่ควรนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เพราะมีการพิษกรดไฮโดรไซยานิคในระดับสูงมาก และเป็นอันตรายต่อสัตว์ได้ วิธีการลดสารพิษทำได้ 2 วิธี คือ


            
    ก. ทำเป็นมันเส้น โดยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผึ่งแดดอย่างน้อย 3 แดด มันเส้นที่มีคุณภาพดี สามารถใช้ทดแทนปลายข้าวได้ ในกรณีปลายข้าวราคาแพง และมันเส้นราคาถูก (ปลายข้าว 1 กิโลกรัม เท่ากับมันเส้น 0.85 กิโลกรัม + กากถั่วเหลือง 0.15 กิโลกรัม)
            
    ข. ทำเป็นมันหมัก หมักในหลุม หรือถุงพลาสติก ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งจะลดปริมาณสารพิษกรดไฮโดรไซยานิคให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุกร


    3. อาหารประเภทไขมัน
    ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ ไขมันวัว ไขมันสุกร ส่วนไขมันจากพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำ เป็นต้น สาเหตุที่ต้องใช้ไขมันในสูตรอาหาร เพื่อเพิ่มระดับพลังงานในสูตรอาหารนั้นให้สูงขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในอาหารสุกรเล็ก โดยเติม 2-5 % ในอาหาร ข้อเสียของไขมันมักจะมีกลิ่นหืน และเก็บไว้ได้ไม่นาน
    4. อาหารประเภทแร่ธาตุ และไวตามิน
            
    กระดูกป่น เป็นแหล่งของธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่ดีมาก แต่มีคุณภาพไม่แน่นอน
            
    ไดแคลเซียมฟอสเฟส ให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสทำมาจากกระดูก หรือทำจากหิน โดยนำเอาหินฟอสเฟตมาเผา ปกติจะใช้ไดแคลเซียมฟอสเฟตที่มีฟอสฟอรัส 18% (P18) หรือสูงกว่า
            
    เปลือกหอยบด ให้ธาตุแคลเซียมอย่างเดียว
            
    หัวไวตามินแร่ธาตุ หรือพรีมิกซ์ เป็นส่วนผสมของไวตามินและแร่ธาตุปลีกย่อยทุกชนิดที่สุกรต้องการ และพร้อมที่จะนำมาผสมกับวัตถุดิบ อาหารสัตว์อย่างอื่นได้ทันที พรีมิกซ์มีขายตามท้องตลาดทั่วไป

     

    การให้อาหารสุกรระยะต่าง ๆ

     


           ลูกสุกรระยะดูดนมแม่
    เริ่มให้อาหารสุกรนมโปรตีน 22% หรืออาหารสุกรอ่อนโปรตีน 20% เมื่อลูกสุกรมีอายุ 10 วัน ถึงหย่านม (หย่านม 28 วัน) และให้ต่ออีกประมาณ 3 วัน หลังจากหย่านมแล้ว
           ลูกสุกรระยะหย่านม (หย่านม 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม) ให้อาหารสุกรอ่อนโปรตีน 20 % จนถึงอายุ 2 เดือน (น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม)
           สุกรระยะน้ำหนัก 20-35 กิโลกรัม ให้อาหารโปรตีน 18% โดยให้สุกรกินอาหารเต็มที่ สุกรจะกินอาหารวันละ 1-2 กิโลกรัม
           สุกรระยะน้ำหนัก 35-60 กิโลกรัม ให้อาหารโปรตีน 16% สุกรจะกินอาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม
           สุกรระยะน้ำหนัก 30 กิโลกรัม-ส่งตลาด ให้อาหารโปรตีน 14-15 % สุกรจะกินอาหารวันละ 2.5-3.5 กิโลกรัม
           การให้อาหารสุกรพันธุ์ทดแทน สุกรตัวที่ต้องการจะเก็บไว้ทำพันธุ์(ยกเว้นสุกรขุน ,สุกรทดสอบพันธุ์) ควรจำกัดอาหารเพื่อไม่ให้อ้วนเกินไป เมื่อสุกรน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ใช้อาหารโปรตีน 16% ให้อาหารวันละ 2.2.5 กิโลกรัม
           การให้อาหารสุกรพ่อพันธุ์ ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % - พ่อพันธุ์ตัวใหญ่ 150 กิโลกรัมขึ้นไป ให้อาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม - พ่อพันธุ์ตัวเล็ก 100-150 กิโลกรัม ให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม
           การให้อาหารแม่สุกรอุ้มท้อง ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % แม่สุกรจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน ควรให้อาหารดังนี้ - แม่สุกรสาวทดแทนให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม - แม่สุกรหลังจากผสมพันธุ์ให้อาหารวันละ 1.5-2 กิโลกรัม - แม่สุกรตั้งท้อง 0-90 วัน ให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม - แม่สุกรตั้งท้อง 90-108 วัน ให้อาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับสภาพแม่สุกรอ้วนหรือผอมด้วย) -แม่สุกรตั้งท้อง 108-114 วัน ให้อาหารวันละ 1-1.5 กิโลกรัม (เมื่อตั้งท้องได้ 108 วัน ให้ย้ายเข้าคอกคลอด)
           การให้อาหารแม่สุกรหลังคลอด ให้อาหารโปรตีนประมาณ 16% - คลอดลูกแล้ว 0-3 วัน ให้อาหารวันละ 1-2 กิโลกรัม -คลอดลูก 3-14 วัน ให้อาหารวันละ 2-3.5 กิโลกรัม - คลอดลูก 14 วันขึ้นไป ให้อาหารเต็มที่เท่าที่แม่สุกรจะกินอาหารได้ หรือประมาณวันละ 4-6 กิโลกรัม ในกรณีที่แม่สุกรมีลูก 7 ตัวขึ้นไป (ควรให้อาหารแม่สุกรวันละ 3 ครั้ง เป็นอย่างน้อย ดูตามสภาพของแม่สุกร ระวังอย่าให้แม่สุกรผอม)
           การให้อาหารแม่สุกรหลังหย่านม ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % - แม่สุกรหย่านมในวันแรก ให้อาหารวันละ 1.1.5 กิโลกรัม - แม่สุกรหย่านมจาก 2 วันขึ้นไป จนถึงแม่สุกรเป็นสัด (แต่ไม่ควรเกิน 15 วัน) ให้อาหารวันละ 3-4 กิโลกรัม เพื่อให้แม่สุกรสมบูรณ์พันธุ์เร็วขึ้นและเพิ่มการตกไข่ - แม่สุกรเป็นสัดและผสมพันธุ์แล้ว ลดอาหารลงเหลือวันละ 1.5-2 กิโลกรัม - แม่สุกรไม่เป็นสัดเกิน 15 วัน แสดงว่าแม่สุกรผิดปกติ ให้ลดอาหารลงเหลือวันละ 2 กิโลกรัม และหาวิธีการทำให้แม่สุกรเป็นสัด โดยทำให้แม่สุกรเกิดความเครียด ใช้วิธีต้อนขังรวมกัน (แม่สุกรขนาดน้ำหนักตัวใกล้เคียงกัน) หรือขังสลับคอกทุก ๆ 10 วัน ส่วนใหญ่แม่สุกรก็จะเป็นสัด ถ้าหากปฏิบัติเช่นนี้แล้วภายใน 1 เดือน แม่สุกรยังไม่เป็นสัด ควรคัดแม่สุกรออกไปจากฝูง

