ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติปิงปอง

    ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติกีฬาปิงปอง

    • อัปเดตล่าสุด 18 ก.ย. 49


    ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส (ข้อมูลจากสยามกีฬา)
    ที่มาของกีฬาเทเบิลเทนนิส (Table tennis) หรือปิงปอง ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ไม่มีประวัติความเป็นมาในสมัยโรมันหรือกรีกเช่นเดียวกับกีฬาประเภทอื่น แม้รัสเซียก็เคยอ้างว่าเป็นผู้คิดค้นมาก่อนใคร แต่อังกฤษอ้างว่าตนเป็นต้นกำเนิดแล้วก็ไม่มีใครไปคัดค้าน แต่มีผู้สันนิษฐานว่ามีที่มาเช่นเดียวกับลอนเทนนิส แต่แหล่งกำเนิดยังเป็นที่สงสัย Frank Monke ได้เขียนแนะนำไว้โดยให้ข้อสันนิษฐานว่ากำเนิดมาจากกีฬา 2 ชนิดคือ
     
    1. กีฬาในร่มของเทนนิส เริ่มเล่นครั้งแรกในรัฐแมสซาชูเซตส์ ราวศตวรรษที่ 19 ( พ.ศ. 2433)
     

    2. สันนิษฐานว่าเริ่มเล่นในอินเดีย โดยทหารอังกฤษได้นำมาเล่นเป็นกีฬากลางแจ้ง การเล่นจะใช้ไม้กระดานเป็นตาข่ายแบ่งแดน บ้างก็ว่ากำเนิดมาจากแอฟริกาใต้ แต่ที่หาหลักฐานได้คือ อังกฤษมีการโฆษณาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นเทเบิลเทนนิสชายในหนังสือกีฬาของอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2423 แต่ลูกที่ใช้ในสมัยนั้น ( พ.ศ. 2393) ใช้ลูกบอลทำด้วยไม้ก๊อกหรือยางแข็ง ซึ่งแข็งเกินไป
     

    จากการศึกษาค้นคว้าการริเริ่มของกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยพิจารณาถึงจุดร่วมกันของเทเบิลเทนนิส เทนนิส และแบดมินตัน จะเห็นได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการพัฒนาของเทนนิสมากกว่ากีฬาประเภทอื่นๆ หลังศตวรรษที่ 19 เทเบิลเทนนิสเล่นกันในห้อง (ในที่ร่ม) ต่อมาได้มีผู้ประดิษฐ์ไม้ยางชนิดหนึ่งขึ้นมา จึงเล่นกันกลางแจ้ง แต่ถ้าเมื่อใดอากาศไม่ดีก็กลับมาเล่นในห้องอีก จึงเรียกกันว่า เทเบิลเทนนิสขนาดเล็ก
     

    แม้จะมีคนคิดปิงปองขึ้นมาเป็นแบบย่อของกีฬาเทนนิส เมื่อใกล้จะสิ้นศตวรรษที่แล้วก็ตาม แต่ความจริงแล้ว เทเบิลเทนนิสเคยเป็นกีฬาประจำราชสำนักในสมัยศตวรรษที่ 12 เราไม่ทราบว่าใครเป็นผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้มาให้เราเล่นจนกระทั่งทุกวันนี้ แม้แต่ประเทศต้นกำเนิดดั้งเดิมทั้งอังกฤษ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งอินเดีย และแอฟริกาใต้ ล้วนแต่ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่เกิดกีฬาชนิดนี้ แต่ก็มีคนส่วนมากยอมรับว่าปิงปองเริ่มมีครั้งแรกในอังกฤษ เพราะแม้แต่คนที่กล่าวว่าเทเบิลเทนนิสเริ่มเล่นในอินเดียและแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรก ยังเห็นพ้องกันว่าทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่นั่นอาจจะมีส่วนนำปิงปองเข้ามายังประเทศทั้งสอง
     

