คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : งาน 60 ปี ประวัติในหลวงราชินี
ประวัติในหลวง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่๙ แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น (
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สาม ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระเชษฐาคือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ประวัติราชินี
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มีฐานันดรเมื่อแรกพระราชสมภพคือ
หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของพลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น
จันทบุรีสุรนาถ กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2475 ที่บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามหก ตำบล วังใหม่ อำเภอ ปทุมวัน จังหวัดพระนคร
ซึ่งเป็นบ้านของ พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) พระบิดา
ของหม่อมหลวงบัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า
“สิริกิติ์” มีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร”
การหมั่น
วันที่ 19 กรกฏาคม 2492 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงหมั่นกับ
หม่อมราชวงศ์สิริกิต์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิวัติ
ประเทศไทยเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
แล้วได้เข้าสู่พระราชพิธีราชา ภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ วังสระปทุม
ขบวนเรือ
เย็นย่ำวันที่ 12 มิ.ย. 2549 นี้ “ขบวนเรือพระราชพิธี” เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคล “ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี” จะปรากฏงดงามกลางลำน้ำเจ้าพระยา โดยมีการใช้เรือพระราชพิธี 52 ลำ และเฉพาะฝีพายก็ใช้ถึง 2,082 นาย
เรือสำคัญของขบวนเรือคือ “เรือพระที่นั่ง” จำนวน 4 ลำ...
หนึ่งในนี้คือ “เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่
เรือพระที่นั่งจำนวน 4 ลำ ที่ใช้ในกระบวนเรือมหามงคลครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ เรือที่มีฐานะสูงสุด และประชาชนคนไทยคุ้นเคยกันมากที่สุด คือ “เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์” รองลงมาคือ “เรือพระที่นั่งอนันตนาค ราช” “เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์” และ “เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งรองซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากัน อย่างไรก็ดี ในรัชสมัยปัจจุบันนั้น...เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ถือว่าเป็นเรือพระที่นั่งสำคัญ และเกี่ยวพันกับการเฉลิมพระเกียรติองค์ในหลวงแห่งปวงไทยมาตั้งแต่ 10 ปีก่อน
ตามประวัติเกี่ยวกับเรือพระที่นั่งชื่อ “นารายณ์ทรงสุบรรณ” นั้น เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง หมายถึงเรือประเภทเรือขุดจากท่อนซุง ต่อหัวเรือยกสูงงอนขึ้น แกะสลักหัวเรือ-ท้ายเรือด้วยศิลปะ-ประติมากรรมที่งดงาม เป็นประเภทเรือรูปสัตว์ ซึ่งเรือรูปสัตว์นี้ตามหลักฐานมีมาตั้งแต่รัชกาล สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณมีชื่อเดิมว่า “มงคลสุบรรณ” ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ต่อขึ้นตามแบบอย่างสมัยอยุธยา เพื่อเป็นเกียรติยศสำหรับแผ่นดิน ลักษณะเรือมีความยาว 17 วา 3 ศอก กว้าง 5 ศอก
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริให้เสริม “พระนารายณ์” ประทับยืนบนหลังพญาสุบรรณ เพื่อเพิ่มความสง่างาม และต้องตามคติพราหมณ์ที่ว่าพญาสุบรรณเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามเรือใหม่ว่า “นารายณ์ ทรงสุบรรณ”
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณลำเดิมนี้ เข้าร่วมใน “กระบวนพยุหยาตราชลมารค” ครั้งสำคัญ 2 ครั้งคือ ในการเสด็จเลียบพระนครของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เนื่องในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก เมื่อ 21 พ.ค. 2394 และในการพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ 19 ม.ค. 2429 ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
