ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติตัวละครเรื่อง"สามก๊ก"

    ลำดับตอนที่ #30 : ซุนโฮ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.19K
      1
      20 ม.ค. 50

    พระเจ้า อู๋ม่อตี้ (โง่วมวกตี่) ซุนเฮา (ซุงเฮ่า..พ.ศ. 784 - พ.ศ. 827) จื้อ หยวนจง (ง่วงจง) อีกพระนาม ไพจู่ (เพ่โจ้ว) จื้อ เฮาจง (เฮาจง)

    เป็นพระนัดดาของ ซุนกวน เป็นพระโอรสในอดีตรัชทายาท ซุนเหอ (ซุงฮั้ว) ที่ถูกปลด

    ในรัชสมัยของพระเจ้า ซุนฮิว ทรงรับตำแหน่งเจ้าเป็น เจ้า อูเฉินโฮว (โอวเที่ยโหว) ทรงประทับ ณ เมืองที่ทรงกินเมือง

    เดือนที่ 7 ศักราช หย่งอาน (ย่งอัง) ปีที่ 7 พ.ศ. 807 พระเจ้า ซุนฮิว พระชนมายุ 30 พรรษา ทรงประชวรเจ็บหนัก พระโอษฐ์มิอาจทรงตรัส

    ทรงมีกระแสรับสั่งเขียนพระราชโองการด้วยลายพระหัตถ์ ทรงมีรับสั่งให้มหาอุปราช พูหยานซิ่น (พกเอี่ยงเฮง) ดูแลพระโอรสองค์โต ซุนถัน (ซุงท้ำ) ขึ้นครองราชย์ แล้วก็ทรงเสด็จสวรรคต

    แต่มหาอุปราช พูหยานซิ่น เห็นว่าพระโอรสทั้งสี่ของ ซุนฮิว นั้นทรงพระเยาว์เกินไป มีอาจครอบครองประเทศได้ จึ่งได้ปรึกษากับแม่ทัพฝ่ายซ้าย จางปู้ (เตียโป่ว)

    ต่างจึ่งพากันไปเข้าเฝ้าพระนาง จูสื่อ (จูสี) ฮองเฮา ของพระเจ้า ซุนฮิว กราบทูลเสนอความเห็นทรงโปรด ซุนเฮา เป็นโอรสบุญธรรมในพระเจ้า ซุนฮิว และทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์

    เมื่อพระเจ้า ซุนเฮา ครองราชย์ได้ 1 เดือน มิทรงรับพระเจ้า ซุนฮิว เป็นพระราชบิดาบุญธรรม ทรงโยกย้ายตำแหน่ง ฮองไทเฮา ของพระนาง จูสื่อ ในตำแน่ง จิ่นฮองเฮา (เก่งอ่วงโหว)

    และทรงโปรดแต่งตั้ง ซุนเหอ (ซุงฮั้ว) พระราชบิดาแท้ของพระองค์ทรงพระยศย้อนหลังเป็นพระเจ้า เหวินฮ่องเต้ (บุ่งอ่วงตี่) ทรงแต่ตั้งพระนาง เหอสือ (ฮ่อสี) พระราชมารดาเป็น ฮองไทเฮา

    แต่ภายหลังพระเจ้า ซุนเฮา ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงมิเอาใจใส่ต่อบ้านเมือง วางอำนาจเยอหยิ่ง ขี้ระแวงสงสัย ทรงชมชอบโปรดสุรานารี

    ยังความสิ้นหวังให้แก่เหลาขุนนาง พูหยานซิ่น และ จางปู้ เสียใจสำนึกผิดในตำแหน่ง ฮ่องเต้ ของ ซุนเฮา ทั้งสองจึ่งถูกกำจัดประหาร

    ซุนเฮา ทรงเป็น ฮ่องเต้ องค์สุดท้ายของ ก๊กง่อ ทรงอยู่ในพระราชสมบัติ 15 ปี 8 เดือน ทรงบริหารประเทศด้วยระบบทางการเมืองอันง่อนแง่น นักประวัติศาสตร์มองว่าเป็น ฮ่องเต้ทรราชย์

    ขณะนั้น ก๊กจ๊ก ถูกปราบโค่นทำลายลงเป็นตัวอย่างให้เห็น แต่พระองค์กลับทรงอยู่ในความประมาท ทรงเข้าพระทัยว่าภูมิประเทศอันคับขันของ ก๊กง่อ ยากแก่การปราบโค่นทำลาย และทรงมองอำนาจความเจริญเติบโตของ ก๊กจิ้น มิอยู่ในสายพระเนตร พระองค์ทรงหาวิธีเสพสุข ทรงมักมากและหลงใหลในสุรานารี