     

    ข้อแนะนำในการเลือกใช้อาหารเลี้ยงสุกร

     

           ผสมอาหารใช้เองในฟาร์ม ต้องรู้จักเลือกวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดี วัตถุดิบตัวหลัก ๆ ได้แก่ กากถั่วเหลือง ปลาป่น ปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด และไวตามินแร่ธาตุในรูปของพรีมิกซ์ แล้วนำวัตถุดิบมาผสมตามสูตรและความต้องการของสุกรแต่ละขนาด โดยใช้เครื่อง โดยใช้เครื่องผสมอาหาร หรือ ผสมด้วยมือก็แล้วแต่สะดวก โดยอาศัยหลักผสมจากส่วนย่อยที่มีปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงผสมเข้ากับส่วนใหญ่ วิธีนี้จะประหยัด สามารถเลือกใช้อาหารราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้มาก ซึ่งในเอกสารนี้ มีสูตรอาหารที่ใชเลี้ยงสุกรตั้งแต่สุกรนมจนถึงสุกรพ่อแม่พันธุ์
           ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป ตั้งแต่สุกรนม สุกรอ่อน สุกรเล็ก สุกรรุ่น สุกรขุน และสุกรพันธุ์ ข้อดีคือสะดวกในการใช้และจัดหา ซึ่งอาหารสำหรับสุกรแต่ละขนาด จะมีจำหน่ายตามท้องตลาด ข้อเสียคือ ราคาจะแพง และผู้ใช้ไม่ทราบชัดเจนว่าอาหารเม็ดสำเร็จรูปประกอบด้วยวัตถุดิบอะไรบ้าง
           ใช้หัวอาหารสำเร็จ (ส่วนใหญ่จะมีโปรตีนประมาณ 32-36 % และผสมไวตามินแร่ธาตุไว้ด้วยแล้ว) ใช้ผสมกับปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด ตามอัตราส่วน น้ำหนักที่ระบุจำนวนวัตถุดิบข้างถุงอาหาร การใช้ในสุกรแต่ละขนาดให้คำนึงถึงเปอร์เซ็นต์โปรตีนในอาหารผสมด้วย


    สูตรอาหารสำหรับสุกรพ่อแม่พันธุ์ ลูกสุกรหย่านม สุกรพันธุ์ และ สุกรขุน

    รายการ

    หมูนม
    0-6กก.

    สุกรหย่านม 4-9 สัปดาห์ 6-25 กก.

    สุกรรุ่น
    9 สัปดาห์ ขึ้นไป 25-90 กก.

    สุกรทดสอบพันธุ์ 25-90 กก.

    สุกรพ่อแม่พันธุ์
    อุ้มท้อง

    แม่สุกรเลี้ยงลูก

    เปอร์เซ็นต์โปรตีน
    ในอาหาร

    พลังงานใช้ประโยชน์ได้ (กิโลแคลอรี่ / กก.)

    ราคาวัตถุดิบ
    ต่อกิโลกรัม (บาท)

