ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    'koFi'giupo

    ลำดับตอนที่ #4 : อวัยวะในระบบย่อยอาหาร

    • อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 50



     

    อวัยวะในระบบย่อยอาหาร
               1.
    ริมฝีปาก เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อลาย มีเยื่อคลุมผิวที่บาง
               2.
    ลิ้น (tongue) เป็นกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยต่อมรับรส
               3.
    เพดานปาก (palate) เป็นส่วนที่กั้นไม่ให้อาหารเข้าช่องจมูกขณะกลืนอาหาร
               4.
    ฟัน (tooth) มี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนม มี 20 ซี่ และฟันแท้ มี 32 ซี่ ฟันทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้เล็กลงเพื่อสะดวกแก่การกลืน
               5.
    ต่อมน้ำลาย (salivary gland) สร้างน้ำลายเพื่อคลุกเคล้าอาหาร มีสมบัติเป็นเบสอ่อนๆ สร้างจากต่อมน้ำลายมี 3 คู่ คือ กกหู ใต้คาง และไต้ลิ้น น้ำลายมี pH ประมาณ 6-7.4 มีน้ำย่อย ชื่อ           ไทยาลีน (ptyalin) หรืออะไมเลส (amylase) ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล
               6.
    หลอดอาหาร  (esophagus) มีหลอดน้ำเหลือง มีเมือกมีเซลล์ประสาทกระตุ้นให้กล้ามเนื้อบีบรัดตัวให้อาหารเคลื่อนไปกระเพาะอาหาร
               7.
    กระเพาะอาหาร (stomach) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร โดยการสร้างน้ำย่อยซึ่งเป็นกรด ชื่อ เปปซิน และสร้างฮอร์โมนอีกด้วย กระเพาะอาหารประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ
              8.
    ลำไส้เล็ก (small intestine) ยาวประมาณ 23 ฟุต อยู่ในช่องท้อง แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ            ดูโอดีนัม เจจูนัม และไอเลียม  ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ที่นี่จะย่อยอาหารได้สมบูรณ์ที่สุดและมีการดูดซึมอาหารผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสโลหิตมากที่สุด
              9.
    ลำไส้ใหญ่ (large intestine) ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ซีคัม โคลอน เรคตัม ทำหน้าที่ดูดซับน้ำออกจากกากอาหารและขจัดกากอาหารออกจากแอนัส ลักษณะเป็นกล้ามเนื้อขยายและหดตัวได้ บริเวณปลายมีเส้นเลือดมาเลี้ยง ถ้าเส้นเลือดแตกเพราะการเบ่งอุจจาระจะทำให้เลือดออก เรียกว่า ริดสีดวงทวาร

     

     


                        ระบบขับถ่าย (Excretory System)
                                                                                ระบบนี้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ได้แก่ ปัสสาวะ โดยไต (kidneys) มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วขนาดยาว 10x5.5 เซนติเมตร มีเยื่อหุ้ม มีรอยบุ๋ม เรียกว่าขั้วไต เป็นทางเข้าออกของเส้นเลือดแดงและดำ ท่อน้ำเหลือง เส้นประสาทและกรวยไต
    ไตประกอบด้วย
                     1.
    คอร์เท็กซ์ เนื้อชั้นนอกสุดมีเลือดผ่าน 90-95 % จึงเป็นจุดสีแดง
                     2.
    เมดัลลา เนื้อไตชั้นใน ประกอบด้วยท่อไตและมีเส้นเลือดอยู่ภายในไตมี หน่วยไต (nephron) ลักษณะเป็นท่อยาวๆ คดเคี้ยว พบอยู่ในคอร์เท็กซ์ และ      เมดัลลา ทำหน้าที่ในการสร้างน้ำปัสสาวะหน้าที่ของระบบขับถ่าย คือ
                     1.
    ควบคุมและรักษาระดับสมดุลของน้ำ
                     2.
    เป็นแหล่งกำจัดของเสียและสิ่งมีพิษออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
                     3.
    ควบคุมความดันของกระแสเลือดและความเข้มข้น ของโซเดียมอิออน
                     4.
    มีบางส่วนทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมน

     


     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×