    ด้วยกฎเกณฑ์ง่ายๆ วัสดุที่มีราคาถูก และประกอบได้อย่างง่ายดายทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งในพระราชฐาน และตามท้องถนน พระเจ้ายอร์จที่ 6 แห่งประเทศอังกฤษ ทรงโปรดฯ ให้ตั้งโต๊ะปิงปองขึ้นในพระราชวังบัคกิ้งแฮม และในสมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัดหากีฬาชนิดนี้ไว้ให้พระราชธิดา (เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ) ได้สนุกสนานที่พระราชวังบัลมอรอลเช่นเดียวกับพระเจ้ายอร์จที่ 6 พระเจ้าซาร์แห่งปอเซีย บัณฑิตเนห์รูแห่งอินเดีย และกษัตริย์ฟารุคแห่งอียิปต์ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ส่งเสริมกีฬาทั้งนั้น นักกีฬาทุกประเภทได้ยอมรับว่า ปิงปองเป็นทางวิเศษที่จะกำหนดกีฬาเฉพาะตัวของเขา เพราะปิงปองรวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ปิงปองให้ทั้งความคล่องตัวในการเล่น ทำให้ฟุตเวิร์กดีและมีความฉับไวทั้งในการบุกและความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็ว รวมกันแล้วจึงทำให้ปิงปองกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมากที่สุด นักจิตวิทยาทางอุตสาหกรรม ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคนสูงขึ้น เขากล่าวว่า หลังจากได้เล่นเทเบิลเทนนิสสักเกมแล้ว คนงานก็จะกลับไปทำงานด้วยความสดชื่น และด้วยพละกำลังที่เพิ่มขึ้นอย่างประหลาด เทเบิลเทนนิสจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิธีที่มีคุณค่าที่สุดที่จะทำให้สายตาและจิตใจสัมพันธ์กันได้ดีมากขึ้น
     

    เมื่อเริ่มมีการเล่นใหม่ๆ เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นในห้องรับแขกในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย วัสดุที่ใช้ในสมัยนั้นส่วนมากเป็นวัสดุที่ทำขึ้นเอง โดยมิได้เตรียมมาก่อน ลูกปิงปองทำจากเส้นด้าย ใช้หนังสือวางบนโต๊ะแทนตาข่าย ไม้ตีก็ตัดจากกระดาษแข็งหนาๆ ซึ่งหนังสือเก่าๆ ที่เกี่ยวกับกีฬาประเภทนี้ได้แนะนำว่าห้องที่ใช้เล่นปิงปองควรจะตกแต่งอย่างโปร่งๆ และเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ ควรจะปกปิดไม่ให้เกิดการสึกหรอหรือฉีกขาด
     

    ในไม่ช้าวงการค้าเริ่มมองเห็นโอกาสที่จะหาผลประโยชน์จากเครื่องเล่นชนิดนี้ และเริ่มต้นผลิตวัสดุในการเล่นที่เหมาะสมกว่าที่เคยทำกันเองในขณะนั้น การแข่งขันระหว่างบริษัทผู้ผลิตก่อให้เกิดการตื่นตัวในกีฬาประเภทนี้อย่างมากมาย บริษัทที่กล่าวกันว่าเป็นบริษัทแรกที่เริ่มพัฒนากีฬาที่เรียกว่า เทเบิลในร่ม คือบริษัท Parker Brothers of Salem แห่งเมืองแมสซาชูเซตส์ เป็นบริษัทอเมริกันที่ผลิตสินค้ากีฬาทุกชนิด และได้ส่งสินค้าเข้าไปขายในอังกฤษ
     

    ลูกปิงปองที่ผลิตขึ้นในลักขณะนั้นทำด้วยยางหรือไม้ก๊อก หรือมักจะหุ้มด้วยยางหรือผ้า เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายกับโต๊ะ และให้ลูกปิงปองหมุน รูปร่างและวัสดุที่ใช้ยังคงแตกต่างกันออกไปเรื่อยๆ ซึ่งตามความจริงแล้วไม่เคยมีขนาดมาตรฐานเลย มีด้ามยาว และส่วนที่ใช้ตีนั้นข้างในจะกลวง และหุ้มด้วยแผ่นหนัง ทำให้รูปร่างคล้ายกลองเล็กๆ ตาข่ายที่ใช้จะขึงข้ามโต๊ะระหว่างเก้าอี้ 2 ตัว เกมหนึ่งๆ จบลงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของผู้เล่นได้แต้ม 21 แต้ม ซึ่งกฎข้อนี้ยังไม่เคยเปลี่ยนจนปัจจุบันนี้
     

