ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แนะนำ ปรัญญาและศาสนา เรียนอะไร ทำงานอะไร

    ลำดับตอนที่ #1 : สาขาที่เรียน เรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 983
      3
      28 เม.ย. 54

    - สาขาที่เรียน เรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง?

     ก็ตามชื่อเลย เรียน(คิดว่าน่าจะแทบ)ทุกอย่าง เกี่ยวกับ ปรัชญา และ ศาสนา  ที่เค้าบังคับขายเป็นแพ๊กคู่ดูโอ ไม่แยกขาย เพราะเหล่าอาจาย์(เจ้าของหลักสูตรวิชาภาค) เห็นว่า ความรู้ย่อมคู่คุณธรรม ฉันใด  ปรัชญาย่อมต้องไปพร้อมศาสนา ฉันนั้น

     

    คนฉลาดหากแต่ไร้คุณธรรม จะทำให้สังคมวุ่นวายมากกว่าพัฒนา เช่นสถานการณ์บ้านเมืองไทยในขณะนี้ที่ประชาชนนิยมเชื่อข่าวสารกันอย่างตามน้ำ ขึ้นกับว่าใครเป็นคนใช้สื่อ

    คนดีแต่ไร้ปัญญา  ยิ่งตกเป็นเครื่องมือของไอ้คนกลุ่มแรกได้ง่าย  เช่นชาวพันธมิตรโดยเฉพาะชนชั้นกลาง-สูง ที่เชื่อถือแกนนำและโฆษก ASTV อย่างไม่ลืมหูลืมตา ชาวบ้านตาดำๆ เค้ารู้กันทั้งนั้นว่าไปช่วยนั่งแล้วได้รับตังแจกน่ะ

    (พอเถอะ... กลับมาเข้าภาษาปกติกันดีกว่า เดี๋ยวโดนมือที่มองไม่เห็นเอาสิ่งปฏิกูลมาปาหน้าบ้าน ก๊ากก)

     

     อะแฮ่ม...

    เรียนยังไง - ก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับ วิชาเลือกอิสระ ก็เหมือนสาขาอื่น ไม่ขอพูดถึงละกัน   วิชาเอก เพื่อความง่าย ขอแบ่งเป็นสายปรัชญา และสายศาสนา

     

    ปรัชญา - เรียนตั้งแต่ต้นกำเนิดปรัชญากันเลย แบ่งกันเป็นสายตะวันตกและตะวันออก

    สายปรัชญาตะวันตก เป็นสายที่เรียนกันตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของชีวิตนิสิตปรัชญาเลยทีเดียว เรียนกันตั้งแต่...ความหมายของชื่อ Philosophy ที่เกิดมาจาก Philos ความรัก + Sophi ความรู้  = ผู้ที่รักในความรู้ (aka .พวกชอบเสือกไปทั่ว ก๊ากกกกกกกก)

    ถ้าจะให้เราสรุป ปรัชญาคือวิชาที่ว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่มนุษย์ชอบสงสัย  เช่น  กาีรมีอยู่ (อยากรู้มากกว่านี้ว่า [มีอยู่] ที่ว่าคืออะไร ไปดูแมทริกซ์ภาค 1  )  ความรู้ , ความจริง , ความงาม , ความถูกต้อง , ศีลธรรม , ภาษา  (หรือก็คือ หัวข้อสนทนาที่คุยกันแล้วอาจถึงขั้นต่อยกันได้ ถ้าเลือกคนคุยผิด)

     

    ปรัชญาก็คือวิทยาศาสตร์สมัยเริ่มแรก  (จริงๆคือ วิชาทั้งหลาย มันแบ่งร่างออกมาจากปรัชญาทั้งนั้นแหล่ะ... ลูก ๆ ได้ดิบได้ดีกันไปหมดแล้ว อาร์ตตัวแม่ก็ยังวนๆอยู่แค่เนี๊ยะ )

    นักปรัชญาพยายามไขความสงสัยด้วยสมมุติฐานและการทดลองต่าง ๆ  แม้บางอย่างจะไม่สามารถทดลองได้....เช่น โลกของแบบ อันว่าด้วยทฤษฏีของเพลโต สรุปเป็นภาษาเด็กแนวได้ว่า มีมิติอื่นที่เป็นต้นแบบให้ทุกอย่างในโลกที่เรารู้จัก ทุกอย่างที่เรารับรู้อยู่ตอนนี้ คือของทำเทียมมา เอิ้ว... มันจึงไม่สมบูรณ์ มนุษย์คือสิ่งอันไม่สมบูรณ์  ต้นแบบอันเลิศเลอเพอเฟ็กท์อยู่ในโลกของแบบ (ที่ตะหงิดๆว่า เพลโตจะหมายถึงดินแดนของพระเจ้ารึเปล่า...)

