ขนมกับสุขภาพ - ขนมกับสุขภาพ นิยาย ขนมกับสุขภาพ : Dek-D.com - Writer

    ขนมกับสุขภาพ

    เอามาให้อ่านกันฮับ

    ผู้เข้าชมรวม

    859

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    859

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 มี.ค. 50 / 09:48 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      1611 ขนมกับสุขภาพ

      เมื่อพูดถึงขนม ภาพที่คนส่วนใหญ่จะคิดถึงติดตามมาก็คงจะไม่พ้นภาพเด็กกำลังกินขนม เด็ก ๆ กับขนมดูเหมือนจะเป็นของคู่กันไปทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นเราจึงจะเป็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวที่ผลิตขึ้นมาเพื่อขายเด็กโดยเฉพาะมีอยู่มากมาย แม้แต่ผลิตภัณฑ์ทั่วไปเวลาที่โฆษณาก็ยังมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มเด็ก อันที่จริงแล้วการบริโภคขนมก็เป็นเรื่องปกติ ประเด็นที่ควรจะต้องพิจารณาก็คือเรื่องของคุณภาพของขนมและปริมาณที่รับประทานเข้าไป

      ขนมที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ พวกที่จัดเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว บรรจุในซองหรือกล่องปิดสนิทผลิตในระดับอุตสาหกรรม และขนมประเภทที่ต้องรับประทานในสภาพสด เช่น ขนมปัง ขนมแบบไทย ๆ พวกขนมชั้น วุ้นกะทิ ฝอยทอง เม็ดขนุน เป็นต้น ในที่นี้จะขอพูดถึงเฉพาะผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเท่านั้น

      ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว พอจะแบ่งออกได้อย่างคร่าว ๆ เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

      ขนมประเภทพองกรอบ ผลิตภัณฑ์ในประเภทนี้จัดได้ว่ามีมากชนิดที่สุด และยังมีมากมายหลาย รูปแบบ ทั้งแบบชิ้นรูปร่างต่าง ๆ แบบแผ่น แบบแท่ง รสหวาน รสเค็ม แม้กระทั่งแบบสอดไส้ บางชนิดอาจต้องนำไปทอดในน้ำมันจึงจะพองสวยอย่างที่เห็น รวมทั้งข้าวเกรียบและมันฝรั่งทอดก็เป็นที่นิยมมากเช่นกัน ซึ่งจะกรอบแต่อาจไม่ค่อยพอง

      ขนมประเภทปลาเส้นและถั่วชนิดต่าง ๆ เหตุผลหนึ่งที่นำขนมเหล่านี้มาจัดไว้ด้วยกัน ก็เพราะทั้งปลาเส้นและถั่วเป็นขนมขบเคี้ยวที่ค่อนข้างจะยังคงรูปลักษณ์ของวัตถุดิบตั้งต้นอยู่มาก โดยเฉพาะพวกถั่ว ปลาเส้นนั้นมีทั้งที่ทำจากปลา ปลาหมึก และปูอัด ส่วนถั่วก็มีทั้งถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วที่เป็นของต่างประเทศ เช่นพวกอัลมอนด์ พิสตาซิโอ เป็นต้น อาจจะนำมาอบ คั่ว หรือทอด ผสมเกลือและเครื่องปรุงรสอื่น หรือนำมาเคลือบ

      เยลลี่พร้อมบริโภค มีทั้งชนิดบรรจุถ้วยขนาดพอคำและถ้วยใหญ่ที่ต้องตักกิน ส่วนประกอบที่ให้ลักษณะของเยลลี่จะเป็นพวกส่วนผสมที่สกัดมาจากส่วนของพืชบางชนิดหรือสาหร่าย ส่วนผสมเหล่านี้มีคุณสมบัติในการเกิดเป็นวุ้นหรือเจลเมื่อผสมน้ำ และบางชนิดก็ต้องมีน้ำตาลด้วย โดยตัวของมันเองแล้วไม่มีสารอาหารแต่จะมีพวกเส้นใยอาหารเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นอาหารหลักในเยลลี่ที่จริงแล้วก็คือน้ำตาล บางชนิดอาจมีการผสมน้ำผลไม้ลงไปบ้างและมีการแต่งสีและกลิ่นเลียนแบบผลไม้ต่าง ๆ

      ลูกอมทั้งแบบอมและแบบเคี้ยว ชนิดที่เป็นลูกอมแบบเม็ดแข็งหรือแบบหนืดที่เคี้ยวได้ ส่วนประกอบหลักของลูกอมก็คือน้ำตาล ซึ่งส่วนมากจะมีอยู่ไม่น้อยกว่า 90% อาจจะเป็นน้ำตาลทราย หรือมีการใช้น้ำตาลอื่นด้วย เช่นน้ำเชื่อมข้าวโพด กลูโคส เป็นต้น

      ขนมขบเคี้ยวส่วนใหญ่จะมีแป้งหรือน้ำตาลเป็นองค์ประกอบหลัก ไม่ว่าจะเป็นขนมประเภทพองกรอบเยลลี่และลูกอม จึงเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตซึ่งให้พลังงานแก่ร่างกาย ถ้าขนมนั้นผ่านการทอดในน้ำมันก็จะได้ไขมันตามไปด้วย จะเป็นว่ามีส่วนน้อยที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ ที่พอจะหาได้ก็คงจะเป็นในพวกปลาเส้นและถั่วต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อเด็ก ๆ กินขนม โดยมากแล้วสิ่งที่ได้ก็คือพลังงานแต่เด็กมีความต้องการสารอาหารอื่น ๆ อีกด้วยโดยเฉพาะโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโต รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุ ดังนั้นการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากไป โดยที่ไม่ได้รับอาหารอย่างอื่นที่มีประโยชน์มากพอ จะทำให้เกิดปัญหาทางโภชนาการได้ เพราะเด็ก ๆ มักจะชอบกินขนม ถ้าปล่อยให้รับประทานตามใจชอบโดยไม่เลือกเวลาและไม่จำกัดปริมาณ อาจทำให้อิ่มและไม่อยากทานอาหารเมื่อถึงเวลาสำหรับมื้ออาหารปกติ จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ที่ดูแลเด็กจะต้องช่วยพิจารณา โดยการเลือกชนิดของขนมและกำหนดช่วงเวลาที่จะให้ทานขนมได้ เช่นเวลาอาหารว่างตอนเช้าหรือตอนบ่ายให้ห่างจากมื้ออาหารพอสมควร นอกจากนี้ในแง่ของความปลอดภัยในการบริโภคขนมของเด็ก ๆ ผู้ใหญ่ควรจะดูแลด้วยว่าขนมที่ซื้อมานั้น สะอาด บรรจุในภาชนิดที่ปิดสนิทเรียบร้อย ไม่มีรอยฉีกขาดหรือรั่ว ซึ่งอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกอื่นได้ ยังไม่ถึงวันหมดอายุ และถ้าขนมนั้นมีการใช้สารปรุงแต่ง เช่น ผงชูรส สารแต่งกลิ่น สีสังเคราะห์และอื่น ๆ ในปริมาณมากก็ไม่ควรให้รับประทานบ่อยนัก

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×