ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องนี้ เพื่อเด็ก Admission ทุกคน!!!

    ลำดับตอนที่ #52 : สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรดี ขอแนะนำ!!! คณะแพทยศาสตร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.18K
      0
      20 มี.ค. 53

      แพทย์หรือหมอเป็นอาชีพหนึ่งที่หลายคนใฝ่ฝันที่จะก้าวเข้ามาทำอาชีพนี้ เพราะนอกจากจะเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับ มีหน้ามีตามี ผู้คนในสังคมให้ความเคารพนับถือแล้ว หน้าที่ในความรับผิดชอบของหมอก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง นั้นคือการช่วยเหลือชีวิตผู้คน ให้พ้นจากโรคภัย ที่รุมเร้าและสร้างความทุกข์ทรมานทางกาย ที่อาจจะช่วยแก้ไข้ความทุกข์ทางใจได้ในขณะเดียวกัน 


               วิทยาการทางด้านการแพทย์มีอยู่มานานในสังคมโลก ช่วยฟื้นฟูเยียวยาและรักษาชีวิตของผู้คนไว้ทุกยุคทุกสมัย เมื่อโรคร้ายกรำกรายเข้ามาใกล้มวลมนุษย์แน่นอนว่า เราต้องดินร้นเพื่อความอยู่รอดในระยะแรกการรักษาเป็นไปในเรื่องของการอาศัยพลังเหนือธรรมชาติ อำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งที่มองไม่เห็นที่ผู้คนในยุคโบราณเชื่อว่ามีอำนาจดลบันดาลขจัดภัยพิบัติ จากโรคร้ายและหายนะที่กำลังมาสู่ชุมชนของพวกเขา  ซึ่งแน่นอนว่าผลของการรักษาอาจจะสัมฤทธิผลหรือไม่ไม่สามารถคาดเดาได้แน่นอน 

               แต่ภายหลังการรักษาและความรู้ในทางด้านการแพทย์ถูกพัฒนาปรับปรุงมาอย่างเป็น ขั้นเป็นตอนโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์มีการสังเกตสังกา มีการจดบันทึกถึงอาการของโรค วินิจฉัย รวมไปถึงการใช้สมุนไพรในการรักษา องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการค่อยๆพิจารณาและสังเกตสังกาเหล่านี้ได้ถูกถ่าย ทอดกันมารุ่นต่อรุ่น มีการจะบันทึกสรรพคุณของยา ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นสมุนไพร ว่าขนานใดเหมาะที่จะใช้รักษากับโรคชนิดใด จนกระทั่งความรู้เหล่านั้นถูกนำมาประยุกต์และพัฒนาเลยมาจนถึงยุคของยาเม็ดยา น้ำดังเช่นที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้



              ในปัจจุบันวิชาการแพทย์ยังมีส่วนสำคัญยิ่ง ที่ช่วยให้มนุษย์เราสามารถเอาตัวรอดจากโรคภัยไข้เจ็บได้ และยังเป็นอาชีพที่ต้องเกี่ยวพันกับขบวนการและปัญหาของวัฎสงสารในเกือบทุกขั้นตอน นับตั้งแต่วันที่มนุษย์เราแรกเกิดถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ทั้งยามเจ็บไข้ ยามแก่ชรา ที่โรคร้ายโหมกระหน่ำรุมเร้า จนกระทั่งเมื่อยื้อต่อไปไม่ไหว ร่างกายก็ย่อมจะถูกพรากลงด้วยความตาย ดังนั้น อาจจะไม่ผิดนักที่อาชีพหมอต้องดูแลชีวิตของมนุษย์เราตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายที่เรามีชีวิตอยู่ 

               สำหรับการแพทย์ของไทยก็เช่นกันที่ ในระยะแรกนั้นการรักษา หรือการบรรเทาเยียวยาความเจ็บป่วยนั้นอาศัยสรรพคุณในพืชหรือสมุนไพรเป็นหลัก โดยแหล่งรักษาก็ไม่พ้นตามวัดวาอารามต่างๆที่อยู่คู่สังคมไทยมาเนิ่นนาน จนกระทั่ง ในช่วงกรุงต้นรัตนโกสินทร์ คณะมิชชันนารีจากชาติตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ ศาสนา พร้อมกับเอาวิทยาการทางการแพทย์แผนยุโรปเข้ามาในดินแดนสยามด้วย ทำให้คนไทยได้สัมผัสกับการรักษาตามแบบอย่างของชาวตะวันตกในสมัยนั้นนั้นเอง ในคราวนั้นสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของวิชาการแพยท์ ว่ามีความจำเป็นในการเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วย จึงมีพระราชดำริส่งเสริมให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ แบบอย่างตะวันตกมากยิ่งขึ้น  จึงได้ส่งพระราชโอรสพระราชธิดาไปร่ำเรียนในวิชาสาขาต่างๆตามแบบอย่างตะวันตก และในคราวนั้นเอง ที่กรมหลวงสงขลานครินทร์ฯ ได้เสร็จไปศึกษาวิชาการแพทย์ด้วย ซึ่งต่อมาภายหลังพระองค์ท่านถูกยกย่องให้เป็นพระบิดาของวงการแพทย์ไทย



    พระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
    บิดาแห่งการแพทย์ไทย
    ภาพจาก 
    www.tnews.co.th 