    ข้าวโพด

    -

    -

    -

    -

    -

    -

    8

    3168

    5.0

    ปลายข้าวนึ่ง

    45.0

    49.8

    -

    -

    -

    -

    8

    3596

    5.4

    ปลายข้าว

    -

    -

    58.0

    51.7

    50.0

    56.0

    8

    3596

    5.8

    รำละเอียด

    -

    -

    20.0

    15.0

    30.0

    20.0

    12

    3120

    4.3

    หางนมผง

    10.0

    5.0

    -

    -

    -

    -

    26

    3570

    38.0

    เศษเส้นหมี่

    -

    -

    -

    -

    -

    -

    4

    -

    5.0

    กากถั่วเหลือง
    สกัดน้ำมัน

    -

    16.0

    15.0

    21.0

    13.0

    16.0

    44

    2825

    11.2

    ถั่วเหลือง
    อบไขมันสูง

    32.0

    16.0

    -

    -

    -

    -

    38

    3704

    11.6

    ปลาป่น

    7.0

    5.0

    4.0

    5.0

    4.0

    4.0

    56

    2550

    25.0

    ไดแคลเซียม
    ฟอสเฟต

    2.0

    3.0

    2.0

    4.0

    2.0

    3.0

    -

    -

    14.5

    น้ำตาลทราย

    3.0

    2.0

    -

    -

    -

    -

    -

    3680

    15.0

    ไขมัน

    -

    2.0

    -

    2.0

    -

    -

    -

    8300

    20.0

    เกลือป่น

    -

    0.3

    0.5

    0.5

    0.5

    0.5

    -

    -

    4.0

    กากน้ำตาล

    -

    -

    -

    -

    -

    -

    -

    -

    ไลซีน

    -

    -

    -

    -

    -

    -

    -

    -

    100

    ยาปฏิชีวนะ

    0.5

    0.4

    0.25

    0.3

    0.15

    0.25

    -

    -

    200

    พรีมิกซ์

    0.5

    0.5

    0.5

    0.5

    0.5

    0.5

    -

    -

    74

    รวม

    100

    100

    100.25

    100

    100.15

    100.25

    -

    -

    -

    เปอร์เซ็นต์โปรตีน

    22.28

    21.20

    15.16

    17.98

    15.56

    16.16

    -

    -

    -

    พลังงาน
    (กิโลแคลอรี่/กก.)

    3445

    3381

    3235

    3214

    3203

    3192

    -

    -

    -

    ราคาต่อกิโลกรัม

    14.08

    12.00

    8.24

    9.42

    7.80

    8.40

    -

    -

    -

    แสดงส่วนประกอบของสารอาหารในวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ

    วัตถุดิบ

    ความชื้น

    โปรตีน

    ไขมัน

    เยื่อใย

    เถ้า

    พลังงานใช้ประโยชน์ได้
    (กิโลแคลอรี่/กก.)
    (สุกร)

    แคลเซียม

    ฟอสฟอรัส

    กากถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
    ด้วยสารเคมี

    10

    44.0

    1.0

    7.0

    6.0

    2825

    0.25

    0.20

    กากลิสงสกัดน้ำมัน

    10

    40.0

    1.5

    9.0

    5.5

    3260

    0.15

    0.20

    กากเมล็ดยางพารา
    (ไม่กระเทาะเปลือก,อัดน้ำมัน)

    8

    16.0

    6.33

    41.52

    4.01

    1800

    0.22

    0.09

    ปลาป่น

    8

    55.0

    8.0

    1.0

    26.0

    2550

    7.7

    3.8

    กากเมล็ดนุ่น

    10

    20.4

    6.1

    19.9

    7.1

    -

    0.38

    0.42

    กากมะพร้าว

    10

    21.0

    6.0

    12.0

    7.0

    3080

    0.20

    0.20

    ใบกระถินป่น

    10

    20.2

    3.5

    18.0

    8.8

    1300

    0.54

    0.30

    ข้าวเปลือก

    10

    6.0

    1.2

    9.0

    4.5

    2360

    0.05

    0.10

    ปลายข้าว

    12

    8.0

    0.9

    1.0

    0.7

    3596

    0.03

    0.04

    รำละเอียด

    12

    12.0

    12.0

    11.0

    10.9

    3120

    0.06

    0.47

    รำสกัดน้ำมัน

    9

    13.9

    1.0

    13.0

    15.0

    2200

    0.08

    0.50

    รำหยาบ

    9

    6.2

    4.5

    28.4

    18.2

    -

    0.14

    0.10

    ข้าวโพด

    13

    8.0

    4.0

    2.5

    1.3

    3168

    0.01

    0.10

    ข้าวฟ่าง

    13

    11.8

    3.0

    2.5

    1.5

    3140

    0.04

    0.10

    มันเส้น

    10

    2.5

    0.75

    3.7

    3.7

    3260

    0.12

    0.05

    กากน้ำตาล

    27

    4.0

    -

    -

    7.0

    2343

    0.80

    0.03

    ขนไก่ป่น

    10

    83.5

    2.5

    1.5

    2.5

    2760

    0.20

    0.75

    หางนมผง

    5

    35.0

    1.0

    -

    8.0

    3570

    1.30

    1.0

     

    โรงเรือนสุกร

    แบบเพิงหมาแหงน

    แบบจั่วสองชั้นกลาย

    แบบเพิงหมาแหงนกลาย

     

    แบบหน้าจั่ว

    แบบจั่วสองชั้น

     

