ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~...พัฒนาการของยุโรปสมัยกลาง...~

    ลำดับตอนที่ #2 : อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง

    • อัปเดตล่าสุด 31 ต.ค. 55




    อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง
    Download vatican_1.jpg (51.8 KB)

              ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4-5 จักรวรรดิโรมันได้ถูกรุกรานจากพวกเผ่าอนารยชนหลายเผ่า จักรพรรดิโรมันพยายามสร้างความเข้มแข็งด้วยการแบ่งจักรวรรดิออกเป็น 2 ภาค คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงโรมและจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่ก็ไม่สามารถทำให้จักรวรรดิโรมันมั่นคงอยู่ได้ ใน ค.ศ. 476 แม่ทัพเผ่าเยอรมันได้ปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ จักรวรรดิโรมันตะวันตกลง ถือเป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิ ส่วนจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ ยัง ดำรงสืบต่อมาอีกเกือบ 1000 ปี จนกระทั่งล่มสลายในค.ศ.1453

              คริสต์ศาสนาได้กำเนิดขึ้นในช่วงต้นของสมัยจักรวรรดิโรมันผู้ก่อตั้งศาสนา คือ พระเยซูคริสต์หลังจากนั้นประมาณ 300 ปี คริสต์ศาสนาถูกทางการปราบปรามอย่างรุนแรง จนกระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงนับถือคริสต์ศาสนา และใน ค.ศ. 394 จักรพรรดิทีโอโดซิอัสที่ 1ได้ประกาศให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมัน

    Download 080254_1713_11.png (235.9 KB)

    เหตุที่คริสต์ศาสนามีความเจริญรุ่งเรื่องและแผ่ขยายได้อย่างกว้างขวางเนื่องจาก
              (1) จักรพรรดิโรมันในยุคนั้นขาดความสามารถในการบริหารและความเป็นผู้นำ
              (2) ผู้นำทางคริสต์ศาสนาในเวลานั้นมีคุณสมบัติที่จักรพรรดิไม่มี
              (3) ความแตกแยกและเสื่อมโทรมของสังคมและการเมืองคนจึงหวังมีชีวิตมีความสุขในโลกหน้า
              (4) อนารยชนได้ทำลายความรุ่งเรืองของโรมันด้านการเมือง ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา

              เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมลงสถาบันคริสต์ศาสนากลับมีความแข็งแกร่งมากขึ้น และเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายมีแต่ความปั่นป่วน ศาสนาจึงได้มีบทบาทเป็นผู้นำในทางจิตวิญญาณและสามารถมีอิทธิพล ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

    1.1 บทบาททางสังคม

              ในสมัยกลางคริสต์ศาสนามีอำนาจสูงสุดเหนือสถาบันใด ๆ คริสตจักรมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรทางโลก เช่น การสถาปนาจักรพรรดิโรมันในสมัยกลาง ทำให้สร้างความชอบธรรม ทางการเมืองให้แก่ ศาสนจักร เนื่องจากศาสนจักรเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้ามนุษย์ต้องดำเนินชีวิตตามคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด ถ้าผู้ใดหรือชนกลุ่มใดมีความเห็นขัดแย้งกับศาสนจักร จะต้องถูกศาสนจักรไต่สวนและลงโทษ เช่น

                - การไล่ออกจากศาสนา

                -การตัดขาดจากศาสนาทั้งชุมชน

    1.2 บทบาททางการเมือง

              ศาสนาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในระบบการเมืองของยุโรป

                -ระบบกษัตริย์ ศาสนจักรได้อ้างอำนาจเหนือกษัตริย์ในฐานะผู้สถาปนากษัตริย์

                -ระบบการปกครองแบบฟิวดัล เป็นการแบ่งชนชั้นคนในสังคมตามจำนวนที่ดินที่ถือครองไว้ โดยแบ่งออกเป็น

    o                          ชนชั้นปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ ขุนนาง

    o                          สามัญชน ประกอบด้วย อัศวิน ชาวนาอิสระ และ ทาสที่ติดที่ดิน

    o                          ศาสนจักรและบาทหลวง ไม่อยู่ในระบบการแบ่งชนชั้นนี้ เพราะถือว่าอยู่ในทางธรรม

              โดยกษัตริย์จะเป็นผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดโดยสมบูรณ์ และแบ่งที่ดินบางส่วนให้ขุนนางไปปกครอง โดยยังถือว่าที่ดินเหล่านั้นยังคงเป็นของกษัตริย์อยู่

                - บาทหลวงมีบทบาทมากในสังคมสมัยกลาง

                - ระบบการศาลศาสนจักรได้จัดระบบศาล จึงอ้างสิทธิพิจารณาคดีทั้งศาสนาและทางโลก

    1.3 บทบาททางเศรษฐกิจ
     

    Download pope-carindals.jpg (26.6 KB)

              ศาสนจักรเป็นแหล่งรวมความมั่งคั่งเนื่องจากได้เงินภาษีจากประชาชน และบรรณาการที่ดินที่ชนชั้นปกครองมอบให้

              คริสตจักรได้วางรูปแบบการบริหารงานเลียนแบบการบริหารของจักรวรรดิโรมันทำให้คริสตจักรเป็นสถาบันที่มีกฎระเบียบและมีเป้าหมายชัดเจนโดยมีสันตะปาปา (Pope) เป็นประมุขสูงสุด และมีคาร์ดินัล (cardinal) เป็นที่ปรึกษาในส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นมณฑล ซึ่งมีอาร์ชบิชอป (archbishop) เป็นผู้ปกครองถัดจากระดับมณฑล คือ ระดับแขวง ภายใต้การปกครองของบิชอป (bishop) ส่วนหน่วยระดับล่างสุด คือ ระดับตำบล มีพระหรือบาทหลวง (priests) เป็นผู้ปกครอง

    ความคิดทางการเมืองของนักบวชคริสต์

               พระคัมภีร์ใหม่ (New Testament) มีเนื้อหาสำคัญที่เด่นชัดถือเป็นหลักการเชิงการเมืองของศาสนาคริสต์ คือการยอมรับกฎหมายธรรมชาติ

               นอกจากนี้ พระคัมภีร์ใหม่ยังอ้างว่า บรรดารัฐบาลและสถาบันการปกครองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นและกำหนดให้ จึงต้องยอมรับว่า บรรดาสถาบันเหล่านี้เป็นสถาบันศักดิ์สิทธิ์ได้รับหน้าที่จากพระเป็นเจ้า การเคารพเชื่อฟังเป็นพันธะของทุก ๆคนเช่นเดียวกับพันธะต่อศาสนา แนวทรรศนะเกี่ยวกับกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ปรากฏในคัมภีร์ใหม่จึงเป็นรากฐานของลัทธิเทวสิทธิ (Divine Right) คือ อำนาจของผู้ปกครองที่ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เพราะเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองโดยพระเจ้า ประชาชนไม่มีสิทธิต่อต้านผู้ปกครอง เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นการปฏิเสธพระเจ้า อำนาจของกษัตริย์สืบต่อด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าเลือกกษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×