โรคข้อเข่าเสื่อม - โรคข้อเข่าเสื่อม นิยาย โรคข้อเข่าเสื่อม : Dek-D.com - Writer

    โรคข้อเข่าเสื่อม

    โดย partyparty

    เอามาให้อ่านกัน

    ผู้เข้าชมรวม

    1,636

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    1.63K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  1 มี.ค. 50 / 21:53 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยพบในเพศหญิงบ่อยกว่าชาย ผู้ป่วยมักมีอาการปวดในเข่า บริเวณรอบๆ ลูกสะบ้า หรือในข้อพับเข่า มีเสียงดังเวลาขยับเคลื่อนไหวข้อ มีอาการฝืดหรือคล้ายข้อยึด หรือมีอาการบวมอักเสบในเข่า เป็นต้น จากอาการดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน เช่น ยืน เดินได้ตามปกติ

      ตามปกติ การขยับเคลื่อนไหวของข้อเข่าที่ดีนั้น ข้อเข่าจะต้องมี กระดูกอ่อนผิวข้อที่มีความแข็งแรง คือ มีความหนา ยืดหยุ่น เรียบลื่น และทนทานในการรับแรงกระแทกจากภายนอก รวมทั้งมีน้ำหล่อเลี้ยงไขข้อที่มีคุณสมบัติและปริมาณเหมาะสมมาช่วยหล่อลื่น เพื่อให้การเคลื่อนไหวของข้อเข่าเป็นไปอย่างปกติในการใช้งานในชีวิตประจำวัน แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจะพบว่า มีการบางตัวหรือสึกกร่อน หรือเปื่อยยุ่ยไปของกระดูกอ่อนผิวข้อ อาจมีลักษณะผิวข้อไม่เรียบ ขรุขระ หรือมีหินปูนเกิดขึ้นในข้อ รวมทั้งคุณสมบัติและปริมาณของน้ำหล่อเลี้ยงไขข้อที่เปลี่ยนแปลงไป จนอาจจะส่งผลให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุข้อ และก้อนกล้ามเนื้อบริเวณรอบเข่าตามมาได้

      มาถึงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีอัตราการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นตามวัย แต่อายุที่มากขึ้นไม่ใช่สาเหตุอย่างเดียว มักจะมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่
      1. การใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น นั่งพับเข่านานๆ เป็นประจำ หรือทำงานหนัก ต้องแบกรับน้ำหนักมากเป็นเวลานานๆ หรือการทำงานหรือเล่นกีฬา ที่ต้องมีการกระแทกข้อเข่าเป็นประจำ
      2. น้ำหนักตัวมากเกินไปเป็นเวลานาน เนื่องจากแรงที่กระทำผ่านเข่าจะมีค่าประมาณ 2-3 เท่าของน้ำหนักตัวเวลาเดิน
      3. เคยได้รับอุบัติเหตุจนเกิดการบาดเจ็บในข้อเข่ามาก่อน เช่น เอ็นยึดข้อเท้าฉีกขาดหลังจากเล่นกีฬา หรือกระดูกข้อเข่าแตกเคลื่อน
      4. เคยมีการอักเสบอย่างรุนแรงในข้อเข่ามาก่อน เช่น เอ็นยึดข้อเข่าอื่นๆ เช่น เก๊าท์ หรือ รูมาตอยด์ เรื้อรัง
      5. มีความพิการผิดรูปของข้อเข่าหรือ แนวขา ตั้งแต่กำเนิดหรือหลังอุบัติเหตุ กระดูกหักข้อเคลื่อน

      ลักษณะอาการสำคัญของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม มักจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
      1. มีอาการปวดข้อเข่า อาจจะเป็นๆหายๆโดยอาการดีขึ้นเมื่อพักการใช้เข่าลง แต่จะปวดมากขึ้นเมื่อใช้งาน เช่น ยืน เดิน โดยเฉพาะเดินขึ้นลงบันได ในรายที่โรคเป็นมากแล้ว อาจมีอาการปวดตลอดเวลา จะทำกิจวัตรประจำวันลำบาก
      2. มีเสียงดัง เวลาขยับงอเหยียดข้อเข่า
      3. มีการข้อฝืด หรือข้อยึด โดยจะรู้สึกข้อยึดหลังจากหยุดการใช้ข้อเป็นเวลานาน เช่น หลังตื่นนอนเช้า หรือหลังจากนั่งพักนานๆ พอได้ขยับเคลื่อนไหวสักระยะหนึ่งจึงจะรู้สึกขยับได้มากขึ้น
      4. ข้อผิดรูป ลักษณะข้อเข่าจะผิดรูปร่างจากเดิม อาจคลำพบหินปูนหรือเห็นลักษณะกระดูกเข่าใหญ่ขึ้น หรือมีลักษณะเข่าโก่งแยกออกจากกันเวลายืนตรง
      5. เข่าบวม อาจมีอาการนี้เป็นๆหายๆจากน้ำในข้อเข่าที่มากผิดปกติบางครั้งอาจมีอาการอักเสบ บวมแดง ร่วมด้วย
      6. พิสัยการเคลื่อนไหวลดลง โดยอาจมีอาการงอหรือ เหยียดเข่าได้ไม่สุด มักมีอาการเจ็บถ้าพยายามฝืนให้งอเหยียดมากขึ้น
      7. ข้อเข่าหลวม ไม่มั่นคงในการทรงตัว เวลายืน หรือเดิน

      การดูแลรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้เองที่บ้าน เพื่อลดหรือบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นให้น้อยลงและพอจะประกอบกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น โดย
      1. ลดอาการปวดข้อและการเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบข้อเข่า ครั้งละประมาณ 10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
      2. บริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง และเพิ่มความมั่นคงของข้อและลดแรงกระทำต่อข้อเข่า
      3. สวมใส่สนับเข่า (Knee Support) ในรายที่ข้อเข่าเสียความมั่นคง สนับเข่าจะช่วยกระชับข้อเข่า ลดอาการปวด เหมาะสำหรับใส่เวลาจะยืนหรือเดินเป็นระยะทางไกลหรือช่วงที่มีอาการปวดอักเสบ แต่ควรจะใส่และถอดเป็นบางครั้ง ร่วมกับบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อลีบจากการขาดการใช้งาน
      4. หลีกเลี่ยงการงอพับเข่ามากๆ เช่น การนั่งยองๆ ขัดสมาธิ พับเพียบ โดยเฉพาะที่ต้องนั่งเป็นเวลานาน
      5. ใช้ไม้เท้า ช่วยแบ่งเบาแรงที่มากระทำต่อข้อเข่า และเพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคงในการทรงตัว เวลายืนหรือเดิน ควรมีจุกยางที่ปลายไม้เท้าเพื่อกันลื่นด้วย
      6. ลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
      7. หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันได หรือที่สูงที่ต่ำโดยไม่จำเป็น เนื่องจากเข่าจะมีแรงมากระทำจากการเดินขึ้นลงบันไดสูงถึง 3-4 เท่าของน้ำหนักตัว

      การออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า สามารถทำได้เองง่ายๆ ที่บ้านได้เป็นประจำโดยมีท่าต่างๆ ดังนี้
      1. นั่งตัวตรง หลังพิงชิดพนังเก้าอี้ ยกขาขึ้นและเหยียดเข่าตรงให้ขนานกับพื้นโดยเกร็งค้างนิ่งไว้ ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงเอาลง นับเป็นการยก 1 ครั้ง จากนั้นยกขาอีกข้างสลับกัน
      2. นอนหงายเอาหมอนเล็กหรือผ้าม้วนวางรองใต้ข้อพับเข่า จากนั้น เกร็งลูกสะบ้าทั้ง 2 ข้างและเหยียดเข่าตึงนานประมาณ 10 วินาที เหมือนท่าที่ 1
      3. นอนหงาย ชันเข่าอีกข้างขึ้น และเหยียดเข่าข้างที่ต้องการบริหารขึ้นให้ขาตรง โดยยกให้ส้นเท้าสูงจากพื้นเตียงประมาณ 1 ฟุต เกร็งค้างไว้ 10 วินาที แล้วเอาลง ทำสลับกันซ้ายและขวา เหมือนท่าที่ 1
      4. นั่งบนเก้าอี้แล้วไขว้ขา 1 ข้างเหมืนขัดสมาธิ ให้ขาบนกดลงบนขาล่างโดยทีขาล่างเหยียดขึ้นตรง เหมือนท่าที่ 1

      การบริหารทุกท่า ควรเริ่มทำจากน้อยไปมาก โดยทำประมาณ 10-20 ครั้ง/รอบ วันละ 3-4 รอบ เป็นอย่างน้อย และค่อยๆเพิ่มมากขึ้นตามกำลังความสามารถของกล้ามเนื้อ จะทำให้กล้ามเนื้อรอบเข่ามีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้นตามลำดับ