    ไอ้ทฤษฏีโลกของแบบเนี๊ย  มันจะไปทดลองพิสูจน์กันได้ยังไงกันเล่า!!

     

    ยังครับ ยังไม่พอ นั่นมันแค่ตัวอย่างเรียกน้ำย่อยเท่านั้น

    ปรัชญามีหลายสายยุค หลายสายหลักๆ

     

    ยุค

    1. ยุคดึกดำบรรพ์ หรือยุคก่อนเกิดวิชาปรัชญา (เรียนเพื่อ.... คิดซะว่าค้นหารากเหง้า)

    2. ยุคกรีก

    2.1  ยุคโบราณ

    2.2  ยุครุ่งเรือง (คนดังๆ เค้าอยู่ยุคนี้กัน เช่น เพลโต โซคราติส อริสโตเติ้ล)

    2.3  ยุคเสื่อม/ยุคแฮ็ลเล็น (ยุคหลังอริสมัน เอ้ย อริสโตเติ้ล ไปจนถึงกำเนิดปรัชญาคริสต์)

    2.4  ยุคโรมันเรืองอำนาจ (กรีกกะโรมันไม่ถูกกันนะเออ )

    3. ยุคกลาง  (เค้าบอกว่าเป็นยุคที่ปรัชญากรีกเริ่มประนีประนอมกับคริสตศาสนา)

    4. ยุคใหม่  (  ตั้งกะหมดยุคกลาง   จนถึงปัจจุบัน)

    4.1 สมัยเรอเนซองท์... หรือว่า เรเนอซองท์นั่นแหล่ะ

    4.2 สมัยใหม่ (ยุคนี้มีเปิดเป็นวิชาเลยนะ  นักคิดช่วงนี้มีบทบาทอย่างมากต่อการเติบโตของปรัชญายุคหลัง  เช่น Descartes , Spinoza , Leibniz , Locke , Hume , Voltaire , Rousseau และ อีค้านต์ ที่สุดแสนจะน่ารังเกียจ )

    4.3  สมัยปัจจุบัน ( ตั้งแต่อีค้านต์ จนถึงปัจจุบัน)

     สาขา

     เค้า(ใครก็ไม่รู้)แบ่งปรัชญาเป็น 4 สาขา

    1. อภิปรัชญา Metaphysics (ศึกษาว่า ความจริงคืออะไร...ปวดหัวมากโขโบก)

    2. ญาณวิทยา Epistemology (ศึกษาหาวิธีเข้าถึงความจริง หรือว่า เราจะรู้ความจริงได้ไง? เลยมีชื่อเล่นว่า สาขา ทฤษฏีความรู้)

    3. คุณวิทยา Axiology  (ศึกษาเรื่องคุณค่า Values แบ่งได้อีก 2 หน่วยย่อย )

    3.1 สุนทรีสาด เอ้ย ศาสตร์ (ว่าด้วยเรื่อง ความงามที่สามารถเสพได้ในแง่ต่าง ๆ ตา หู จมูก ปาก )

    3.2 จริยศาสตร์ / จริยปรัชญา

    3.2.1 (แบ่งอะไรนักหนา) ศึกษาหาจุดมุ่งหมายของการเกิดและการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์

    3.2.2  จะไปถึงจุดหมายสูงสุดของชีวิต (ตาม 3.2.1) ได้อย่างไร?