    การนำลูกปิงปองที่ข้างในกลวง ซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์ (Celluloid) มาใช้ทำให้การเล่นปฏิวัติไปโดยสิ้นเชิง ลูกปิงปองแบบใหม่ให้กำลังในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่น่าอัศจรรย์ มีความแม่นยำสูง ส่วนความผิดพลาดมีบ้างเล็กน้อย ต่อมาอังกฤษเริ่มปรับปรุงการเล่นเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรก และมีนักเทเบิลเทนนิสชาวอังกฤษชื่อ Janes Gibb ได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาและบังเอิญได้พบลูกบอลสีต่างๆ ซึ่งเด็กๆ ใช้เป็นของเล่น เมื่อเขากลับประเทศอังกฤษจึงนำมาใช้กับเทเบิลเทนนิส และพบว่ามีประโยชน์มาก เมื่อนักธุรกิจได้เห็นจึงยอมรับความสำคัญของมันในทันที และเริ่มผลิตออกจำหน่าย จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และผลักดันให้กีฬาประเภทนี้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
     

    การแข่งขันอย่างมากมายทางการค้าทำให้บริษัทต่างๆ จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ของตน และมีการตั้งชื่อเรียกสินค้าอย่างหรูหรา ซึ่งปัจจุบันได้ล้มเลิกไปหมดแล้ว เช่น กอสสิมา วิฟท์เว็ฟท์ และฟลิม-แฟลม การเรียกชื่อ "ปิงปอง" นี้เลียนแบบมาจากเสียงซึ่งเกิดจากไม้ตีที่มีขนาดเล็ก และยาวขึ้นด้วยหนังลูกวัวทั้งสองด้าน เมื่อใช้ไม้ตีลูกเซลลูลอยด์จะมีเสียงดัง "ปิง" และเมื่อลูกตกลงกระทบพื้นจะมีเสียงดัง "ปอง" หลังจากนั้นเมื่อมีการปรับปรุงไม้ตี เสียงที่กระทบพื้นจะเปลี่ยนแปลงไป และเมื่อกีฬาชนิดนี้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมเป็นเทนนิสบนโต๊ะ หรือเทเบิลเทนนิส
     

    เมื่อประชาชนเริ่มตื่นเต้นและนิยมเล่นปิงปองกันอย่างมาก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้มีการติดตั้งอุปกรณ์การเล่นทั่วๆ ไป ซึ่งหลักจากนั้นคนก็เริ่มเบื่อกีฬาที่เรียกว่า ปิงปอง วิฟท์ เว็ฟท์ จนไม่มีใครเล่นอีก ต่อมา Mr. E.C. Good แห่งกรุงลอนดอน เป็นผู้ทำให้ปิงปองกลับมาเป็นที่นิยมเล่นกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขาเปลี่ยนมาสนใจเทเบิลเทนนิสโดยกะทันหัน เพราะเขามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงหาวิธีการที่จะบรรเทาอาการโดยที่ใจยังจดจ่อกับการเล่นปิงปองอยู่ เขาจึงไปซื้อยาที่ร้านขายยาและในขณะที่เขาจ่ายเงินค่ายาได้สังเกตเห็นแผ่นยางที่ตอกติดอยู่บนพื้นเคาน์เตอร์ ทำให้เกิดความคิดว่า ถ้านำยางแผ่นนี้ไปวางบนผิวไม้ตีปิงปองคงจะทำให้ควบคุมลูกได้ดีมากขึ้น เขาจึงได้ซื้อแผ่นยางไปจากร้านขายยา ตัดให้ได้สัดส่วนกับไม้แล้วก็ติดกาว เขาเริ่มต้นฝึกหัด และได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความพิเศษของเครื่องมือที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ทำให้เขาสามารถเข้าถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขันนานาชาติ โดยชนะแชมป์เทเบิลเทนนิสของอังกฤษ และตามตำนานก็กล่าวว่าเขาชนะถึง 50 ต่อ 3 เกม
     

    จากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีใครคิดถึงปิงปองอีก Alicetocrant และประชาชนได้นำมาเล่นใหม่ด้วยความตื่นตัว และได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป ในกีฬาชนิดนี้นักปิงปองที่มีชื่อหลายคนได้รับประโยชน์จากไม้ตีที่ปฏิวัติใหม่ทำให้ควบคุมลูกได้ง่าย และได้นำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้จนทำให้ปิงปองเป็นเกมรวม แล้วมีลักษณะแตกต่างกันมาก
     