      การฝึกออกกำลังข้อเข่าอื่นๆ เพื่อช่วยเสริมสร้างการเคลื่อนไหวของข้อเข่าให้ดีขึ้น นอกเหนือจากการบริหารกล้ามเนื้อก็มีประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น การฝึกเดิน หรือตีขาในสระว่ายน้ำ หรือการเดินช้าๆ การขี่จักรยานโดยปรับให้อานอยู่สูงกว่าปกติเพื่อลดการงอเข่ามากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังบางอย่าง เช่น การวิ่ง การกระโดด การเต้นแอโรบิค เนื่องจากมีแรงกระทำผ่านเข่าอย่างมาก หรือมีการบิดงอเข่าเกินควร

      การปรับกิจวัตรประจำวันบางอย่างเพื่อให้ใช้ข้อน้อยลง โดยให้ผู้ป่วยปรับอิริยาบถให้เหมาะสม เช่น
      1. การซักผ้า ให้ซักทีละน้อย และนั่งซักบนม้าเตี้ยๆ โดยเหยียดเข่าออกทั้ง 2 ข้าง หรือซักโดยใช้เครื่องซักผ้า
      2. การรีดผ้า ควรนั่งบนเก้าอี้มีพนักในการรีด
      3. การถูพื้นบ้าน ควรยืนถู โดยใช้ไม้ม๊อบ
      4. การไปวัด ฟังเทศน์ ทำบุญ ควรนั่งที่ขอบบันได บนเก้าอี้ หรือถ้าจำเป็นต้องนั่งกับพื้นควรนั่งเหยียดเข่าตรง
      5. การนั่งสมาธิ ควรนั่งบนเก้าอี้ หรือถ้านั่งพื้น ควรเหยียดเข่าตรง
      6. การใช้ส้วม ควรหลีกเลี่ยงการใช้โถส้วมซึมแบบนั่งยอง อาจปรับใช้ม้า 3 ขา สำหรับนั่งคร่อมบนส้วมซึม หรือกระโถน หรือใช้โถแบบชักโครกแทน

      ถ้าได้ทำการดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นแล้ว อาการยังไม่ทุเลา หรือประกอบกิจวัตรไม่ได้เต็มที่ แพทย์มักจะให้การดูแลรักษาเพิ่มเติม เป็นขั้นตอนจากน้อยไปมาก ดังนี้
      1. การให้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ หรือ ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการที่ปลายเหตุ ร่วมกับการบริหารและออกกำลังกายข้อเข่า
      2. การให้ยากลุ่มบำรุงกระดูกอ่อนผิวข้อ เช่น Glucosamine Chondriotin Sulphate หรือ Hydrolyse collagen เพื่อช่วยให้เซลผิวข้อ สามารถสร้างเนื้อเยื่อมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปได้ดีขึ้น
      3. การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงไขข้อเทียมเข้าไปในข้อเข่า มักทำภายหลังการเจาดูดเอาน้ำไขข้อเดิมที่ผิดปกติออก มีรายงานว่า ช่วยให้อาการปวดจากข้อเข่าเสื่อมลดลงและการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวข้อที่ดีขึ้น รวมทั้งกระตุ้นเซลกระดูกอ่อนผิวข้อให้ทำงานดีขึ้น
      4. การทำกายภาพบำบัด โดยอาจใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ คลื่นความถี่สั้น หรือประคบความร้อน ความเย็น ช่วยบรรเทาอาการปวด
      5. การผ่าตัดรักษา มักพิจารณาในรายที่ให้การรักษาข้างต้นทุกอย่างแล้วอาการไม่ทุเลา หรือมีอาการขั้นรุนแรง หรือกระดูกผิดรูปอย่างมาก โดยมีการผ่าตัดหลากหลาย ตั้งแต่การส่องกล้องเข้าไปล้างในข้อเข่า และกรอกระดูกอ่อนผิวข้อ การตัดต่อกระดูกต้นขาหรือหน้าแข้ง เพื่อจัดแต่งแนวขาให้ตรงเพื่อกระจายแรงกระทำต่อข้อเข่าให้เป็นปกติ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าและลูกสะบ้าเทียมเข้าแทนที่ของเดิมที่สึกกร่อนเสียหายไป ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรงของโรค และดุลพินิจของแพทย์ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยรายนั้น

       

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×