    ทรงย้ายเมืองหลวงเป็นว่าเล่น ดังเด็กเล่นขายขนม เดือนที่ 9 ศักราช กันลู่ (กำโล่ว) ปีที่ 1 ซุนเฮา ทรงเชื่อฟังขุนนาง ซีตู๋ (ไซต๊ก..ข้าหลวงตะวันตก) ปู้ซ่าน (โป่วเสียง)

    ถวายคำแนะนำว่า สาเหตุที่ ก๊กจ๊ก ถูกโค่นทำลายลงเพราะภูมิประเทศมิเอื้ออำนวย ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีพระราชโองการย้ายเมืองหลวงไป ณ เมือง อู่ชาน (บู่เชียง) ทางฝั่งเหนือของลำน้ำ เพื่อหนีภัยจากการโจมตีของข้าศึก

    แต่เหล่าขุนนางทั้งหลายมิเห็นด้วยมิยอมย้ายตามไป ณ อู่ชาน ทำเอาเหล่าอาณาประชาราษฎร์เดือดร้อนกันถ้วนทั่ว ดั่งมีคำพังเพยว่า

    "ยอมดื่มน้ำของ เจี้ยนเย่ว์ (เกี่ยงเงี๊ยบ), แต่มิยอมทานปลาของ อู่ชาน, จักยอมตาย ณ เจี้ยนเย่ว์, แต่มิยอมอาศัย ณ อู่ชาน,"

    และด้วยขณะนั้น ทางดินแดน เจียนหนาน (กังน้ำ) จึ่งมีผู้ลุกฮือขึ้นก่อการจำนวนมาก ทั้งชาว ฮั่น และชาวป่าชาวเขาเผ่า เย่ว์ (อวก)

    ภายในเมือง เจี้ยนเย่ว์ เกิดการจลาจลวุ่นวายยากแก่การปกครอง เป็นเวลาเดียวกับ ซุนเฮา เริ่มย้ายไปประทับ ณ เมือง อู่ชาน

    ดั่งนั้น เมื่อเดือนที่ 12 ศักราช เป่าติ้น (ป่อเตี้ย) พ.ศ. ซุนเฮา จึ่งทรงรีบย้ายกลับเมืองหลวง เจี้ยนเย่ว์ ซึ่งก็สร้ายความเดือดร้อนแก่ประชาชนในการขนย้ายข้าวของอีกตามเคย ต่างพากันมิพอใจต่อ ซุนเฮา

    เมื่อ ซุนเฮา ได้ครองราชย์ ทรงรับสั่งให้ขุดสระน้ำใหญ่และคลองส่งน้ำหลายสายชักน้ำเข้าสู่วังหลวง ทรงเกณฑ์แรงงานต่าง ๆ มาทั่วประเทศ และสั่งผู้คนไปเสาะหาวัตถุตามที่ต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงต้องการ ทำความเดือดร้อนแก่เหล่าประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

    ภายในพระราชวังหลวงของพระองค์ทรงเลี้ยงเหล่าสนมนางกำนัลจำนวนมาก กล่าวกันว่ามีกลายพันคน ถึงหมื่นกว่าคน ประชากรสนมนางในของพระองค์มีประมาณถึง 1 ใน 300 ของพลเมืองทั้งหมด เป็นยุคสมัยที่มิค่อยมีในประวัติศาสตร์จีน

    หากมีสนมผู้ใดทรงโปรดต้องการสิ่งใด หรือต้องการสร้างตำหนัก พระองค์มักใช้ผู้คนไปเสาะแสวงหาเสมอ ๆ

    ศักราช เป่าติ้น ปีที่ 2 พ.ศ. 810 พระองค์ทรงให้สร้างพระราชวังใหม่ ณ เมืองหลวง เจี้ยนเย่ว์ คือพระราชวัง เจ้าหมินกง (เจียวเม่งเกง) ใหญ่โตกว้างขวางยาวถึง 500 จ้าน ซึ่งใหญ่โตกว่าพระราชวังเก่าของ ซุนกวน ถึง 1 เท่า

    ทรงประดับประดาพระราชวังด้วยวัตถุอันล้ำค่าวิจิตตระการตา เช่น อัญญะมณีต่าง ๆ ทรงเป็น ฮ่องเต้ ที่ฟุ่มเฟือยที่สุด มิทรงมีน้ำใจเห็นแก่ความยากไร้ของประชาชน

