ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามโลกและยุโรป(ประวัติศาสตร์)

    ลำดับตอนที่ #8 : ตอนที่ 2 การรวมตัวเป็นพันธมิตรของประเทศยุโรปทั้ง 3 ครั้ง (100%)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 530
      1
      23 มี.ค. 52

    การรวมตัวเป็นพันธมิตรกันของประเทศยุโรปทั้ง 3 ครั้ง 
    1.      The First Coalition : 1792-1795 
    เมื่อฝรั่งเศสได้เกิดการปฏิวัติ ประเทศออสเตรียได้รับความกระทบกระเทือนมาก เพราะพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 (Leopold II. ครองราชย์ ค.ศ. 1790-1792) ซึ่งดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิของออสเตรีย ทรงห่วงความปลอดภัยของพระขนิษฐา พระราชินี มารีอังตัวแนต มเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เลโอโปลด์ที่ 2 ทรงเป็นห่วงทั้งกษัตริย์และพระราชินีของฝรั่งเศสจึงคิดจะทรงช่วย ปรัสเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่พอใจคณะปฏิวัติฝรั่งเศสที่ลบหลู่พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เมื่อกษัตริย์ทั้ง 2 ประเทศทรงเห็นไปในทางเดียวกันเช่นนี้ ในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1791 เลโอโปลด์ที่ 2 จึงได้เสด็จไปพบปะและหารือกับพระเจ้าเฟรเดอริก วิลเลียมที่ 2 (Frederick William II. ครองราชย์ ค.ศ. 1786-1797) กษัตริย์ของปรัสเซียที่คฤหาสน์หลังหนึ่ง ณ หมู่บ้านพิลนิตตซ์ รัฐแชกโซนี(ปัจจุบันอยู่ในเยอรมนีตะวันออก) เมื่อเสร็จสิ้นการเจรจาแล้วทั้งสองพระองค์ทรงออกประกาศเป็นแถลงการณ์ร่วมเรียกว่า (Declaration of Pilnitz) เรียกร้องให้ประเทศต่างๆในทวีปยุโรปช่วยกันกู้ฐานะของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ให้ทรงมีอำนาจตามเดิม 
    แต่ออสเตรีย ยังไม่ทันได้รบ เลโอโปลด์ที่ 2 เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระราชโอรสพระเจ้าฟรานซ์ที่ 2(Francis II. ครองราชย์เมื่อ ค.ศ. 1792-1835 พระชนม์ 24 ชันษา) ซึ่งขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1792 ก็ได้ทรงสานต่อการทำสงครามกับฝรั่งเศสต่อเนื่องจากเหตุหลายประการคือ  
    1.พระองค์ทรงต้องการที่จะช่วยพระมาตุจฉา(อาหญิง) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งทรงเป็นพระราชวงศ์ผู้ยิ่งใหญ่ 
    2.รัฐบาลออสเตรียต้องการให้ฝรั่งเศสชดใช้ค่าทดแทนให้แก่สันตะปาปา เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสยึดแคว้นอาวิญอง(Avignon)(เมืองที่อยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส บนฝรั่งแม่น้ำโรน เคยเป็นที่ประทับของสันตะปาปาในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1309-1377) ของศาสนาคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิกไปตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1791 
    3.ออสเตรียต้องการให้ฝรั่งเศสชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ขุนนางเยอรมัน ผู้เสียประโยชน์ เพราะฝรั่งเศสประกาศยึกแคว้นอัลซาสไปตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1789  
    ฝรั่งเศสประกาศสงครามกับออสเตรียในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1792 แต่ไม่ได้ประกาศสงครามต่อปรัสเซีย แต่เฟรเดอริก วิลเลียมที่ 2 ทรงถือว่า การสงครามนี้กระทบกระเทือนถึงพระองค์ด้วย จึงได้เข้าร่วมกับพระเจ้าฟรานซ์ที่ 2 ทำสงครามกับฝรั่งเศส 
