ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องนี้ เพื่อเด็ก Admission ทุกคน!!!

    ลำดับตอนที่ #51 : สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรดี ขอแนะนำ!!! วิทยาศาสตร์การกีฬา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.04K
      1
      20 มี.ค. 53

     กีฬาเปรียบได้ดั่งยาอายุวัฒนะที่ทำให้เรามีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้นผู้ที่ชื่นชอบกีฬาหรือเล่นกีฬามักจะมีสุขภาพกายที่แข็งแรงและมี สุขภาพใจที่ดีไปด้วยพร้อมๆกัน  ในปัจจุบันเรื่องของกีฬากำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในสังคม เมืองอย่างกรุงเทพมหานครแล้ว กีฬาช่วยให้มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์แล้วการดูกีฬายามว่างก็เป็นกิจกรรม หนึ่งที่ผ่อนคลายได้อย่างมากสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในเกมกีฬา  สังคมไทยเริ่มเปิดรับการส่งเสริมให้บุตรหลานได้เรียนรู้เกี่ยวกับกีฬาเพิ่ม มากขึ้นสังเกตได้จากการที่มีโรงเรียนกีฬาหลายๆแห่งได้เปิดการเรียนการสอน ขึ้นมาในระยะหลังๆ 


                โรงเรียนกีฬาได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่างๆที่จังหวัดสุพรรณบบุรีเป็นที่แรก โดยจัดให้มีการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีการเรียนการสอนใน 19 ชนิดกีฬาอันได้แก่ กรีฑา  เทนนิส มวยไทย มวยสากล   ยิมนาสติกสากล   ยิงปืน  ว่ายน้ำ   จักรยาน  ยกน้ำหนัก  ยูโด  มวยปล้ำ วอลเลย์บอล   เซปักตะกร้อ  ฟุตบอล เบสบอล แฮนด์บอล  กอล์ฟ แบดมินตัน และวูซู

                ปัจจุบันสถาบันพละศึกษาได้จัดให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนกีฬาอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ นี้ย่อมสะท้อนให้เห็นการที่สังคมไทยเริ่มเปิดรับและส่งเสริมให้บุตรหลานของตนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกีฬามากขึ้น 



    ภาพจาก www.ipebk.thaifasthost.com 


                กีฬาสร้างโอกาสและสร้างฐานะให้กับใครหลายๆคน เมื่อมีการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติมักจะมีเงินอัดฉีดก้อนโตมอบให้แก่นัก กีฬาผู้ซึ่งสร้างชื่อให้กับประเทศหากได้เหรียญรางวัลติดมือกลับมาก็ทำให้ เปลี่ยนฐานะเป็นเสี่ยย่อมๆได้ในทันที  แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นนักกีฬาต้องทุ่มเทและหมั่นฝึกฝน  ซึ่งเป็นเส้นทางที่ไม่ได้ง่ายดายเลยทีเดียว

                สำหรับคนที่สนใจกีฬาแต่เล่นไม่เก่งแต่ด้วยใจรักในกีฬาอยากคลุกคลีกับวงการ กีฬา การเลือกเรียนในคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาย่อมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ ชื่นชอบกีฬาแต่รักที่จะดูรักที่จะเชียร์มากกว่าการลงแข่งขันด้วยตนเอง  

                วิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นศาสตร์ ที่ว่าด้วยการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมทั้งกายและใจ  ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามามีบทบาทอย่างมากในวงการกีฬา โดยเฉพาะในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่ตัดสินผลแพ้ชนะกันในเวลาเพียงเสี้ยววินาที  วิทยาศาสตร์การกีฬาก็ช่วยได้มากในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งความว่องไวให้กับนักกีฬา แต่ใช่ว่าความรู้ของวิทยาศาสตร์การกีฬาจะถูกนำมาใช้ได้กับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ววิทยาศาสตร์การกีฬาสามารถใช้ได้กับการกีฬาในทุกระดับ 

                ผู้เรียนในศาสตร์ของวิทยาศาสตร์การกีฬ่าจะกลายเป็นผู้ ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านวิทยาศาสตร์และความรู้ทางด้านการกีฬาไปพร้อมๆ กัน และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการสอนหรือการออกกำลังกายรวมไป ถึงประยุกต์ใช้วิธีการของวิทยาศาสตร์การกีฬาในการแข่งขันจริงๆ 

                หลักสูตรการเรียนของวิทยาศาสตร์การกีฬานั้นถูกแบ่งไว้ตามภาคบังคับมีหลักสูตรสี่ปีเหมือนกับการเรียนในคณะทั่วๆไป ซึ่งแบ่งออกเป็นการเรียนในวิชาพื้นฐานของการศึกษา ในระดับปริญญาตรีดังเช่นการเรียนวิชาพื้นฐานของคณะวิชาอื่นๆทั่วๆไปวิชา เฉพาะของวิทยาศาสตร์การกีฬา ในส่วนของวิชาเฉพาะจะเป็นการเรียนที่มุ่งเน้นไปในความรู้ทางด้านที่เกี่ยว กับวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์การกีฬาอาจจะเป็นคณะที่เกิดใหม่ในเมืองไทยเมื่อเทียบกับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ในระดับอุดมศึกษา แต่สาขาวิชานี้ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย ซึ่งสามารถแยกย่อยสาขาของวิทยาศาสตร์การกีฬาออกโดยสังเขปได้ดังนี้

    1. กีฬาเวชศาสตร์ (Sports Medicine)
                เป็นวิชาที่ว่าด้วยการรักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดจากการแข่งขันกีฬามีทั้ง อาการบาดเจ็บแล้วการเสริมสร้างร่างกายฟื้นฟูร่างกายให้หายจากอาการบาดเจ็บได้ รวมไปถึงการป้องกัน การฟื้นฟู สภาพร่างกายของนักกีฬาด้วย