         โรงเรือนที่ดีจะสะดวกในการจัดการฟาร์ม สุกรจะอยู่ภายในคอกอย่างสบาย ขั้นตอนในการสร้างโรงเรือนสุกรมีดังนี้
       1. สถานที่ก่อสร้างโรงเรือนสุกร ควรเป็นที่ตอนน้ำไม่ท่วม มีที่ระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมนุมชน ตลาด และผู้เลี้ยงสุกรรายอื่น
       2. สร้างโรงเรือนสุกรตามแนวตะวันออก-ตะวันตก และระยะห่างของแต่ละโรงเรือน ประมาณ 20-25 เมตร เพื่อแยกโรงเรือนออกจากกันเป็นสัดส่วน
       3. ลักษณะของหลังคาโรงเรือนสุกรม 5 แบบ ด้วยกัน ดูตามรูป ด้านบน
               แบบเพิงหมาแหงน
    โรงเรือนแบบนี้สร้างง่าย ราคาก่อสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ แสงแดดจะส่องมากเกินไปในฤดูร้อน ทำใหอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง ในฤดูฝนน้ำฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ง่าย ทำให้ภายในโรงเรือนชื้นแฉะ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง หากมุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก และจาก จะต้องให้มี ความลาดเอียงของหลังคาในระดับลาดชันสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงจากหัวคอกไปท้ายคอกได้สะดวก มิฉะนั้นจะทำให้ฝนรั่วลงในตัวโรงเรือน
               แบบเพิงหมาแหงนกลาย
    จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าแบบเพิงหมาแหงน แต่มีข้อดีสามารถใช้บังแสงแดด ป้องกันฝนสาดได้ดีขึ้น
               แบบหน้าจั่ว
    ราคาก่อสร้างจะสูงกว่าสองแบบแรก แต่ดีกว่ามาก ในแง่การป้องกันแสงแดดและฝนสาด โรงเรือนแบบนี้ถ้าสร้างสูงจะดีเนื่องจาก อากาศภายในโรงเรือนจะเย็นสบาย แต่ถ้าสร้างต่ำหรือเตี้ยเกินไปจะทำให้อากาศภายในโดยฌฉพาะตอนบ่ายร้อนอบอ้าว อากาศร้อนจะไม่ช่องระบายออก ด้านบนหลังคา
               แบบจั่วสองชั้น
    เป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไป มีความปลอดภัยจากแสงแดดและฝนมาก อากาศภายในโรงเรือนมีการระบายถ่ายเทได้ดี แต่ราคาค่า ก่อสร้างจะสูงกว่าสามแบบแรก แต่ก็นับว่าคุ้มค่า ข้อแนะนำก็คือ ตรงจั่วบนสุด ควรให้ปีกหลังคาบนยื่นยาวลงมาพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาดเข้า ในช่องจั่ว ในกรณีที่ฝนตกแรง ทำให้คอกภายในชื้นแฉะ โดยเฉพาะลูกสุกรจะเจ็บป่วย เนื่องจากฝนสาดและทำให้อากาศภายในดรงเรือนมีความชื้นสูง
               แบบจั่วสองชั้นกลาย
    มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับแบบจั่วสองชั้น หลังคาโรงเรือนแบบนี้ เพื่อต้องการขยายเนื้อที่ในโรงเรือนให้กว้างใหญ่ขึ้น และจะดี ในแง่ป้องกันฝนสาดเข้าในช่องจั่วของโรงเรือน

       
    4. วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ขึ้นอยู่กับงบการลงทุน วัสดูที่ใช้ เช่น กระเบื้อง อะลูมิเนียม สังกะสี แฝก และจาก เป็นต้น
       
    5. ความสูงและความกว้างของโรงเรือน ถ้าโรงเรือนสูงและกว้างจะมีส่วนช่วยให้โรงเรือนเย็นสบาย ถ้าเลี้ยงสุกรขุนมักจะสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดิน อยู่ตรงกลาง ขนาดของคอก ด้านหน้ากว้าง 4 เมตร ยาวไปด้านท้ายคอก 3.5 เมตร (ขังสุกรขุนคอกละ 8-10 ตัว) หลังคาจั่ว 2 ชั้น ควรสูงประมาณ 8 เมตร ความยาวของโรงเรือนตามความเหมาะสม 20-100 เมตร
       
    6. พื้นคอก โดยทั่วไปสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกรดวยพื้นคอนกรีต ซึ่งจะประหยัดเงินลงทุน ยกเว้นถ้าจะสร้างโรงเรือนสุกรพ่อแม่พันธุ์ อาจจะเป็นพื้นสองชั้น หรือเรียกว่าพื้นสแล็ต (พื้นสแล็ตสำเร็จรูปเป็นแผ่นมีรูเป็นช่อง ๆ สำหรับให้น้ำไหลจากพื้นชั้นบนลงไปพื้นชั้นล่าง) ใช้งบลงทุนมาก แต่จะสะดวกในการ จัดการดูแลสุกรพ่อแม่พันธุ์ และแม่สุกรเลี้ยงลูก
       
    7. ผนังคอก ทั่วๆ ไป มักใช้อิฐบล๊อค แป๊บน้ำ ลวดถัก ไม้ขนาด 1.5 นิ้วx 3 นิ้ว ความสูงของผนังคอกจะสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ควร สูง 1.2 เมตร

     

    ชนิดของโรงเรือน

     

        โรงเรือนสุกรพันธุ์ มีคอกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ท้องว่าง แม่พันธุ์อุ้มท้องและคอกคลอด
               - คอกพ่อพันธุ์ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1.2 เมตร (กว้างx ยาว x สูง)
               - คอกแม่พันธุ์ท้องว่างขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
               - คอกแม่พันธุ์อุ้มท้องขนาด 1.2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
               - คอกคลอด ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร (ซองแม่คลอดขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร ที่เหลือจะเป็นบริเวณสำหรับลูกสุกร)
               - สำหรับเกษตรกรรายย่อยคอกแม่พันธุ์ที่เหมาะสม ควรมีขนาด 1.5 x 2.0 เมตร สามารถใช้เป็นคอกเลี้ยงขังเดี่ยว และใช้เป็นคอกคลอดได้ด้วย ถ้าใช้เป็นคอกคลอดให้ทำซองไม้ขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 2.0 เมตร ให้แม่สุกรอยู่ในซองคลอด ส่วนลูกสุกรปล่อยอยู่รอบ ๆ ซองคลอด (ภายในคอกคลอด)

    คอกพ่อพันธุ์สุกร

    คอกแม่สุกรท้องว่าง

    โรงเรือนสุกรเล็กและสุกรรุ่น
               -
    คอกสุกรเล็ก (ลูกสุกรหย่านมหรือน้ำหนักประมาณ 6-20 กิโลกรัม) ขนาด 1.5 x 2 เมตร สูง 0.8 เมตร
               -
    คอกสุกรรุ่น (สุกรขนาด 20-35 กิโลกรัม) ขนาด 2x3 เมตร สูง 1 เมตร

