คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : ยุโรปยุคกลางตอนปลาย
ยุโรปยุคกลางตอนปลาย
ยุคกลางตอนปลายและเริ่มต้นยุคใหม่ (The Later Middle Ages: ค.ศ. 1270 – 1520)
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ศาสนาถูกลดบทบาทลง มีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในดินแดนต่างๆ
ด้านการเมือง
ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิโรมันจึงกลายเป็นเพียงสัญลักษณ์ทางการเมืองของดินแดนเยอรมนีเท่านั้น “วิกฤติกาลของปลายสมัยกลางของยุโรป” (Crisis of the Late Middle Ages) บางครั้งก็เรียกว่า“กบฏชาวนา”(Peasant revolt) ที่เป็นการปฏิวัติของชุมชนที่ครอบคลุมอย่างกว้างไม่เฉพาะแต่เกษตรกรหรือชาวนา
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการก่อความไม่สงบ ได้แก่
1) ช่องว่างที่เพิ่มขึ้นระหว่างคนจนและคนรวย
2) รายได้ที่ลดลงของผู้มีฐานะดี
3) ภาวะเงินเฟ้อและภาษีที่เพิ่มขึ้น
4) วิกฤติกาลภายนอกที่รวมทั้งความอดอยาก, โรคระบาด และสงคราม
5) ความกดดันจากสถาบันศาสนา
การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์
เนื่องจากถูกพวก มุสลิมเติร์กยึดครองใน ค.ศ. 1453 ทำให้วิทยาการแขนงต่างๆ ที่จักรวรรดิไบแซนไทน์สืบทอดไว้ หลั่งไหลคืนสู่ยุโรปตะวันตก
การเกิดรัฐชาติ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งด้านองค์กรทางการเมือง และองค์กรทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถมาบริหารจัดการ แต่การศึกษาแบบเดิมเน้นปรัชญาทางศาสนา และสังคมในระบบฟิวดัล จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ ดังนั้นนักปราชญ์สาขาต่างๆ จึงหันมาศึกษา อารยธรรมกรีกและโรมัน
ด้านเศรษฐกิจ
ในศตวรรษที่ 14 เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงในปี ค.ศ. 1315 – 1317 เกิดจากภาวะอากาศเลวร้าย เหตุการณ์สำคัญที่นำภัยพิบัติมาสู่ยุโรปตอนปลายสมัยกลางก็เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คือ การเกิดกาฬโรคระบาด (The Black Death) ซึ่งคร่าชีวิตชาวยุโรปไปประมาณ 1 ใน 3 ของประชากร โรคนี้ระบาดจากเอเชียเข้ามาสู่มณฑล ไครเมีย ทางใต้ของรัสเซีย แล้วกระจายไปทั่วทวีปยุโรป จนกระทั่งสิ้นศตวรรษที่ 14 โรคระบาดในครั้งนี้มีผลกระทบอันสำคัญ คือ พืชผลที่ปลูกไว้ไม่มีผู้ดูแลเก็บเกี่ยว อาหารขาดแคลน ทำให้ราคาอาหารถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การเพาะปลูกถูกทอดทิ้ง
ในศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการค้ากับตะวันออก และการเกิดเมืองต่างๆ และการสร้างถนนทำให้เกิดความต้องการสินค้ามากขึ้น การค้าจึงมั่งคั่งขึ้น ทาสติดที่ดินส่วนใหญ่สามารถไถ่ตัวเองเปลี่ยนสภาพเป็นเสรีชนและพ่อค้า หรือหนีนายเข้าไปอยู่ในเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ ตามกฎหมายฟิวดัลถ้าจับไม่ได้ภายใน 1 ปีจะได้เป็นอิสระ พวกนี้ไปทำการค้าขาย ทำให้สามารถยกฐานะเป็นชนชั้นกลางที่ร่ำรวยขึ้น
ด้านสังคม
การล่มสลายของระบบฟิวดัล
การที่ระบบฟิวดัลล่มสลายนั้นเป็นผลจากการขยายตัวทางการค้าและอุตสาหกรรมในยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เกิดลักษณะของสังคมเปลี่ยนแปลงไป คือ
1) ระบบสังคมแบบฟิลดัลเสื่อมสลายลง
2) ชนชั้นกลางขึ้นมามีอำนาจแทนที่ชนชั้นขุนนาง
3) เกิดขบวนการนักวิชาการสายมนุษยนิยม
ทัศนคติของชาวยุโรป
ในช่วงปลายสมัยกลางต่อการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมจากการที่เคร่งครัดต่อคำสั่งสอนทางคริสต์ศาสนา มุ่งแสวงหาความสุขในโลกหน้า ค้นหาทางพ้นจากบาป และปฏิบัติทุกอย่างเพื่อเสริมสร้างกุศลให้แก่ตนเอง ได้เปลี่ยนมาเป็นการมองโลกในแง่ดี และเบื่อหน่ายกับระเบียบสังคมที่เข้มงวดกวดขันของคริสตจักร จึงหันไปสนใจผลงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของมนุษยชาติ และเห็นว่า มนุษย์สามารถพัฒนาชีวิตตนเองให้ดีและมีคุณค่าขึ้นได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นที่มาของแนวคิด แบบมนุษยนิยม (Humanism) ที่สนใจโลกปัจจุบันมากกว่าหนทางมุ่งหน้าไปสู่สวรรค์
ความคิดเห็น