    ในด้านการรบ ตอนแรกๆกองทหารของออสเตรียและปรัสเซียได้ชัยชนะอย่างงดงามแต่ในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1792 ดยุกแห่งแคว้นบรันสวิก แม่ทัพของฝ่ายปรัสเซียประกาศให้ชาวปารีสทราบ “คำประกาศบรันสวิก” (The Brunswick Manifesto) ว่ากันว่าพวกขุนนางฝรั่งเศสที่หลบหนีออกไปอยู่นอกประเทศเป็นผู้ร่าง มีใจความสำคัญว่า ถ้าใครไม่วางอาวุธจะถือว่าเป็นกบฏต่อกษัตริย์ และถ้าใครทำอันตรายกษัตริย์หรือพระราชินี ปารีสจะถูกยึดและประชาชนจะต้องถูกฆ่าทั้งหมด ชาวเมืองปารีสเมื่อได้ยินคำประกาศเข้าก็ทั้งโกรธทั้งกลัว เลยก่อความวุ่นวายใหญ่ เข้ายึดเทศบาลเมืองปารีส พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระราชินีและพระโอรส ราชธิดา ทรงถูกนำไปกักขังที่เทาเวอร์ออฟ เดอ เทมเปิล (Tower of the Temple) สภาคอนเวนชั่น มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิกกษัตริย์ และประกาศตั้งประเทศเป็นสาธารณรัฐ ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1792 นับเป็นสาธารณรัฐครั้งที่ 1 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยตีนในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1793 พระนางมารี อังตัวแนตทรงถูกกิโยตีนเช่นกันเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1793 
    ผลของการรวมเป็นพันธมิตรของออสเตรีย ปรัสเซียจบลงที่ฝรั่งเศสสามารถขับไล่กองทัพออสเตรียและปรัสเซียให้ออกไปพ้นเขตแดนฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 ต่อมากองทัพฝรั่งเศสเข้าตีเบลเยียม  ซึ่งในเวลานั้นเป็นดินดนที่อยู่ในราชอาณาจักรออสเตรีย ฝรั่งเศสยึดกรุงบรัสเซีย(Brussels) ไว้ได้ รัฐสภาฝรั่งเศสพอใจมากถึงกับออกประกาศว่ากองทัพฝรั่งเศสกำจัดลัทธิการปกครองแบบเก่าให้ทวีปยุโรปเปลี่ยนเป็นการปกครองแบบสาธารณรัฐให้หมด 
    2. The Second Coalition  
                ฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1798 ประกอบด้วยอังกฤษ ออสเตรีย เนเปิลส์ โปรตุเกส รุสเซีย สมัยของพระเจ้าซาร์ปอล (ครองราชย์ ค.ศ. 1796-1801) กองทัพเรือของรุสเซียและตุรกีสามารถยึดหมู่เกาะไอโอเนียนจากฝรั่งเศสได้ รุสเซียยอมให้ตุรกีดูแลหมู่เกาะไอโอเนียน ส่วนกองทัพบอกนั้นรุสเซียมีนายพลชื่อ ซูโวรอฟสามารถชนะฝรั่งเศสทางตอนเหนือของอิตาลี แต่จักรพรรดิฟรานซิสที่ 2 ได้ทรงสั่งถอนกองทัพออสเตรียเนื่องจากไม่ทรงแน่พระทัยว่าออสเตรียได้ปกครองดินแดนทางตอนเหนือของอิตาลีหรือเปล่า ถ้ากองทัพของฝรั่งเศสต้องพ่ายแพ้แก่กองทัพผสมระหว่างรัสเซียกับออสเตรีย อังกฤษซึ่งมีนายกรัฐมนตรีในตอนนั้คือ วิลเลียม พิตต์ ผู้บุตร (William Pitt, the Younger นายกรัฐมนตรีลำดับที่ 16 แห่งพรรคทอรีในปี ค.ศ. 1783-1801 และนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 18ในช่วงปี ค.ศ. 1804-1806) เลยต้องเข้าไกล่เกลี่ยความบาดหมางกองทัพรุสเซียกับออสเตรีย โดยเสนอแนะให้กองทัพรุสเซียกับออสเตรียเข้ารบกับกองทัพของฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ โดยจะมีกำลังทหารผสมระหว่างอังกฤษกับรุสเซียเข้าตัดกำลังทหารฝรั่งเศสที่ฮอลแลนด์ แต่ความจริงแล้ว ออสเตรียไม่ได้ช่วย ปล่อยให้กองทัพทหารของรุสเซียทำการรบแต่ผู้เดียวโดยทหารรุสเซียถึงแม้จะเหลือทหารอยู่เพียง 15,000 คน ซูโวรอฟยังสามารถตีฝ่ากองทัพของฝรั่งเศสออกมาได้ แต่พระเจ้าซาร์ปอลกลับทรงสั่งให้ซูโวรอฟยกกองทัพกลับรุสเซีย (ซูโวรอฟใช้เวลาถึง 5 เดือนระหว่างปี ค.ศ. 1798-1799 ชนะกองทัพฝรั่งเศสได้ถึง 3 ครั้ง และยึดป้อมปราการของฝรั่งเศสได้ถึง 25 แห่งกับจับเชลยศึกชาวฝรั่งเศสได้ถึง 80,000 คน เขาต้องการจะยกกองทัพรุสเซียเข้าไปในฝรั่งเศสให้ได้ ซูโวรอฟถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1800 เมื่อมีอายุได้ 70 ปี) ปอลทรงถอนตัวออกจากการเป็นพันธมิตรกับออสเตรีย ส่วนกองทัพรุสเซียกับอังกฤษที่ฮอลแลนด์ทำการรบได้ผล โดยรุสเซียส่งทหารเรือไปช่วยทหารอังกฤษถึง 12,000 คน แต่เมื่อเวลารบทหารรุสเซียกลับต้องทำการรบและสูญเสียมากกว่าทหารอังกฤษ จากการรบในเดือนกันยายน ค.