    Sports Medicine
    ภาพจาก 
    www.laurens55.k12.sc.u 


    2. สรีรวิทยาการกีฬา (Sports Physiology)
                เป็นสาขาวิชาที่เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ และกลไกต่างๆของร่างกาย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการกีฬาในแต่ละประเภท ซึ่งแตกต่างกัน

    3. จิตวิทยาการกีฬา (Sports Psychology)
                เป็นอีกหนึ่งสาขาของวิทยาศาสตร์การกีฬาที่เน้นหนักไปทางด้านการการควบคุมความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ในการเล่นกีฬา แม้ว่ากีฬาจะใช้ความสามารถทางร่างกายเป็นหลัก แต่เรื่องของความเชื่อมั่นหรือการควบคุมอารมณ์ก็มีผลอย่างยิ่งสำหรับการแข่งขัน นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จในทางด้านกีฬาย่อยต้องรู้จักควบคุมอารมณ์แล้วมีสมาธิกับเกมมากพอสมควร

    4. โภชนศาสตร์การกีฬา (Sports Nutrition)
                เป็นสาขาวิชาที่เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิด เพราะการแข่งขันกีฬานั้นต้องจากจะต้องมีร่างกายจิตที่พร้อมสำหรับการแข่งขันแล้ว อาหารก็ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นเพราะในกีฬาบางชนิดต้องมีการควบคุมน้ำหนัก ดังนั้นอาหารแต่ละชนิดที่นักกีฬารับประทานเข้าไปนั้น จะต้องมีสารอาหารที่ครบ สาขานี้จึงเน้นหนักไปที่การศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ 

    5.  ชีวกลศาสตร์การกีฬา (Sports Biomechanics)
                สาขานี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อ กระดูก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแข่งขันกีฬาเพื่อทำให้สามารถใช้ประสิทธิภาพของร่างกายได้สูงสุดและสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย รวมไปถึงการหาข้อบกพร่องในทางด้านเทคนิคของนักกีฬาในแต่ละประเภท การฝึกยิงลูกจุดโทษของนักฟุตบอลก็จำต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ ชีวกลศาสตร์การกีฬาอยู่ด้วยเช่นกัน

    6. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีกีฬา (Sports Engineering, Computer and Technology)
                เป็นการเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเอาเทคโนโลยีในประเภทต่างๆมาใช้ ในการกีฬาเพื่อเสริมเสร้างความสามารถให้กับนักกีฬารวมไปถึงการหาจุดบกพร่อง ในจุดต่างๆของนักกีฬาโดยอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยเข้ามา ช่วย

    7. วิทยวิธีทางกีฬา (Sports Pedagogy / Coaching)
                เป็นสาขาวิชาที่เน้นหนักไปในทางการจัดรูปแบบการฝึกซ้อมของนักกีฬาแต่ละประเภท โดยคำนึงถึงวิธีการฝึก ช่วงเวลาแห่งการฝึก และความหนักเบาแห่งการฝึกซ้อม ซึ่งต้องพิจารณาเกี่ยวกับความสามารถของนักกีฬาที่แตกต่างกันในแต่ละคน ทั้งเรื่องความสามารถ เรื่องอายุ ประสบการณ์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ต้องใช้วิทยวิธีทางกีฬาที่แตกต่างกันไป



    Jose-Mourinho โค้ชฟุตบอลชื่อดังผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาศาสตร์การกีฬา
    ภาพจาก 
    www.jose-mourinho.info 


                เมื่อจบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาแล้วผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชานี้ก็จะสามารถปฎิบัติงานได้ในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น งานราชการ งานเอกชน งานรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงการประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวกับสุขภาพก็ได้เช่นกัน อาชีพที่รองรับนักวิทยาศาสตร์ทางด้านกีฬาอาทิเช่น
                - ครู/อาจารย์ ทางด้านวิทยาศาสตร์กีฬาในสถาบันต่างๆ
                - วิทยากรผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
                - นักกายภาพบำบัด
                - นักวิทยาศาสตร์ทางด้านกีฬาในกระทรวงหรือกรมกองต่างๆ
                - โค้ชหรือผู้ฝึกสอนกีฬา
                - ศูนย์สุขภาพต่างๆของเอกชน

                แม้วิทยาศาสตร์การกีฬาจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย แต่กระแสกีฬาที่ตื่นตัวขึ้นมาอย่างมากในบ้านเราทำให้ตลาดแรงงานมีความต้อง การนักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นชนิดกีฬาประเภทไหนก็ล้วน แล้วต้องการนักวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยเหลือด้วยกันทั้งนั้นหรืออย่าง กีฬายอดนิยมอย่างฟุตบอลที่บ้านเราเองก็บูมขึ้นมาเป็นลำดับ ในแต่ละจังหวัดเริ่มมีสโมสรฟุตบอลอาชีพเป็นของตนเอง แน่นอนว่า ความต้องการนักวิทยาศาสตร์การกีฬาก็ย่อมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว แม้จะไม่ได้ลงแข่งขันเองแต่นักวิทยาศาสตร์การกีฬาก็เปรียบประดุจผู้อยู่ เบื้องหลังความสำเร็จของนักกีฬาที่ขาดเสียไม่ได้ หากรักชอบกีฬาแต่ไม่ถนัดที่ลงสนามเองการเป็นผู้อยู่เบื้องหลังก็น่าสนใจไม่หยอก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×