    ทรงใช้คนไปตัดไม้สร้างปราสาทส่งมาเมืองหลวง เจ้าเมืองขึ้นแต่ละหัวเมืองล้วนเกรงกลัวพระอาญาสิทธิ์อันร้ายแรงและเข้มงวดของพระองค์ ต่างเกณฑ์แรงงานและจับผู้คนเข้าป่าตัดไม้และลำเลียงข้ามป่าข้ามภูเขาลำน้ำมาส่ง ณ เมืองหลวงอย่างทุกข์ยากลำบาก

    ทำให้เหล่าประชาชนต้องพลัดพรากจากครอบครัว และสูญหายล้มตายจากไป ซุนเฮา ยังทรงมีรับสั่งให้ขุดคลองผันน้ำเข้าสระใหญ่ของพระองค์ในพระราชวังหลวง หากผู้ใดขัดขืนมิทำตามรับสั่งพระองค์ มักถูกประหารทิ้งศพไว้ในน้ำ เหลาบรรดาชาววังของพระองค์มักออกเที่ยวนอกวังข่มแหงบีบบังคับราษฎร์โดยปราศจากการลงโทษ

    ทรงเป็น ฮ่องเต้ทรราชย์ ปราศจากคุณธรรม

    ศักราช ฟ่งหวาง (ห่งฮ้วง) ปีที่ 2 พ.ศ. 816 คนของสนมคนโปรดของพระองค์ ได้ออกนอกวังไปปล้นชิงข้าวของของชาวบ้าน ขุนนางปกครอง ฉีจงหลานเจี้ยน (ฉีตงนึ่งเจี่ยง) เฉินเซิน (ตังเซีย) ซึ่งเป็นขุนนางคนโปรดของ ซุนเฮา มิรู้ว่าเป็นคนของสนมคนโปรด สั่งผู้คุมไปจับมาลงโทษ

    พระสนมโปรดทรงร้องห่มร้องไห้ต่อหน้าฟ้อง ซุนเฮา ซุนเฮา ทรงหาวิธีการลงโทษแบบใหม่ ทรงมีรับสั่งให้ใช้เลื่อยเลื่อยตัดศีรษะของขุนนาง เฉินเซิน และศพได้ถูกตัดแบ่งแยกเป็นชิ้น ๆ ทำให้เหล่าชาวเมืองต่างพากันหวาดกลัว มิมีผู้ใดกล้าไปตอแยกับคนชาววังของ ซุนเฮา

    ความชั่วช้าความเป็นทรราชย์ของ ซุนเฮา การใช้คนมิเป็น

    เหอติ้น (ฮ่อเตี่ย) เดิมทีเป็นขุนนางชั้นต่ำ ในรัชสมัยของ ซุนกวน ซุนเฮา ได้ใช้เป็นคนกันเองในพระราชสำนัก มีหน้าที่ควบคุมการครัวและสุราในพระราชสำนัก เหอติ้น ได้ใช้ตำแหน่งหาผลประโยชน์เข้าตัว

    เหอติ้น มีจุดประสงค์เอาบุตรีของ หลี่ซุน (ลี่ฮิง) เป็นภรรยา แต่ หลี่ซุน มิเล่นด้วย เขาจึงได้กล่าวร้าย หลี่ซุน ต่อหน้า ซุนเฮา

    ซุนเฮา มิรู้จักเอาความผิดโยกย้าย หลีซุน ไป ณ ตำแหน่งใด จึงได้ประหาร หลี่ซุน และทรงสั่งเผาศพทิ้ง

    เหอติ้น ได้สั่งเจ้าแต่ละหัวเมือง นำสุนัขล่าเนื้อชั้นดีมาถวายราชสำนัก เหล่าบรรดาเจ้าหัวเมืองล้วนปฏิบัติตามคำของ เหอติ้น ต่างแก่งแย่งกันหาซื้อสุนัขพันธุ์ดีมาถวาย ราคาสุนัขพันธุ์ดีต่างขึ้นราคาเป็นพันเป็นหมื่น

    และเมื่อบรรดาเหล่าเจ้าเมืองนำสุนัขมาถวาย เหอติ้น รับอาสารับตำแหน่งขุนนางเลี้ยงดูสุนัข เหอติ้น ได้นำอัญญะมณีมาแขวนคอสุนักแต่ละตัว ชุดอัญญะมณีแขวนคอสุนัขแต่ละตัวมีมูลค่าเป็นหมื่น