ศ. 1799 ทหารรุสเซียพากันบ่นว่าอังกฤษไม่ค่อยให้การสนับสนุนในการรบ ดังนั้นราวๆกลางเดือนตุลาคมจึงมีการเซ็นสัญญาสงบศึก โดยกองทหารอังกฤษและรุสเซีย ถอนตัวออกจากการรบที่ฮอลแลนด์ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1799 ปอลทรงสั่งให้รุสเซียถอนตัวออกจากการร่วมมือกันเป็นพันธมิตรครั้งที่ 2 เพราะทรงทนไม่ได้ที่ออสเตรียและอังกฤษแสดงความเห็นแก่ตัวในการรบอยู่ทุกครั้ง คืออังกฤษมุ่งทางการรบทางทะเลมากกว่า ส่วนทางบก วิลเลียม พิตต์ ผู้บุตร ได้เลียนแบบการดำเนินนโยบายสงครามของพิตต์ผู้เป็นบิดาที่เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษลำดับที่ 10 ในช่วงปี ค.ศ. 1766-1766 พิตต์ผู้บุตรตั้งใจจะให้กองทัพเรืออังกฤษมุ่งทำลายกิจการค้าของฝรั่งเศส พร้อมทั้งช่วงชิงอาณานิคมของฝรั่งเศสด้วย แต่พันธมิตรทั้งหลายมัวแต่อิจฉาริษยากัน ห่วงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว ปรากฏว่าพอถึง ค.ศ. 1795 ฮอลแลนด์ถึงตกเป็นของฝรั่งเศสเช่นเดียวกับเบลเยี่ยม ส่วนปรัสเซียและสเปนก็สงบศึกกับฝรั่งเศส และกว่าปรัสเซียจะเข้ามาร่วมทำสงครามกับฝรั่งเศสอีกก็เป็นปี ค.ศ. 1805 ส่วนสเปนก็ได้เข้าข้างฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1796 
     
                ในปี ค.ศ. 1800 ปอลทรงหันไปเข้าข้างฝรั่งเศส เนื่องจากกองทัพเรืออังกฤษเข้ายึดเกาะมอลต้าคืนได้จากฝรั่งเศส อังกฤษปฏิเสธที่จะคือเกาะมอลต้าให้แก่ปอล นโปเลียนซึ่งในขณะนั้นได้ดำรงตำแหน่งเป็นกงสุลอันดับที่ 1 ของฝรั่งเศสทรงเอาใจปอลด้วยการส่งเชลยศึกชาวรุสเซ๊ยกลับบ้านพร้อมด้วยของขวัญและเหรียญตรามากมาย นโปเลียนทรงเสนอว่าจะให้เกาะมอลต้าแก่รุสเซ๊ยแต่ในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1801  ปอลก็สวรรคต รุสเซียเลยมีพระเจ้าซาร์พระองค์ใหม่ คือพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 (Alexander I, ครองราชย์ 1801-1825) 
     
              3. กลุ่มการรวมตัวเป็นพันธมิตรครั้งที่ 3 (The Third Coalition)  ในปี ค.ศ. 1803 
                ในขณะที่นโปเลียนทรงเป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศสนั้นอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ของรุสเซียกับอังกฤษเริ่มมีความสัมพันธ์กันอย่างดี ถึงขนาดที่รุสเซียและอังกฤษมีการแลกเปลี่ยนราชทูตกันเพื่อติดตามผลเรื่องนโปเลียน และในปี ค.ศ. 1805 อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรุสเซียทรงตัดสินพระทัยเข้ากับฝ่ายพันธมิตร ยุโรปเป็นกลุ่มการรวมตัวกันเป็นพันธมิตรครั้งที่ 3   ซึ่งอังกฤษได้ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1803 เนื่องจากนโปเลียนทรงยึดแคว้นฮันโนเวอร์ (Hanover) ในเยอรมนีซึ่งเป็นของอังกฤษ ทั้งๆที่อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสนธิสัญญาอาเมียงส์ (Treaty of Amiens) มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1802 เพื่อยุติสงคราม เนื่องจากผลการทรบของกองทัพเรือนั้นอังกฤษครองความยิ่งใหญ่ ส่วนฝรั่งเศสครองความยิ่งใหญ่ทางบก จากสนธิสัญญาอาเมียงส์อังกฤษได้เพียงลังกา (Ceylon) และทรินิแดด (Trinidad) ซึ่งไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปในการทำสงครามถึง 290 ล้านปอนด์ ส่วนฝรั่งเศสได้เปรียบที่ว่า ฝรั่งเศสเพียงแต่ถอนตัวออกจาโรมและเนเปิลส์เท่านั้น และยังคงมีอิทธิพลอยู่ในทวีปยุโรปมากพอที่จะคุกคามกิจการค้าของอังกฤษต่อไปได้ 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×