    3.2.3 จะตัดสินเกณฑ์วัดความ ดี-ชั่ว-ถูก-ผิด ได้อย่างไร?  ว่าด้วยเรื่อง จริยธรรม

    3.2.4  ค่าทางจริยธรรมนิยามได้หรือไม่ อย่างไร (และอื่น ๆ อีกมายมายน่าปวดหัว จะคิดไปทำไม ฝรั่งนี่คิดมากไม่เป็นเรื่อง)

     4.  ตรรกวิทยา Logic (ที่แจก F ให้เรามาตัวนึงตอนเทอมแรก โทษฐานเอาโคนันเล่มใหม่ไปอ่านในห้อง และไม่ทำการบ้าน เลยต้องส่งข้อสอบเป็นกระดาษเปล่า... เพราะทำข้อแสดงวิธีทำไม่ได้ ก๊ากกก  ใครจะไปคิดว่า วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของ ระบบเหตุผล/เกณฑ์การใช้เหตุผล เพื่อเป็นเครื่องมือเอาไว้ถกเถียงปัญหาปรัชญา  มันจะเสือกใช้สูตรตรรกะ 21 ข้อออกข้อสอบด้วย... แสด...จริงๆก็รู้ แต่ไม่คิดว่าจะให้แสดงวิธีตอบอะ ไม่ได้จำมา ก๊ากกก เลวเอง ชั่วเอง  ได้ F ไปก็สมควรแล้ว)

     

      --------------------------------------

     

     ไอ้สาขาย่อยที่ว่ามาทั้งหลายของปรัชญาตะวันตกน่ะ..... แบ่งรายชื่อวิชาที่ต้องเรียนคือ

    ปรัชญาเบื้องต้น  - พื้นฐานคร่าว ๆ ของปรัชญาตะวันตก ปกติถ้าเป็นสาขาเอกอื่น ก็จะเรียนวิชานี้กัน

    อภิปรัชญา - ว่าด้วยการศึกษาเพื่อค้นหาความจริง... เรียนแล้วงง อารมณ์เหมือน.... ไอ้ฝรั่งเอ๊ย!! พวกเอ็งจะอยากรู้เรื่องนี้ไปเพื่อ!!! เข้าใจเลยที่พระพุทธเจ้าบอกว่ามันเป็นปัญหาที่ไม่ควรไปคิด  ไม่สร้างสรรค์

    ญาณวิทยา - ใครที่ชื่นชอบ Matrix น่าจะปลื้มวิชานี้มาก  เรียนแล้วอาจจะหลอนไปพักใหญ่ ๆ ว่าตัวเรามีจริงหรือไม่ พิสูจน์ยังไงดี การบ้านที่เราส่งไปจะโดนหาว่าไม่มีอยู่จริงหรือเปล่า หรือว่าเราจะบอกอาจารย์ไปว่า จริง ๆ แล้วส่งการบ้านไปเรียบร้อยแล้ว แต่ว่าอาจารย์ไม่สามารถพบเห็นมันได้เนื่องจากมีประสาทสัมผัสไม่ตรงกัน  (บ้า...)

    ปรัชญาตะวันตกสมัยเก่า / ปรัชญาตะวันตกยุคกลาง / ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ - ศึกษาแนวคิดของนักปรัชญาในยุคนั่น ว่าด้วยสภาพแวดล้อมสมัยนั้น และความรู้เท่านั้น  เค้าพัฒนาความคิดด้านปรัชญามาเป็นแบบที่เห็นได้ยังไง    มีใครเป็นแรงบันดาลใจในการต่อยอดความคิด ความคิดทางปรัชญาสายหนึ่งสามารถแตกแขนงไปสองหรือสามสายพร้อมกันได้อย่างไร  บลา ๆ ๆ

    ปรัชญากรีก - ซึ่งเราโดดบ่อยมากเพราะมันเรียนเช้า (แถมเรียนอีกทีก็ตอนบ่ายโน่น) แต่สนุกนะ  เข้าไปนั่งวิเคราะห์นิทาน+ตำนานเทพกรีก ความเชื่อของชาวกรีกที่แฝงอยู่ในประวัติศาสตร์อันมีชื่อเสียง(และในตำนานเทพทั้งหลาย) มีการวิเคราะห์เส้นทางการเติบโตของ Hero/Heroin ด้วย ฮาๆ เรียน ๆไปคิดว่า เป็นวิชาที่เหมาะเอาไว้ศึกษาการแต่งโครงเรื่องมาก ๆ (แอบนึกถึง "อริส ตำหนักเทพ" ด้วยล่ะ ก๊ากกก)