    คอกแม่พันธุ์ท้องว่าง

    คอกแม่สุกรอุ้มท้อง

        โรงเรือนสุกรขุน
    คอกสุกรขุนนิยมสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารออยู่ด้านหน้า ก็อกน้ำอัตโนมัติอยู่ด้านหลังคอก ก็อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดของคอก 4x3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขุนขนาด 60-100 กิโลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนก็ขึ้น อยู่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรขุนถ้าเลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ประมาณ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัว

    คอกสุกรคลอด

     

    ลักษณะระบบของโรงเรือนสุกร

     

    1. โรงเรือนระบบเปิด หมายถึง โรงเรือนที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ และอุณหภูมิจะแปรไปตามสภาพของอากาศรอบโรงเรือน
    2. โรงเรือนระบบปิด หมายถึง โรงเรือนที่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของสุกร ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ และแสงสว่าง สามารถป้องกันพาหะนำโรคได้ โรงเรือนปิด เช่น โรงเรือนอีแว็ป (Evaprative System) เป็นต้น ราคาลงทุนครั้งแรกค่อนข้างแพง แต่สุกรจะอยู่สุขสบายและโตเร็ว

     

    โรงเรือนระบบ Evaporative Cooling System

    การสุขาภิบาล การป้องกันโรค และโรคติดต่อ

             การสุขาภิบาล     หมายถึง   การจัดการเพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสบาย ปลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ การทำคอกให้สะอาด การให้อาหารที่ดี และการจัดการที่เป็น ประโยชน์ต่อการผลิตสุกร
             การทำความสะอาดคอกสุกร ควรทำความสะอาดคอกสุกรทุกวัน (โดยการกวาดแห้งด้วยไมักวาด ตักเอามูลสุกรออก) และล้างคอกด้วยน้ำอย่าง น้อยสัปดาห์ละครั้ง ควรล้างคอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเดือนละครั้ง นอกจากนี้ควรทำบ่อเก็บมูลสุกร เพื่อป้องกันกลิ่นและของเสียจากมูลสุกรไปรบกวน เพื่อนบ้าน

    วิธีการป้องกันกำจัดกลิ่น และของเสียจากฟาร์มสุกร

             เนื่องจากปัญหามลภาวะกลิ่นมูลสุกรจากฟาร์มสุกร ไปรบกวนชาวบ้านใกล้เคียงให้รำคาญ ตลอดจนการระบายน้ำเสียจากฟาร์มสุกรลงสู่แม่น้ำ ดังนั้น ผู้เลี้ยงสุกรควรจะต้องคำนึงถึงการป้องกันกำจัดกลิ่น และการเก็บของเสียจากฟาร์มสุกร ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการจัดการ ดังนี้
             1. บ่อไอโอแก๊ส ฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่เลี้ยงสุกรหนึ่งพันตัวขึ้นไป ควรสร้างบ่อไอโอแก๊ส เพื่อเก็บมูลสุกร และนำพลังงานจากบ่อไอโอแก๊ส ซึ่งอยู่ ในรูปของแก๊สเปลี่ยนเป็นเป็นพลังงานไฟฟ้า ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานในฟาร์มสุกร หรือนำแก๊สที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาหารและกกลูกสุกร เป็นต้น

            2. บ่อกำจัดน้ำเสีย
    การทำฟาร์มสุกรควรมีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะฟาร์มสุกรที่เลี้ยงสุกรใกล้กับแม่น้ำ บ่อบำบัดน้ำเสียประกอบไปด้วยบ่อตกตะกอน บ่อหมักและบ่อผึ่ง น้ำล้างคอกสุกรที่ผ่านการบำบัดแล้ว จะลดความสกปรกลงและลดกลิ่นเน่าเหม็นของมูลสุกร

    บ่อบำบัดน้ำเสีย

           3. บ่อเกรอะ ในฟาร์มสุกรของเกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถสร้างบ่อไบโอแก๊สหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย ควรสร้างบ่อเกรอะไว้เก็บมูลสุกร ขนาดของบ่อ เกรอะขึ้นอยู่กับจำนวนสุกรที่เลี้ยง ลักษณะของบ่อเกรอะก็เหมือนกันส้วมซึมที่ใช้ตามบ้านคน ประกอบด้วย 2 บ่อ บ่อแรกจะเป็นบ่อตกตะกอน ของแข็งจะตก ตะกอนลงที่บ่อแรก ส่วนที่เป็นของเหลวจะไหลต่ออกไปยังบ่อที่สองและของเหลวจากบ่อที่สองจะซึมลงไปในดินหรือต่อท่อระบายสู่ข้างนอกต่อไป ของเหลวที่ระบายออกไปก็จะได้รับการบำบัดบ้างแล้ว
             4. การใช้สารจุลินทรียเช่น สารอี.เอ็ม (Effective Microorganisms) ราดพ่นตามโรงเรือน ตามกองมูลสุกร หรือราดตามบ่อน้ำเสียที่รองรับมูลสุกร สารอี.เอ็ม จะช่วยในการลดกลิ่นในฟาร์มสุกร (สารอี.เอ็ม นี้เท่าที่ทราบสามารถติดต่อขอซื้อได้ในราคาถูก ที่ศูนย์โยเร ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี) สารอี.เอ็ม มีวิธีการเก็บ และหมักเชื้อ (ต่อเชื้อได้เอง) เพื่อนำไปใช้ได้เป็นระยะเวลานาน

    โรคที่สำคัญในสุกร

     