    ดั่งนั้น เขาจึ่งใช้ทหารเฝ้าเลี้ยงดูสุนัขแต่ละตัวต่อคน ทำหน้าที่เพียงเลี้ยงดูสุนัขและเฝ้าระวังอัญญะมณีอันล้ำค่าบนคอสุนัข

    เหอติ้น มักนำเหล่าสุนัขออกป่าล่าสัตว์ อ้างว่าเป็นกันฝึกสุนัข บรรดาเหล่าเจ้าหัวเมืองต่างต้องเกณฑ์ผู้คนและทหารมาดูแลเฝ้าดู เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและแรงงานคนโดยใช่เหตุ

    เดือนที่ 9 ศักราช เจี้ยนยาน (เกี่ยงเฮว้ง) ปีที่ 2 พ.ศ. 813 เหอติ้ง ได้นำกลุ่มสุนัขไปฝึกล่าสัตว์ ณ เซี่ยโข่ว (แฮเข้า..แฮเค้า) ยกขบวนกันใหญ่โตเป็นที่เอิกเริก

    ซุนเฮา ทรงเห็นดีเห็นงามเป็นความชอบของ เหอติ้น ทรงแต่ตั้ง เหอติ้น ดำรงตำแหน่งเจ้า

    ต่อมา เหอติ้น ยิ่งลำพองใหญ่โต ก่อเหตุร้ายความแค้นเคืองมากมายให้แก่เหล่าปะชาชนเหลือคณานับ เป็นเหตุให้มีผู้ก่อการลุกฮือขึ้นจำนวนมาก

    ซุนเฮา จึ่งจำต้องประหาร เหอติ้น เป็นการสังเวยแทนแพะรับบาป

    อีกขุนนางหนึ่ง ในตำแหน่ง จงซูหลาน (ตงซูนึ้ง) ชีซี (ฮี่ฮี) ก็เป็นคนถ่อยชั้นต่ำมาก่อน ซีชี ทูลใส่ความต่อเจ้าเมือง ฟานหลิน (อวงเล้ง) เฮ่อฮุ่ย (ฮ่อหุย)

    ซุนเฮา จึ่งทรงใช้มือปราบ ฉวีเจียน (ฉื่อเจี้ยง) ไปสืบสวน แต่การทำงานของ ฉวีเจียน มิทันอกทันใจ ซีชี จึ่งได้ใส่ความให้ร้าย ฉวีเจียน อีกคน ซุนเฮา ทรงรีบใช้คนไปประหาร ฉวีเจียน และจับกุมเจ้าเมือง เฮอฮุ่ย


    ทรงประหารฆ่าคนด้วยความอำมหิตมิไว้หน้าโดยไร้เหตุผลและสาเหตุ

    ภายหลังที่ ซุนเฮาครองราชย์ย์ได้ 1 ปี ทรงสั่งฆ่าเจ้าป้า, พระมารดาบุญธรรม, พระนาง จิ่นฮองเฮา จูสื่อ, และทรงสั่งประหารเหล่าพระโอรสของพระนาง จูฮองเฮา ซึ่งทรงเริ่มเจริญพระวัย

    เวยเหยา (อุ่ยเอี๋ยว) เป็นนักศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งขุนนางของพระราชสำนัก ได้รับการแตงตั้งเป็นขุนนางอาลักษณ์ในรัชสมัยของ ซุนเฮา

    ซุนเฮา ทรงสั่ง เวยเหยา เขียนบันทึกทางประวัติศาสตร์ในแง่คุณงามความดีของพระบิดา แต่ เวยเหยา มิยอมเขียน เนื่องจากวา ซุนเหอ มิได้เป็น ฮ่องเต้

    เพียงบันทึกในบทปกิณกะ จึงเป็นที่ขัดพระทัยของ ซุนเฮา เวยเหยา ในวัยร่วม 70 ปี ได้พยายามขอลาออกจากตำแหน่งขุนนางหลายครั้งหลายหน แต่ ซุนเฮา มิยอม แกล้งหาเรื่องจับ เวยเหยา จำขัง และสั่งประหาร

    เหล่าขุนนางต่างออกหน้าออกตาขอ ซุนเฮา ทรงละเว้นต่อชีวิตของ เวยเหยา แต่ ซุนเฮา ทรงมิฟัง ทรงรับสั่งประหารชีวิตของ เวยเหยา