    ปรัชญาคริสต์ - ไม่ค่อยชอบวิชานี้เท่าไหร่... ด้วยความอคติศาสนาคริสต์จากประสบการณ์ส่วนตัว แบบว่าเรียนไปก็เซ็งไป เซ็งชาวคริสต์บางจำพวก  ที่เอาศรัทธามาปนกับความจริง  เอาศรัทธาไปยัดเยียดให้เป็นมาตรฐานความดีของโลก  แต่ก็นั่นแหล่ะ ถ้าเราไม่รู้จริงแล้วไปว่า เราเองนั่นแหล่ะที่แย่กว่า (เลยต้องเรียนให้เข้าใจก่อนค่อยด่า ก๊ากกกก)

    ปรัชญาการเมือง - สนุกดีนะ สำหรับคนที่สนใจสถานการณ์บ้านเมือง  วิเคราะห์สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง อย่างเน้น ๆ รู้สึกว่าพวกสายบริหาร/รัฐศาสตร์ ต้องเรียนตัวนี้ด้วย (พ่อเราก็เรียน)  ศึกษาให้เข้าใจถึงเหตุผลของนักปกครอง ว่าทำไมไอ้สิ่งที่ท่าน ๆ ทั้งหลายทำลงไป มันถึงขัดกับความต้องการของประชาชน

    ปรัชญาสังคม - จำไม่ได้ว่า มันเป็นวิชาเดียวกะ ปรัชญาการเมือง(ที่เราสับสนชื่อวิชาไปเอง) รึเปล่า   (ถ้าจำไม่ผิด)วิชานี้จะเรียนเรื่องเกี่ยวกะสังคมมนุษย์ ประมาณว่า ทำไมสังคมมนุษย์ถึงเป็นแบบนี้  ทำไมเราต้องเกาะกลุ่มกัน  ทำไมถึงต้องมีกฏหมาย  ทำไมสังคมถึงมีสันติสุข  ทำไมทั้งที่มีนักปรัชญาหลายคนหาว่า สันดานมนุษย์จริงๆ แล้วป่าเถื่อน  ถึงสามารถอยู่ร่วมกันได้

    ปรัชญาศิลปะ - ตัวนี้ไม่เคยเรียน (พอดีลงตามเพื่อนอีกกลุ่มนึง เลยไปเรียนอีกวิชา) แต่อยากเรียน ตอนปีห้าดันไปลงผิดเป็นตัวถัดไป ก๊ากกกกกก ก็เห็นว่าไหน ๆ เราก็ชอบศิลปะ ก็เลยอยากเรียนเฉย ๆ อะ (บอกแล้วว่า คนที่เหมาะกับปรัชญาคือคนชอบเสือก ฮาๆ) 

    ปรัชญาในศิลปะ - ศึกษาปรัชญาที่แฝงมากับศิลปะแนวต่าง ๆ  ศึกษาแนวคิดของศิลปิน ว่าในการทำงานชิ้น ต่าง ๆ (ทั้งดังและไม่ค่อยดัง)  เค้ามีความหมายแฝงอะไร หรือไม่ อย่างไร ทำไม บลา ๆ  ศิลปะคืออะไร ความหมายของศิลปะที่มีในคนสร้างและคนเสพศิลปะนั้นๆ

    จริยศาสตร์และสิ่งแวดล้อม - เนื้อหาทันโลกสุด ๆ  ว่าด้วยเรื่องของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม  ว่าไอ้ที่เราใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม จริงๆ แล้วเป็นการฆ่าตัวตายทางอ้อมรึเปล่า?  เราควรรู้สึกผิดบาปต่อสิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติหรือเปล่า?  หรือเราไม่ควรไปสน สนแค่ว่าเราได้ประโยชน์แค่ไหน เสียประโยชน์แค่ไหนก็พอ  พูดง่าย ๆ คือเป็นวิชาว่าด้วยจิตสำนึกของมนุษย์ที่อยู่อาศัยในโลกใบนี้ และใช้ประโยชน์จากมันมามากมาย

    เทคโนโลยีจริยศาสตร์ - ตามชื่อวิชาเลย ว่าด้วยเรื่องของจริยธรรม กับ เทคโนโลยี  ว่าเทคโนโลยีที่สูงขึ้นทุกวัน มันมีปัญหามั้ย? ความคิดทางจริยธรรมของเราสูงตามความเจริญแค่ไหน?  เราควรจะยืนอยู่ระหว่างสองอย่างนี้ยังไงดี?

