สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าบุญ - สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าบุญ นิยาย สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าบุญ : Dek-D.com - Writer

    สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าบุญ

    ผู้เข้าชมรวม

    96

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    96

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 มี.ค. 56 / 12:31 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      บท1 การบริจาคอวัยวะ




      การบริจาคอวัยวะ คือ การบริจาคเฉพาะอวัยวะภายในที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น หัวใจ ตับ ปอด ไต ฯลฯ เพื่อนำไปปลูกถ่ายช่วยเหลือผู้ป่วยที่อวัยวะสำคัญเสื่อมสภาพ เมื่อแพทย์ทำผ่าตัดนำอวัยวะไปปลูกถ่ายแล้ว จะตกแต่งร่างของผู้เสียชีวิตให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย แล้วส่งคืนให้ญาตินำไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป


      Download ใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ในหัวข้อดาวน์โหลด กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้ชัดเจน ที่อยู่ควรจะตรงกับทะเบียนบ้าน (หากต้องการให้ส่งบัตรประจำตัวไปยังสถานที่อื่น กรุณาระบุ)
      เนื่องจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ต้องเก็บใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ เป็นตัวจริง กรุณาส่งทางไปรษณีย์ มาที่
      ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
      อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรฯ ชั้น 5 ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
      อย่างไรก็ตาม การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่หลังจากแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้ ควรแจ้งญาติให้ทราบเจตนา เพราะหากเสียชีวิตและสามารถบริจาคอวัยวะได้ ญาติต้องเซ็นยินยอมบริจาคอวัยวะเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง




      การบริจาคร่างกาย คือ การบริจาคทั้งร่างกายหลังจากเสียชีวิต เพื่อนำร่างของผู้เสียชีวิตให้นักศึกษาแพทย์ศึกษา โดยร่างที่จะนำไปศึกษา ต้องมีอวัยวะครบ ยกเว้นดวงตา
      แสดงความจำนงบริจาคร่างกายได้ที่ โรงพยาบาลที่มีคณะแพทยศาสตร์ เช่น รพ.จุฬาฯ, ศิริราช, รามาธิบดี, พระมงกุฎเกล้า การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาต้องมีหลักฐานประกอบ ข้อกำหนดขึ้นอยู่แต่ละโรงพยาบาล
      หากเป็นของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

      การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ | Welcome to The Thai Red Cross Society



      ศูนย์รับบริจาคอวัยวะโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

      เป็นศูนย์รับแจ้งความจำนงในการบริจาคอวัยวะ จากผู้มีจิตกุศลตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่
      เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างโรงพยาบาลที่มีผู้เสียชีวิตจากสมองตาย ซึ่งญาติมีความประสงค์ที่จะบริจาคอวัยวะกับสภากาชาดไทย
      เป็นศูนย์ข้อมูล บริการข่าวสาร และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะแก่วงการแพทย์และสาธารณชนโดยทั่วไป


      มีคนจำนวนไม่น้อย ที่ต้องการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่
      ในชีวิตสักครั้ง โดยกำลังมองหาโอกาสพิเศษนั้นอยู่
      และใครจะรู้ ? ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน
      เราเชื่อว่า... ไม่มีใครคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้ เพราะความแน่นอนบางทีอาจจะเป็นความไม่แน่นอน วันหนึ่งข้างหน้า...คุณอาจจะเป็นผู้แสดงความขอบคุณในฐานะผู้รับอวัยวะเพื่อต่อชีวิตของคุณเองหรือผู้ใกล้ชิด หรือ...คุณอาจจะเป็นผู้ให้อวัยวะเพื่อช่วยต่อเติมความหวังให้กับคนอื่น ๆ
      แต่น้ำใจจากการเสียสละในวันนี้จะสามารถสร้างรอยยิ้ม
      ที่สดใสและรับคำขอบคุณจากคนอีกมากมาย ด้วยการอุทิศอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เพียงตั้งใจอยากจะให้ก็เป็นสุขใจเหลือคณานับ