    อย่างไรก็ตาม ราวปี พ.ศ. 2447 เทเบิลเทนนิสก็กลับซบเซาลงอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2464 สมาคมปิงปองได้ตั้งขึ้นในอังกฤษ และยอมใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าปิงปอง ในปีต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสมาคมเทเบิลเทนนิส ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 มีประเทศที่ส่งเสริมกีฬาเทเบิลเทนนิสอย่างแท้จริงเพียง 4 ประเทศคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้คิดค้นลูกเซลลูลอยด์ขึ้นมา ประเทศฮังการี คิดค้นการส่งลูกแบบกระดอน ประเทศอังกฤษ ผู้ซึ่งคิดค้นไม้หุ้มยางออกมาใช้ และประเทศเยอรมันนี เป็นที่ส่งเสริมจนเป็นที่ยอมรับในแง่ของการจัดการแข่งขัน และใช้วางกฎกติกาเล่นต่างๆ
     

    Iver Monthagor บุตรชายของคุณหญิง Sweyling ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้เกิดความสนใจเทเบิลเทนนิส โดยมีเพื่อนๆ นิสิตสนใจเข้าร่วมแข่งขันกัน ในไม่ช้าการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งแรก ระหว่างมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็เริ่มมีขึ้น และเป็นความคิดริเริ่มของ Iver Monthagor ในการนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สเวย์ลิ่ง คัพ" โดยตั้งตามชื่อของมารดา (คล้ายกับที่ลอนเทนนิสมี "โธมัสคัพ") ซึ่งได้กลายเป็นรางวัลนานาชาติที่นักปิงปองใฝ่ฝันที่สุด
     

    ไม่เป็นที่แปลกประหลาดอะไรเลยในเมื่อปิงปองได้รวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ปิงปองจึงเป็นกีฬาที่ให้ทั้งความคล่องแคล้วว่องไวในการเล่น การเคลื่อนที่ของเท้าที่ดี มีความฉับไวในการรุก และความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็วจึงทำให้ปิงปองกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมากที่สุด ทำให้ประชาชนเริ่มตื่นตัวและนิยมเล่นปิงปองอย่างกว้างขวางทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ปิงปองได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรป
     

    ปี พ.ศ. 2469 ได้มีการประชุมผู้แทนประเทศต่างๆ ครั้งที่ 1 ขึ้น ณ หอสมุด Lady Sir Vateting ซึ่งเป็นชื่อมารดาของ Sir Mongtakurr ที่ประชุมได้มีมติผ่านกฎบัตรให้มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2469 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในระยะแรกการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งโลกจัดให้มีการแข่งขันปีละครั้ง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง กีฬาเทเบิลเทนนิสได้แพร่หลายทั่วไป จึงได้มีการจัดตั้งเป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นโดยให้จัดประชุมสัมมนาขึ้นที่กรุงบอร์น ประเทศเยอรมันตะวันตก ในปี พ.ศ. 2469 ที่ประชุมได้มีมติให้จัดตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติขึ้น และได้จดทะเบียนตามกฎหมายเลขที่ 1907
     

    ในการประชุมครั้งนั้นที่ประชุมลงมติให้แต่งตั้ง Sir Mongtakurr เป็นประธานสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติคนแรก ซึ่งในขณะนั้นสหพันธ์ฯ มีสมาชิกกว่า 100 ประเทศ โดยดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์ถึง 9 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469-2503 Sir Mongtakurr เกิดที่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2448 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ก็ได้ปลดเกษียณจากประธานสหพันธ์ฯ แต่ยังดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกร้อยกว่าประเทศจาก 5 ทวีป เทเบิลเทนนิสจึงกลายเป็นกีฬาที่มีชื่อเสียงค่อนข้างจะโด่งดัง ทำให้ผู้คนทั้งหลายเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น
     

    ในศตวรรษที่ 20 ได้มีนักศึกษาและนักท่องเที่ยวนำเอากีฬาประเภทนี้เข้าสู่ประเทศออสเตรีย ฮังการี และสหรัฐเมริกา
     

    ปี พ.ศ. 2438 ศาสตราจารย์ครุศาสตร์ท่านหนึ่งแห่งโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ที่ไปศึกษาในประเทศอังกฤษ ได้นำเอาโต๊ะและไม้เทเบิลเทนนิสกลับประเทศญี่ปุ่น ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มแพร่หลายในญี่ปุ่น และได้แพร่หลายเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2462
     