    เฮ่อชอ (ฮ่อเชียว) ขุนนางในตำแหน่งกรมอาลักษณ์ จงซือหลิน (ตงจือเหล็ง) มีหน้าที่บันทึกเกี่ยวกับประวัติขององค์รัชทายาท ได้ถวายฎีกาเป็นที่ขัดเคืองขุ่นพระทัยของ ซุนเฮา

    มินาน เฮ่อชอ เจ็บป่วยด้วยโรคลมพิษร้ายแรง มิสามารถพูดจาได้ ได้ขอลาออกจากราชการไปรักษาตัว มิกี่เดือนตอมา ซุนเฮา ทรงสงสัยในพฤติกรรมของ เฮ่อชอ จึ่งทรงสั่งจับ เฮ่อชอ ประหาร

    ซุนเฮา ทรงสั่งลงโทษประหารเหล่าขุนนางด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นทรงสั่งลงโทษด้วยวิธี 5 อาชาแยกร่าง เหล่าขุนนางต่างพากันเกรงกลัว หากมีขุนนางผู้ใดสามารถลาออกจากราชการ กลับภูมิลำเนา นับว่าโชคดีที่สุด

    ซุนเฮา มักจัดงานเลี้ยงดื่มสุรา งานเลี้ยงจัดกันร่วมวัน ผู้ที่ร่วมในงานเลี้ยง จักต้องดื่มสุราอย่างน้อยคนละ 7 เซิน (เซง) มีว่าผู้นั้นจักเป็นคอสุราหรือไม่คอสุราก็ตาม เมื่อภายหลังการดื่มสุรา

    จักต้องมีการสะรวนเฮฮา หยอกล้อกันเอิกเริก แต่ถ้าขุนนางผู้ใดกล่าวกระทบกระเทียบเป็นที่แครงใจต่อ ซุนเฮา ขุนนางผู้นั้นมักถูกประหาร

    หวางฟาน (เฮ่งฮวง) ขุนนางในตำแหน่ง ซ่านไท่ (เซี่ยไถ่) ได้ดื่มสุราคุกเข่าหลับไปต่อพระพักตร์ของ ซุนเฮา ซุนเฮา ทรงสงสัยว่า หวางฟาน เมาจริงหรือเมาเล่น ทรงรับสั่งนำราชรถมาลากตัว หวางฟาน ออกไป

    หวางฟาน ตามปกติแล้วมีแรงต่อต้านการลากของราชรถ แต่ยามเมามายไร้สติ มิมีความรู้สึกว่าถูกราชรถลากตัวไป ซุนเฮา ทรงกล่าวโทษว่า หวางฟาน แกล้งเมา ทรงมีรับสั่งให้ประหาร หวางฟาน

    ขุนนาง เค่อจี (กั๊วะโคย) ได้ออกหน้าทูลต่อ ซุนเฮา ว่า หวางฟาน นั้นเมาไร้สติจริง ๆ มิควรถือโทษคนเมา แต่ ซุนเฮา ฟังแล้วเป็นที่ขัดพระทัย ทรงพระราชทานยาพิษให้ เค่อจี ตายตามไปอีกคน

    ซุนเฮา นั้นงมงายในไสยศาสตร์การทำนายทายทัก ดูดวงดูโหงวเฮ้ง และถือเคล็ดรางทาง ฮวงจุ้ย พระองค์ทรงเชื่ออย่างฝังแน่นว่า ก่อนพระองค์จักเสด็จขึ้นครองราชย์ มีหมอดูคนหนึ่งทำนายว่า ดวงชะตาของพระองค์นั้นสุดประเสริฐ

    เมื่อภายหลังครองราชย์ พระองค์ทรงเชื่อดวงชะตาและไสยศาสตร์อย่างแน่นแฟ้น ดั่งนั้น ชาวเมือง ตันหยาน (ตึงเอี้ยง) เตียวเสี้ยว (เตียวเหี่ยง) ได้เป็นทูต ณ จ๊กก๊ก ได้ถวายหนังสือโหราศาสตร์แก่พระองค์เล่มหนึ่ง

    พระองค์ทรงศึกษาอย่างเอาเป็นเอาตาย ทรงตรัสว่า ธงเหลือง (สีเหลือคือสีของ ฮ่องเต้) ได้ปรากฏแล้วในดินแดน เจียนหนาน