               ในปี พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีโรงพระยาบาลขึ้นเพื่อเป็นการยกระดับการสาธารณสุขและ การแพทย์ขึ้นในประเทศไทยโดยตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการให้มีการสร้างโรง พยาบาล ทั้งนี้คณะทำงานได้ขอแบ่งพื้นที่ของพระราชวังบวรสถานภิมุขและได้จัดสร้าง ขึ้นเป็น โรงพยาบาลวังหลัง ถือว่าโรงพยาบาลแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของประเทศไทย 

               ในทางด้านการศึกษา แม้จะมีโรงพยาบาลเกิดขึ้นแล้วแต่ปัญหาที่เกิดตามมาคือการขาดแพทย์และวิธีการรักษาที่ได้มาตรฐานตามแบบอย่างตะวันตก วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 จึงได้เปิด “โรงเรียนแพทยากร” ขึ้นอย่างเป็นทางการ โรงเรียนแห่งนี้ถือว่าเป็นโรงเรียนที่สอนเกี่ยวกับวิชาการแพทย์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย  ภายหลังได้รับพระราชทานนามใหม่เป็น  “โรงเรียนราชแพทยาลัย”  

               ในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยได้รวมรวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็น 1 ใน 4 ของคณะแรกเริ่มของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเรียกชื่อว่า “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล” และปัจจุบันอยู่ในการดูแลของมหาวิทยาลัยมหิดล 

               ปัจจุบันวิชาการแพทย์ เป็นที่ต้องการของสัมคมไทยอย่างมาก  แน่นอนว่า มีใครหลายคนที่ฝันอยากทำหน้าที่อันทรงเกียรติและที่สำคัญช่วยปัดเป่าและขจัด โรคร้ายอย่าง นี้  และอาจจะเป็นเพราะเหตุผลนี้เอง ทำให้คณะแพทย์กลายเป็นคณะยอดฮิตของสังคมไทยที่รวบรวมเอาบรรดาหัวกะทิ เพราะหน้าที่ของหมอนั้นสำคัญยิ่งเพราะหากพลาดหรือไม่เละเอียดรอบคอบพอนั้น หมายถึงอาจจะทำให้หนึ่งชีวิตต้องปลิดปลิวลงไปด้วยภัยของโรคร้ายได้ง่ายๆ ดังนั้นแพทย์นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถที่เท่าทันโรคแล้วสิ่งหนึ่งที่ ขาดไม่ได้คือความละเอียดรอบคอบด้วย



    ภาพจาก www.mat.or.th 


               สำหรับการเข้าศึกษาในคณะแพทย์นั้น มีทั้งแบบการสอบในระบบโควต้าที่คณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆจะกำหนด หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและเปิดรับสอบซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกนั้น หน่วยงานที่กำกับดูแลของมหาวิทยาลัยนั้นๆจะเป็นผู้ดำเนินการในการสอบคัด เลือกเอง และยังมีการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในระบบเอนทรานซึ่งบ่อยครั้งและเกือบจะทุก ปีที่คณะแพทย์ศาสตร์มักจะมีคะแนนสูงสุดซึ่งสะท้อนได้ออกมาเป็นอย่างดีว่าคณะ นี้มีการแข่งขันกันมากขนาดไหน  คณะแพทย์มีหลักสูตรในการศึกษา 6 ปี 

               สำหรับสาขาของคณะแพทย์ศาสตร์นั้น แตกต่างกันไปในมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับความพร้อมในการเปิดสอนในสาขาต่างๆกัน รวมทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามรถในแขนงต่างๆ จะมีมากพอให้เปิดเป็นสาขาในการเรียนการสอนได้หรือไม่ แต่สาขาวิชาต่างๆของคณะแพทย์ศาสตร์อาจจะสรุปได้อย่างคร่าวๆดังต่อไปนี้ 

               กุมารเวชศาสตร์ (pediatrics) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การดูแลรักษา ทารกแรกเกิด วัยเด็ก และวัยรุ่น ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 14-18 ปีโดยประมาณ
               อายุรศาสตร์ (Internal medicine) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปรกติของร่างกาย เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดปรกติของร่างกายที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายใน 
               ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นสาขาวิชาการแพทย์ที่เน้นหนักไปเกี่ยวกับการผ่าตัด มีความชำนิชำนาญในการใช้เครื่องมือและรักษาโรคและเยียวยาอากรโดยการผ่าตัด
               ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ (Orthopedic surgery) เป็นสาขาวิชาที่แตกแขนงมาจาก ศัลยศาสตร์ โดยจะเน้นหนักไปที่การรักษาอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรือรัง รวมทั้งความผิดปรกติของโครงสร้างกระดูก ข้อ และ เส้นเอ็น
               สูติศาสตร์ (Obstetrics) เป็นสาขาวิชาเน้นหนักไปที่การดูแลหญิงซึ่งตั้งครรถ์และทารก

               คณะแพทย์ยังมีสาขาวิชาอีกมากมายซึ่งขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้เข้ารับการศึกษา แม้จะต้องอาศัยเวลาในการศึกษามากกว่าการเรียนในคณะอื่นๆ แต่หน้าที่ของหมอนั้น สำคัญและยิ่งใหญ่มากสำหรับชีวิตของผู้คนและสังคมที่ป่วยไข้ แพทย์จึงไม่ใช่อาชีพแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวพันกับชีวิตคนตั้งแต่เกิดจนตาย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×