    สุนทรีศาสตร์ - วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของ ความงามกับมนุษย์  ศิลปะแง่ต่าง ๆ ที่มีบทบาทในสังคมมนุษย์นับแต่โบราณ เช่นพวก สิ่งก่อสร้าง ปฏิมากรรม จิตรกรรม คีตกรรม จารีตประเพณี และอื่น ๆ ที่จำไม่ได้ (ฮาๆ) มีเนื้อหาครอบคลุมไปในผลงานทางศิลป์ต่าง ๆ ของมนุษย์ทั่วโลก นับแต่ยุคหินโบราณมาจนยังปัจจุบัน (ประทับใจกับเดวิดที่ "เล็ก" ลง ก๊ากกกกกกก น่าสงสารเดวิดจริงๆ)

    ปรัชญาภาษาพูดถึงภาษาที่มนุษย์ใช้ ในแง่ปรัชญา ว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร  ภาษามีอยู่เพื่ออะไร บทบาทในสังคมของภาษา  การใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง  ภาษาที่ใช้เพื่อให้เข้าใจผิด  ความหมายของภาษาที่ไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง  เจตนาของคนใช้ภาษาที่พูดด้วยความหมายที่ไม่ตรงกับความหมายที่ถูกต้อง แต่คนฟังสามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริงได้ (ใช่ซี๊~~!!!) บลา ๆ ๆ  (จริง ๆ แล้วอาจไม่ถูกต้อง เพราะเรา E วิชานี้มารอบนึง ก๊ากกกกก )  เอาเป็นว่า  ชื่อวิชาเป็นไง  ก็เป็นตามนั้นแหล่ะ เข้าใจง่าย ๆ

    ตรรกะ - จะต้องอธิบายอะไรอีกหรอ   เอาเป็นว่า มันคือวิชาตรรกะ  ตั้งแต่  ว่าด้วยการใช้ประโยคตรรกะ ถูก/ผิด   ไปจนถึงการวิเคราะห์หาค่าความจริงในแง่ต่าง ๆ แต่สำหรับนิสิตเอกปรัชญา จะเรียนแบบเข้มข้นกว่าคลาสที่มีคนนอกเรียนด้วย เราไปเรียนแก้ E วิชานี้กับนิสิตเอกอื่น รู้สึกว่าทำไมมันง่ายแบบนี้!!! แสดดดด ไอ้สูตรนรก 21 ข้อนั่นก็ไม่มีสอนด้วย แย่!!!

    การโต้แย้งด้วยเหตุผล - ว่าด้วยเรื่องของ การยกข้ออ้างที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถหาช่องโหว่ได้  และ เน้นไปที่การหาจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้ามขึ้นมาใช้เพื่อให้ฝ่ายเราได้เปรียบในการโต้แย้ง มีเนื้อหารวมไปถึง การวิเคราะห์สภาพจิต/การกระทำ/สถานการณ์แวดล้อม ที่มีผลต่อการกระทำของบุคคล เพื่อมองให้เห็นถึงเหตุผลภายใต้จิตใจและการกระทำของบุคคลนั้น  warning ไม่เหมาะสมในการใช้สกิลนี้กับผู้มีอำนาจเหนือกว่า เช่น เจ้านาย หรือ พ่อแม่  เพราะอาจโดนตบบ้องหูเอาถ้าใช้ผิดวิธี...  วิชานี้ควรใช้ร่วมกับวิชาสาลิกาลิ้นทอง

    การศึกษาค้นคว้าทางปรัชญาด้วยตนเอง (ทีสิด) - การประมวลผลว่า ในจำนวนวิชาด้านปรัชญาต่าง ๆ ที่ได้เรียนมา 4 ปีนั้น  คุณเก็บเกี่ยวได้แค่ไหน?  เอามาใช้ประโยชน์ได้แค่ไหน?  ฉะนั้น ในระหว่างที่ยังไม่ต้องทำทีสิด ขอแนะนำให้ค้นหาตัวเองให้เจอ  ว่าชอบปรัชญาแนวไหน และถนัดแนวไหนที่สุด   ก็เอาแนวนั้นแหล่ะมาต่อยอดเป็นหัวข้อทีสิด  จะทำให้ทีสิดผ่านง่ายมากๆๆๆๆ   (เราถนัดด้านวิเคราะห์ ใช้เวลาในการพรีเซนท์ทีสิดให้ผ่าน... ไม่เกิน5 วัน   ทำ paper เสนอของแต่ละบทเอาคืนก่อนส่งนี่แหล่ะ ก๊ากกกกกก   ที่เหลือก็แค่มาแก้สำนวนทั้งนั้น)