    เมื่อ ซุนเฮา ทรงศึกษาจากตำราเล่มนี้ มักทรงฟังเด็กร้องเพลงพื้นเมืองว่า

    "โอรสสวรรค์ ง่อ ตำแหน่งสูงสุด"

    พระองค์ทรงเข้าพระทัยว่า นี่คือโองการของสวรรค์ ด้วยคำกล่าวนี้ ซุนเฮา ทรงนำเหล่าชาววังสนมนมในและเหล่าทหารนั่งรถฟันฝ่าหิมะไปไหว้เจ้า มีผู้คนล้มตายจากด้วยความหนาวเย็นเป็นร้อยคน

    เหล่านายทัพทั้งหลายพากันบ่นว่า หากพบกองทัพของศัตรู คงจักสิ้นสุดกันคราวนี้

    ศักราช เช่อหยวน (เชะง้วง) ปีที่ 1 พ.ศ. 848 ณ เมือง อู๋เสี้ยน (โง่วกุ่ย) ได้มีการขุดพบเงินก้อนหนึ่ง สลักตัวอักษร วัน, เดือน, ปี, ซุนเฮา ทรงตื่นเต้นยิ่ง เป็นเคล็ดลางที่ดี ทรงมีพระราชโองการโปรดให้นิรโทษกรรมไปทั่วทั้งประเทศ

    ศักราช เทียนอื่อ (เทียงยื่อ) ปีที่ 1 ได้มีการตัดถนนหนทางเพื่อสะดวกแก่การคมนาคม ได้ขุดพบศิลาก้อนหนึ่ง มีศิลาเล็กเขียนตัวอักษรว่า ฮ่องเต้ ซุนเฮา ทรงดีพระทัยยิ่ง ทรงแก้เป็นชื่อปีศักราชของพระองค์ และทรงอภัยโทษทั่วทั้งปะเทศ

    มีคนงานผู้หนึ่ง หวงโม่ว (อึ่งโม่ว) ที่บ้านปรากฏตัวอักษรว่า กุ้ยมู่ไช่ (กุ่ยมักไฉ่..ผักดวงตาปีศาจ) และ ณ บ้านของคนงานอีกผู้หนึ่ง ปรากฏรูปร่างของผัก ซุนเฮา ทรงเชื่อว่าเป็นสิ่งมงคลสุดประเสริฐ ทรงแต่งตั้งคนงานทั้งสองเป็นขุนนางชั้นสูง พะราชทานตราหยก

    ในรัชสมัยของ ซุนเฮา ทางพระราชสำนักเก็บภาษีได้มากมายยิ่ง ซุนเฮา ทรงให้เก็บภาษีพวงเงินเพิ่ม

    เจ้าเมือง ฮุ่ยจี ชือจุ่น (เชียจุ้ง), และเจ้าเมือง เซียนจง (เซียงตัง) จางหย่ง (เตียย่ง) เห็นว่ามิเป็นธรรมแก่ราษฎร มิปฏิบัติตาม ซุนเฮา จึ่งทรงส่งคนไปประหารทันที

    และทรงรับสั่งให้เหล่าบรรดาเจ้าเมืองรีบส่งเงินภาษีเข้าท้องพระคลัง เหล่าเจ้าเมืองจำต้องปฏิบัติตาม จึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาราษฎร์ทั่ว ๆ ไป

    ดั่งนั้นเหล่าพลเมืองของพระองค์ต่างพากันต่อต้าน ลุกฮือขึ้นก่อการ เกิดการจลาจลไปทุกหย่อมหญ้า ทั้งชาวนาชาวไร่และเหล่าขุนนาง ต่างพากันมิพอใจ

    ดั่งเช่น ณ เมือง ไห่เหยียน (ไห่เอี้ยม), เมือง ลู่หลิน (โล่วเล้ง), เมือง อื่อเจี้ยน (ยื่อเจียง), เหล่าชาวนาชาวไร่ตางพากันลุกฮือเป็นกบฏ รวมทั้งเหล่าชนเผ่า ซานเย่ว์ (ซัวอวก)

    อีกทั้งเหล่าขุนนางนายทัพต่างพากันสนับสนุน ดั่งเช่นเมื่อปีศักราช เจี้ยนย่าย (เกี่ยงเอว้ง) ปีที 2 พ.ศ. 713 เจ้าเมือง ซุนซิ่ว (ซุงสิ่ว) หลบไปส้องสุมกำลัง ณ ดินแดน จิ้น (จิ่ง)

