คำจำกัดความของโรคจิต และเนื้อหาอื่นๆ - คำจำกัดความของโรคจิต และเนื้อหาอื่นๆ นิยาย คำจำกัดความของโรคจิต และเนื้อหาอื่นๆ : Dek-D.com - Writer

    คำจำกัดความของโรคจิต และเนื้อหาอื่นๆ

    โดย partyparty

    "โรคจิตไม่ใช่โรคเครียด และไม่ใช่โรคประสาท อย่างที่เราเข้าใจกัน"

    ผู้เข้าชมรวม

    726

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    726

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  23 ก.พ. 50 / 10:01 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      คำจำกัดความ
      โรคจิต เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางด้านความคิด ผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้ 
      มีความคิดผิดปกติ มีอาการหลงผิด กลัวหวาดระแวง บางคนจะมีอาการหูแว่ว 
      ประสาทหลอน ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของโรคจิต เช่น โรคจิตเภท Schizophrenia
      "โรคจิต ไม่ใช่โรคเครียด หรือ โรคประสาท อย่างที่เราเข้าใจกัน"

      สาเหตุ
      โรคจิต มีสาเหตุมาจากปัจจัยร่วมระหว่าง ทางด้านร่างกาย และ ความเครียดจากการปรับตัว 
      - ทางร่างกาย พบว่า เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคจิต จะมีระดับสารเคมีในสมอง 
      พวกโดพามีน ( Dopamine ) สูงกว่าปรกติ 
      - ทางจิตใจ สาเหตุสำคัญคือ ความเครียดที่เกิดจากกิจวัตรประจำวัน นอกจากนี้ ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ยัง 
      ให้ความสำคัญของการเลี้ยงดูในวัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วง 1 ปี แรกของชีวิต

      ความสำคัญของโรคจิต
      ความสำคัญคือ อาจจะทำให้เกิดอันตราย ไม่เฉพาะกับตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยที่มี 
      อาการหวาดระแวง ยังอาจทำร้ายร่างกายผู้อื่น โดยที่เขาไม่ตั้งใจ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคจิต จะไม่สามารถ 
      ทำงานได้ ทำให้เป็นภาระแก่ครอบครัว ผู้ป่วยหลายคน ไม่ยอมรับความเจ็บป่วย 
      ทำให้การรักษาเป็นไปด้วย ยาก 

      การรักษา
      1. การรักษาโดยการใช้ยา ยามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษา โดยเฉพาะระยะเฉียบพลัน 
      ซึ่งถ้าไม่ใช้ยา อาจจะควบคุมอาการไม่ได้ผล ปัจจุบัน การสังเคราะห์ยาต้านโรคจิตใหม่ ๆ 
      เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงมาก และมีผลข้างเคียงต่ำ การใช้ยาจึงมีความจำเป็นในการรักษา
      2.
      การรักษาโดยใช้จิตบำบัด โดยเน้นการรักษาแบบจิตบำบัดแบบประคับประคอง 
      เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัว ชีวิตประจำวันได้ ไม่สนับสนุนให้ผู้ป่วย นั่งสมาธิ หรือ 
      ทำการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ เพราะว่าจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากยิ่งขึ้น 
      3.
      การรักษาด้วยไฟฟ้า เป็นการรักษาที่ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพ ดี มีผลข้างเคียงต่ำ 
      โดยแพทย์จะเลือกใช้ในกรณีที่ มีอาการก้าวร้าวอย่างรุนแรง หรือรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล 
      4.
      การปรึกษากับครอบครัว ครอบครัวมีส่วนสำคัญ ในการช่วยกันการเจ็บป่วยซ้ำ ครอบครัว 
      ที่เข้าใจผู้ป่วย ให้กำลังใจ ย่อมทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ ในการรักษา

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×