    จะตายจะรอด อยู่ที่ตอนเลือกหัวข้อนี่แหล่ะ....  หัวข้อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

     

     

    หมดทุกวิชา(ที่รู้จัก)ยังวะเนี่ย

     

     สายปรัชญาตะวันออก

    ก็เรียนทั้งปรัชญาจีน และ ปรัชญาอินเดีย  ซึ่งสองแขนงนี่ อยู่ในชื่อวิชา ปรัชญาจีน / ปรัชญาอินเดีย (เท่านั้น!!  แต่ปรัชญาตะวันตกแม่งเรียนกันให้อ้วกไปข้าง   แต่จะไปว่าเค้าก็ไม่ได้  คนสร้างมันเป็นตะวันตกนี่หว่า... ไอ้ปรัชญาตะวันออก ใส่มาให้มันครบเท่านั้นแหล่ะ เดี๋ยวจะโดนหาว่าแบ่งแยกสีผิว เอิ้ว )

     

     ปรัชญาจีน และ ปรัชญาอินเดีย นั้น แบ่งออกเป็น ภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ

     

    ฟังดูแล้วน่าปวดตับ!?

     

    ขอโบกว่า มันสนุกกว่าเรียนปรัชญาอีค้านท์หลายเท่า   

     

     ภาคทฤษฏี

     ปรัชญาจีน  -  เรียนเรื่องนักปรัชญาจีน ซึ่งคัดมาเรียนแนวคิดอยู่ 4 คน  (ถ้าจำไม่ผิดนะ แต่เราจำได้สองคน ฮาๆ) เช่น  ขงจื้อ (อาร์ตตัวพ่อของปรัชญาจีน) เล่าจื้อ (และคนอื่นที่ไม่ค่อยสำคัญ เราเลยจำไม่ได้ ก๊ากๆๆ)

    เมื่อเรียนปรัชญาจีน จะรู้สึกได้ถึง ความละเมียดละไมในแนวคิด ที่ชาวตะวันออกมีต่างจากชาวตะวันตก  อาจารย์ที่สอนพูดไว้ว่า ปรัชญาตะวันออก จะเน้นการอยู่กับโลกและธรรมชาติ  ในขณะที่ปรัชญาตะวันตก เป็นไปในลักษณะที่แข็งกระด้างกว่า ต้องการจะควบคุมโลกและธรรมชาติมากกว่า )

    วิชาปรัชญาจีน... ทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมจิ๋นซีถึงเผาตำราขงจื้อ... เหอะๆๆๆ  (เป็นความสัมพันธ์ที่เปรียบได้กับ รัฐบาลทักษิณและญาติ กับ แป๊ะลิ้มและผองเพื่อน  ยังไงยังงั้น... )

     

     ปรัชญาอินเดีย  -  เรียนเรื่องแนวคิดพื้นฐานความเชื่อของชาวอินเดีย ปรัชญาอินเดียเป็นวิชาที่น่าสนใจมาก สามารถนำความรู้มาต่อยอดแต่งฟิค/เขียนออริ ได้อีกมากมาย   ทั้งเรื่องของความเชื่อด้านวิญญาณ  ด้านตัวตนที่แท้ของทุกสิ่ง  ความคิดที่มีต่อความดีและสังคม

    ได้เข้าใจว่า ทำไมชาวอินเดียถึงยึดติดกับเรื่องวรรณะกันมาก   ทำไมชาวอินเดีย(บางเผ่าพันธุ์)ถึงดุร้ายและโหดเหี้ยมกับเพื่อนมนุษย์ตาดำ ๆ ได้ลงคอ 