    ศักราช ฟ่งหวาง (ห่งง้วง) ปีที่ 1 พ.ศ. 715 ปู้ซ่าน (โป่วเสียง) ยกเมืองเข้าร่วมก่อการ

    ศักราช เทียนอื่อ (เทียงยื่อ) ปีที่ 1 พ.ศ. 719 เจ้าปกครองเมืองหลวง ซุนไก้ (ซุงไก่) ร่วมมือกับพวกกบฏ จิ้น (จิ่ง) จึ่งทรงปราบปรามจับผู้คนเข้าคุกจำนวนมาก จนกระทั่งคุกล้นเต็มมิพอขังคนโทษ

    ฮ่องเต้ทรราชย์ ทรงจึ่งจำต้องประกาศพระราชทานอภัยโทษถึง 13 ครั้ง นี่คือประวัติศาสต์จีนที่เห็นได้น้อยยิ่ง

    ปัญหาเรื่องเมือง เกาโจว (เกาจิว) เป็นปัญหาที่หนักอกของ ซุนเฮา เมื่อก่อนที่ ซุนเฮา ครองราชย์มินาน ก๊กจิ้น ได้เกลี้ยกล่อมดำเนินนโยบายเมือง เอี๊ยะจิ๋ว ให้เมือง เกาโจว ต่อต้านกับ ก๊กง่อ สวามิภัคดิ์ต่อ ก๊กจิ้น

    ศักราช เป่าติ้น ปีที่ 3 พ.ศ. 811 ซุนเฮา ได้ทรงให้เจ้าเมือง เกาโจว คนก่อน หลิวจุ้น (เล่าจุ่ง) รวบรวมกองทัพหน้าบุกโจมตีเมือง เกาโจว แม่ทัพ ง่อ สิ้นชีพในสนามรบ 2 นาย เหลือกองทัพส่วนน้อยหนีกลับมาได้

    ศักราช เกี้ยนย่าน (เกี่ยงเฮว้ง) ปีที่ 1 พ.ศ. 812 ซุนเฮา ทรงให้กองทัพทั้งทางบกและทางเรือไปบุกโจมต่อเมือง เกาโจว จนกระทั่งศักราช เจี้ยนย่าน ปีที่ 3 พ.ศ. 822 จึ่งทรงสามารถพิชิตเมือง เกาโจว ได้

    ศักราช เทียนจี้ (เทียงกี้) ปีที่ 3 พ.ศ. 822 เจ้าเมือง เหอผู่ (ฮะพู่) ร่วมกับแม่ทัพ กวอหม่า (กัวะเบ้) เป็นกบฏ บุกยึดโจมตีดินแดน กว่านโจว ควบคุม 2 มณฑล เกา, กว่าน,

    ซุนเฮา ทรงส่งกองทัพไปปราบปรามพ่ายแพ้กลับมา พระองค์ทรงตระเตรียมกองทัพไปปราบปรามอีก

    แต่กองทัพ จิ้น ได้มาบุกยึดโจมตี ง่อ

    ด้วยเหตุที่ว่าทรราชย์ ซุนเฮา ทรงบริหารบ้านเมืองอย่างเหี้ยมโหดอำมหิต กองทัพของตระกูล ซีหม่า ได้ถือโอกาสตระเตรียมสร้างกองทัพเรือ ณ เมือง อี้โจว (เอี๊ยะจิว) เพื่อบุกโจมตี ก๊กง่อ

    เดือนที่ 11 ศักราช เทียนจี้ ปีที่ 3 พ.ศ. 822 กองทัพจิ้น แบ่งแยกเป็น 5 เส้นทางบุกโจมตี ง่อ แม่ทัพเจ้าเมือง เติ้นโจว (เตี้ยงจิว) เจ้า ลงยาหวาง (ล่งแง่อ๊วง) ยกทัพจากเมือง ฉวีจง (ฉื่อตง) ปัจจุบันอยู่แถบทางเหนือของเมือง ลิ่วเหอเสี้ยน (หลักฮะกุ่ย) ในมณฑล เจียนซู,

    แม่ทัพ อานจงเจียนจวิน (อังตงเจียงกุง) หวางฮุน (เฮ่งฮุ่ง) ยกทัพจากเมือง เจียนซี (กังไซ) ปัจจุบันคือแดนเมือง เหอเสี้ยน (ฮั่วกุ่ย) ในมณฑล อานเฟย,