    สมาคมเทเบิลเทนนิสในสหรัฐเมริกา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536
     

    สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500
     

    การเล่นเทเบิลเทนนิสในระยะแรก พวกที่เล่นเก่งๆ มักจะใช้นิ้วเล่นลูกประกอบการตีคือ ยอมให้ผู้ส่งลูกปั่นลูกกับไม้ได้ในตอนส่งโดยใช้นิ้วช่วย การส่งลูกแบบนี้จะทำให้ลูกหมุนมากจนแทบจะรับไม่ได้ ต่อมาจึงได้มีกติกาห้ามการส่งแบบนี้
     

    ในชั้นแรกเกมการเล่นประกอบด้วยการเล่น 2 แบบคือ การตั้งรับ และการตีลูกโต้ ต่อมามีการตีลูกแบบตัด ดังนั้นเทคนิคคือการตั้งรับและการตีลูกตัด ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรป
     

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ไม้ตีได้มีการทำเป็นยางจุด และทำให้ตีโต้ได้รวดเร็วขึ้น ต่อมาสมัยของ Victor Barnar (แชมป์โลกปี พ.ศ. 2473, 2475, 2476 และ 2477) รูปแบบการเล่นเทนนิสได้ถูกกำหนดอย่างสมบูรณ์ มีการตอบโต้โดยใช้ลูกหน้ามือและหลังมือด้วยวิธีการจับไม้แบบจับมือ (Shake-Hand grip) ซึ่งเป็นจุดเด่นมาก และมีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากการจับไม้แบบจับปากกา (Penholder grip)
     

    ในปี พ.ศ. 2465 คำว่า "ปิงปอง" ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นเครื่องหมายการค้า ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นข้อหนึ่งทำให้มีการเปลี่ยนชื่อกีฬาประเภทนี้มาเป็นเทเบิลเทนนิส
     

    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471-2492 เป็นช่วงที่ยุโรปเป็นผู้นำทางด้านเทเบิลเทนนิส โดยได้ตำแหน่งชนะเลิศเกือบทุกประเภททั้งชายและหญิง
     

    ในปี พ.ศ. 2483-2490 ได้เกิดสงครามฟาสต์ซิสทำให้การแข่งขันระดับโลกได้หยุดชะงักไประยะหนึ่ง
     

    ญี่ปุ่นได้ร่วมเป็นสมาชิกสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2472 อังกฤษไม่ได้รับตำแหน่งดั้งเดิมในประเภทนี้เหมือนเมื่อก่อน ประเทศอื่นๆ ได้พัฒนาขึ้นมา และก้าวหน้าไป โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และเชโกสโลวะเกีย แต่ที่สำคัญคือ ฮังการี ซึ่งได้เป็นแชมเปี้ยนโลกหลายสมัย ชาวฮังการีศึกษาและเล่นเกมนี้อย่างจริงจังในเวลาว่าง และได้พัฒนาการเล่นแบบต่างๆ เช่น การรับลูกได้อย่างแน่นอน บางครั้งสามารถรับลูกหลังโต๊ะถึง 25 ฟุต ซึ่งทำให้ชาวฮังกาเรียนเป็นแชมเปี้ยนโลกได้ส่วนใหญ่ จนถึงปี พ.ศ. 2480 ชาวอเมริกันจึงได้ชัยชนะทั้งประเภทชายและหญิงในการเดินทางไปแข่งขันที่ประเทศฮังการี ความก้าวหน้าครั้งนี้เป็นเพราะได้รับทักษะจากแชมเปี้ยนส์ชาวฮังกาเรียน ซึ่งเคยแข่งขันท่ามกลางผู้ชมไม่ต่ำกว่า 20,000 คนอยู่เสมอ
     

    นอกจากการเล่นประเภทเดี่ยวแล้ว การเล่นประเภทคู่นับได้ว่าเป็นการเล่นที่สนุกสนานที่สุด ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนกันตีและการเล่นจะเป็นไปอย่างรวดเร็วตลอดการแข่งขัน
     

    ในปี พ.ศ. 2478 ภายหลังที่สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งมา 2 ปี ได้มีการแข่งขันระดับโลกระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรเลีย ปรากฏว่าต้องใช้เวลานานถึง 20 นาที สำหรับคะแนนเพียงคะแนนเดียว และลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีกลับไปกลับมาถึง 1,590 ครั้ง
     