      ความรู้เกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ
      • การบริจาคอวัยวะ คือ การให้อวัยวะเป็นทานโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เพื่อนำอวัยวะไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่อวัยวะเสื่อมสภาพและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ ถือเป็น “ของขวัญแห่งชีวิต ”

      การบริจาคอวัยวะ มี 2 ประเภท
      1. การบริจาคขณะที่มีชีวิต อวัยวะที่บริจาคได้ คือ ไต 1 ข้าง กรณีนี้
      ผู้บริจาคและผู้รับต้องเป็นญาติโดยสายเลือดหรือสามี-ภรรยากันเท่านั้น
      2. บริจาคเมื่อเสียชีวิตแล้ว อวัยวะที่บริจาคได้ คือ หัวใจ ตับ ปอด ไต
      ตับอ่อน ฯลฯ กรณีนี้ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากสมองตาย

      • การปลูกถ่ายอวัยวะ คือ การผ่าตัดนำอวัยวะใหม่เปลี่ยนแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพ จนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ เป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วย
      ในระยะสุดท้ายให้กลับมามีชีวิตใหม่ ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคมต่อไป

      • สมองตาย คือ ภาวะที่แกนสมองถูกทำลายจนสูญเสียการทำงานโดยสิ้นเชิงและถาวร ถึงแม้จะกระตุ้นด้วยวิธีใด ๆ ก็จะไม่ตอบสนอง ไม่มีการไอ จาม ไม่สามารถหายใจได้เอง แม้จะใช้เครื่องช่วยหายใจหรือยากระตุ้นใด ๆ
      ก็ไม่สามารถเยียวยารักษาให้กลับฟื้นคืนชีวิตได้อีก ถือได้ว่าผู้นั้นเสียชีวิตแล้ว
      ภาวะสมองตาย อาจเกิดได้ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
      1. การบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง
      2. เลือดออกในช่องสมอง
      3. เส้นเลือดแตกในเนื้อสมอง
      4. เนื้องอกของสมอง
      การที่อวัยวะของผู้ป่วยสมองตายยังทำงานอยู่ได้ เนื่องจากการใส่เครื่องช่วยหายใจไว้ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจน หัวใจก็สามารถสูบฉีดเลือดได้
      โดยอาจจะต้องได้รับยากระตุ้นหัวใจร่วมด้วย อวัยวะที่สามารถบริจาคได้ ได้แก่ หัวใจ ตับ ปอด ไต ตับอ่อน ฯลฯ ต้องอยู่ในสภาพเหมาะสมและอาจอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้อื่นได้

      คุณสมบัติของผู้ที่จะบริจาคอวัยวะ
      1. ผู้บริจาคอวัยวะควรมีอายุไม่เกิน 60 ปี
      2. เสียชีวิตจากภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ
      3. ปราศจากโรคติดเชื้อและโรคมะเร็ง
      4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานและพิษ
      สุราเรื้อรัง
      5. อวัยวะที่จะไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี ปราศจากโรคที่ถ่ายทอดทางการ
      ปลูกถ่ายอวัยวะ เช่นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ไวรัสเอดส์

      การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ
      เป็นการบอกเจตนารมณ์ของบุคคลนั้น ๆ ว่า มีความประสงค์บริจาคอวัยวะของตนเองภายหลังจากเสียชีวิตแล้ว เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยอื่นด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะขณะมีชีวิตอยู่ไม่ต้องตรวจร่างกาย แต่จะตรวจเมื่อผู้นั้นอยู่ในภาวะสมองตายแล้ว เพื่อประเมินสภาพการทำงานของอวัยวะว่าเหมาะสมสำหรับนำไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยอื่นหรือไม่
      แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะได้ที่..
      • ศูนย์รับบริจาคอวัยวะโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
      (บริเวณไอซียู 1)
      • โทร. (075) 340250 begin_of_the_skype_highlighting (075) 340250 FREE  end_of_the_skype_highlighting ต่อ1039
      ในวันและเวลาราชการ





      “ความดีที่ไม่สิ้นสุด
      คือ การอุทิศอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ”

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×