    แม่ทัพ ผินหนานเจียนจวิน (แพ่งน้ำเจียงกุง) หูเฟิน (โอ่วหุ่ง) ยกทัพจากเมือง เซี่ยโข่ว (แฮ่เข้า..แฮเค้า) ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของเมือง อู่ฮั่น (บู่หั่ง) ในมณฑล หูเป่ย,

    แม่ทัพ เตี้ยนหนานเจียนจวิน (เตี้ยงน้ำเจียงกุง) ตู้ยู่ (โต่วอื่อ) ยกทัพจากเมือง เจียนหลิน (กังเล้ง),

    แม่ทัพ หลงเซี่ยนเจียนจวิน (เล่งเหี่ยงเจียงกุง) หวางอี้ (เฮ่งอี๋) และแม่ทัพ ก่วนอู่เจียนจวิน (ก่วงบู้เจียงกุง) ถันเปี้ยน (ทั่งเปียง) ร่วมกันยกทัพออกจากดินแดน ปาจู่ (ปาจ๊ก)

    รวมกันเป็นกองกำลังทัพยี่สิบกว่าหมื่น โดยแม่ทัพใหญ่ เจี้ยชง (เก่ชง) ควบคุมกองทัพทั้งหมด

    ขณะนั้น กองทัพของ ก๊กง่อ มีกองกำลังถึง 230,000 คน แต่เหล่าทหารทั้งหลายมิยอมถวายพลีชีพให้แก่ ซุนเฮา ฮ่องเต้ทรราชย์ จึ่งมิมีปัญญาบัญชาการทัพ

    เมื่อกองทัพของ จิ้น ยกมาใกล้เมืองหลวง กองทัพของ ง่อ หนีกันกระจัดกระจาย

    เดือนที่ 3 ของปีต่อมา กองทัพเรือของ หวางอี้ ได้ยกมาถึงริมกำแพงเมือง เจี้ยนเย่ว์ (เกี่ยงเงี๊ยบ) ซุนเฮา ทรงรู้สึกพระองค์ว่าทรงตกอยู่ในฐานะลำบาก มิมีปัญญาสู้ศึก จึ่งทรงยอมสวามิภัคดิ์ งอก๊ก ก็เป็นอันสิ้นสลาย

    ทั้งครอบครัวของ ซุนเฮา ถูกจับกุมโยกย้ายไปนครหลวง ลั่วหยาน ซุนเฮา ทรงถูกลดฐานะตำแหน่งเป็นเจ้า เจ้า กุยมิ่นโฮ่ว (กุยเม่งโหว) ถือศักดินาเพียง 30 คิน ศักราช ไท่คัน (ไท้คัง) ปีที่ 5 พ.ศ. 827 ทรงเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุ 43 พรรษา


    วิจารณ์ : ซุนเฮา ครองราชย์ต่อจาก ซุนกวนเพียง 12 ปี แต่ทำไมมีความสามารถทำให้ ก๊กง่อ ล่มสลายภายในเวลาอันรวดเร็ว เพราะทรงเป็น ฮ่องเต้ทรราชย์ ยึดอำนาจดั่งเช่น ตั๋งโต๊ะ ของ "สามก๊ก" ทรงมิเกรงพระทัยต่อวงศาคณาญาติพี่น้อง ทรงตะลบตะเลงหลอกลวงเหล่าขุนนางและญาติพี่น้อง มิมีน้ำพระทัยเห็นแก่ความทุกข์ยากลำบากของพลเมืองของพระองค์ ซึ่งเปรียบเทียบกับการซื้อน้ำใจของเหล่าประชาชนดั่งเช่น โจโฉ และ ซุนกวน มิได้ จึ่งเป็นเหตุให้เหล่าพี่น้องประชาชนคิดต่อต้านก่อการตลอดเวลา แม้นแต่เหล่าขุนนางก็มิยอมชมชอบ แต่ก็เกรงในอำนาจวาสนาบารมี เนื่องจากเพราะว่า ซุนกวน ทรงโลเลพระทัยในการแต่งตั้งองค์รัชทายาทอันชอบธรรม ทรงแต่งตั้งองค์รัชทายาทและทรงปลดองค์รัชทายาทหลายครั้ง จึ่งทำให้เหล่าประชาชนมิมีความมั่นใจว่า เจ้าผู้นำที่แท้จริง ของ ก๊กง่อ คือใครของชนชั้นหลัง หรือมิเช่นนั้น ก็เป็นเพราะว่าการอบรมสอนสั่งของตระกูล ซุน เพี้ยนไปในภายหลัง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×