    ทั้งนี้ทั้งนั้น  วิชาปรัชญาตะวันออกทั้งสองนี้   ผู้เรียนจำเป็นต้องมีจินตนาการสูงส่งอยู่ระดับหนึ่งเลยทีเดียว... เพราะมันเป็นวิชาที่ว่าด้วยศาสตร์อันล้ำลึกกกกกกกกกก อาร์ตตัวพ่อตัวแม่มากๆ

     

    และทิ้งท้ายด้วย  วิชาที่เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสำคัญแค่ไหน

     

    ปรัชญาไทย / ปรัชญาการศึกษาไทย

      ................ คือแบบว่า   มันต่างกับวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ช่วงร.4 - ร.7 ) นิดเดียวเองอะ  เป็นวิชาที่ให้อารมณ์ม๊อปนักศึกษาธรรมศาสตร์มากๆ  อธิบายไม่ถูก เหอๆๆๆ  เป็นวิชาเลือกน่ะ จะเรียนไม่เรียนก็ได้

     

     

     ภาคปฏิบัติ

      ปรัชญาจีน  - เรียนรำมวยไทเก๊กกัน...  สนุกนะเออ!! ถ้าสามารถพอ จะเอาไปประยุกต์เป็นศิลปะป้องกันตัวได้ด้วยนะ  ร่างกายก็แข็งแรงขึ้น (แบบว่า มีตอนนึง อาจารย์เค้าท้าให้ยืนขาเดียวกัน... ไม่มีใครยืนนานสู้อาจารย์ได้เลย โดนแซวทับเลย ว่าพวกคุณอายุยี่สิบ  ยังร่างกายแข็งแรงสู้ผมที่อายุห้าสิบไม่ได้ )

     

     ปรัชญาอินเดีย  - เรียนโยคะกันอย่างหลับสบายหายเมื่อยเลยทีเดียว ฮาๆๆๆ ช่วงที่เรียน เพื่อน ๆ จะบ่นว่าอ้วนขึ้น (เพราะว่าเรียนเสร็จก็ทุ่มกว่า สองทุ่ม แล้วก็หิวกัน กินเยอะกว่าเดิมอีก ก๊ากก)

     

     

     ศาสนา - เรียนกันตั้งแต่ศาสนายุคโบราณอีกเหมือนกัน แล้วก็แบ่งเป็น

    ศาสนาพุทธ (ซึ่งมีวิชาแตกย่อยเป็น วิชาการทำสมาธิอีกตะหาก(บังคับเรียนด้วย) มีวิชาพระไตรปิฏกศึกษาด้วยนะเออ อาจารย์เจ๋งที่สุดในมหาลัย!! เพราะอาจารย์ตาบอด เอิ้ววว สุดยอดมากๆๆอะ  ถ้าจำไม่ผิด เค้าจบปริญญาเอกจุฬาด้วยนะ  ไม่รู้ตอนนี้ยังสอนอยู่รึเปล่า เพราะเป็นอาจารย์นอก )

    ศาสนาพรามหม์+ฮินดู  (วิชาเก็บเกรดอย่างแท้จริง)

    ศาสนาคริสต์ (เรียนพวกไบเบิ้ล)

    ศาสนาอิสลาม (เรียนพวกอัลกุรอาน)

    ศาสนาเปรียบเทียบ (ก็เหมือนชื่อแหล่ะ เกรียน เอ้ย เรียนเกี่ยวกับศาสนาต่าง ๆ ประมาณว่า เอาให้รู้ว่า ศาสนาทั้งหลาย มันเหมือนกันอย่างไร ต่างกันตรงไหน  มีข้อดีเอาไปใช้ได้จริงยังไงบ้าง   เรียนเพื่อเข้าใจ  ไม่ใช่ เรียนเพื่อต่อต้าน )

     

     อื่น ๆ ก็คือ นึกไม่ออกแล้วครับ    จำชื่อวิชาได้เยอะขนาดนี้ก็บุญแล้ว

      ว่าแต่...

    Zen กับ เต๋า ที่ไม่ใช่สมชาย กลัดเข็มเนี่ย... ควรจัดว่าเป็นปรัชญาหรือศาสนาดี?   ถึงมันเรียนอยู่ในปรัชญาจีน  แต่เราว่ามันก็กึ่ง ๆ ระหว่าง ปรัชญา และ ศาสนา เนี่ยแหล่ะ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×