หลังจากนั้นไม่พบหลักฐานการร่วมกระบวนพยุหยาตราชลมารค ในรัชกาลต่อ ๆ มา สันนิษฐานว่าคงเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ภายหลังคงเหลือแต่โขนเรือ และปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ทั้งนี้ เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติเป็นปีที่ 50 ในวันที่ 9 มิ.ย. 2539 ซึ่งมี “พระราชพิธีกาญจนาภิเษก” ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้กองทัพเรือ โดยการสนับสนุนของกรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง ดำเนินการจัดสร้างเรือพระที่นั่งใหม่ 1 ลำ ตามวิธีการช่างต่อเรือยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ผสมเทคนิคต่อเรือสมัยใหม่ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,941,730 บาท
งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการจัดสร้างนั้น ไม่ต้องรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน แต่เปิดโอกาสให้พสกนิกรไทยทุกหมู่เหล่ามี โอกาสได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกองทัพเรือได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกในการสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่นี้ออกหาทุน
เรือพระที่นั่งลำนี้เป็น “เรือพระที่นั่งลำแรกที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน” ลักษณะโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ มีขนาดใหญ่กว่าแบบเดิมเล็กน้อย ตัวเรือกว้าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระ ราชทานชื่อเรือพระที่นั่งลำนี้ว่า “เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่
ในปีแห่งพระราชพิธีกาญจนาภิเษกนั้น เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ได้เสริมให้กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค งดงาม ยิ่งใหญ่อลังการกว่าที่เคยมีมา และผ่านมา 10 ปี...เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ก็จะร่วม “ขบวนเรือพระราชพิธี เฉลิมพระเกียรติ ทรง ครองราชย์ 60 ปี” ให้คนไทยได้ชื่นชมอีกครั้ง
“เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่
สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคมาแล้วจำนวน 14 ครั้ง ประกอบด้วย ยังไม่รวมงาน60ปี
ซึ่งครั้งแรกมีเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2500
การจุดพลุ
ประมวลภาพพลุเฉลิมพระเกียรติในวันที่สองและวันที่สามของงานจุดพลุเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี พลุกว่าสองหมื่นนัดถูกจุดขึ้นกลางลำน้ำเจ้าพระยา เจิดจรัสเหนือพระปรางค์วัดอรุณ ฯ และในวันที่สามของการจุดพลุที่สนามราชตฤณมัยสมาคม เกิดเป็นภาพพระบารมีอันงดงามส่องประกายทั่วท้องฟ้า
ประชาชนแห่ชมพลุริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแน่นขนัด ทั้งบ้านเรือน ร้านอาหาร และบนสะพาน รถที่สัญจรผ่านก็หยุดดู ทำให้เกิดการจราจรติดขัด ตั้งแต่ช่วงสะพานพระปิ่นเกล้า ถึง สะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อคืนวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยพลุได้เริ่มจุดในนัดแรก เวลาประมาณ 21.20 นาที
พลุเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พวยพุ่งท้องฟ้ากว่า 20,000 นัด กลางลำน้ำเจ้าพระยา ฉาบท้องฟ้าเป็นสีต่าง ๆ ประกอบกับทัศนียภาพอันงดงามของพระปรางค์วัดอรุณ ฯ เกิดเป็นอีกหนึ่งภาพความประทับใจ ส่วนหนึ่งของงานฉลองสิริราชสมบัติ มหามงคลฤกษ์ในครั้งนี้
โดยพลุที่จุดมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกเป็นผู้ดูแลในการจุด จากเรือท้องแบนทั้งหมด 4 ลำ ของกรมขนส่งทหารบก โดยจุดเป็นเวลา 15 นาที ไม่มีเว้นช่วง พลุจะเปลี่ยนแบบทุก 5 วินาที ต่อเนื่องนาน 15 นาที จะเริ่มจากพลุที่มีความสูงจากพื้นน้ำจนถึงท้องฟ้า
และคืนวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา สำหรับงานจุดพลุ พลุอีกกว่า 1,010 นัด ถูกจุดขึ้นเหนือมวลหมู่ท้องฟ้าที่สนามราชตฤณมัยสมาคม สามารถมองเห็นทะยานขึ้นฟ้าได้ในระยะไกล เกิดเป็นภาพพลุอันงดงามขึ้นเหนือยอดโบสถ์วัดเบญจมบพิตร วิจิตรงดงาม ตราตรึงในใจประชาชนไทย
รายละเอียดของพลุที่จุดคืนนั้นแบ่งเป็น 10 ชุด ความยาวรวม 30 นาที แม้จะมีจำนวนเพียง 1,010 นัด แต่เป็นพลุขนาดใหญ่ สามารถแสดงเทคนิคและแสงสีที่สวยงามได้ เช่น ภาพแสงทอง พลุแตกตัวเป็นเลข 60 ทั้งเลขไทยและอารบิก ภาพแป๊ะยิ้ม ซึ่งแตกต่างจากพลุที่จุดเมื่อวันที่ 9-10 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่เป็นพลุขนาดกลางและเล็ก ประชาชนสามารถชมความงดงามของพลุได้ในรัศมี
ความคิดเห็น