    โรคอหิวาต์สุกร เป็นโรคที่ระบาดรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัส พบว่าเป็นได้กับสุกรทุกอายุ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหาร กินน้ำ หายใจ หรือโดยทางบาดแผลที่ ผิวหนัง ใช้เวลาฟักตัว 3 วัน ถึง 3 สัปดาห์ แต่โดยทั่วไปประมาณ 7 วัน อาการที่พบคือ มีไข้สูง 105-108 องศาฟาเรนไฮต์ สุกรจะเบื่ออาหาร ซึม เยื่อตาอักเสบ (มีขี้ตา) ท้องผูก (ขี้เป็นเม็ด) และท้องร่วง (ขี้เป็นน้ำ) อาจพบอาการอาเจียนร่วมด้วย ผิวหนังบริเวณ หู คอ ท้อง และด้านในของขาหนีบ จะพบจุดเลือดออกเล็ก ๆ ทำให้ผิวหนังมีสีแดง และต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง ในแม่สุกรท้องอาจจะเกิดการแท้งลูก ติดต่อจากสุกรตัวหนึ่งไปยังตัวอื่น ได้รวดเร็วมาก ภายใน 7 วัน อาจเกิดโรคอหิวาต์ได้ทั้งฟาร์มเมื่อสุกรเป็นโรคอหิวาต์แล้ว อัตราการตายสูงถึง 90% และไม่มีทางรักษา

     

    การป้องกัน ทำวัคซีนเมื่อลูกสุกรอายุประมาณ 6 สัปดาห์ และสำหรับสุกรพ่อแม่พันธุ์ ควรทำวัคซีนทุก 6 เดือน ห้ามทำวัคซีนกับสุกรที่อ่อนแอหรือ สัตว์ป่วย หรือในสุกรตั้งท้องแก่ใกล้คลอด

    โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคติดต่อที่รุนแรง ติดต่อได้อย่างรวดเร็วในสัตว์กีบคู่ (โค, กระบือ , แพะ ,แกะ, สุกร) โรคนี้เป็นได้กับสุกรทุกอายุ อัตราการเกิดโรคสูง แต่อัตราการตายต่ำ เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งในเมืองไทยขณะนี่พบอยู่ 3 ชนิด คือ โอ เอ และเอเชียวัน (ชนิดโอรุนแรงที่สุด) เมื่อเชื้อ โรคเข้าสู่ร่างกายสุกรแล้วจะใช้เวลาในการฟักโรคประมาณ 3-6 วัน สุกรจะเริ่มแสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น อาหารที่พบได้คือ มีตุ่มน้ำใสที่บริเวณ ปลายจมูก ปาก ลิ้น ริมฝีปาก เหงือก และผิวหนังบริเวณไรกีบ ต่อมาตุ่มน้ำใสจะแตก นอกจากนี้ยังพบอาการไข้สูง เบื่ออาหาร น้ำลายยืด ขาเจ็บ กีบลอกหลุด และน้ำหนักลด

    การป้องกัน ทำวัคซีนเมื่อลูกสุกรอายุประมาณ 7 สัปดาห์ และทำวัคซีนอีกครั้ง ในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา และสำหรับสุกรพ่อแม่พันธุ์ ทำวัคซีนทุก ๆ 4-6 เดือน

     

          นอกจากนี้ก็มีโรคติดต่อในสุกรชนิดอื่นซื่งมีความสำคัญ ต้องอาศัยวิธีป้องกันโรค เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคโพรงจมูกอักเสบ โรค ที.จี.อี. ( โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบติดต่อ) โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไฟลามทุ่ง เป็นต้น

    การใช้ยาและการรักษาสุกร

            การใช้ยาป้องกันและรักษาสุกรเจ็บป่วยในการป้องกันและรักษาสุกรเจ็บป่วยด้วยยาชนิดต่างๆ เป็นเรื่องละเอียดและจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงพอสังเขปเท่านั้น

    1. ยาปฏิชีวนะ เป็นสารที่สกัดจากจุลชีพบางชนิด ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค หรือทำให้เชื้อโรคนั้น ๆ ถูกทำลายได้ ยาปฏิชีวนะ ใช้ในการป้องกันและรักษาโรค เช่น โรคปอดบวม หลอดลมอักเสบ การอักเสบต่าง ๆ มีแผลหนอง โรคทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มดลูกอักเสบ โลหิตเป็นพิษ เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้ เช่น เพนนิซิลิน สเตรปโตมัยซิน เพนสเตรปโตมัยซิน แอมพิซิลิน กาน่ามัยซิน เทตร้าไซคลีน อ็อกซี่เทตร้า คลอเทตร้าไซคลีน นีโอมัยซิน ลินโคสเปคโตมัยซิน เป็นต้น

    2.ยาซัลฟา เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อใช้ป้องกันและรักษาโรค ยาในกลุ่มนี้ เช่น สโตรเมซ ไบรีน่า ไตรซัลฟาน ไตรเวทตริน เวซูลอง ซัลเมท ซัลฟาเมอราซีน ซัลฟาควิน็อกซาลีน ซัลฟาเมทาซีน ซัลฟาไดอาซีน ซัลฟานิลาไมต์ ซัลฟาไทอาโซน เป็นต้น

    3.ยาบำรุง ส่วนใหญ่เป็นยาเข้าในรูปฟอสฟอรัส แคลเซี่ยม แมกนีเซียม น้ำตาลกลูโคส ตลอดจนวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ช่วยกระตุ้น ให้การดุดซึมของระบบการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ยาในกลุ่มนี้ เช่น โทโนฟอสฟาน อาริซิล คาโตซาล ไวตาเล็กซ์ อมิโนไลท์ คาลมาเด็ก (แคลเซียมโบโรกลูโคเนท) ไวตามินเอ ชนิดฉีด วิตามินบี - คอมเพล็กซ์ มัลติวิตามิน เป็นต้น

