ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    [AD'54] ตามฝัน...อักษร จุฬาฯ

    ลำดับตอนที่ #22 : [Talking] : ทักทายและพูดคุย

    • อัปเดตล่าสุด 8 ก.ย. 56


    สวัสดีครับน้อง ๆ
     
    ดีใจที่ได้มีโอกาสกลับมาเขียนบทความอีกครั้ง
     
    วันนี้ก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับ แต่อยากพูดคุยกับน้องๆ ที่ยังติดตามบทความนี้อยู่ 
     
    ช่วงที่พี่ไม่ได้เขียนบทความ พี่ก็ไม่ได้หายไปไหนครับ มัวแต่ยุ่งอยู่กับการเรียน ตอนนี้พี่ขึ้นปีสามแล้ว เร็วเหมือนกันเนอะ เผลอแป๊บเดียว ผ่านไปเกือบสามปีแล้ว พี่ยังจำความรู้สึกตอนเป็นเด็กแอดได้เลย มันเป็นความทรงจำที่สวยงามมาก ๆ
     
    น้องๆ ยังสบายดีอยู่รึเปล่าครับ น้องๆ ที่ต้องแอดปีนี้ เริ่มอ่านหนังสือกันหรือยัง สมัครสอบตรงที่ไหนบ้างหรือยัง ยังมีกำลังใจอยู่หรือเปล่าครับ :) ถ้าเริ่มหมดไฟ พี่ก็ขอส่งกำลังใจให้ทุกคน ขอให้น้องๆ มีกำลังใจไล่ตามความฝัน อย่าหยุด อย่าท้อ พี่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาตัวเองได้
     
    ขอแค่ให้น้องมี "ความเชื่อ" เชื่อว่าเราทำได้ เชื่อว่าเราจะสอบติด
     
    ......
     
    ตอนนี้พี่ก็อยู่ปีสามแล้ว อยากบอกว่า เรียนหนักมาก ๆ มีสอบทุกอาทิตย์ ต้องอ่านหนังสือทุกวัน ปีนี้พี่เรียนวิชาวรรณกรรมตัวหนึ่ง ทำให้พี่ต้องอ่านนิยายเล่มหนา ๆ 300-400 หน้าตั้ง 5 เล่ม ทำให้พี่ไม่มีเวลาไปอ่านหนังสืออื่นเลย นอกจากนี้ พี่เริ่มเรียนภาษาจีนด้วย ยากเหมือนกัน เพราะไม่มีพื้นฐานเลย ตัวอักษรเขียนยากมาก ออกเสียงก็ยาก 
     
    อีกวิชานึงที่พี่อยากจะเล่าให้ฟังก็คือ วิชา"วิชาชีพบรรณาธิการ" พี่รักวิชานี้มาก มันช่วยเปิดโลกทัศน์ให้พี่ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการทำหนังสือ พี่ได้ตระหนักว่า การทำหนังสือเล่มหนึ่ง มันยากลำบากแค่ไหน ได้ฝึกตรวจแก้ต้นฉบับ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงพิมพ์ที่เก่าแก่ ร้านไสกาว พี่ได้เห็นวิธีการทำหนังสือด้วยตาตัวเอง และสิ่งสำคัญที่สุดที่พี่ได้เรียนรู้จากอาจารย์มกฏ ก็คือ
     
    จรรยาบรรณของบรรณาธิการและการทำหนังสือ
     
    สิ่งนี้ทำให้พี่มองหนังสือในมุมมองที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง จากที่เคยมองหนังสือว่าเป็นแค่วัตถุธรรมดาชิ้นหนึ่ง ตอนนี้หนังสือสำหรับพี่ก็คือวัตถุมีค่า ต้องใช้แรงกายและแรงใจอย่างมากที่จะทำให้หนังสือเล่มหนึ่งถือกำเนิดขึ้นมา
     
    สิ่งที่พี่อยากจะพูดคุยกับน้องๆ ก็มีเพียงเท่านี้
     
    หวังว่าน้องๆ ทุกคนจะสบายดี
     
    สวัสดีครับ
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×