ไม้ขีดก้านเดียว สู่ความหายนะของเมือง
รวมเรื่องราวมากมายที่ทำให้เมืองพิษณุโลกในปี 2500 กลายเป็นเถ้าถ่านในพริบตาเดียว
ผู้เข้าชมรวม
4,672
ผู้เข้าชมเดือนนี้
5
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
"พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา" คำขวัญประจำจังหวัดพิษณุโลกที่มครๆก็ต่างทราบกันดี พิษณุโลกผ่านเหตุการณ์ต่างๆมากมายมาตั้งแต่สมัย สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี ตลอดจนรัตนโกสินทร์ และเหตุการที่น่าจดจำของชาวเมืองพิษณุโลกและชาวไทยอย่างหนึ่งคือไฟไหม้เมืองพิษณุโลก ในปี 2500
ตามปกติแล้วจังหวัดใหญ่ๆทางหัวเมืองจะมีอาคารบ้านเรือนแบบเก่าๆ บางแห่งมีอายุมากกว่า 100 ปีเลยทีเดียว แต่ภายในตัวเมืองพิษณุโลกนั้นกลับมีอาคารบ้านเรือนที่มีอายุไม่เกิน 60 ปี ทั้งนี้เพราะในปี 2500 หลังวันขึ้นปีใหม่เพียงหนึ่งวัน คือในวันที่ 2 มกราคม 2500 บ้านเรือนและอาคารสำนักงานในเมืองพิษณุโลกถูกเผาวอดวายทั้งวันทั้งคืน เหตุการณ์นี้เริ่มต้นจากห้องแถวหลังหนึ่งเป็นห้องแถวไม้ มีเด็กชายตัวน้อยๆกับแม่อาศัยอยู่ รุ่งเช้าแม่ก็ได้ออกไปขายของในตลาดทำให้เด็กน้อยอยู่คนเดียวภายในบ้าน เด็กกับไฟเป็นของคู่กัน กล่าวคือ เด็กได้เล่นไปโดยการจุดไม้ขีดไฟโดยที่ไม่ทันระวัง ปรากฏว่าไฟนั้นได้ลุกลามไปไหม้มุ้งภายในห้องแถวนั้นและลามไปทั้งห้องแถว เหตุการณ์ต่อมาคือไฟได้ลุกลามไปยังอาคารบ้านเรือนทุกๆหลังในตัวเมืองพิษณุโลก ทำให้ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์และประสบเหตุต่างพากันวิ่งหนีและเกิดการชุลมุนกันทั่วไป ในสมัยนั้นพิษณุโลกยังไม่ได้มีรถดับเพลิงอย่างในปัจจุบันจึงต้องขอความช่วยเหลือจากจังหวัดอื่นแต่กว่าที่รถดับเพลิงจะมานั้นก็เผาเมืองพิษณุโลกไปได้เกือบครึ่งเมืองแล้ว เมื่อรถดับเพลิงมาถึงทำให้เหตุการณ์ทุเลาลงบ้างเล็กน้อย (รถดับเพลิงที่ดับในขณะนั้นมีเพียงคันเดียวครับ) ไฟไหม้เมืองตั้งแต่เช้าของวันที่ 2 เรื่อยไปถึง 2 วัน หลังจากเพลิงสงบแล้วเมืองพิษณุโลกกลายเป็นธุลีลงไปอีกครั้ง บ้านเรือนพังเสียหายเรียงรายเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร รวมถึงบ้านเรือนบริเวณริมแม่น้ำน่านก็วอดวายไปตามๆกัน จนพ้นที่เหล่านั้นได้ราบเป็นหน้ากลอง สร้างความเสียหายให้กับจังหวัดเป็นมูลค่ามากมายมหาศาล หลังจากเหตุการณ์นี้ทางรัฐบาลในสมัยนั้น รวมถึงประชาชน ภาคเอกชนได้ร่วมมือกันสร้างอาคารบ้านเรือนและตึกแถวขึ้นใหม่เพื่อให้ประชาชนได้อยู่อาศัยจนมาถึงปัจจุบัน...
ใครที่เคยผ่านไปยังตัวเมืองพิษณุโลกแล้วมองขึ้นไปชั้นบนสุดของอาคารบ้านเรือนต่างๆ จะเห็นได้ว่าปีพ.ศ. ที่กำกับไว้นั้นไม่มีตึกหรืออาคารใดเลยที่ปี พ.ศ.ต่ำกว่า 2500 หรือหากใครนั่งรถรางชมเมืองจะได้เห็นอย่างชัดเจนที่อาคารบริเวณหอนาฬิกาของเมือง แต่หากใครที่สนใจอยากจะดูภาพหรือได้รับคำอธิบายอย่างละเอียดสามารถชมได้ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณะเขต หรือพิพิธภัณฑ์ชาวแพบริเวณสวนชมน่านริมแม่น้ำน่านก็ได้
(ขออภัยนะครับหากมีเนื้อหาบางประการที่ผิดพลาด)
ผลงานอื่นๆ ของ สกุลเดิม ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ สกุลเดิม
ความคิดเห็น