    4.ยาฆ่าเชื้อโรค ใช้ล้างคอกโดยทั่วไป เช่น ไอซาล ซานิตัสเซฟล่อน ไอโอดีน ฟอร์มาลีน จุนสี น้ำยาไลโซน โซดาไฟ คลอรีน ปูนขาว วันคลีน แบทเทิลส์ ไบโอเทน ไบโอซึฃิค ไบโอคลีน ฟาร์มฟลูอิดเอส เป็นต้น ซึ่งมีวิธีการและข้อจำกัดในการใช้แตกต่างกัน ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนใช้งาน

    5. ยาฆ่าพยาธิภายนอก ใช้ฆ่าพวกเห็บ ไร ขี้เรื้อน ขี้เรื้อนแห้งในสุกร เช่น เอ็นโก้ เย็นโก้ ไฟสเปรย์ มาลาเฟช มาลาไธออน เซฟวินส์ เยอร์เม็ก อาซุนโทน เนกูวอน ยาฉีดไอโวเม็ก โพเร็ค เป็นต้น

    6. ยาถ่ายพยาธิ ยาฆ่าพยาธิในลำไส้ของสัตว์ที่ใช้กันมากที่สุด คือ ตัวยาปิพเพอร์ราซีน คาร์บอนเตตราคลอไรด์ ไพแรนเทลทาร์เทรด ไทอะเบนดาโซล เป็นต้น ชื่อการค้าได้แก่ เวอร์บาน ดาวซีน ฮอกโทซาน วอร์ม-เอ็กซ์ แบนมินซ์ ไอโวเม็ก (สำหรับฉีด) เลมิโซล 10% เลวาไซด์ ลีวาลิน 10% เป็นต้น

    7. ยาที่ใช้กรอกปากลูกสุกร เพื่อป้องกันและรักษาลูกสุกรท้องเสีย เช่น ฟาร์โมซินป้ายลื้น (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาคลอเทตร้าไซคลีน ไฮโดรคลอไรด์) โคไล-การ์ด (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาสเตรปโตมัยซินซัลเฟต ซัลฟาไธอาโซน อะโทรฟีนซัลเฟต) ไดอะตรีมชนิดน้ำ (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาไตรเมโธปรีมซัลฟาไดอาซีน) โนโรดีนชนิดน้ำ (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาซัลฟาไดอาซีนไตรเมโธพริม) เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะใช้ยาผงละลายน้ำให้ลูกสุกรกิน หรือกรอกปากลูกสุกรก็ได้ เช่น นีโอมิกซ์ 325 เคดี-นีโอเป็นต้น

    8. ยาใส่แผล ใช้ใส่แผลสดและแผลเรื้อรัง เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน ยาเหลือง เจนเชียนไวโอเลต (ยาสีม่วง) ซัลฟานิลาไมด์ เนกาซันท์ ลูกเหม็น (ใช้ฆ่าหนอนในแผลเรื้อรัง) สครูวอร์ม ขี้ผึ้งซัลฟานิลาไมด์ ขี้ผึ้งกำมะถัน แอลกอฮอล์ เป็นต้น

    9. ฮอร์โมน ฮอร์โมนทีใช้ในการกระตุ้นลมเบ่งในแม่สุกร เช่น ฮอร์โมน อ็อกซี่โตซิน ส่วนฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน เอฟ 2 อัลฟา (ชื่อการค้า ลูทาไลส์) เป็นฮอร์โมนที่ใช้ฉีดในแม่สุกร เพื่อใช้กำหนดช่วงระยะเวลาคลอดให้แม่สุกร ทำให้สะดวกในการจัดการ หรือใช้ในกรณีที่แม่สุกรครบกำหนดคลอดแล้ว (114 วัน) แต่ไม่คลอดหลังจากฉีดแล้วจะช่วยให้แม่สุกรคลอดลูกภายใน 36 ชั่วโมง ในการใช้ฮอร์โมนให้ศึกษาวิธีการใช้ให้ละเอียด และควรปรึกษาสัตวแพทย์เพราะอาจส่งผลเสียต่อสัตว์และผู้ใช้ได้

    10. ธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันโรคโลหิตจางในลูกสุกร เช่น ไฟเด็กซ์ ไมโอเฟอร์ พิกซ์เดร็ก ไอรอน-เดร็กทราน โรนาเด็ก เป็นต้น

    การฉีดยาและการจับสุกรตัวโตฉีดยา

            การฉีดยาในที่นี่ จะกล่าวถึงเน้นเฉพาะการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังเท่านั้น การฉีดยาหรือฉีดวัคซีนในสุกรตัวเล็กคงจะไม่มีปัญหา เพราะสามารถจับสุกรได้ง่าย ส่วนสุกรตัวโตคงจะต้องมีวิธีการจับสุกรให้ยืนนิ่ง เพื่อสะดวกในการฉีดยา

    1. การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular injection)

             ตำแหน่งที่ฉีดยา สุกรตัวโตฉีดตรงกล้ามเนื้อบริเวณคอ ห่างจากโคนหูประมาณ 2 นิ้ว ใช้เข็มเบอร์ 18 ยาว 1.5 นิ้ว โดยแทงเข็มในลักษณะตั้งฉากกับจุดที่แทงเข็ม สุกรตัวเล็กควรฉีดที่บริเวณกล้ามเนื้อขาหลังด้านในโดยใช้เข็มขนาดและความยาวลดลงตามขนาดสุกร

     

    การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง (Subcutaneous ingection)