    ปี พ.ศ. 2493-2502 เป็นยุคของญี่ปุ่น โดยสร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกในโลกด้วยการตีลูกหน้ามือเป็นเกมรุก โดยการใช้ฟุตเวิร์ก ในปี พ.ศ.2495 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 19 ที่บอมเบย์ และในปี พ.ศ. 2496 จีนได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงชนะเลิศโลกครั้งที่ 20 ที่เมืองบุชเชอเรสต์ ญี่ปุ่นก็ได้ชัยชนะประเภททีมชายและหญิง ชั้นเชิงการตีลูกของชาวซามูไรทำให้วงการเทเบิลเทนนิสตื่นตัว เพราะญี่ปุ่นใช้วิธีการจับไม้แบบถือพู่กัน หรือ เรียกกันในภายหลังว่า แบบตะวันออก ซึ่งมีประสิทธิภาพในการตบลูกที่รุนแรง นักตีชาวยุโรปที่จับไม้แบบเชคแฮนด์จึงพ่ายแพ้อย่างราบคาบ
     

    ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกปี พ.ศ.2499 ทีมอังกฤษได้รับความสนใจขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งทำให้การเล่นล่าช้าไปครึ่งชั่วโมง โดยร้องเรียนว่าลูกที่ใช้ในการแข่งขันอ่อนไป และยังไม่กลมด้วย เขาเลือกลูกอยู่ 192 ใบจึงได้ลูกที่ถูกใจ และต่อมาก็พ่ายแพ้ในการแข่งขัน
     

    เทคนิคการเล่นของยุโรปในการรุกจะใช้ไหล่ ศอก และเอว ในขณะที่ผู้เล่นญี่ปุ่นใช้ทั้งลำตัวในการตี และใช้เทคนิคแบบโต้กลับปะทะการรุก จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นเหนือกว่าชาวยุโรป การรุกแบบผู้เล่นญี่ปุ่นนั้นทำให้ชาวยุโรปกลัว เพราะคล้ายกับการโจมตีแบบกามิกาเซ่ (Kamikaze) การรุกแบบกล้าหาญนี้ ชาวญี่ปุ่นถือว่ากล้าได้กล้าเสีย และเสี่ยง แต่ผู้เล่นญี่ปุ่นก็พยายามรุกและมีฟุตเวิร์กที่คล่องแคล่วอันทำให้สัมฤทธิ์ผลจนได้รับชัยชนะในการแข่งขันประเภททีมถึง 5 ครั้งติดต่อกัน อันเป็นสถิติที่ดีเยี่ยมเท่าที่เคยมีมา โดยมี Ogimara เป็นตัวเล่น ซึ่งเขาชนะถึง 12 ครั้ง รวมถึง Tanaka, Tomida, Murakami, Kimura และทำให้ญี่ปุ่นเป็นแชมเปี้ยนโลกในช่วงเวลานั้น (พ.ศ. 2493) ชาวยุโรปแข่งขันกับญี่ปุนโดยใช้วิธีจับไม้แบบจับมือ (Shake-hand grip) และส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายรับ อีกประการหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นครองความเป็นจ้าวปิงปองคือ ญี่ปุ่นได้ใช้วิธีตีลูกแบบ Top-spin ชาวยุโรปซึ่งเป็นฝ่ายรับจึงปราชัยอย่างราบคาบ
     

    ปี พ.ศ. 2503 การเล่นของชาวยุโรปก็ยังเป็นแบบเดิม ทำให้เทเบิลเทนนิสของชาวยุโรปตกต่ำลงไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2503 ในปีนี้มีการแข่งขันชิงชนะเลิศที่ญี่ปุ่น ประเทศยูโกสลาเวียและฮังการีก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วยแต่ก็แพ้ญี่ปุ่นเพราะญี่ปุ่นใช้วิธีตีลูก Top spin และในระยะต่อมาฮังการีก็ได้คิดค้นวิธีตีลูก Back spin ขึ้น จึงทำให้การเล่นเทเบิลเทนนิสพัฒนาขึ้นอย่างมาก สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นจ้าวปิงปอง เพราะ
     

    1. ญี่ปุ่นได้ค้นพบของใหม่ โดยดัดแปลงการตีที่ใช้ฟองน้ำเข้าช่วยและใช้ลูก Top spin
    2. ใช้เทคนิคการบุกแบบตบลูกยาว
    3. นักกีฬาของชาวญี่ปุ่นมีความมานะอดทนในการฝึกซ้อม
     

    ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนได้ตำแหน่งชนะเลิศ โดยจีนใช้วิธีบุกเร็วและการยืนตำแหน่งชิดโต๊ะแต่ในระยะหลังนี้ชาวยุโรปได้ฟื้นตัวขึ้นมา เพราะในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกที่เปียงยาง ครั้งที่ 35 พ.ศ. 2522 ฮังการีได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมชาย หลังจากได้เสียตำแหน่งไป 20 กว่าปี
     

    จีนชนะปี พ.ศ. 2503 และใน ปี พ.ศ. 2504 การแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกได้เปลี่ยนแปลงจากปีละ 1 ครั้ง มาเป็น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง พ.ศ. 2505 มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นที่กรุงปักกิ่ง นักตีรุ่นหนุ่มของจีนชนะทีมญี่ปุ่นด้วยการรุกแบบสายฟ้าแลบ และรับอย่างฉับไว โดยการจับไม้แบบไม้จีน (Chinese Penholder grip) จีนชนะเลิศประเภททีมชายและชายเดี่ยว 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งจีนได้เรียนรู้จากญี่ปุ่นทั้งทางภาพยนตร์และจากเอกสาร จึงได้แก้ทางเล่นโดยใช้วิธีเล่นทั้งลูกสั้นและลูกยาวแบบญี่ปุ่นอันเป็นหลักของจีนมาถึงปัจจุบัน เป็นวิธีที่รู้จักกันว่าเป็นการเล่นเทเบิลเทนนิสแบบจีน ซึ่งไม่มีใครเหมือน
     

    ต่อมาในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก ครั้งที่ 27, 28 พ.ศ. 2506, 2508 จีนก็ได้ครองตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมชาย-หญิง ชายเดี่ยว และหญิงเดี่ยวในการแข่งขันครั้งที่ 29 และ 30 จีนยักษ์ใหญ่ในวงการเทเบิลเทนนิสก็ไม่ได้เข้าชิงชัย เนื่องจากเกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจีน จึงทำให้นักตีชาวยุโรปคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะครั้งที่ 30 ซึ่งเยอรมันตะวันตกเป็นเจ้าภาพ รัสเซียได้ครองตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมหญิง และสวีเดนชนะเลิศประเภทชายคู่ ส่วนญี่ปุ่นได้ตำแหน่งทีมชาย ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว และคู่ผสม รวม 4 ตำแหน่ง
     

    ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 31 ที่เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน พ.ศ. 2514 จีนได้กลับเข้ามาแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง และได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม และประเภททีมชาย ส่วนตำแหน่งชายเดี่ยว ได้แก่ Stellan ;Bengtsson จากสวีเดน ชายคู่ ได้แก่ ฮังการี ประเภททีมหญิง ได้แก่ ญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทยประเภททีมชายได้อันดับที่ 23 จากประเทศเข้าแข่งขัน 39 ประเทศ ทีมหญิงได้อันดับที่ 22 จาก 27 ประเทศที่ส่งเข้าแข่งขัน
     

    การแข่งขันครั้งที่ 31 ที่นาโกย่า นับเป็นการแข่งขันที่มีคนกล่าวขวัญกันมากเป็นประวัติการณ์ เพราะการแข่งขันครังนี้นับว่าเป็นสื่อให้ยักษ์ใหญ่ 2 ฝ่ายในโลกหันหน้าเข้าหากัน เพราะหลังจากการแข่งขันครั้งนี้แล้ว จีนได้เชิญนักปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปเยือนปักกิ่ง รวมทั้งทีมจากแคนาดา โคลัมเบีย และไนจีเรีย สหรัฐอเมริกาตกลงรับคำเชิญของจีนทันที ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงได้มีโอกาสเข้าสู่จีนหลังจากจีนได้ปิดประเทศมาถึง 22 ปีเต็ม
     

    นักปิงปองจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 15 คน จึงเป็นกลุ่มแรกที่ได้เดินเข้าสู่เมืองของเหมา เจ๋อ ตุง เมื่อนักตีของสหรัฐอเมริกาไปจีนแล้ว ประธานาธิบดี Richard Nickson ก็ได้โอนอ่อนนโยบายการค้ากับจีน จะเห็นได้ว่าการเมืองกับการกีฬาแยกกันไม่ออก บางครั้งการเมืองก็ทำให้การกีฬาต้องหยุดชะงัก แต่บางครั้งการกีฬาต้องหยุดชะงัก แต่บางครั้งการกีฬาก็ยุติวิกฤติการณ์ทางการเมืองได้ หากนักกีฬาที่มีหัวรุนแรงนำเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวกันก็อาจทำให้การแข่งขันครั้งนั้นไม่ถึงที่สุดได้ อย่างเช่นการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 31 นักกีฬาของจีนคนหนึ่งที่ไม่ยอมแข่งขันกับนักกีฬาาของเขมรและเวียดนามจึงทำให้ตกรอบในการแข่งขันครั้งนั้น
     

    เหตุที่ชาวยุโรปได้กลับฟื้นตัวในการเล่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะผู้เล่นชาวยุโรปได้ใช้วิธีเล่นแบบใหม่โดยใช้การรุกแบบเอเชีย เริ่มโดยสวีเดน และอีกหลายประเทศซึ่งยอมรับวิธีเล่นของคนอื่นได้ kjell Johansson และ H. Aiser ของสวีเดนเป็นผู้ชนะเลิศประเภทชายคู่ใน พ.ศ. 2510 และ พ.ศ. 2512 ได้เป็นผู้ปูทางให้ชาวยุโรปเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงมีหลายคนวิจารณ์ว่าชาวยุโรปใช้วิธีการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ในที่สุดชาวสวีเดนก็ทำได้สำเร็จ จึงทำให้เกิดนักตีรุ่นใหม่ และได้ฝึกคนอื่นๆ ในยุโรปตะวันออก
     

    ในปี พ.ศ. 2513 ยุโรปก็มีพลังกล้าแข็งขึ้น และมีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะเผชิญกับชาวเอเชีย หลังจากการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษที่แล้ว จวบจนถึงปี พ.ศ. 2513 ทีมญี่ปุ่นก็ตกต่ำลง เมื่อชาวยุโรปได้ชิงความชนะเลิศไป โดยใช้วิธีการรุกแบบใหม่ และการจับไม้แบบจับมือ ปี พ.ศ. 2514 มีการแข่งขันชิงชนะเลิศที่เมืองนาโกย่าสวีเดนชนะเลิศประเภทชายเดี่ยว และปี พ.ศ. 2516 สวีเดนได้รับชัยชนะมากที่สุดในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก และการเล่นเทเบิลเทนนิสของชาวยุโรปก็เป็นไปตามเทคนิคใหม่นี้
     

    การแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศของโลก ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2522 ที่เปียงยาง ทีมชายของฮังการีได้รับตำแหน่งชนะเลิศ ส่วนประเภทชายเดี่ยวนั้นในรอบชิงชนะเลิศ Guo Yuehua ของจีนแข่งขันกับ Seiji One ของญี่ปุ่น ในการแข่งขันเกมที่ 3 Guo Yuehua จากจีนกล้ามเนื้อฉีกไม่สามารถแข่งขันต่อได้ จึงทำให้ Seiji One จากญี่ปุ่นชนะไป
     

    ปี พ.ศ. 2524 การแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 36 ที่ Novi Sad Sad ประเทศยูโกสโลวาเกีย Guo Yuehua ก็ได้แชมป์โลก ชายเดี่ยว และในการแข่งขันครั้งนี้จีนได้ครองแชมป์ทั้ง 7 ประเภท การแข่งขันครั้งที่ 37 ในปี พ.ศ. 2526 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จีนได้ตำแหน่งชนะเลิศ 6 ประเภท ส่วนประเภทชายคู่ Kalinic Zoran และ Dragutin Surbek ประเทศยูโกสลาเวียได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ
     

    การแข่งขันชนะเลิศแห่งโลกครั้งที่ 38 จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2528 ณ ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม-7 พฤษภาคม และครั้งที่ 39 จัดแข่งในปี พ.ศ. 2530 ที่ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 6-16 กุมภาพันธ์
     

    เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาประเภทหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิก ครั้งที่ 24 ในปี พ.ศ. 2531 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยกำหนดให้มีการแข่งขัน 4 ประเภท ได้แก่ ชายเดี่ยว (64 คน) ชายคู่ (32 คู่) หญิงเดี่ยว (32 คน) และหญิงคู่ (16 คู่)
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×