             ตำแหน่งที่ฉีด นิยมฉีดใต้ผิวหนังห่างจากโคนหูประมาณ 2-3 นิ้ว โดยดึงหนังขึ้นแทงเข็มให้ผ่านชั้นผิวหนังเข้าไปในระหว่างชั้นผิวหนังกับชั้นกล้ามเนื้อ โดยแทงเข็มเฉียง ๆ ต้องใช้เข็มที่แหลมคม ตำแหน่งที่ฉีดอื่น ๆ เช่น บริเวณกึ่งกลางของขาหน้า โดยแทงเข็มขนานกับลำตัว หรือฉีดตรงบริเวณซอกรักแร้ขาหน้าก็ได้ เข็มควรมีความคมมาก

     

    การจับสุกรตัวโตฉีดยา

             ใช้เชือกหรือลวดผูกปาก โดยทำเป็นบ่วงรัดเหนือเขี้ยวในปากสุกร รัดเชือกให้แน่น นำปลายเชือกอีกด้านหนึ่งไปผูกไว้กับเสา ปกติธรรมชาติของสุกรเมื่อโดนเชือกผูกปากสุกรจะถอยหลังเต็มที่ ทำให้สามารถจับสุกรฉีดยาได้ง่าย

    การเคลื่อนย้ายสุกร

     


    เพื่อป้องกันสุกรตายในระหว่างขนย้ายให้ควรปฏิบัติ ดังนี้

     

    การเตรียมรถยนต์ ปูพื้นรถยนต์ด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง หรือต้นกล้วยหรือดินทราย เพื่อป้องกันสุกรลื่น ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ควรจัดเตรียมกรง ถ้าขนย้ายสุกรจำนวนมากให้จัดเตรียมแผงกั้นเป็นล็อค เพื่อป้องกันสุกรไหลทับกันตาย และต้องมีแผงกั้นท้ายรถยนต์ด้วย รถยนต์ต้องมีหลังคาผ้าใบหรือตาข่ายกรองแสง เพื่อป้องกันแดดและฝน
    การจัดการสุกรเมื่อขึ้นรถยนต์แล้ว ในระหว่างการเคลื่อนย้ายระวังอย่าให้สุกรร้อน ควรฉีดน้ำให้สุกรเมื่อขึ้นรถยนต์ให้ชุ่มทั้งตัว หรือใช้น้ำแข็งก้อนใหญ่ (เป็นมือ) ทุบ วางบนฟางพื้นรถยนต์เพื่อช่วยทำให้เย็นขึ้นและให้สุกรเลียเพื่อลดความเครียด ขณะเดินทางไม่ควรหยุดพักรถยนต์โดยไม่จำเป็น ถ้าสังเกตุดูว่าสุกรมีอาการบ่งบอกว่าร้อน เช่น หายใจหอบ ให้แวะฉีดน้ำให้แก่สุกร โดยราดน้ำที่บริเวณหัวสุกรก่อน จากนั้นจึงราดบริเวณลำตัว และควรเลือกเดินทางในขณะที่อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนมากนัก เช่น ตอนบ่ายใกล้ค่ำ หรือตอนกลางคืน เป็นต้น
    การจัดการเมื่อสุกรถึงปลายทาง เมื่อถึงฟาร์มปลายทางหลังจากนำสุกรลงจากรถแล้ว ควรให้สุกรพักผ่อนสักระยะหนึ่ง ไม่ควรรีบร้อนให้น้ำและอาหารทันที จากนั้นให้หาน้ำสะอาดให้กิน ควรละลายเกลือแร่ (อีเลคโตรไลท์) หรือวิตามินกับน้ำสะอาดให้สุกรกินในช่วง 3-5 วันแรก และให้ทำการกักโรคสุกรโดยแยกสุกรเลี้ยงต่างหาก เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน (ในกรณีที่สามารถปฏิบัติได้)

    ตารางแสดงน้ำหนัก อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารของสุกรขุน

    อายุของสุกร
    (วัน)

    น้ำหนักสุกร
    (กิโลกรัม)

    อัตราการเจริญเติบโต
    (กรัม/วัน)

    ประสิทธิภาพ
    การใช้อาหารสมทบ

    อาหารที่กิน/ตัว/วัน
    (กิโลกรัม)

    ปริมาณอาหารสมทบ
    (กิโลกรัม)

    30

    6.5

    150

    -

    0.30

    0.4

    42

    9.0

    330

    1.5

    0.50

    5.0

    60

    15.0

    500

    1.6

    1.0

    15.0

    70

    22.0

    600

    1.8

    1.4

    27.0

    82

    30.0

    650

    2.2

    1.5

    45.0

    94

    40.0

    700

    2.3

    2.0

    67.0

    106

    50.0

    720

    2.3

    2.2

    90.0

    120

    60.0

    750

    2.4

    2.4

    125

    133

    70.0

    780

    2.5

    2.6

    155

    145

    80.0

    800

    2.6

    2.8

    190

    158

    90.0

    800

    30.

    3.0

    225

    170

    100.0

    800

    3.0

    3.0

    260

    ตารางการทำวัคซีนป้องกันโรคสำหรับสุกรพันธุ์

    อายุสุกร

    ชนิดของวัคซีน

    ขนาดและวิธีใช้

    หมายเหตุ

    6 สัปดาห์

    อหิวาต์สุกร

    ฉีดเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 1 ซีซี.

    ต่อไปให้ฉีดวัคซีนป้องกันทุก ๆ 6 เดือน และเมื่อละลายวัคซีนแล้ว ใช้ให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง

    7 สัปดาห์

    ปากและเท้าเปื่อย

    ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

    ต่อไปให้ฉีดวัคซีนป้องกันทุก ๆ 4 เดือน

     

    http://www.dld.go.th/service/pig/pigpig.html

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×